Category: โลกของเรา

หินตะกอน : ชนิดและการจำแนก

หินตะกอน : ชนิดและการจำแนก

หินตะกอนหรือหินชั้น เป็นหินที่ค่อนข้างที่จะจำแนกได้ง่าย ซึ่งมักสามารถที่จะจำแนกขั้นต้นได้ด้วยตาเปล่า เนื้อหินตะกอนสามารถบอกเรื่องราวของการกำเนิดหรือสภาพแวดล้อมในอดีตกาลได้ เสมือนกับการบันทึกประวัติศาสตร์ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในหินตะกอนนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การได้ฝึกฝนการจำแนกหินตะกอนอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้เกิดความแม่นยำ และเสริมความเชี่ยวชาญให้กับนักธรณีในภาคสนาม บทความนี้จะช่วยอธิบายการจำแนกหินตะกอนขั้นต้น ก่อนลุยสนามจริง! หินตะกอน (Sedimentary rock) คือ หินซึ่งเกิดจากการสะสมของตะกอน (sedimentation) เช่น กรวด ทราย เศษหิน หรือซากพืชและสัตว์ หรือเกิดจากการตกตะกอนทางเคมีในน้ำ แล้วเกิดการแข็งตัว (lithification) กลายเป็นหิน การแบ่งชนิดของหินตะกอนนั้นเราใช้คุณสมบัติ 3 ประการ คือ การเกิด (origin) เนื้อหิน (texture) และส่วนประกอบ (composition) การเกิด (Origin) ของหินตะกอนมี 3 แบบ คือ 1. Detrital origin เกิดจากการผุพังและการกัดเซาะ (weathering and erosion) ของหินเดิม ซึ่งจะเป็นหินชนิดอะไรก็ได้ กลายเป็นเม็ดกรวด ทราย หรือดิน แล้วโดนพัดพามาทับถมกัน เมื่อแข็งตัวจะได้หิน อาทิ หินทราย (sandstone) เป็นต้น […]

Read more ›
หินอัคนี : ชนิดและการจำแนก

หินอัคนี : ชนิดและการจำแนก

คงไม่มีใครไม่รู้จักหินอัคนี แม้ว่าหินอัคนีจะมีความโดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะตัว แต่บางครั้งก็สามารถทำให้นักธรณีอย่างเราๆ คิดว่าเป็นหินตะกอน หรือหินแปรได้ง่ายดาย  หรือเมื่อถามถึงว่าเป็นหินอัคนีชนิดไหน เราก็ยังคงเรียกกันผิดๆ ถูกๆ การจำแนกชนิดหินด้วยตาเปล่านั้นค่อนข้างยาก และต้องอาศัยความชำนาญ บวกกับประสบการณ์การได้เห็นหินที่หลากหลาย สำหรับหลักการในการจำแนกหินอัคนีง่ายๆ เพื่อช่วยตัดสินใจในภาคสนามก่อนการวิเคราะห์อย่างละเอียดนั้นมีอะไรบ้าง บทความนี้อาจช่วยคุณได้ หินอัคนี (Igneous rock) คือ หินที่เกิดจากการเย็นตัวและการตกผลึกของแมกมา (magma) ซึ่งเป็นสารซิลิเกตหลอมเหลว (molten silicate material) และอยู่ใต้เปลือกโลก ถ้าแมกมาขึ้นมาถึงผิวโลก เราเรียกว่า ลาวา (lava) การแบ่งชนิดของหินอัคนีนั้น เราใช้คุณสมบัติ 2 ประการใหญ่ๆ คือ เนื้อหิน (texture) และส่วนประกอบ (mineral composition) นอกจากนั้นยังใช้สีของหินประกอบการพิจารณาได้ เนื้อหิน (Texture) หมายถึง ขนาดและการเรียงตัวของเม็ดแร่ในหิน ตลอดจนลักษณะการยึดเกี่ยวกันของแร่ต่างๆ และจะเป็นตัวบอกประวัติการเย็นตัวของแมกมา เนื้อหินชนิดต่างๆ ของหินอัคนี มีดังนี้ 1. เนื้อหยาบ (Phaneritic texture) เม็ดแร่มีขนาดไล่เลี่ยกัน และใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื้อชนิดนี้เป็นลักษณะของหินอัคนีแทรกซอน ซึ่งแข็งตัวที่ระดับลึก (Intrusive igneous rock […]

Read more ›
น้ำบาดาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน

น้ำบาดาลและการพัฒนาที่ยั่งยืน

น้ำบาดาลเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่า และถูกนำมาใช้ประโยชน์อย่างมากในปัจจุบันเพื่อการอุปโภค บริโภค การอุตสาหกรรม และการท่องเที่ยว ซึ่งการพัฒนานำน้ำบาดาลขึ้นมาใช้นี้ หากทำในลักษณะที่ไม่ถูกต้อง จะทำให้ระดับน้ำบาดาลลดลงอย่างมาก และเป็นการลดลงที่ไม่สัมพันธ์กับการเพิ่มเติมของน้ำบาดาลตามธรรมชาติ

Read more ›
แผ่นเปลือกโลก

แผ่นเปลือกโลก

สื่อการสอนนี้จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe® Flash PlayerTM ในการเข้าชม ถ้าหากคุณไม่มีโปรแกรมนี้หรือเวอร์ชั่นที่คุณใช้เป็นเวอร์ชั่นเก่า อาจไม่สามารถเข้าชมเนื้อหาและภาพเคลื่อนไหวได้   คุณสามารถดาวน์โหลดและลงโปรแกรม Flash Player เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่นี่ทันทีhttp://www.adobe.com/products/flashplayer/ ธรณีวิทยาคืออะไร? | โลกของเรา | แผ่นเปลือกโลก | หินและแร่ | การเปลี่ยนลักษณะ | เชื้อเพลิงธรรมชาติ | บทสรุป  

Read more ›
โลกของเรา

โลกของเรา

สื่อการสอนนี้จำเป็นต้องใช้โปรแกรม Adobe® Flash PlayerTM ในการเข้าชม ถ้าหากคุณไม่มีโปรแกรมนี้หรือเวอร์ชั่นที่คุณใช้เป็นเวอร์ชั่นเก่า อาจไม่สามารถเข้าชมเนื้อหาและภาพเคลื่อนไหวได้   คุณสามารถดาวน์โหลดและลงโปรแกรม Flash Player เวอร์ชั่นล่าสุดได้ที่นี่ทันทีhttp://www.adobe.com/products/flashplayer/ ธรณีวิทยาคืออะไร? | โลกของเรา | แผ่นเปลือกโลก | หินและแร่ | การเปลี่ยนลักษณะ | เชื้อเพลิงธรรมชาติ | บทสรุป  

Read more ›
ไขปริศนาอายุด้วย Carbon-14

ไขปริศนาอายุด้วย Carbon-14

หลายคนอาจจะเคยเห็นหรือได้อ่านข่าวเกี่ยวกับการพบวัตถุโบราณมามากมาย คงเกิดความสงสัยว่านักโบราณคดีหรือแม้กระทั่งนักธรณีวิทยาสามารถบ่งบอกอายุของสิ่งที่เขาขุดค้นพบได้อย่างไร ดังเช่น การขุดค้นพบซากมัมมี่ในเทือกเขาแอนดีส ที่ระบุว่ามีอายุไม่ต่ำกว่า 2,000 ปีมาแล้ว เขาเอาตัวเลขนี้มาจากไหน บทความนี้เราจะมาพูดถึงวิธีการที่นักวิทยาศาสตร์นิยมใช้ในการหาอายุของวัตถุ นั้นก็คือ การหาอายุโดยคาร์บอน-14

Read more ›
ไพรเมตสกุลใหม่ของโลกและพ.ร.บ.ซากดึกดำบรรพ์ฉบับใหม่

ไพรเมตสกุลใหม่ของโลกและพ.ร.บ.ซากดึกดำบรรพ์ฉบับใหม่

นักธรณีวิทยาไทยพบซากฟอสซิลไพรเมตจมูกเปียกวงศ์ศิวะอะเดปิดขนาดเล็กที่สุดในโลกที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ มีน้ำหนักเพียง 5 ขีด สร้างสถิติพบครั้งแรกในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โยงความสัมพันธ์เป็นบรรพบุรุษของลิงลมในเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา และการค้นพบไพรเมตรชนิดนี้ ส่งผลให้เกิดความคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์และแหล่งซากดึกดำบรรพ์จนเกิดเป็น “พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551” ที่จะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้

Read more ›
คุณสมบัติทางกายภาพของแร่

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่

คุณสมบัติทางกายภาพของแร่มีความสำคัญอย่างยิ่งในการจำแนกแร่ออกเป็นชนิดต่างๆ นักธรณีวิทยาทุกคนจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจคุณสมบัติทางกายภาพต่างๆ ของแร่เป็นอย่างดี ซึ่งถือว่าเป็นความรู้พื้นฐานที่สำคัญของการศึกษาทางธรณีวิทยา นอกจากความรู้ความเข้าใจแล้ว นักธรณีวิทยายังต้องมีทักษะที่สามารถนำคุณสมบัติเหล่านี้ไปใช้ได้อย่างถูกต้องอีกด้วย คุณสมบัติเหล่านี้มีประโยชน์อย่างมากในการทำงานภาคสนามที่ต้องทำการระบุชนิดหิน แร่ เพื่อทำแผนที่ธรณีวิทยา ก่อนการตรวจสอบในขั้นละเอียดต่อไป

Read more ›
ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate Tectonics)

ธรณีแปรสัณฐานแผ่นธรณีภาค (Plate Tectonics)

เมื่อกว่าหลายทศวรรษที่ผ่านมา นักทำแผนที่ได้สังเกตเห็นว่าแผ่นทวีปต่างๆ บนโลกนั้นสามารถนำมาต่อกันได้ราวกับว่าครั้งหนึ่งแผ่นทวีปเหล่านี้เคยเป็นแผ่นเดียวกันมาก่อน จากการสังเกตครั้งนั้นร่วมกับการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ชนิดเดียวกันบนชายฝั่งอเมริกาเหนือและแอฟริกาในเวลาต่อมา ทำให้นักวิทยาศาสตร์ในช่วงต้นคริสต์ศตวรรษที่ยี่สิบได้เสนอความคิดว่าแผ่นทวีปต่างๆ ที่เคยคิดว่าอยู่นิ่งนั้น แท้จริงแล้วได้มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา แต่อย่างไรก็ตามในขณะนั้นยังไม่มีใครสามารถอธิบายถึงสาเหตุที่ทำให้แผ่นเปลือกโลกเคลื่อนที่ได้

Read more ›
ไดโนเสาร์ตะลุยโลกล้านปี

ไดโนเสาร์ตะลุยโลกล้านปี

ไดโนเสาร์ตะลุยโลกล้านปี ใครจะเชื่อบ้างว่า…ครั้งหนึ่งแผ่นดินอีสานเคยเป็นที่วิ่งเล่นของเหล่าไดโนเสาร์ !!! และในแดนดินถิ่นอีสานบ้านเรายังเป็นแหล่งค้นพบไดโนเสาร์ชนิดใหม่ของโลกถึง 5 ชนิดด้วยกัน !!!

Read more ›