Author: สุคนธ์เมธ จิตรมหันตกุล

[Sponsored Video] : Earth 2050 พลังงานในโลกอนาคต

[Sponsored Video] : Earth 2050 พลังงานในโลกอนาคต

คาดการณ์ว่าในอีก 40 ปีข้างหน้า หรือในปีพ.ศ.2595 จะมีประชากรอาศัยอยู่บนโลกมากถึง 9,000 ล้านคน การเพิ่มขึ้นของประชากรโลกส่งผลให้ความต้องการด้านพลังงานมีสูงขึ้น สารคดี Earth 2050: The Future of Energy โดยบริษัท Shell จะพาท่านไปชมโลกอนาคต และความท้าทายในการแสวงหาพลังงาน เพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ในทุกรูปแบบ

Read more ›
ธรณีวิทยาใน London 2012

ธรณีวิทยาใน London 2012

การแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนครั้งที่ 30 หรือ ลอนดอน 2012 จัดขึ้นระหว่างวันที่ 27 ก.ค ถึง 12 ส.ค 2556 ที่กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ความสำคัญของประเทศเจ้าภาพก็คือเป็นแหล่งต้นกำเนิดของแนวคิดทางธรณีวิทยา สถานที่สำคัญทางธรณีวิทยาหลายแห่งได้รับการโปรโมทระหว่างการวิ่งคบเพลิง นอกจากนี้เจ้าภาพก็ได้ศึกษาธรณีวิทยาของลอนดอนอย่างละเอียด เพื่อเตรียมจัดสถานที่แข่งขัน บทความนี้รวบรวมธรณีวิทยาที่ได้จากการแข่งขันโอลิมปิกลอนดอน 2012

Read more ›
ภาพโฆษณา Surface

ธรณีวิทยากับโฆษณา Surface

เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา (18 มิ.ย) บริษัทไมโครซอฟต์ได้เปิดตัวแท็บเล็ตที่ใช้ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ แปด ครั้งแรก โดยใช้ชื่อว่าเซอร์เฟซ (Surface) ความน่าสนใจอยู่ตรงที่โฆษณาที่ใช้เปิดตัว วัตถุตามธรรมชาติได้ถูกเลือกมาเป็นตัวแทนเพื่อสื่อถึงคุณสมบัติเด่นของสินค้า ทำให้ผู้ชมที่คุ้นเคยกับธรรมชาติดีอยู่แล้วเข้าใจสินค้าใหม่ได้ง่ายขึ้น

Read more ›
แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

[อัพเดท] วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ในมหาสมุทรอินเดีย (ตามภาพประกอบ) มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ความลึก 24 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเกิดจากรอยเลื่อนเฉือนตามแนวระดับลักษณะเช่นเดียวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ.2555 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่สองครั้งขนาด 8.6 และ 8.2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองบันดาอาเจะห์ประมาณ 430 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทยและบนตึกสูงในกรุงเทพมหานคร ในช่วงแรกมีการประกาศเตือนภัยสึนามิ ก่อนที่จะยกเลิกในเวลาต่อมา

Read more ›
แผ่นดินไหวภูเก็ต 16 เมษายน 2555

แผ่นดินไหวภูเก็ต 16 เมษายน 2555

หลังฉลองปีใหม่ไทยหรืองานสงกรานต์ของไทยประจำปี 2555ได้ไม่นาน ได้เกิดแผ่นดินไหว ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่ ต.ศรีสุนทร อ.ถลาง จ.ภูเก็ต ละติจูด 8.02 องศาเหนือ ลองจิจูด 98.37 องศาตะวันออก ที่ความลึก 10 กิโลเมตร วัดแรงสั่นสะเทือนได้ 4.3 เมื่อวันที่ 16 เวลา 16:44 น. ตามประกาศของกรมอุตุนิยมวิทยา

Read more ›
การสำรวจปิโตรเลียมที่เราต้องเข้าใจ

การสำรวจปิโตรเลียมที่เราต้องเข้าใจ

ปิโตรเลียม (น้ำมันและก๊าซธรรมชาติ) เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่มีบทบาทสำคัญต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลกในปัจจุบัน ปิโตรเลียมเป็นเรื่องของทุกคนที่ควรรู้และเข้าใจอย่างครอบคลุมตั้งแต่การสำรวจ การผลิต และการจำหน่าย แม้ว่าทุกวันนี้จะมีการพูดถึงปิโตรเลียมกันอย่างมากในประเทศไทย แต่บางครั้งการพูดหรือการวิเคราะห์ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับปิโตรเลียมโดยปราศจากความเข้าใจในส่วนของธรณีวิทยาปิโตรเลียม ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการสำรวจปิโตรเลียมแล้ว ก็อาจจะทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เนื้อหาต่อไปนี้เป็นข้อมูลพื้นฐานเกี่ยวกับปิโตรเลียมที่คนไทยต้องรู้และเข้าใจแม้ว่าจะไม่ใช่นักสำรวจ

Read more ›
ไพเรนีส์ ขุนเขาแห่งธรณีภาคสนาม

ไพเรนีส์ ขุนเขาแห่งธรณีภาคสนาม

หลังจากฤดูหนาวผ่านพ้นไป ก็ถึงเวลาของฤดูแห่งการออกภาคสนาม ปีนี้ผมเดินทางตามเพื่อนนักธรณีไปออกภาคสนามที่ประเทศสเปน โดยมีพื้นที่ศึกษาอยู่ที่บริเวณเทือกเขาที่เป็นรอยต่อระหว่างประเทศสเปนและฝรั่งเศส เทือกเขาแห่งนี้มีชื่อว่า ไพเรนีส์ (Pyrenees) ซึ่งเกิดจากการชนกันของแผ่นเปลือกโลกไอบีเรียกับแผ่นยุโรปตั้งแต่มหายุคมีโซโซอิก (~250 ล้านปี) 

Read more ›
Portland Stone หินสร้างวัง

Portland Stone หินสร้างวัง

หลังจากวันศุกร์ที่ผ่านมาหลายคนคงได้รู้จักพระราชวังบัคคิงแฮม ในกรุงลอนดอน สถานที่ที่เจ้าชายวิลเลี่ยมจุมพิตเคท มิดเดิลตัน จนเป็นภาพที่ตราตรึงใจคนไปทั่วโลกเป็นอย่างดี ภาพที่ถูกฉายซ้ำแล้วซ้ำอีกก็อดสงสัยไม่ได้ว่าผนังที่อยู่เบื้องหลังฉากรักสุดโรแมนติกนี้ประกอบไปด้วยหินอะไร ในระหว่างร่วมพิธีผ่านทางยูทูปเราก็ทำการค้นหาข้อมูลไปด้วย แล้วก็ได้พบคำตอบที่น่าสนใจ

Read more ›
รอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย

รอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย

รอยเลื่อนแม่จัน เป็นหนึ่งในกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ที่มีคนพูดถึงมากทุกครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ทำไมต้องเป็นรอยเลื่อนแม่จัน? บทความนี้จะพูดถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับรอยเลื่อนแม่จัน และเหตุการณ์แผ่นดินไหวสำคัญที่เกิดขึ้นใกล้แนวรอยเลื่อนแม่จัน เพื่อช่วยเตือนผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวได้เตรียมพร้อมรับมือก่อนที่รอยเลื่อนแม่จันจะขยับตัวอีกครั้ง

Read more ›
เจมส์ ฮัตตัน คุณพ่อทุกสถาบันธรณี

เจมส์ ฮัตตัน คุณพ่อทุกสถาบันธรณี

หลังจากที่ได้ทราบประวัติของชาร์ลส์ ไลแอล บิดาแห่งธรณีวิทยากันไปแล้วในบันทึกก่อนหน้านี้ วันนี้เราจะมาพูดถึงบิดาธรณีอีกท่านนึง ไม่ต้องงงนะครับว่าทำไมธรณีเรามีบิดาถึงสองคน นั่นก็เพราะองค์ความรู้ทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นในยุคแรกๆ นั้นยังคงมีข้อขัดแย้งอยู่มาก ทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดอยู่เสมอ ซึ่งมักเป็นการต่อยอดจากแนวคิดเดิม เนื่องจากหลักฐานที่พบมากขึ้นนั้นเอง ก่อนที่จะกลายเป็นหลักการที่เราใช้เรียนกันอยู่ทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามทั่วโลกได้ยกย่องเกียรติให้กับคนที่คิดก่อนและคนที่ต่อยอดด้วย เราจึงมีบิดาธรณีมากกว่าหนึ่งคน สำหรับคนสำคัญที่จะพูดถึงในวันนี้ก็คือ เจมส์ ฮัตตัน ที่ทุกคนคงจะคุ้นชื่อกันดี

Read more ›