Category: สัมภาษณ์

รูปที่ 22 ภาพอุโมงค์ยักษ์ระบายน้ำแห่งแรกของกรุงเทพมหานครซึ่งก่อสร้างเสร็จเรียบร้อยตามแผน

“เบื้องหลัง” การเจาะอุโมงค์ระบายน้ำโครงการผันน้ำคลองเปรมประชากร

“เธอเจาะได้ ฉันเจาะด้วย” คือชื่อบทความที่ท่านกำลังอ่านอยู่นี้ คำว่า “เธอเจาะได้” นั้นหมายถึง การเจาะอุโมงค์ของโครงการรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน (สายเฉลิมรัชมงคล) รถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกของประเทศไทย ส่วน“ฉันเจาะด้วย” ที่จะเล่า “เบื้องหลัง” นั้น เป็นการเจาะอุโมงค์ของโครงการผันน้ำคลองเปรมประชากร ซึ่งเป็นโครงการสร้างระบบผันน้ำผ่านอุโมงค์ยักษ์แห่งแรกของกรุงเทพมหานคร ในสมัยของท่านผู้ว่าฯ ดร.พิจิตต รัตตกุล ตามแนว (ใต้) ถนนประชาราษฎร์สาย 2 ทั้งนี้อุโมงค์ของทั้งสองโครงการนี้เริ่มเจาะในเวลาไล่เลี่ยกัน และด้วยวิธีการที่เหมือนกัน เพียงต่างกันที่ขนาดของหัวเจาะหรืออุโมงค์เท่านั้น

Read more ›
การเจาะอุโมงค์และบทบาทของนักธรณีวิทยา อธิบายโดย ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล

การเจาะอุโมงค์และบทบาทของนักธรณีวิทยา อธิบายโดย ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล

“ทำไมนักธรณีต้องไปอยู่ในอุโมงค์” คำถามนี้อาจจะฟังดูแปลกในหมู่นักธรณีวิทยา เพราะเรารู้กันดีว่าการเจาะอุโมงค์ผ่านชั้นหินต้องใช้ความรู้ทางธรณีวิทยา จึงมีนักธรณีวิทยาเดินเข้าออกอุโมงค์ทุกวัน แต่งานที่มีความเสี่ยงแบบนี้ เราไม่ส่งนักธรณีเข้าไปได้หรือไม่ เพื่อหาคำตอบ ผมจึงได้ติดต่อ ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีวิศวกรรม และขอความรู้เกี่ยวกับขั้นตอนการก่อสร้างอุโมงค์รวมถึงหน้าที่ของนักธรณีวิทยาในอุโมงค์ 

Read more ›
เรื่องเล่าแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ประเทศเนปาล

เรื่องเล่าแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ประเทศเนปาล

ณัฐพล สุขใจ (บอม) นักธรณีวิทยาจากจังหวัดเชียงราย เดินทางไปท่องเที่ยวที่ประเทศเนปาล และพบกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวครั้งใหญ่ แม้ว่าเขาจะเคยมีประสบการณ์จากเหตุแผ่นดินไหวที่เชียงรายมาแล้ว แต่แผ่นดินไหวที่เนปาลก็ทำให้บอมได้ประสบการณ์ใหม่ ซึ่งได้ถ่ายทอดให้ GeoThai.net ฟังดังนี้

Read more ›
พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ – บทส่งท้าย

พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ – บทส่งท้าย

ความรู้และประวัติโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี บันทึกโดย ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล ผู้อำนวยการโครงการฯ

Read more ›
ภาพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร  องค์ประธานคณะกรรมการอำนวยการเสด็จตรวจงานสถานีเลเซ่อร์ บริเวณหน้าผาเขาชีจรรย์
(จากซ้าย: อาจารย์กนก บุญโพธิ์แก้ว-ตอนต่อๆไปคงจะได้เห็นหน้าชัดๆ- ดร.พงศ์พันธ์ จินดาอุดม  คุณอุดม ภู่งามและผู้เขียน)

พระพุทธรูปแกะสลักเขาชีจรรย์ – ขอบใจ

ความรู้และประวัติโครงการก่อสร้างพระพุทธรูปแกะสลักหน้าผาเขาชีจรรย์ “พระพุทธมหาวชิรอุตตโมภาสศาสดา” อ.สัตหีบ จ.ชลบุรี บันทึกโดย ดร.เดชา หลวงพิทักษ์ชุมพล ผู้อำนวยการโครงการฯ

Read more ›
นักวางแผนหลุมเจาะปิโตรเลียมหญิงไทย

นักวางแผนหลุมเจาะปิโตรเลียมหญิงไทย

สัมภาษณ์ อมรรัตน์ กาสิงห์ ศิษย์เก่าธรณีศาสตร์ รุ่นแรก ของมหาวิทยาลัยมหิดล กับการทำงานเป็นนักวางแผนหลุมเจาะปิโตรเลียม และประสบการณ์ชีวิตในประเทศอาเซอร์ไบจาน

Read more ›
การเกิดและสำรวจแหล่งแร่ทองคำ

การเกิดและสำรวจแหล่งแร่ทองคำ

การเกิดและสำรวจแหล่งแร่ทองคำ: ความรู้เบื้องต้นที่นักธรณีวิทยาควรรู้ โดย ดร.ธีระ คำวงษ์ นักธรณีวิทยาด้านการสำรวจแหล่งแร่เศรษฐกิจ บทความสรุปนี้กลั่นกรองมาจากประสบการณ์ของผู้เขียน และบางส่วนได้อ้างอิงมาจากวารสารต่างประเทศ โดยจะมี หัวข้อหลักๆ ตามนี้ 1. ต้นกำเนิดแร่ทองคำ 2. กระบวนการเกิดทองคำ 3. ประเภทของแหล่งแร่ทองคำ 4. ขั้นตอนการสำรวจทองคำ

Read more ›
Credit: GeoThai.net

ขุดหาน้ำมันกันอย่างไร? ตอน ทิศทางหลุม

มาต่อตอนที่ 4 ของ ซี่รี่ส์ความรู้ชุดการขุดเจาะน้ำกันนะครับ เราไล่กันมาเรื่องตั้งแต่การเลือกแท่นประเภทต่างๆ ในตอนที่ 1 มาจนถึงเสร็จเป็นหลุม ในตอนที่ 3 ส่งให้แผนกดูแลหลุม รับช่วงดูแลต่อให้ใช้งานได้ตามอายุไข จริงๆ แล้วมีรายละเอียดและเทคนิคมากมายนับไม่ถ้วน ไม่สามารถนำมาเล่าได้หมดจริงๆ เอาว่าเล่าเท่าที่สามารถก็แล้วกัน อย่างน้อยก็ทำให้พวกเราได้เห็นภาพกว้างๆ คร่าวๆ ว่ากว่าจะมาเป็นหลุมก๊าซ หลุมน้ำมันเนี่ย มันมีขั้นตอนอย่างไร ตอนที่ 4 นี้จะเรียกว่าภาคผนวกก็ไม่ผิดนัก เพราะจะคุยเรื่องการขุดแบบมีทิศทางหรือที่เรียกว่า Directional drilling

Read more ›
“I live on the Sagaing Fault, in Yeeshin village. A traditional and still widespread belief here is that earthquakes are a form of divine punishment. We are afraid that there will be another earthquake."

I live on the Sagaing Fault.

ชาวพม่าจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามแนวรอยเลื่อนสะแกง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนมีพลังขนาดใหญ่ พาดผ่านเมืองสำคัญอย่าง เนปิดอ และมัณฑะเลย์ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2555 ในเมืองตะเบ็กจีน มีผู้เสียชีวิต 26 ราย และบาดเจ็บกว่า 231 คน บทความนี้นำเสนอภาพความเสียหายและเรื่องเล่าจากกลุ่มคนในพื้นที่ประสบภัย ระหว่างการสำรวจธรณีวิทยาภาคสนามในประเทศพม่า

Read more ›
ขุดหาน้ำมันกันอย่างไร? ตอน ชั้นหินและท่อกรุ

ขุดหาน้ำมันกันอย่างไร? ตอน ชั้นหินและท่อกรุ

มาขุดเจาะปิโตรเลียมกันต่อ ไม่ทราบว่าลืมกันไปหรือยัง ว่าเราขุดกันถึงไหนแล้ว ทบทวนกันคร่าวๆ ก่อนนะครับ เราเริ่มจากการชี้เป้าจากนักธรณีวิทยา การเลือกแท่นขุดเจาะ การเลือกหัวเจาะ รู้จักท่อขุดหรือก้านเจาะ มีทฤษฎีกลศาสตร์การขุดนิดหน่อย ตามมาด้วยสถาบัตยากรรมของหลุม ตอนที่แล้วเราจบกันที่หลุมเราเป็นชั้นๆ ขุดจากใหญ่ไปเล็ก เอาท่อกรุ ใส่เป็นชั้นๆ เหมือนเอาหลอดดูดกาแฟขนาดต่างๆ กันสอดซ้อนๆ กันไว้

Read more ›