ศัพท์ธรณีวิทยา — June 13, 2012 at 2:54 AM

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร F – L

by

fabric axis แกนโครงเนื้อ : [ศิลาวิทยา] แกนหนึ่งแกนใดใน ๓ แกนที่ใช้อ้างอิงในการจัดเรียงตัวของโครงเนื้อ การบรรยายลักษณะของการคดโค้ง และสมมาตรการเคลื่อนที่ของหินที่ถูกเปลี่ยนลักษณะ

fabric โครงเนื้อ : ๑. ลักษณะเนื้อหรือโครงสร้างของมวลหินซึ่งบ่งบอกถึงกระบวนการทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดหินแต่ละชนิด เช่น การเรียงตัวของตะกอนหรือผลึกแร่ในหินตะกอน จะแสดงถึงสภาพจำเพาะของการตกตะกอนและการอัดตัวแน่น แร่แผ่นบางหรือแร่รูปแท่งในหินแปรอาจแสดงทิศทางการเรียงตัวซึ่งสัมพันธ์กับแรงที่กระทำในขณะที่หินเกิด ๒. (ปฐพีวิทยา) ลักษณะทางกายภาพของดินที่แสดงถึงเนื้อหยาบและละเอียด รวมถึงขนาดและรูปร่างด้วย โดยเน้นถึงการจัดเรียงตัวของอนุภาคที่เป็นของแข็ง มีความสัมพันธ์กับช่องว่างในดิน และแสดงสมบัติที่บ่งบอกถึงกระบวนการทางดิน เช่น การเคลื่อนของดินเหนียวมาเคลือบตามผนังช่องว่างหรือเม็ดแร่

facies tract; macrofacies ช่วงชุดลักษณ์ : ดู macrofacies; facies tract 

false lamination; false stratification; diagonal lamination; diagonal stratification : ดู cross stratification; cross stratum (รอบัญญัติศัพท์)

fat clay เคลย์เหนียวมาก : ดินที่มีสภาพพลาสติกค่อนข้างสูง ๒

fathogram บันทึกฟาทอม : กราฟแสดงผลบันทึกเสียงสะท้อนแบบหนึ่ง ที่บันทึกเสียงจากฟาโทมิเตอร์ (fathometer)

fathometer ฟาโทมิเตอร์ : เครื่องมือวัดความลึกของน้ำ มีหน่วยเป็นฟาทอม

fault gouge; clay gouge ผงรอยเลื่อน : สารละเอียดคล้ายแป้งที่พบตามแนวรอยเลื่อน เกิดจากการบดและขัดสีกันของหิน ๒ ฟากรอยเลื่อน มีความหมายเหมือนกับ selvage ๑ และ gouge ๒ 

fault trap ลักษณะกักเก็บแบบรอยเลื่อน : ลักษณะกักเก็บแบบโครงสร้างแบบหนึ่งที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บและปิดกั้นโดยรอยเลื่อน ดู structure trap ประกอบ 

faunizone ส่วนชั้นสัตวชาติ : ชั้นหินหรือหน่วยลำดับชั้นหินตามชีวภาพที่แบ่งแยกออกได้โดยใช้กลุ่มสัตว์ดึกดำบรรพ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นสำคัญ

feeder current กระแสน้ำเสริม : ส่วนของกระแสน้ำที่ไหลขนานกับชายหาดก่อนที่จะรวมกับกระแสน้ำที่อื่นทำให้เกิดเป็นส่วนคอดของกระแสน้ำป่วน ดู rip current ประกอบ 

felsic –สีอ่อน : คำที่ใช้กับแร่สีอ่อนหรือหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีอ่อนจำนวนมาก เช่น ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ เฟลด์สปาร์ทอยด์ มัสโคไวต์ คำนี้มาจากคำว่า felspar + silica ดู mafic; femic และ silicic ประกอบ 

femic; mafic –สีแก่ : ดู mafic; femic 

festoon cross bedding การปูชั้นเฉียงระดับรูปโค้ง : การวางตัวของชั้นหินที่มีลักษณะคล้ายวง ห่วง หรือเส้นโค้ง เกิดจากการกัดกร่อนในส่วนปลายชั้นเฉียงระดับจนเป็นร่อง และเกิดการสะสมตัวของตะกอนจนเป็นชั้นบาง ๆ ในร่องนั้น เรียกชั้นเฉียงระดับรูปโค้ง (festoon cross beds)

festoon cross beds ชั้นเฉียงระดับรูปโค้ง : ดูคำอธิบายใน festoon cross bedding 

fibrolite ไฟโบรไลต์ : ดู sillimanite 

field focus บริเวณเกิดแผ่นดินไหว : พื้นที่โดยรวมที่เป็นจุดกำเนิดหรือเป็นแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหว ที่อยู่ลึกลงไปซึ่งพิจารณาได้จากบริเวณที่ไหวสะเทือนบนผิวโลก สามารถสังเกตได้จากภาคสนาม ดู epicentre และ hypocentre; earthquake focus ประกอบ

field geology ธรณีวิทยาภาคสนาม : วิชาธรณีวิทยาที่ศึกษาเกี่ยวกับการสำรวจธรณีวิทยาในภาคสนาม

field well หลุมเจาะในแหล่ง : หลุมเจาะหาน้ำมัน หรือแก๊สหรือแหล่งแร่ที่เจาะในบริเวณที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถทำการผลิตได้

field . แหล่ง : ๑.๑ บริเวณที่ทำการผลิตปิโตรเลียมจากหลุมเจาะหลายหลุมซึ่งมีชั้นหินกักเก็บต่อเนื่องกัน แหล่งปิโตรเลียมหนึ่งแหล่งอาจมีชั้นกักเก็บหลายชั้นที่ระดับความลึกต่าง ๆ กัน .๒ บริเวณที่รู้ว่าเป็นแหล่งทรัพยากรแร่เฉพาะชนิด เช่น แหล่งถ่านหิน แหล่งทองคำ . สนาม : ๒.๑ พื้นที่สำรวจทางธรณีวิทยา ซึ่งนักธรณีวิทยาออกไปทำการเก็บข้อมูลและตัวอย่าง ๒.๒ บริเวณที่มีผลกระทบหรือมีอิทธิพลทางไฟฟ้า ความโน้มถ่วง หรือแม่เหล็ก ซึ่งสามารถวัดค่าได้และมีความต่อเนื่อง แต่จะเปลี่ยนค่าไปตามตำแหน่งต่าง ๆ . ทุ่ง : พื้นที่ต่อเนื่องกว้างใหญ่ของธารน้ำแข็งในเขตภูเขาหรือพืดน้ำแข็งในทะเล มักเรียกว่า ทุ่งน้ำแข็ง

fire clay; fireclay; refractory clay ดินทนไฟ : ดินที่ประกอบด้วยเคโอลิไนต์ที่มีโครงสร้างของผลึกเรียงตัวหย่อนระเบียบ (disorder kaolinite) เป็นส่วนใหญ่ มีแอลคาไล (Na, K) แอลคาไลน์เอิร์ท (Ca, Mg) และเหล็กอยู่ปริมาณน้อย มีความทนไฟไม่ต่ำกว่า ๑,๕๑๕ องศาเซลเซียส ดินทนไฟคุณภาพดีต้องมีความทนไฟมากกว่า ๑,๖๐๐ องศาเซลเซียส ขึ้นไป สภาพพลาสติกสูงหรือต่ำขึ้นอยู่กับชนิดดินทนไฟ แต่มีสภาพพลาสติกต่ำกว่าบอลล์เคลย์ และบริสุทธิ์น้อยกว่าดินขาวเคโอลิน แร่ดินชนิดอื่นที่ผสมอยู่ด้วยได้แก่อิลไลต์ รวมทั้งมลทินสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์ โดยทั่วไปส่วนประกอบทางเคมีเป็นดังนี้คือ มี SiO2 ร้อยละ ๔๑-๘๐ Al2O3 ร้อยละ ๑๐-๔๐ Fe2O3 ร้อยละ ๑-๕ แอลคาไลน้อยกว่าร้อยละ ๓ แอลคาไลน์เอิร์ทน้อยกว่าร้อยละ ๕ น้ำหนักที่หายไปจากการเผาร้อยละ ๕-๑๔ ใช้ประโยชน์ในการผลิตวัสดุทนไฟ เช่น อิฐทนไฟ เตาเผาที่ต้องใช้อุณหภูมิสูง ๔

fire flood การไล่ด้วยความร้อน : กระบวนการผลิตปิโตรเลียมขั้นทุติยภูมิ โดยการเพิ่มแรงขับในแหล่งกักเก็บด้วยการเผาไหม้ปิโตรเลียม หรือให้ความร้อนเพื่อลดแรงตึงผิว และเพิ่มความสามารถในการเคลื่อนที่เข้าสู่หลุมผลิต

firedamp แก๊สระเบิด : แก๊สในเหมืองถ่านหินที่ระเบิดได้เมื่อถูกประกายไฟ ประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนมาก

flame structure โครงสร้างรูปเปลวไฟ : ๑. โครงสร้างที่พบในหินตะกอน ประกอบด้วยโคลนที่เป็นคลื่นหรือถูกบีบอัดไม่สม่ำเสมอขึ้นไปบนชั้นหินที่วางตัวอยู่ด้านบน เป็นผลทำให้เกิดการแยกตัวเป็นส่วน ๆ และอัดแน่น ๒. แก้วภูเขาไฟสีเข้มในหินทัฟฟ์ที่สลายตัว มีขนาดตั้งแต่ ๒–๓ เซนติเมตร เกิดจากการถล่มของชิ้นส่วนของหินพัมมิซ

flash point จุดวาบไฟ : อุณหภูมิต่ำสุดที่ไอของสารหรือผลิตภัณฑ์สามารถติดไฟได้เมื่อมีเปลวไฟขณะที่ถูกทำให้ร้อน มีหน่วยเป็นองศาเซลเซียส ค่าจุดวาบไฟใช้กับตัวอย่างที่เป็นผลิตภัณฑ์ซึ่งทดสอบตามวิธีมาตรฐาน ASTM D–93 และใช้เป็นตัวบอกสารไวไฟที่เป็นอันตราย ใช้ประโยชน์ในการขนส่งและระบบความปลอดภัย

flint ๑. หินฟลินต์, หินเหล็กไฟ : ดูคำอธิบายใน chert ๑ ๒. ฟลินต์ : แร่ควอตซ์เนื้อจุรณผลึกชนิดหนึ่ง มีสีเทาเข้มถึงดำ

float; loose block หินลอย : ก้อนหินหรือก้อนแร่ซึ่งหลุดออกจากแหล่งต้นกำเนิด อาจพบอยู่ในแหล่งเดิมหรือหลุดร่วงลงมาอยู่ตามเชิงเขาก็ได้ ดู outcrop ประกอบ 

florizone ส่วนชั้นพฤกษชาติ : ชั้นหินหรือหน่วยลำดับชั้นหินตามชีวภาพที่แบ่งแยกออกได้โดยใช้กลุ่มพืชดึกดำบรรพ์กลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเป็นสำคัญ

flow cast รูปพิมพ์ลอน : สันนูนรูปลอนซึ่งพบที่ผิวด้านล่างของชั้นหินทราย เกิดเนื่องจากตะกอนทรายสะสมตัวบนชั้นตะกอนที่มีลักษณะอ่อน อุ้มน้ำและเป็นพลาสติก การเคลื่อนไหวของชั้นตะกอนนั้นทำให้เกิดเป็นลอนขึ้น เมื่อชั้นตะกอนทรายแข็งตัวจึงทำให้ผิวสัมผัสของชั้นหินทรายเกิดเป็นสันนูนตามรูปลอน ดู flute cast, load cast และ sole mark ประกอบ

flowage cast รูปพิมพ์ลอนไหล : สันนูนรูปลอนที่เกิดที่ผิวด้านล่างของชั้นหินทราย เกิดในขณะที่ชั้นทรายอุ้มน้ำและเป็นพลาสติกไหลเคลื่อนไปบนผิวหน้าที่มีลักษณะไม่เรียบและลาดชัน ลักษณะสันนูนรูปลอนอาจมีทิศทางขวางหรือตามแนวลาดชัน หรือมีหลายทิศทาง

fluid inclusion ของไหลฝังใน : ดู inclusion ๒ 

fluorine dating การหาอายุด้วยฟลูออรีน : การตรวจหาอายุเปรียบเทียบของกระดูกในสมัยไพลสโตซีนหรือโฮโลซีน โดยใช้ปริมาณฟลูออรีนที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้นในชั้นน้ำใต้ดินเทียบกับปริมาณของแคลเซียมฟอสเฟตในเนื้อกระดูกที่ฝังอยู่ โดยปริมาณฟลูออรีนที่ค่อย ๆ เพิ่มขึ้น มีสัดส่วนดังนี้ ร้อยละ ๒ ในกระดูกสมัยไพลสโตซีนตอนต้น ร้อยละ ๑ ในกระดูกสมัยไพลสโตซีนตอนกลาง ร้อยละ ๐.๕ ในสมัยไพลสโตซีนตอนปลาย และ ร้อยละ ๐.๓ ในกระดูกสมัยโฮโลซีน

fluorite ฟลูออไรต์ : แร่ที่สำคัญของฟลูออรีน มีสูตรเคมี CaF2 ผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า พบเป็นผลึกรูปลูกบาศก์ โปร่งใสจนถึงโปร่งแสง มีได้หลายสีจนถึงไม่มีสี มีสมบัติเรืองแสงเมื่ออยู่ภายใต้แสงอัลตราไวโอเลตมีค่าความแข็ง ๔ ตามสเกลของโมส์ พบเกิดในสายแร่ มีประโยชน์ใช้เป็นหินประดับ การถลุงเหล็ก เป็นสารช่วยให้โลหะหลอมง่าย ใช้ทำกรด ฟลูออริก ในประเทศไทยพบมากทางภาคเหนือและภาคกลาง มีความหมายเหมือนกับ fluorspar ดู pneumatolysis ประกอบ 

flute cast รูปพิมพ์รูปร่อง : สันนูนรูปร่างมนคล้ายใบพายหรือลิ้นที่ด้านหนึ่งผายออก ด้านที่แคบกว่ายกสูงและเอียงลาดไปตามแนวยาวหรือไปทางด้านกว้าง จนกลืนไปกับพื้นชั้นหิน พบที่ผิวด้านล่างของชั้นหินทรายแป้งหรือหินทราย เกิดจากการสะสมตัวในโครงสร้างรูปร่อง ด้านที่ยกสูงจะเป็นด้านต้นน้ำในขณะที่ด้านที่ผายออกจะเป็นด้านปลายน้ำ ดู flute ประกอบ 

flute รูปร่อง : โครงสร้างปฐมภูมิในหินชั้น ซึ่งจะพบได้ในรูปพิมพ์รูปร่อง ประกอบด้วยแอ่งรูปช้อนที่ไม่ต่อเนื่องกันหรือรูปลอนหรือร่องที่มีความยาว ๒-๑๐ เซนติเมตร เกิดจากตะกอนที่กระแสน้ำปั่นป่วนนำมาขุดขูดผิวของโคลนท้องน้ำจนเกิดเป็นแอ่งหรือร่องขึ้น ขอบแอ่งหรือร่องด้านที่ลึกที่สุดจะเป็นด้านต้นน้ำ (upcurrent) และแกนด้านยาวจะขนานกับกระแสน้ำ

fluting การเกิดโครงสร้างรูปร่อง : กระบวนการเกิดโครงสร้างรูปร่อง ดู flute และ flute cast ประกอบ

fluvial cycle of erosion วัฏจักรธารน้ำโดยการกร่อน : วัฏจักรหรือวงจรการกร่อนที่เกิดขึ้นจากการกัดเซาะของกระแสน้ำ จนมีผลทำให้ระดับพื้นที่ที่ถูกกัดเซาะลดต่ำลงจนถึงระดับอยู่ตัวหรือระดับทะเลปานกลาง มีความหมายเหมือนกับ normal cycle ดู base level และ fluvial geomorphic cycle ประกอบ 

fluvial geomorphic cycle วัฏจักรธรณีสัณฐานธารน้ำ : วัฏจักรปรกติของการกร่อนโดยทางน้ำและแม่น้ำซึ่งนำไปสู่การเกิดพื้นเกือบราบ ดู fluvial cycle of erosion และ peneplain ประกอบ 

fluxgate magnetometer ฟลักซ์เกทแมกนิโทมิเตอร์ : เครื่องมือวัดความเข้มสนามแม่เหล็กรวม ซึ่งใช้หลักการอิ่มตัวของอำนาจแม่เหล็กในสารเฟร์โรแมกเนติกช่วยในการวัดค่าความเข้มสนามแม่เหล็ก เมื่อมีสนามแม่เหล็กรวมผ่านเข้ามาในแนวขนานกับแนวแกนของแท่งแกนโลหะ สนามแม่เหล็กรวมจะไปบวกเข้ากับสนามแม่เหล็กในแท่งแกนโลหะแท่งหนึ่งที่เกิดจากการเหนี่ยวนำด้วยกระแสไฟฟ้าสลับในขดลวดปฐมภูมิ แต่จะไปหักออกในแท่งแกนโลหะอีกแท่งหนึ่งเพราะพันขดลวดปฐมภูมิไว้ตรงกันข้าม สนามแม่เหล็กรวมจะทำให้แท่งแกนโลหะแท่งแรกอิ่มตัวในอำนาจแม่เหล็กได้เร็วกว่าอีกแท่งหนึ่ง ทำให้เกิดความแตกต่างในความเข้มสนามแม่เหล็กของแท่งแกนทั้งสอง เหนี่ยวนำให้เกิดศักย์ไฟฟ้าในขดลวดทุติยภูมิไม่เท่ากัน ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่เกิดขึ้นในขดลวดทุติยภูมิจะเป็นปฏิภาคกับความเข้มสนามแม่เหล็กรวมที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งต่าง ๆ เครื่องมือนี้ใช้สำรวจสนามแม่เหล็กได้ทั้งบนบก ในทะเล และทางอากาศ สามารถวัดได้ละเอียดถึง ± ๐.๒ แกมมา

fluxing ore; flux ore สินแร่สารเชื้อ : สินแร่โลหะมีค่าที่มีสารกำจัดมลทินหรือสารเชื้อผสมอยู่จำนวนพอเหมาะ ซึ่งสามารถนำไปถลุงได้โดยตรง ไม่จำเป็นต้องเติมสารกำจัดมลทินหรือสารเชื้อลงไปอีก

focus; earthquake focus; hypocentre; seismic focus ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว : ดู seismic focus; earthquake focus; focus; hypocentre 

fold belt แนวชั้นหินคดโค้ง : ดู orogenic belt 

fold fault รอยเลื่อนชั้นหินคดโค้ง : รอยเลื่อนที่เกิดจากการคดโค้งโดยที่แขนกลางถูกแทนที่ด้วย ผิวหน้าของรอยเลื่อน ๗

fold mountain ภูเขาหินคดโค้ง : ภูเขาที่เกิดจากการคดโค้งโก่งงอขนาดใหญ่ของชั้นหินด้วยแรงอัดในเปลือกโลก แล้วต่อมาเกิดการยกตัวสูงขึ้นและถูกกัดกร่อนอย่างรุนแรงในภายหลัง จนเกิดสมดุลใหม่มีความสูงอยู่ในตำแหน่งที่เห็นปัจจุบัน โดยปรกติภูเขาหินคดโค้งเป็นเทือกเขา เช่น แอนดีส ร็อกกี แอลป์ หิมาลัย ซึ่งแต่เดิมชั้นหินในบริเวณดังกล่าวเกิดจากการสะสมตัวในธรณีแอ่นตัว

fold system ระบบชั้นหินคดโค้ง : กลุ่มของชั้นหินคดโค้งชนิดเดียวกันและเกิดจากการแปรสัณฐานของเปลือกโลกในช่วงเดียวกัน

fold trap ลักษณะกักเก็บแบบชั้นหินคดโค้ง : ลักษณะกักเก็บแบบโครงสร้างแบบหนึ่งที่ปิโตรเลียมถูกกักเก็บภายในชั้นหินคดโค้ง ดู structure trap ประกอบ 

foot ส่วนล่างสุด : ๑. ส่วนล่างสุดของเชิงลาด ระดับ หรือที่ลาด ๒. ส่วนโค้งล่างสุดของโครงสร้างขั้นบันไดหรือตะพัก ๓. ในความหมายของการเคลื่อนตัวของพื้นดิน เป็นเส้นของจุดตัดระหว่างผิว หน้าของรอยแยกกับผิวหน้าดั้งเดิม ๔. ส่วนล่างของร่างกายของพวกหอย ใช้ในการคลานของหอยฝาเดียว และใช้ ในการขุดของหอย ๒ ฝา

foraminifera ooze เลนฟอแรมินิเฟอรา : เลนพื้นท้องทะเลเนื้อปูนที่ประกอบด้วยเปลือกของฟอแรมมินิเฟอรา ดู globigerina ooze ประกอบ 

forced folding การคดโค้งจากแรง : การเปลี่ยนลักษณะโครงสร้างของชั้นตะกอนที่อยู่เหนือหินฐาน โดยส่วนใหญ่เกิดจากการเคลื่อนตัวในแนวดิ่งตามรอยเลื่อน การเปลี่ยนลักษณะดังกล่าวมักเป็นรูปโค้งในภาคตัดขวาง ซึ่งรูปแบบโครงสร้างชนิดนี้สามารถพบเห็นได้ชัดเจนในแผ่นดินส่วนหน้า (foreland) ของเทือกเขาร็อกกี

fore arc basin แอ่งโค้งด้านหน้า : แอ่งสะสมตะกอนหรือโครงสร้างแอ่งที่เป็นรูปโค้งอยู่บริเวณด้านหน้ากลุ่มภูเขาไฟซึ่งเป็นร่องลึกตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกที่ซับซ้อน

fore reef หน้าพืดหินปะการัง : ด้านของพืดหินปะการังที่หันไปทางทะเล ซึ่งมีความลาดชันสูง เป็นที่ตกตะกอนของเศษปะการัง ในบางแห่งพืดหินปะการังจะก่อตัวเป็นกำแพงสูงชัน ๘

foreland แผ่นดินส่วนหน้า : ๑. พื้นที่เสถียรตรงขอบแนวการเกิดภูเขา เป็นส่วนที่อยู่หน้าหินที่เกิดการคดโค้งตลบทับและไถลทับ โดยมากมักเกิดขึ้นในบริเวณเปลือกโลกที่เป็นทวีปและเป็นขอบของหินฐานธรณีหรือลานทวีป ๒. แหลมหรือส่วนของแผ่นดินที่ยื่นเข้าไปในทะเล

forelimb ส่วนข้างหน้า : ส่วนข้างที่ชันกว่าของชั้นหินคดโค้งรูปประทุนแบบอสมมาตร

foreslope ลาดหน้าปะการัง : บริเวณที่มีความลาดชันมากจากขอบนอกพืดหินปะการังถึงระดับความลึกประมาณ ๒๐ เมตร นอกจากนี้ยังหมายถึง ชุดลักษณ์ของหินที่เกิดในบริเวณนี้ด้วย เช่น หินกรวดมนหน้าปะการัง

form genus สกุลร่วมรูป : ชื่อหน่วยจำแนกซากดึกดำบรรพ์หน่วยหนึ่ง ตั้งขึ้นเพื่อความสะดวกในการจัดจำแนกซากดึกดำบรรพ์ที่มีรูปร่างเหมือนกัน แต่ยังมีปัญหาเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างกัน หรือชื่อไม่เป็นทางการใช้เรียกสกุลที่มีรูปร่างคล้ายกันแต่มีบรรพบุรุษต่างกัน หรือเรียกสกุลที่มีลำดับความสัมพันธ์กันเนื่องมาจากการแยกสลายพันธุ์จากบรรพบุรุษเดียวกัน

form genus; form-genus ๑. สกุลชิ้นส่วนพืชดึกดำบรรพ์ : คำที่ใช้มากที่สุดในอนุกรมวิธาน เป็นหน่วยที่ใช้กับซากพืชดึกดำบรรพ์ที่พบเพียงส่วนหนึ่งของพืชและไม่พบอยู่ร่วมกับส่วนอื่น ๆ ของพืชนั้น เช่น ลำต้น ใบ หรือเมล็ด ซึ่งใช้เป็นหลักฐานบรรยายประกอบการจำแนกชนิดของพืชทั้งต้นเนื่องจากยังไม่พบต้นจริง ๆ หรือไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแน่ชัด ดู parataxon ประกอบ ๒. สกุลรูปเดียวกัน : ๒.๑ คำที่นำไปใช้กับสกุลของสิ่งมีชีวิตหนึ่งในลำดับของสกุลที่มีความสัมพันธ์กัน เพราะได้แยกออกจากบรรพบุรุษสกุลเดียวกัน คำนี้ใช้น้อยกว่าความหมายข้อ ๑ ๒.๒ คำที่ใช้กับสกุลโดยรวมชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีรูปร่างทั่วไปเหมือนกัน แต่อาจมีบรรพบุรุษต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน

๒.๓ ชนิดรูปเดียวกัน ดู genomorph ความหมายที่ ๒.๑ ประกอบ 

formal unit หน่วยทางการ : หน่วยลำดับชั้นหินที่ได้รับการกำหนดและตั้งชื่อตามกฎเกณฑ์การจำแนกและการตั้งชื่อลำดับชั้นหินของสหพันธ์ธรณีศาสตร์นานาชาติ (International Union of ๙

Geological Science, IUGS) ให้ใช้เรียกอย่างเป็นทางการแล้ว ชื่อลำดับชั้นหินที่ใช้อย่างเป็นทางการต้องขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ เช่น ชั้นหินชอล์ก (Chalk) หินปูนราชบุรี (Ratburi Limestone) ดู informal unit ประกอบ 

format หน่วยหินรูปแบบ : หน่วยลำดับชั้นหินไม่เป็นทางการ ซึ่งอยู่ระหว่างแนวชั้นหลัก (marker horizon) ๒ ชั้น สามารถติดตามหาความต่อเนื่องของลำดับชั้นหินเช่นนี้ในพื้นที่ต่าง ๆ ได้ โดยถือว่าแนวชั้นหลักเดียวกันจะมีอายุเท่ากัน ไม่ว่าจะพบในที่ใดก็ตาม หน่วยหินรูปแบบมีประโยชน์ในการเทียบสัมพันธ์ภาคตัดลำดับชั้นหิน (stratigraphic section) ระหว่างพื้นที่ต่าง ๆ โดยเฉพาะใต้พื้นดิน ดู geologic section ประกอบ 

formation damage ความเสื่อมสภาพชั้นกักเก็บ : สภาพของชั้นกักเก็บปิโตรเลียมที่ลดความสามารถในการซึมซับหรือการไหลอันเป็นผลมาจากโคลนเจาะไหลเข้าไปอุดช่องว่างบริเวณผนังหลุม มีความหมายเหมือนกับ skin damage 

formation evaluation การประเมินค่าชั้นกักเก็บ : กระบวนการประเมินค่าชั้นกักเก็บปิโตรเลียมจากหลุมเจาะเชิงพาณิชย์

formation factor อัตราส่วนความนำไฟฟ้า : อัตราส่วนของการนำไฟฟ้าระหว่างของไหลกับหินที่มีของไหลนั้นอยู่

formation water; native water น้ำเดิมในชั้นหิน : น้ำซึ่งเกิดอยู่ในหินหรือช่องว่างของชั้นหินตั้งแต่หินหรือชั้นหินนั้นตกสะสมตัว ตรงข้ามกับของไหลที่ถูกอัดเข้าไปในชั้นหิน เช่น น้ำโคลนเจาะ (drilling mud) ดู connate water ประกอบ 

form genus; form-genus ๑. ขั้นอนุกรมวิธานชิ้นส่วนพืช : คำที่ใช้มากที่สุดในอนุกรมวิธาน จัดเป็นหน่วยสำหรับเรียกซากพืชดึกดำบรรพ์ที่พบเพียงส่วนหนึ่งของพืชทั้งต้นและไม่พบอยู่ร่วมกับส่วนอื่น ๆ ของพืชนั้น เช่น ลำต้น ใบ หรือเมล็ด ซึ่งใช้เป็นคำบรรยายประกอบการจำแนกชนิดของพืชทั้งต้นเนื่องจากยังไม่พบต้นจริง ๆ ของพืชนั้น หรือไม่สามารถตรวจสอบได้อย่างแน่ชัด ดู parataxon ประกอบ ๒. สกุลรูปเดียวกัน : 

๒.๑ คำที่นำไปใช้กับสกุลของสิ่งมีชีวิตหนึ่งในลำดับของสกุลที่มีความสัมพันธ์กัน เพราะได้แยกออกจากบรรพบุรุษสกุลเดียวกัน (old familiar genus) คำนี้ใช้น้อยกว่าความหมายข้อ ๑ ๑๐

๒.๒ คำใช้กับสกุลที่รวมเอาชนิดต่าง ๆ ซึ่งมีรูปร่างโดยทั่วไปเหมือนกัน แต่ อาจมีบรรพบุรุษต่างกันเข้าไว้ด้วยกัน ๒.๓ ชนิดรูปเดียวกัน ดู genomorph ความหมายที่ ๒.๑ ประกอบ 

fossa แอ่งยาว : ๑. ธรณีแอ่นตัวขนาดใหญ่ตรงขอบของทวีป ๒. แอ่งบนดาวอังคารที่มีลักษณะคล้ายคลึงกับแอ่งกราเบนบนโลก ดู graben ประกอบ ๓. แอ่งบนผิวของเปลือกหอยหรือกระดูก ใช้สำหรับเป็นที่ยึดเกาะของกล้ามเนื้อหรือเอ็น m,

fossil ore สินแร่ซากดึกดำบรรพ์ : แหล่งแร่เหล็กที่เกิดสะสมแบบหินชั้นชนิดที่มีต้นกำเนิดจากสารอินทรีย์ แต่ต่อมาสารอินทรีย์ถูกแทนที่ด้วยแร่ เช่น แหล่งสินแร่คลินตัน ซึ่งประกอบด้วยเศษชิ้นเปลือกหอยที่ถูกแทนที่ด้วยฮีมาไทต์ และเชื่อมประสานด้วยฮีมาไทต์และคาร์บอเนต ดู flaxseed ore ประกอบ 

fossil ore สินแร่ซากดึกดำบรรพ์ : แหล่งแร่เหล็กที่มีกำเนิดแบบหินตะกอน ซึ่งชั้นตะกอนเปลือกหอยถูกแทนที่และเชื่อมประสานด้วยฮีมาไทต์และคาร์บอเนต ทำให้มีปริมาณเหล็กอย่างสมบูรณ์ ตัวอย่างเช่น แหล่งสินแร่คลินตัน ดู flaxseed ore ประกอบ 

fossildiagenese ประวัติซากดึกดำบรรพ์ : คำภาษาเยอรมันประยุกต์ใช้กับวิชาบรรพกาลนิเวศวิทยาสาขาหนึ่ง ซึ่งเกี่ยวกับประวัติของซากสิ่งมีชีวิตหลังการกลบฝัง ดู biostratonomy และ taphonomy 

four component seismic data; 4 C seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนสี่แนว : ข้อมูลที่ได้จากการสำรวจวัดความไหวสะเทือนในหลุมเจาะหรือในทะเล โดยการจัดวางตัวรับสัญญาณเป็น ๓ ทิศทาง ให้ทำมุมกันบนผิวดินหรือผิวน้ำ สำหรับทิศทางที่ ๔ เป็นตัวรับสัญญาณอีกชุดหนึ่งอยู่ที่ผนังหลุมหรือพื้นทะเลเพื่อวัดคลื่นเฉือนและคลื่นอัด

four dimension seismic data; 4 D seismic data ข้อมูลความไหวสะเทือนสี่มิติ : ข้อมูลที่ได้จากการบันทึกผลการสำรวจความไหวสะเทือนสามมิติในระยะเวลาที่ต่างกันในบริเวณเดียวกัน เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมที่ผลิตขึ้นมา ณ เวลาต่าง ๆ ความเปลี่ยนแปลงนี้คือ ตำแหน่งของของไหล ความอิ่มตัว ความดัน และอุณหภูมิ ข้อมูลนี้สามารถบันทึกได้ทั้งที่พื้นผิวหรือในหลุมเจาะ มีความหมายเหมือนกับ time-lapse seismic data ๑๑

free energy พลังงานเสรี : ความสามารถของการทำงานของระบบหนึ่ง ปริมาณการเปลี่ยนแปลงพลังงานเสรีวัดได้จากผลการทำงานที่ได้งานมากที่สุดจากกระบวนการที่กำหนดให้ ดู Gibbs’ free energy ประกอบ 

free-air anomaly ค่าผิดปรกติฟรีแอร์ : ค่าความโน้มถ่วงผิดปรกติ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นค่าความแตกต่างระหว่างค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้ทางทฤษฎีกับค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้จริง โดยได้แก้ค่าฟรีแอร์แล้ว ดู free-air correction ประกอบ 

free-air correction การแก้ค่าฟรีแอร์ : การแก้ไขค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้โดยแก้ไขที่ระดับความสูงของสถานีวัดสู่ระดับน้ำทะเล

fringing reef พืดหินขอบ : พืดหินที่เกิดจากปะการังอยู่ติดกับชายฝั่งของเกาะหรือพื้นทวีป มีลักษณะไม่ราบเรียบ ผิวหน้าราบ โผล่พ้นน้ำเมื่อน้ำลง มีความกว้างเป็นกิโลเมตร ด้านหน้าที่ติดกับทะเลเปิดจะเอียงเทมากเข้าหาพื้นทะเล อาจมีลำคลองหรือทะเลสาบคั่นระหว่างพืดหินกับแผ่นดิน มีความหมายเหมือน shore reef และดู barrier reef ประกอบ 

frustule โครงร่างไดอะตอม : ผนังเซลล์เนื้อซิลิกาชนิดโอปอที่ประกอบเป็นฝาทั้งสองของไดอะตอม มีขนาดไม่เท่ากันคล้ายแคปซูลยา ดูรูปประกอบ 

fuchsite ฟุกไซต์ : ไมกาชนิดหนึ่งมีสีเขียว เนื่องจากมีธาตุโครเมียม มีสูตรเคมี K(Al,Cr)2(AlSi3O10)(OH)2 พบฝังประในควอตซ์ และพบในหินชีสต์ หินโดโลไมต์ หินเพอริโดไทต์ และหินเซอร์เพนทิไนต์ มีความหมายเหมือนกับ chrome-mica ประกอบ 

future ore; possible ore สินแร่อาจทำเหมืองได้ : ดู possible ore; future ore 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

gal แกล : หน่วยวัดอัตราเร่งหรือแรงโน้มถ่วงต่อมวล ใช้ในการวัดความโน้มถ่วง หนึ่งแกลเท่ากับ ๑ เซนติเมตรต่อวินาทีกำลังสอง หรือเท่ากับ ๑๐-๒ นิวตันต่อกิโลกรัม ปรกติความโน้มถ่วงของโลกมีค่าเท่ากับ ๙๘๐ แกล แกลเป็นหน่วยที่ใช้ตามชื่อนักฟิสิกส์ชาวอิตาลี ชื่อ กาลิเลโอ กาลิเลอี (Galileo Galilei ค. ศ. ๒๑๐๗-๒๑๘๕)

ganister กานอิสเตอร์ : ๑. หินทรายหรือหินควอร์ตไซต์เนื้อละเอียดแข็งที่มีซิลิกาเป็นส่วนประกอบหลัก ใช้ในการบุผนังเตาถลุง ๒. ในประเทศอังกฤษหมายถึงชั้นดินเก่าที่เต็มไปด้วยซากรากฝอยและมีซิลิกาสูงรองรับอยู่ข้างใต้ชั้นถ่านหิน ในที่อื่นใช้คำว่า underclay ๓. สารผสมของแร่ควอตซ์บดและดินทนไฟ ใช้ในการบุผนังเตาหลอมโลหะ ๑๒

garnet การ์เนต : กลุ่มของแร่ซิลิเกตกลุ่มหนึ่ง มีสูตรทั่วไป A3B2(SiO4)3 โดย A = Ca2+,Mg2+, Fe2+ B = Ae3+,Fe3+, Cr3+ ซึ่งธาตุที่แสดงได้ด้วย A และ B นั้นสามารถแทนที่กันได้ในขอบเขตอันจำกัด ผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า มีสีต่าง ๆ จนถึงไม่มีสี กลุ่มแร่การ์เนตได้แก่ แอลมันไดต์ แอนดราไดต์ กรอสซูลาไรต์ สเปสซาไทต์ อูวาโรไวต์ แร่นี้พบอยู่ในหินอัคนีและหินแปร แร่การ์เนตที่มีสีแดงเข้ม ใส ใช้เป็นอัญมณีได้ เรียกว่า โกเมน

gas cycling การหมุนเวียนโดยแก๊ส : กระบวนการผลิตปิโตรเลียมขั้นทุติยภูมิเมื่อแรงดันในแหล่งกักเก็บลดลงหลังจากสิ้นสุดการผลิตขั้นปฐมภูมิโดยการอัดแก๊สที่ผลิตจากแหล่งกักเก็บนั้นลงไปเพื่อเพิ่มผลผลิตแก๊สและน้ำมัน

gas drive แรงขับแก๊ส : การเพิ่มแรงขับในแหล่งกักเก็บโดยใช้การขยายตัวของแก๊สซึ่งอัดตัวอยู่ในแหล่งกักเก็บเพื่อขับดันน้ำมันให้ไหลออกจากหลุม ดู drive mechanism; reservoir drive; reservoir drive mechanism ประกอบ 

gas injection การอัดแก๊ส : การอัดแก๊สเข้าไปในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมเพื่อรักษาหรือเพิ่มความดันในการเพิ่มผลผลิต

gas trap แหล่งกักเก็บแก๊ส : ดูคำอธิบายใน petroleum trap 

gas well หลุมแก๊ส : หลุมเจาะที่สามารถผลิตแก๊สธรรมชาติได้ หรือผลิตแก๊สธรรมชาติได้มากกว่าน้ำมัน

gas-oil contact (GOC) รอยต่อแก๊ส–น้ำมัน (จีโอซี) : รอยสัมผัสระหว่างแก๊สกับน้ำมันดิบในชั้นกักเก็บ

gastrolith; gizzard stone; stomach stone กรวดในกระเพาะ : ก้อนกรวดหรือก้อนหินที่ถูกขัดสีจนมนกลมมัน พบในท้องของซากดึกดำบรรพ์สัตว์มีกระดูกสันหลัง โดยเฉพาะสัตว์เลื้อยคลาน สันนิษฐานว่า สัตว์บกใช้ในการบดอาหาร ส่วนสัตว์เลื้อยคลานทะเลอาจใช้เป็นเครื่องช่วยในการทรงตัว

gastropod หอยกาบเดี่ยว : สัตว์พวกหอย จัดอยู่ในชั้นแกสโทรโพดา ลักษณะเฉพาะคือ มีหัวที่ประกอบด้วยตาและหนวดเห็นชัดเจน เปลือกมีลักษณะเป็นฝาเดี่ยวเนื้อปูน ปลายข้างหนึ่งเป็นยอดปิด บางครั้งเปลือกจะมีลักษณะบิดเป็นเกลียว ไม่มีลักษณะสมมาตร และไม่มีผนังแบ่งห้อง มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนปลายถึงปัจจุบัน ๑๓

gas-water contact (GWC) รอยต่อแก๊ส–น้ำ (จีดับเบิลยูซี) : รอยสัมผัสระหว่างแก๊สกับน้ำในชั้นกักเก็บ

Geiger counter เครื่องนับไกเกอร์ : เครื่องมือสำหรับตรวจวัดรังสีบีตาและแกมมา เป็นหลอดแก้วรูปทรงกระบอก บรรจุด้วยแก๊สที่เป็นส่วนผสมของอาร์กอนร้อยละ ๙๐ และเอทิลแอลกอฮอล์ร้อยละ ๑๐ ความดันแก๊ส ๒-๑๐ เซนติเมตรปรอท ที่แกนกลางหลอดตามแนวยาวมีลวดทังสเตนขึงไว้ ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าบวก และมีกระบอกทองแดงซ้อนอยู่ภายในหลอดแก้ว ทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้าลบ ความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างขั้วบวกและขั้วลบอยู่ระหว่าง ๘๐๐-๒,๐๐๐ โวลต์ สามารถตรวจวัดหรือนับรังสีได้เนื่องจากการแตกตัวเป็นไอออนของแก๊สเมื่อรังสีผ่านเครื่องมือไป ความต่างศักย์ไฟฟ้าที่สูงระหว่างขั้วบวกและขั้วลบทำให้อิเล็กตรอนมีอัตราเร่งสูงขึ้น เกิดการแตกตัวเป็นไอออนมากขึ้นจากการชนกันของอิเล็กตรอนกับอะตอมและโมเลกุลที่เป็นกลาง จนกระทั่งมีการปล่อยประจุไฟฟ้าออกมาผ่านความต้านทานไฟฟ้าเกิดกระแสไฟฟ้าจำนวนมากขึ้นในช่วงเวลาสั้น ๆ เรียกว่าพัลส์ (pulse) เมื่อขยายขนาดของพัลส์ให้ใหญ่ขึ้นด้วยวงจรอิเล็กทรอนิกส์ ทำให้สามารถนับรังสีบีตาและแกมมาที่วิ่งผ่านเข้ามาในเครื่องนับไกเกอร์ได้ เครื่องมือนี้ใช้สำรวจหาแหล่งแร่กัมมันตรังสี มีความหมายเหมือนกับ Geiger-Mueller counter 

Geiger-Mueller counter เครื่องนับไกเกอร์มุลเลอร์ : ดู Geiger counter 

general exploration การสำรวจทั่วไป : การสำรวจเพื่อแยกแยะแหล่งแร่ที่พบแล้วในเบื้องต้น วิธีการที่ใช้รวมถึงการทำแผนที่ธรณีวิทยา เก็บตัวอย่าง ขุดร่องสำรวจ เจาะสำรวจ เพื่อกำหนดค่าเบื้องต้นของปริมาณและชนิดของแร่ ซึ่งอาจรวมถึงการทดสอบทางวิทยาแร่ในห้องปฏิบัติการ และประมาณค่าอย่างจำกัด โดยอาศัยวิธีการตรวจทางอ้อม ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างลักษณะทางธรณีวิทยาที่สำคัญของแหล่งแร่ที่จะเป็นสิ่งชี้บอกถึงความต่อเนื่องของแหล่งแร่ และสามารถประเมินขนาด รูปร่าง โครงสร้าง และความสมบูรณ์ของแร่ในเบื้องต้นได้ ข้อมูลในขั้นนี้เพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจว่า ควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้เบื้องต้นในการลงทุนทำเหมือง หรือสำรวจแหล่งแร่ขั้นละเอียดต่อไปหรือไม่

generic –สกุล : คำที่เกี่ยวกับสกุล ดู genus ประกอบ ๑๔

genetic –พันธุกรรม : เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ที่เกิดจากการมีต้นกำเนิดร่วมกัน หรือลักษณะรูปร่างที่มีความเกี่ยวข้องกันทางพันธุกรรม

genetics พันธุศาสตร์ : วิชาที่ศึกษาถึงพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตซึ่งเกี่ยวกับส่วนสำคัญและกระบวนการถ่ายทอดลักษณะต่าง ๆ จากชั่วรุ่นหนึ่งไปสู่อีกชั่วรุ่นหนึ่ง

genomorph ๑. รูปพันธุกรรม : สมาชิกในสกุลหนึ่งซึ่งมีแนววิวัฒนาการขั้นพื้นฐานบางอย่างแตกต่างไปจากลักษณะรูปร่างดั้งเดิมตามระยะเวลาที่ผ่านไป ๒. ชนิดรูปเดียวกัน : ๒.๑ กลุ่มของชนิดที่มีลักษณะภายนอกเหมือนกันแต่ไม่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกัน ๒.๒ สกุลรูปเดียวกัน ดู form genus; form-genus ความหมายที่ ๒.๒ ประกอบ 39-

genotype จีโนไทป์, แบบฉบับพันธุกรรม : ๑. ดู type species ๒. ในทางพันธุศาสตร์ หมายถึงโครงสร้างทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือชนิด (species) หนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะที่มองเห็นภายนอก ดู biotype ประกอบ 

genus สกุล : ขั้นหรือลำดับหนึ่งของการจัดจำแนกชนิดของพืชและสัตว์ อยู่ระหว่างวงศ์ (family) และชนิด (species) ชื่อสกุลเป็นทวินาม เขียนขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์ใหญ่ ตามหลังด้วยชื่อชนิดซึ่งขึ้นต้นด้วยตัวพิมพ์เล็ก ดู subgenus และ taxonomy ประกอบ 

geoastronomy : (รอบัญญัติศัพท์และเขียนคำอธิบาย)

geobiology ธรณีชีววิทยา : วิทยาศาสตร์ที่รวมธรณีวิทยากับชีววิทยาเข้าด้วยกัน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างชีวภาค และธรณีภาค หรือบรรยากาศ ซึ่งต้องอาศัยความรู้เกี่ยวกับสาขาวิชาต่าง ๆ เช่น บรรพชีวินวิทยา จุลชีววิทยา วิทยาแร่ ชีวเคมี ตะกอนวิทยา พันธุศาสตร์ ธรณีเคมี วิทยาศาสตร์กายภาพ และวิชาเกี่ยวกับชั้นบรรยากาศ

geobotanical prospecting การสำรวจธรณีพฤกษศาสตร์ : การสำรวจแหล่งแร่และทรัพยากรธรณีโดยการสังเกตพันธุ์พืชชนิดจำเพาะหรือพันธุ์พืชชี้นำ (indicator species) ที่สามารถเติบโตได้เฉพาะในพื้นที่ที่มีปริมาณของโลหะชนิดหนึ่งหรือหลายชนิดสูงผิดปรกติ พันธุ์พืชชนิดที่มีลักษณะผิดปรกติ หรือชนิดที่มีสีโดดเด่น ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้ถึงส่วนประกอบของดินและความลึก ตลอดจนศิลาวิทยาของหินฐาน ดู biogeochemical prospecting ประกอบ ๑๕

geochemical cycle วัฏจักรธรณีเคมี : ลำดับเหตุการณ์ที่มีการเคลื่อนย้ายถ่ายเทหรือแลกเปลี่ยนธาตุต่าง ๆ ในระหว่างการเกิดวัฏจักรหิน โดยเริ่มจากหินหนืดเปลี่ยนไปเป็นหินอัคนี จากหินอัคนีผุพังเป็นตะกอน จากตะกอนเปลี่ยนเป็นหินตะกอน และหินตะกอนแปรสภาพเป็นหินแปรตามลำดับ จากนั้นเปลี่ยนไปเป็นหินมิกมาไทต์ และจากหินมิกมาไทต์เปลี่ยนกลับไปเป็นหินหนืดซึ่งเป็นจุดเริ่มต้น นอกจากนี้ยังมีวัฏจักรย่อย ได้แก่ ตะกอนเปลี่ยนเป็นหินตะกอน และจากหินตะกอนผุพังกลับไปเป็นตะกอนอีก ดู cycle of rock; rock cycle ประกอบ 

geochron ธรณีกาล : ช่วงของเวลาทางธรณีวิทยาซึ่งสอดคล้องกับหน่วยลำดับชั้นหินตามลักษณะหินหน่วยหนึ่ง ๆ

geochronologic interval ช่วงธรณีกาล : ช่วงเวลาระหว่างการเกิดเหตุการณ์ทางธรณีวิทยา ๒ ครั้ง

geochronologic unit; geologic-time unit; time unit หน่วยธรณีกาล : ดู geologic-time unit; geochronologic unit; time unit 

geochronometry การวัดอายุธรณีกาล : การวัดหาอายุทางธรณีวิทยาโดยใช้เครื่องมือ เช่น การวัดหาอายุทางกัมมันตรังสี อายุที่ได้จะเป็นอายุสัมบูรณ์ ดู radiometric dating ประกอบ 

geocosmology ธรณีจักรวาลวิทยา : วิชาวิทยาศาสตร์ที่ว่าด้วยการกำเนิดและประวัติโลก รวมทั้งสมบัติของดาวเคราะห์ เช่น รูปร่างมวล ความหนาแน่น สนามแม่เหล็ก การหมุน ตำแหน่งขั้วดาวเคราะห์ อิทธิพลของระบบสุริยะ กาแลกซี และจักรวาลต่อกระบวนการพัฒนาโลก และผลการกระทบระหว่างวัสดุของโลกและจักรวาล มีความหมายเหมือนกับ geoastronomy 

geodesy จีออเดซี : ๑. การคำนวณทางคณิตศาสตร์เพื่อศึกษารูปทรง สนามความโน้มถ่วง และสนามแม่เหล็กของโลก โดยหาตำแหน่งของจุดใด ๆ บนพื้นโลกเปรียบเทียบกับระบบที่ใช้อ้างอิง ๒. การสำรวจเพื่อหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับรูปร่างและมิติของโลก ๑๖

geoid จีออยด์ : ๑. รูปทรงสมมุติแบบหนึ่งของโลก ผิวพื้นของรูปทรงนี้ได้จากการสมมุติให้เปลือกโลกมีระดับเท่ากับระดับทะเลปานกลางขณะทรงตัวอยู่นิ่ง และให้เส้นจีออยด์ลอดใต้พื้นทวีปไปเชื่อมต่อกันทั่วทั้งโลก ลักษณะผิวพื้นของจีออยด์จะเป็นแบบลูกคลื่น เนื่องจากแรงดึงดูดของโลกในระหว่างบริเวณที่เป็นทวีปกับบริเวณที่เป็นมหาสมุทรไม่เท่ากัน ผิวพื้นของรูปทรงส่วนที่เป็นทวีปจึงสูงกว่าผิวพื้นของรูปทรงส่วนที่เป็นมหาสมุทร ดู spheroid ประกอบ ๒. พื้นผิวโลกสมมุติที่ใช้เป็นระดับอ้างอิงสำหรับการสำรวจวัดค่าความโน้มถ่วง จุดทุกจุดบนพื้นผิวนี้มีค่าความต่างศักย์ของความโน้มถ่วงเท่ากันหมด และมีค่าใกล้เคียงกับความต่างศักย์ที่วัด ณ ระดับน้ำทะเลปานกลาง

geoisotherm; geotherm; isogeotherm เส้นอุณหภูมิภายในโลกเท่า : ดู isogeotherm; geoisotherm; geotherm 

geologic age อายุทางธรณีวิทยา : ๑. ช่วงระยะเวลาที่ซากดึกดำบรรพ์หรือเหตุการณ์หรือลักษณะทางธรณีวิทยาได้ปรากฏหรือเกิดขึ้น ซึ่งใช้ในการจัดทำมาตราธรณีกาล (geologic time scale) แสดงได้ทั้งอายุสัมบูรณ์ คือระบุได้เป็นปี และอายุเปรียบเทียบ ๒. ช่วงระยะเวลาที่ยาวนานมากในประวัติทางธรณีวิทยา (geologic history) ซึ่งแตกต่างจากช่วงระยะเวลาในปัจจุบันหรือในประวัติศาสตร์ ดู geologic history ประกอบ 

geologic column; stratigraphic column ภาพตั้งลำดับชั้นหิน : ๑. แผนภาพซึ่งส่วนใหญ่ประกอบกันขึ้นเป็นรูปแนวตั้งแสดงถึงลำดับของหน่วยลำดับชั้นหินและชั้นตะกอนของพื้นที่ใด ๆ ซึ่งอาจเจาะจงเฉพาะที่หรือคลุมภาคพื้น เพื่อชี้ให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของลำดับหน่วยชั้นหินและชั้นตะกอนกับหน่วยย่อยของธรณีกาล ดู columnar section ประกอบ ๒. ลำดับชั้นหินและชั้นตะกอนที่แสดงในรูปของแผนภาพ ดู geologic section ประกอบ 

geologic hazard ธรณีพิบัติภัย : สภาพหรือปรากฏการณ์ทางธรณีวิทยาที่นำความเสียหายหรือแสดงถึงความเสี่ยง หรือมีแนวโน้มที่จะเป็นอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน ซึ่งอาจเกิดตาม ๑๗

ธรรมชาติ เช่น แผ่นดินไหว และภูเขาไฟระเบิด หรือเกิดจากการกระทำของมนุษย์ เช่น แผ่นดินทรุด และการรุกล้ำของน้ำเค็มจากการสูบน้ำบาดาล

geologic high บริเวณธรณีสูง : โครงสร้างธรณีวิทยาที่สูงกว่าบริเวณรอบ ๆ มักใช้เรียกในแหล่งน้ำมัน

geologic history ประวัติทางธรณีวิทยา : เรื่องราวความเป็นมาของโลกและสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกตลอดช่วงเวลาธรณีกาล รวมทั้งสภาวะทางเคมี ฟิกส์ ชีววิทยา ซึ่งได้เกิดขึ้นบนโลกหรือในโลก กระบวนการต่าง ๆ ซึ่งทำให้เกิดเป็นสภาวะดังกล่าว และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับส่วนใดส่วนหนึ่งของโลกนับตั้งแต่กำเนิดโลกจนถึงปัจจุบัน มีความหมายเหมือนกับ earth history ดู geologic time ประกอบ 

geologic section ภาคตัดลำดับชั้นหิน : ๑. ลำดับชั้นของหน่วยหินใด ๆ ที่พบในพื้นที่ที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นบนพื้นผิวหรือใต้ผิวดิน เช่น จากหลุมเจาะหรืออุโมงค์เหมืองแนวตั้ง หรือเป็นภาพแท่งลำดับชั้นหินเฉพาะที่ มีความหมายเหมือนกับ stratigraphic section ๒. ทางธรณีวิทยาหมายถึง ภาคตัด (section)

geologic thermometer; geothermometer มาตรความร้อนใต้พิภพ : ดู geothermometer; geologic thermometer 

geologic time ธรณีกาล : ช่วงเวลาตั้งแต่การสิ้นสุดของกระบวนการก่อเกิดโลกจนถึงจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์ ซึ่งมนุษย์ได้บันทึกไว้เป็นครั้งแรก ธรณีกาลเป็นช่วงเวลาหนึ่งที่ยาวนานมากในประวัติทางธรณีวิทยา ซึ่งสามารถศึกษาได้จากข้อมูลในลำดับชั้นหิน และไม่อาจหาขอบเขตที่แน่นอนได้

geological sample; sample ตัวอย่างทางธรณีวิทยา : หน่วยตัวแทนของหมวดหิน ของเหลว สินแร่ ซากดึกดำบรรพ์ หรือวัสดุ สำหรับการจัดแสดงหรือการวิเคราะห์ในห้องปฏิบัติการเท่านั้น

geologic-time unit; geochronologic unit; time unit หน่วยธรณีกาล : หน่วยที่ใช้ในการจัดลำดับเวลาต่อเนื่องในประวัติทางธรณีวิทยาให้สอดคล้องกับหน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาล (chronostratigraphic unit) หน่วยธรณีกาลแต่ละหน่วยแบ่งแยกกันตามเหตุการณ์ซึ่งมีการจัดลำดับจากหน่วยใหญ่เป็นหน่วยย่อยลงไปเรื่อย ๆ คือ บรมยุค (eon) มหายุค (era) ยุค (period) สมัย (epoch) และช่วงอายุ (age) ดู time-stratigraphic unit ประกอบ ๑๘

geomagnetic field; earth’s magnetic field สนามแม่เหล็กโลก : ดู earth’s magnetic field; geomagnetic field 

geomagnetic reversal; reversal การกลับขั้ว : ดู reversal; geomagnetic reversal 

geomagnetic reversal; magnetic reversal การกลับขั้วสนามแม่เหล็กโลก : การเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลกระหว่างสภาพขั้วปรกติกับสภาพกลับขั้ว

geomicrobiology ธรณีจุลชีววิทยา : วิทยาศาสตร์ซึ่งรวมธรณีวิทยากับจุลชีววิทยาเข้าด้วยกัน เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างจุลชีพกับสิ่งแวดล้อมที่เป็นอนินทรีย์ เช่น หินชั้น น้ำบาดาล น้ำมัน

genotype จีโนไทป์, แบบฉบับพันธุกรรม : ๑. ดู type species ๒. ในทางพันธุศาสตร์ หมายถึงโครงสร้างทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิตหรือชนิด (species) หนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากลักษณะที่มองเห็นภายนอก ดู biotype ประกอบ 

geophysical exploration; geophysical prospecting การสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ : การวัดสมบัติทางฟิสิกส์ของหินใต้พื้นดินและแปลความหมายออกมาเป็นลักษณะธรณีวิทยา มีเป้าหมายทางเศรษฐกิจเพื่อค้นหาแหล่งเชื้อเพลิง แหล่งน้ำ หรือแหล่งแร่ โดยการวัดเวลาการเดินทางของคลื่นไหวสะเทือน วัดความต่างศักย์ไฟฟ้า ความเข้มสนามแม่เหล็ก ความโน้มถ่วง อุณหภูมิ และอื่น ๆ มีความหมายเหมือนกับ applied geophysics 

geophysical survey การสำรวจวัดทางธรณีฟิสิกส์ : การสำรวจด้วยวิธีการทางธรณีฟิสิกส์ ซึ่งสำรวจวัดสมบัติทางฟิสิกส์ของหินใต้พื้นดิน ได้แก่ อำนาจแม่เหล็ก ความโน้มถ่วง สภาพต้านทานไฟฟ้า สภาพนำไฟฟ้า ความเร็วคลื่นไหวสะเทือน และความเข้มของกัมมันตรังสี เป็นต้น

geostatic pressure ความดันธรณีสถิต : ความดันในแนวดิ่ง ณ จุดใด ๆ ในเปลือกโลก ซึ่งเกิดจากน้ำหนักกดทับของชั้นหินที่อยู่ด้านบน ดู lithostatic pressure ประกอบ 

geotherm; geoisotherm; isogeotherm เส้นอุณหภูมิภายในโลกเท่า : ดู isogeotherm; geoisotherm; geotherm ๑๙

geothermal energy พลังงานความร้อนใต้พิภพ : พลังงานที่ได้จากความร้อนภายในโลก

geothermal gradient ลาดความร้อนใต้พิภพ : อัตราการเปลี่ยนอุณหภูมิของความร้อนภายในโลกตามความลึก อัตราการเปลี่ยนอุณหภูมินี้จะมีค่ามากน้อยแตกต่างกันไปแล้วแต่บริเวณ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับลักษณะการไหลของความร้อนและสภาพนำความร้อนของหิน ณ บริเวณนั้น ตามปรกติจะมีค่าอุณหภูมิเพิ่มขึ้นโดยประมาณ ๒๕ องศาเซลเซียสต่อความลึก ๑ กิโลเมตร ดู gradient ๒ ประกอบ 

geothermal heat flow การไหลถ่ายความร้อนใต้พิภพ : ปริมาณพลังงานความร้อนเป็นแคลอรีที่ไหลออกมาจากภายในโลกต่อพื้นที่หนึ่งตารางเซนติเมตรในเวลา ๑ วินาที โดยทั่วไปมีค่าเฉลี่ยประมาณ ๑.๕ ± ๐.๑๕ ไมโครแคลอรีต่อพื้นที่ ๑ ตารางเซนติเมตรต่อวินาที หรือเท่ากับ ๑.๕ หน่วยการไหลถ่ายของความร้อน (heat-flow unit) การไหลของความร้อนสำหรับหินอัคนีมีสหสัมพันธ์แบบเส้นตรงระหว่างความร้อนที่เกิดในหินอัคนีกับการไหลของความร้อนที่ผิวโลก ความร้อนในหินอัคนีเกิดมาจากแร่ยูเรเนียม โพแทสเซียม และทอเรียม มีความหมายเหมือนกับ heat flow 

geothermometer; geologic thermometer มาตรความร้อนใต้พิภพ : ๑. เทอร์โมมิเตอร์แบบหนึ่งที่ใช้วัดอุณหภูมิในหลุมเจาะหรือในตะกอนใต้ ทะเลลึก ๒. แร่หรือหินที่บ่งบอกถึงช่วงอุณหภูมิเมื่อตอนเกิด

geothermometry การวัดความร้อนใต้พิภพ ๑. การศึกษาเกี่ยวกับความร้อนของโลก ซึ่งรวมถึงผลกระทบต่าง ๆ ที่เกิดจากกระบวนการทางฟิสิกส์และเคมี ๒. การวัดอุณหภูมิ ณ จุดสมดุลทางเคมีของหิน แร่ หรือสารหลอมเหลว

geyserite ไกเซอไรต์, กีย์เซอไรต์ : ดู siliceous sinter 

ghost โกสต์ : ดูคำอธิบายใน multiple; multiple reflection 

giantism; gigantism สภาพร่างยักษ์ : ดู gigantism; giantism 

Gibbsfree energy พลังงานอิสระกิบบ์ : พลังงานอิสระกิบบ์มีสัญลักษณ์ G มีค่าเท่ากับความแตกต่างระหว่างเอนแทลพีและผลคูณของเอนโทรพีกับอุณหภูมิของระบบ ตามยินาม ๒๐

ดังนี้ G = H – ST ซึ่ง H = เอนแทลพี S = เอนโทรพี และ T = อุณหภูมิ โดยทั่วไปพลังงานอิสระ กิบบ์ใช้ทำนายทิศทางของปฏิกิริยาเคมี ถ้าพลังงานอิสระกิบบ์เป็นลบปฏิกิริยาจะเกิดขึ้นเองได้ ถ้าพลังงานกิบบ์เป็นสูญแสดงว่าระบบอยู่ในสมดุล ถ้าพลังงานกิบบ์เป็นบวกแสดงว่าปฏิกิริยาเกิดขึ้นเองไม่ได้ (หรือเกิดขึ้นเองแบบย้อนกลับ) (อุณหภูมิคงที่ในระบบปิด (ยังไม่ยุติ : รอตรวจสอบความหมายกับพจนานุกรม Science and Technology)

gigantism; giantism สภาพร่างยักษ์ : รูปร่างของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีขนาดใหญ่โตเด่นกว่าขนาดปรกติทั่วไปของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน เกิดจากการเจริญเติบโตที่เกินขนาด

girdle . ส่วนโอบ : ส่วนที่เหลื่อมกันของฝาทั้งสองของโครงร่างไดอะตอม ดู frustule ประกอบ . กระดูกโอบ : โครงกระดูกของสัตว์มีกระดูกสันหลังที่เชื่อมต่อระหว่างขาหน้าหรือขาหลังกับโครงกระดูกแกนของลำตัว เช่น กระดูกไหล่ กระดูกสะโพก . ส่วนขอบ : บริเวณพื้นที่เล็ก ๆ ที่เป็นรอยต่อระหว่างส่วนหน้า (crown) และส่วนฐาน (pavilion) ของรัตนชาติที่เจียระไนแบบหน้าเหลี่ยมหรือแบบแฟนซี

gizzard stone; gastrolith; stomach stone กรวดในกระเพาะ : ดู gastrolith; gizzard stone; stomach stone 

glacial erratic; erratic หินธารน้ำแข็งพา : ดู erratic; glacial erratic 

glacial lobe พูธารน้ำแข็ง : ส่วนของธารน้ำแข็งที่ยื่นออกจากพืดน้ำแข็ง มีลักษณะคล้ายลิ้นขนาดใหญ่ มีความหมายเหมือนกับ lobe ๒ ดู outlet glacier ประกอบ 

glass sponge; hyalosponge ฟองน้ำแก้ว : ดู hyalosponge; glass sponge 

global positioning system (GPS) ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (จีพีเอส) : เทคโนโลยีที่ใช้กำหนดตำแหน่งบนพื้นโลกโดยอาศัยดาวเทียม สถานีภาคพื้นดิน และเครื่องกำหนดตำแหน่งจีพีเอส โดยเครื่องกำหนดตำแหน่งจีพีเอสจะรับสัญญาณจากดาวเทียมที่ระบุเวลาและตำแหน่งของ ๒๑

ดาวเทียมดวงที่ส่งสัญญาณมาคำนวณหาระยะเสมือนจริงแต่ละระยะ และจะใช้ข้อมูลดังกล่าวจากดาวเทียมอย่างน้อย ๔ ดวงมาคำนวณหาตำแหน่งของเครื่องรับ พร้อมทั้งแสดงให้ผู้ใช้ทราบบนจอแสดงผลของเครื่อง เป็นค่าละติจูด ลองจิจูด และค่าพิกัดยูทีเอ็ม รวมทั้งระดับความสูงด้วย เพื่อให้การกำหนดตำแหน่งครอบคลุมได้ทั่วทั้งโลก โครงข่ายดาวเทียมจีพีเอสนี้ จำเป็นต้องใช้ดาวเทียมจำนวน ๒๔ ดวง แบ่งวงโคจรเป็น ๖ วงโคจร วงโคจรละ ๔ ดวง ดาวเทียมแต่ละดวงในวงโคจรจะอยู่สูงจากผิวโลกประมาณ ๒๐,๒๐๐ กิโลเมตร และจะโคจรรอบโลกภายในเวลา ๑๑ ชั่วโมง ๕๐ นาที

globigerina ooze เลนโกลบิเจอไรนา : เลนพื้นท้องทะเลเนื้อปูน ซึ่งประกอบด้วยเปลือกของฟอแรมมินิเฟอรา อย่างน้อยร้อยละ ๓๐ ส่วนใหญ่เป็นสกุล Globigerina จัดเป็นเลนเนื้อปูนชนิดพิเศษของเลนฟอแรมินิเฟอรา ดู foraminifera ooze ประกอบ 

glossopterid กลอสซอฟเทอริด : ๑. ชื่ออย่างไม่เป็นทางการของซากดึกดำบรรพ์สกุล glossopteris ซึ่งเป็นพืชพวกเฟิร์นหรือคล้ายเฟิร์น ๒. คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับพืชพวกเฟิร์นหรือคล้ายเฟิร์นยุคเพอร์เมียนและไทรแอสซิก หรือกลุ่มชีวินของพืชดังกล่าว

G/M Interglacial ช่วงคั่นกึนซ์/มินเดล : ดู Cromerian1 

GOC (gas-oil contact) จีโอซี (รอยต่อแก๊ส–น้ำมัน) : ดู gas-oil contact (GOC) 

Goldschmidts phase rule :

goniatite โกนิเอไทต์ : สัตว์พวกหอยในอันดับโกนิเอทิทิดา (Order Goniatithida) มีลักษณะเฉพาะ คือ ลวดลายบนเปลือกซึ่งเกิดจากการเชื่อมต่อของผนังกั้นห้องกับผิวเปลือกภายใน มีลักษณะเป็นลอน จำนวน ๘ ลอน พบในหินที่มีอายุในช่วงยุคดีโวเนียนตอนกลางถึงเพอร์เมียนตอนปลาย

goniometer มาตรมุมหน้าผลึก : 

gorge ออบ, โกรกธาร : ๑. หุบเขาลึกและแคบซึ่งผนังหินเป็นแนวดิ่ง เช่น ออบหลวง อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ ๒. ช่องทะลุแคบ ๆ ระหว่างเนินเขาหรือภูเขา ๒๒

gossan; gozzan กอสซาน : ผลผลิตจากการผุพังอยู่กับที่ โดยทั่วไปเป็นสารประกอบเหล็กออกไซด์ซึ่งปิดทับอยู่เหนือแหล่งแร่ซัลไฟด์ มองดูเหมือนหมวก เกิดจากแร่ซัลไฟด์ถูกออกซิไดส์ทำให้กำมะถันและโลหะอื่นถูกซึมชะละลายออกไป คงเหลือเพียงสารประกอบจำพวกเหล็กออกไซด์ ไฮเดรต และบางครั้งเป็นพวกซัลเฟตอยู่ ณ ที่เดิม ในพื้นที่ลาดชันอาจพบกอสซานเคลื่อนต่ำลงกว่าสายแร่ ซึ่งเป็นดรรชนีสำคัญสำหรับชี้นำการสำรวจหาแหล่งแร่นั้น มีความหมายเหมือนกับ iron cap; iron hat 

gouge ๑. เกาจ์ : ชั้นดินอ่อนบาง ๆ ของผงรอยเลื่อนที่มีอยู่ตามผนังสายแร่หรือระหว่างหินท้องที่กับสายแร่ ชื่อนี้มาจากการที่ชาวเหมืองสามารถตักดินออกมาได้ ทำให้สะดวกต่อการทำเหมืองในสายแร่ มีความหมายเหมือนกับ selvage ๓ 

๒. ผงรอยเลื่อน : ดู fault gouge; clay gouge 

GPS (global positioning system) จีพีเอส (ระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก) : ดู global positioning system (GPS) 

GPS device เครื่องกำหนดตำแหน่งจีพีเอส : เครื่องรับสัญญาณจากดาวเทียมในระบบกำหนดตำแหน่งบนพื้นโลก (จีพีเอส) โดยกำหนดเป็นจุดพิกัดและระดับความสูง ดู global positioning system (GPS) ประกอบ 

grade แก้ไขคำอธิบายในหนังสือหน้า ๑๖๗ เป็นดังนี้ 

๑. ลำดับขั้นการแปร, ขั้นการแปร : (ศิลาวิทยา) ขอบเขตหรือขั้นตอนของกระบวนการแปร คิดจากปริมาณความแตกต่างที่หินแปรสภาพผิดไปจากหินเดิม ขั้นตอนของการแปรโดยทั่วไประบุถึงหรือบ่งบอกให้รู้ถึงสภาวะแวดล้อมที่เกี่ยวกับความดันและอุณหภูมิที่กระบวนการแปรเกิดขึ้น ตัวอย่างเช่น การเปลี่ยนแปลงของหินดินดานไปเป็นหินชนวนหินฟิลไลต์ จัดว่าเป็นกระบวนการแปรสภาพขั้นต่ำ เมื่อแปรสภาพมากขึ้นจะเป็นหินการ์เนต-ซิลลิมาไนต์-ชีสต์ จัดเป็นกระบวนการแปรสภาพขั้นสูง ๒. ความสมบูรณ์แร่ : ปริมาณความสมบูรณ์หรือเปอร์เซ็นต์ของสินแร่ที่มีอยู่ในมวลสินแร่ ดู tenor ประกอบ 

๓. เกรด : 

๓.๑ (วิทยาแร่) คุณภาพหรือมาตรฐานของสินแร่ตามลักษณะและประโยชน์ในการใช้งาน เช่น ใช้ในอุตสาหกรรมเคมีเรียกว่า เกรดเคมี ใช้ในอุตสาหกรรมโลหะ เรียกว่า เกรดโลหกรรม ๒๓

๓.๒ (ธรณีวิศวกรรม) ดู gradient ๑ 

grain shape; particle shape รูปร่างอนุภาค : ดู particle shape; grain shape 

grain size; particle size ขนาดอนุภาค : ดู particle size; grain size 1/49 

granuloblastic -เนื้อดอกเม็ดแปร : ในหนังสือพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา หน้า ๑๗๐ ให้คงบัญญัติศัพท์และความหมายตามเดิม

graphite แกรไฟต์ : แร่ที่เป็นธาตุธรรมชาติ มีสัญลักษณ์ C รูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า เป็นอัญรูปหนึ่งของคาร์บอนเช่นเดียวกับเพชร มีลักษณะทึบแสง วาว อ่อน ลื่นมือ สีดำหรือสีเทาคล้ายเหล็ก แร่แกรไฟต์พบเป็นผลึก เป็นแผ่น หรือเป็นเกล็ดอยู่ในสายแร่ หรือเป็นชั้น หรือกระจัดกระจายทั่วไปในหินแปร แกรไฟต์นำความร้อนและกระแสไฟฟ้าได้ ใช้ทำไส้ดินสอดำ เบ้าหลอมโลหะ ผลิตภัณฑ์หล่อลื่น ขั้วไฟฟ้า

graptolite แกรปโทไลต์ : สัตว์ทะเลที่อาศัยอยู่ด้วยกันเป็นกลุ่ม จัดอยู่ในชั้นแกรปโทลิทินา (Graptolithina) มีลักษณะเฉพาะคือ โครงร่างแข็งภายนอกของแต่ละตัวเป็นเนื้อไคตินมีลักษณะเป็นรูปถ้วยหรือท่อเรียงต่อกันเป็นเส้นหนึ่งหรือมากกว่า อยู่รวมกันเป็นกลุ่ม แกรปโทไลต์โดยปรกติพบในหินดินดานสีดำ มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนกลางถึงยุคคาร์บอนิเฟอรัส

gravimeter มาตรความโน้มถ่วง, แกรวิมิเตอร์ : เครื่องมือวัดค่าความโน้มถ่วงโดยวัดค่าสัมพัทธ์ที่เปลี่ยนแปลงจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง ปัจจุบันมาตรความโน้มถ่วงที่ใช้สำรวจบนบก สามารถวัดได้ละเอียดถึง ๐.๐๑ มิลลิแกล (milligal) มีความหมายเหมือนกับ gravity meter 

gravitational separation การแยกโดยความถ่วง : ๑. การแยกลำดับชั้นของ แก๊ส น้ำมัน และน้ำในแหล่งกักเก็บใต้ดิน เนื่องจากความแตกต่างของค่าความต่างจำเพาะ ๒. การแยก แก๊ส น้ำมัน และน้ำ โดยเครื่องแยกแบบความถ่วงหลังจากการผลิต

gravitational separation การแยกโดยความถ่วง : ๑. การแยกลำดับชั้นของ แก๊ส น้ำมัน และน้ำในแหล่งกักเก็บใต้ดิน เนื่องจากความแตกต่างของค่าความถ่วงจำเพาะ ๒. การแยก แก๊ส น้ำมัน และน้ำ หลังจากการผลิตปิโตรเลียมโดยเครื่องแยกแบบความถ่วง ๒๔

gravitational sliding; gravity gliding; gravity sliding การเลื่อนถล่มจากความโน้มถ่วง : การเลื่อนถล่มของมวลหินลงตามพื้นลาดเนื่องจากแรงโน้มถ่วง ตัวอย่างเช่น การเลื่อนลงตามระนาบรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ ดู gravity tectonics ประกอบ 

gravitational water น้ำซึม : น้ำที่ดินไม่สามารถจะดูดยึดไว้ได้ จึงไหลลงสู่แหล่งน้ำบาดาลโดยแรงโน้มถ่วงของโลก ดูรูปที่ soil water 

gravity compaction สภาพอัดแน่นจากความโน้มถ่วง : สภาพอัดแน่นของตะกอนอันเนื่องมาจากแรงกดของดินเหนือชั้นแร่

gravity gliding; gravitational sliding; gravity sliding การเลื่อนถล่มจากความโน้มถ่วง : ดู gravitational sliding; gravity sliding *18/44

gravity meter มาตรความโน้มถ่วง : ดู gravimeter 

gravity prospecting การสำรวจความโน้มถ่วง : การสำรวจทำแผนที่แสดงค่าความโน้มถ่วงที่ตำแหน่งต่าง ๆ โดยใช้มาตรความโน้มถ่วง เพื่อหาความถ่วงจำเพาะของมวลสารของหินชนิดต่าง ๆ ที่แตกต่างกันไป และหาลักษณะการวางตัวของมวลสารของหินที่มีความถ่วงจำเพาะแตกต่างกันนี้ ใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาแหล่งแร่ แหล่งหิน แหล่งปิโตรเลียม และงานวิศวกรรม

gravity sliding; gravitational sliding; gravity gliding การเลื่อนถล่มจากความโน้มถ่วง : ดู gravotational sliging; gravity; graviti sliding 

gravity survey การสำรวจวัดความโน้มถ่วง : การวัดความโน้มถ่วงหลาย ๆ จุดตามตำแหน่งต่าง ๆ ในบริเวณที่ต้องการสำรวจ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหาความสัมพันธ์ของการเปลี่ยนแปลงค่าความโน้มถ่วงกับความหนาแน่นของหินตามตำแหน่งต่าง ๆ เหล่านั้น แล้วแปลความหมายไปสู่ชนิดและโครงสร้างของหิน ข้อมูลการสำรวจความโน้มถ่วงจะเขียนออกมาในรูปของแผนที่ค่าผิดปรกติบูแกร์ (Bouguer anomaly map) หรือแผนที่ค่าผิดปรกติฟรีแอร์ (free-air anomaly map)

gravity tectonics ธรณีแปรสัณฐานจากความโน้มถ่วง : ธรณีแปรสัณฐานที่มีการเคลื่อนตัวโดยกลไกหลักมาจากการเคลื่อนตัวลงภายใต้อิทธิพลของความโน้มถ่วง

gravity ความโน้มถ่วง : ๑. แรงดึงดูดของโลกต่อมวลสารเข้าสู่ศูนย์กลางโลก ๒. แรงดึดดูดระหว่างวัตถุในเอกภพที่กระทำต่อกันและกัน ๒๕

๓. แรงเหวี่ยงที่เกิดจากการที่วัตถุเคลื่อนที่เป็นวงกลม

green marble; serpentine marble หินอ่อนเซอร์เพนทีน : ดู verd antique; verde antique 

greisen ไกรเซน : ๑. หินแกรนิตที่ถูกแปรเปลี่ยนโดยไอร้อน มักพบใกล้ขอบพลูตอนของหินแกรนิต ขอบของสายแร่ควอตซ์ และขอบของเพกมาไทต์ มีรูปร่างเป็นแถบและคล้ายสายแร่ ความกว้างประมาณ ๒-๓ นิ้วจนถึง ๑ ฟุต ประกอบด้วยแร่หลัก ได้แก่ แร่ควอตซ์ มัสโคไวต์ หรือเลพิโดไลต์ เฟลด์สปาร์ และโทแพซ ส่วนแร่รองได้แก่ ทัวร์มาลีน เบริล ฟลูออไรต์ อะพาไทต์ อะนาเทส รูไทล์ ดีบุก และวุลแฟรม ๒. หินคล้ายหินแกรนิต ประกอบด้วยแร่ควอตซ์ มัสโคไวต์หรือเลพิโดไลต์ฟลูออรีน แสดงลักษณะที่เด่นชัดที่เป็นหินต้นกำเนิดของแหล่งแร่ดีบุกพวกแคสซิเทอไรต์ ซึ่งเป็นผลจากการแปรสภาพสัมผัส ๓. หินเนื้อหยาบที่มีดีบุกสมบูรณ์ ประกอบด้วยแร่มัสโคไวต์ ควอตซ์ โทแพซ หรือทัวร์มาลีน

groove cast รูปพิมพ์แนวร่อง : ร่องรอยใต้ชั้นหินที่มีลักษณะเป็นสันยอดคมหรือแหลม มีความสูงไม่กี่มิลลิเมตร แต่มีความกว้างและยาวหลายเซนติเมตร เกิดขึ้นโดยตะกอนทรายเข้าไปสะสมในร่องที่เป็นผลจากการลากวัสดุไปบนผิวหน้าชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว เมื่อชั้นทรายแข็งตัวผิวใต้ชั้นหินทรายจึงมีลักษณะเป็นสันยาว ดู drag mark และ current mark ประกอบ 

gross pay ชั้นปิโตรเลียมหนารวม : ความหนาของชั้นปิโตรเลียมชั้นแรกจนถึงชั้นสุดท้าย ซึ่งจะรวมความหนาทั้งหมดของชั้นที่ไม่มีปิโตรเลียมด้วย

groundmass เนื้อพื้น : ดู matrix 

growth band; growth line เส้นเติบโต : ดู growth line; growth band 

growth line; growth band เส้นเติบโต : วงชั้นหรือวงแถบในเปลือกของสัตว์ที่มีเปลือกสองฝา

growth ring วงเติบโต : ชั้นหรือแถบในเนื้อไม้ซึ่งต้นไม้ผลิตขึ้นในช่วงการเจริญเติบโตแต่ละปี วงเติบโตสามารถนำไปวิเคราะห์หาอายุและข้อมูลเกี่ยวกับสภาพภูมิอากาศ โดยดูจากจำนวนและขนาดของวงเติบโตแต่ละชั้น มีความหมายเหมือนกับ tree ring ดู ๒๖

annual ring และ dendrochronology; tree-ring chronology ประกอบ 

guide fossil ซากดึกดำบรรพ์ชี้นำ : ซากดึกดำบรรพ์ใด ๆ ซึ่งมีคุณค่าใช้ในการจัดจำแนกอายุของชั้นหิน หรือชี้ถึงสภาพแวดล้อมที่ซากดึกดำบรรพ์อยู่อาศัย หรือเป็นซากดึกดำบรรพ์ดรรชนีในการเทียบสัมพันธ์ชั้นหินเฉพาะถิ่น ดู index fossil ประกอบ 

gully erosion การกร่อนแบบร่องธาร : ดูคำอธิบายใน sheet erosion; sheet flood erosion 

GÜnz ช่วงกึนซ์ : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรป ระหว่างเวลา ๑.๒-๐.๘๔ ล้านปี ถือเป็นช่วงอายุย่อยธารน้ำแข็งที่หนึ่งของสมัยไพลสโตซีน เทียบได้กับช่วงเนแบรสกันในทวีปอเมริกาเหนือ มีความหมายเหมือนกับ Menapian ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

gusher หลุมน้ำมันพุ : หลุมน้ำมันที่มีแรงดันสูงมากจนทำให้น้ำมันพุ่งขึ้นมาเหมือนน้ำพุ ซึ่งทำให้เกิดความสูญเสียน้ำมันและแก๊สรวมทั้งความดันแหล่งกักเก็บและเสียสภาพแวดล้อม ในสมัยก่อนหากน้ำมันเกิดพุ่งขึ้นมา แสดงถึงการได้พบแหล่งน้ำมันขนาดใหญ่ ดู blowout ประกอบ 

Gutenberg discontinuity แนวแบ่งเขตกูเทนเบิร์ก : รอยต่อระหว่างชั้นเนื้อโลกกับแก่นโลกชั้นนอก ซึ่งมีระดับความลึกประมาณ ๒,๙๐๐ กิโลเมตร ณ แนวแบ่งเขตนี้ความเร็วคลื่นไหวสะเทือนไม่ต่อเนื่อง ความเร็วคลื่นปฐมภูมิจะลดลง คลื่นทุติยภูมิไม่สามารถผ่านต่อลงไปได้ ซึ่งแสดงถึงการเปลี่ยนสถานะจากของแข็งไปเป็นของเหลว และการเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบภายในโลก ดู Conrad discontinuity และ Mohorovicic discontinuity ประกอบ 

GWC (gas-water contact) จีดับเบิลยูซี (รอยต่อแก๊ส–น้ำ) : ดู gas-water contact (GWC) 

gypsum ยิปซัม : แร่ซัลเฟตชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี CaSO4. 2H2O ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง เนื้ออ่อน มีค่าความแข็ง ๒ สีขาวหรือใสไม่มีสี อาจมีสีเทา เหลืองน้ำผึ้ง แดง น้ำตาล และคล้ำขึ้นจนถึงดำ ซึ่งขึ้นกับสีของมลทินที่ถูกกักเก็บไว้ระหว่างที่แร่ยิปซัมตกผลึก อาจพบลักษณะเป็นเม็ดแบบน้ำตาลทราย หรือมวลเนื้อละเอียด เรียกว่า อะลาบาสเตอร์ ถ้าเป็นมวลรวมเนื้อเป็นเส้นใยสีขาว โปร่งแสง มันวาว เรียกว่า ซาทินสปาร์ ถ้าเป็นผลึกใหญ่ ใส เนื้อแน่น เรียกว่า เซเลไนต์ แร่ยิปซัมมีกำเนิดได้หลายแบบ แต่จะพบเกิดมากที่สุดในแหล่งแร่หินเกลือระเหย แบบมวล ๒๗

เนื้อละเอียดสีขาวหรือขาวหม่น ใช้ในการทำปูนปลาสเตอร์ ชอล์ก แผ่นยิปซัมบอร์ด ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ และใช้ในการปรับสภาพความเค็มของดิน นอกจากนี้ ยังใช้แกะสลักพระพุทธรูปและรูปปั้นอื่น ๆ ได้เช่นเดียวกับหินอ่อน ในประเทศไทยพบมากที่จังหวัดนครสวรรค์ พิจิตร และสุราษฎร์ธานี ในการผลิตเกลือจากน้ำทะเล เมื่อน้ำระเหยแร่ยิปซัมจะตกตะกอนเป็นผลึกเล็ก ๆ บนพื้นท้องนาก่อนแร่เกลือตัวอื่น ๆ เนื่องจากไม่มีรสเค็มชาวนาเกลือจึงเรียกแร่นี้ว่า แร่เกลือจืด เมื่อนำไปเผาเรียก แป้งเกลือจืด ใช้ทำแป้งผัดหน้า

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

 habitat แหล่งที่อยู่, ถิ่นที่อยู่ : สภาพแวดล้อมซึ่งเหมาะสมสำหรับให้พืชหรือสัตว์นั้น ๆ ได้ใช้เป็นที่อยู่อาศัยและดำรงชีวิต

Hadean ฮาเดียน : ดูคำอธิบายใน Priscoan 

Haeckel ‘s law กฎเฮกเกล : ดู recapitulation theory 

halocline ลาดความเค็ม : แนวชั้นน้ำในมหาสมุทรที่มีการเปลี่ยนความเค็มอย่างรวดเร็วตามความลึก

hand specimen ก้อนตัวอย่าง : ตัวอย่างหิน แร่ หรือวัสดุอื่นที่มีขนาดก้อนพอเหมาะ เช่น ๒.๕ × ๗.๕ × ๑๐.๕ เซนติเมตร ใช้เพื่อเป็นตัวอย่างอ้างอิง หรือสะสมไว้เพื่อการศึกษา

hardness scale สเกลความแข็ง : มาตราความแข็งของแร่ ใช้ในการตรวจสอบชนิดแร่ เช่น สเกลโมส์ ค่าความแข็งวิกเกอรส์ (Vickers hardness number) ดู Mohs scale ประกอบ 

harzburgite หินฮาร์ซเบอร์ไกต์ : หินอัคนีแทรกซอนระดับลึก พวกหินเพริโดไทต์ที่ประกอบด้วยแร่หลักเป็นแร่โอลิวีน และออร์โทไพรอกซีน มีสีแดงและเขียว พบครั้งแรกที่ภูเขาฮาร์ซ เมืองฮาร์ซบูร์ก ในประเทศเยอรมนี

head waves คลื่นนำ : คลื่นไหวสะเทือนที่เดินทางผ่านตัวกลางที่มีความเร็วคลื่นต่ำไปสู่ตัวกลางที่มีความเร็วคลื่นสูง โดยมีมุมตกกระทบเกือบเท่ากับมุมวิกฤต และเดินทางในตัวกลางที่มีความเร็วสูงขนานกับแนวของรอยสัมผัสระหว่างตัวกลางทั้งสอง แล้วหักเหกลับขึ้นสู่ผิวดิน

head ส่วนหัว : ส่วนที่กว้างออกไปในทะเลของคลื่นหัวแตก ตรงข้ามกับกระแสน้ำตลบ ดู rip current ประกอบ 

head shield เกราะหัว : ดูคำอธิบายใน placoderm ๒๘

heave; horizontal throw ระยะเลื่อนแนวนอน : ระยะทางในแนวนอนที่ชั้นหินเลื่อนเหลื่อมกัน มีความหมายเหมือนกับ offset ความหมายที่ ๕ 

heavy crude oil; heavy oil น้ำมันดิบชนิดหนัก : ดู heavy oil; heavy crude oil 

heavy liquid ของเหลวหนัก : ของเหลวที่มีความหนาแน่นหรือความถ่วงจำเพาะสูง เช่น โบรโมฟอร์ม ( ๒.๘๖) เมทิลีนไอโอไดด์ (๓.๓๒) ซิงก์โบรไมด์ (๔.๒๒) ใช้ในการ แยกแร่หรือวัสดุที่มีความถ่วงจำเพาะต่างกันที่ปนกันอยู่

heavy mineral แร่หนัก : ๑. กลุ่มแร่รองที่พบในหินตะกอนหรือตะกอน มีความถ่วงจำเพาะสูงกว่า ๒.๙ เช่น แร่รูไทล์ อิลเมไนต์ ลูโคซีน แคสซิเทอไรต์ เซอร์คอน โมนาไซต์ ๒. แร่ประกอบหินที่มีความถ่วงจำเพาะสูงกว่า ๒.๙ เช่น โอลิวีน ไพรอกซีน

heavy oil; heavy crude oil น้ำมันดิบชนิดหนัก : น้ำมันดิบที่มีค่าความถ่วงเอพีไอสูงกว่า ๔๐ องศา

heliotrope เฮลิโอโทรป : คาลซิโดนีชนิดหนึ่งที่มีเนื้อพื้นเป็นสีเขียวเข้มและมีจุดแดง ๆ หรือน้ำตาลแดงของแจสเพอร์ ฝังประอยู่ในเนื้อพื้น มีความหมายเหมือนกับ bloodstone 

Hemichordata เฮมิคอร์ดาตา : ชื่อไฟลัมของสัตว์น้ำเค็มขนาดเล็กที่มีแกนสันหลังเฉพาะในช่วงเป็นตัวอ่อน มีแกนประสาท ในคอมีช่องเหงือก (gill slit) ร่างกายอ่อนนิ่ม และมีสมมาตรด้านข้าง แบ่งเป็น ๒ กลุ่ม คือ เทอโรบรานช์ (Pterobranch) ซึ่งเป็นสัตว์หากินตามพื้นท้องน้ำ อยู่เป็นกลุ่มและเกาะติดที่ กับพวกหนอนซึ่งมีรูปร่างคล้ายลูกโอ๊กหรือลูกก่อหรือรูปลิ้น ที่อาศัยขุดรูอยู่ตามพื้นท้องน้ำ นอกจากนี้ทางบรรพชีวินวิทยายังได้จัดให้แกรปโทไลต์ซึ่งสูญพันธุ์ไปหมดแล้วรวมอยู่ในไฟลัมนี้ด้วย เนื่องจากพบว่ามีความคล้ายคลึงกับเทอโรบรานซ์มากกว่าสัตว์ในไฟลัมอื่น ๆ ดู Protochordata และ Chordata ประกอบ *25-

hemihedral เฮมิฮีดรัล : ชั้นผลึกเมโรฮีดรัลชั้นหนึ่งหรือหลายชั้นผลึกในระบบผลึกหนึ่ง ซึ่งแบบรูปผลึกมีหน้าผลึกเพียงครึ่งหนึ่งของจำนวนหน้าผลึกที่เหมือนกันของแบบรูปผลึกที่มีลักษณะเดียวกับโฮโลฮีดรัลในระบบผลึกเดียวกัน มีความหมายเหมือนกัน hemisymmetric 

hemisymmetrical เฮมิซิมเมตริก : ดู hemihedral 

heredity พันธุกรรม, กรรมพันธุ์ : คุณภาพและศักยภาพที่สิ่งมีชีวิตแต่ละตัวได้รับสืบทอดหรือถ่ายทอดมาจากยีนของบรรพบุรุษของสิ่งมีชีวิตแต่ละตัวนั้น ๒๙

Herringbone array แถวลำดับรูปก้างปลาเฮอร์ริง : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นให้วางขวางเฉียง ๔๕ องศา กับแนวเส้นสำรวจ วางเรียงสลับกันทั้งสองข้างของแนวเส้นสำรวจ

heterochthonous –มาจากที่อื่น : . คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับตะกอนหรือหินซึ่งเกิดในที่อื่น แต่ถูกนำพามาอยู่ ณ ที่ปัจจุบัน หรือซากดึกดำบรรพ์ในชั้นหินที่หนึ่งถูกกัดกร่อนหลุดออกและถูกนำพามาสู่แหล่งสะสมใหม่ ดู allochthonous และ reworked ประกอบ ๒. คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับพรรณสัตว์หรือพรรณพืชซึ่งมาจากที่อื่นไม่ได้เกิดขึ้นในที่ที่พบ

heterogeneous equilibrium สมดุลเนื้อคละ : ความสมดุลในระบบที่มีองค์ประกอบมากกว่า ๑ เฟสขึ้นไป เช่นปฏิกิริยาที่เกี่ยวข้องกับของแข็งและแก๊ส หรือของแข็งและของเหลว ดู homogeneous equilibrium และ phase ประกอบ 

heterogranular; inequigranular –เนื้อคละขนาด : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับหินหรือเนื้อหินซึ่งประกอบด้วยผลึกหรือเม็ดตะกอนที่มีขนาดต่าง ๆ กัน ดู homogranular ประกอบ 

hexacoral ปะการังหกช่อง : ปะการังเดี่ยว (solitary coral) หรือปะการังกลุ่ม (colonial coral) ซึ่งมีผนังแบ่งช่องว่างในโครงร่างออกเป็น ๖ ช่อง ภายในช่องว่างทั้งหกช่องนี้จะมีผนังกั้นย่อยเกิดขึ้นใหม่ ทำให้ช่องว่างทั้งหกมีลักษณะที่เหมือนหรือซ้ำกัน ส่วนใหญ่พบในปะการังที่มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคไทรแอสซิกถึงปัจจุบัน ปะการังกลุ่มนี้จัดอยู่ในอันดับสเคอแรกทิเนีย (order Scleractinia) มีความหมายเหมือนกับ scleractinian ดูรูปที่ cardinal septum 

hexagonal system ระบบสามแกนราบ : ระบบผลึกระบบหนึ่งซึ่งมีแกนผลึก ๔ แกน สามแกนราบยาวเท่ากันและทำมุม ๑๒๐ องศา ซึ่งกันและกัน หนึ่งแกนดิ่งมีความยาวไม่เท่ากับแกนราบแต่ตั้งฉากกับระนาบแกนราบ และเป็นแนวแกนไตรสมมาตรหรือแกน ฉสมมาตร ดู crystal system ประกอบ ๓๐

hexane เฮกเซน : ไฮโดรคาร์บอนเหลวที่มีส่วนประกอบ C6H14 ใช้เป็นตัวทำละลายใน อุตสาหกรรมน้ำมันพืช

hiatus ช่วงว่างชั้นหิน : ๑. ช่วงลำดับชั้นหินที่ขาดตอนซึ่งเกิดขึ้นเนื่องจากการสะสมตัวที่ไม่ต่อเนื่องหรือการกร่อนของชั้นหินในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ๒. ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง ซึ่งไม่มีการสะสมตัวของตะกอน ดู lacuna ความหมาย ที่ ๑ ประกอบ 

high-calcium limestone หินปูนแคลเซียมสูง : หินปูนที่มีแคลเซียมคาร์บอเนตมากกว่าร้อยละ ๙๕ และมีแมกนีเซียมคาร์บอเนตปนอยู่ในปริมาณน้อย ดู magnesian limestone ประกอบ 

high-energy environment สภาพแวดล้อมพลังงานสูง : สภาพแวดล้อมของแอ่งสะสมตะกอนจากน้ำ ชนิดที่มีระดับพลังงานสูง จะมีกระแสน้ำปั่นป่วน คลื่นลมแรงทำให้ตะกอนละเอียดไม่สามารถตกจมสะสมตัวได้ สภาพแวดล้อมพลังงานสูงนี้พบที่ชายหาด หรือร่องน้ำไหลเชี่ยว ดู low-energy environment ประกอบ 

high-rank greywacke หินเกรย์แวกชั้นสูง : หินเกรย์แวกซึ่งมีเฟลด์สปาร์ มักพบในสภาพการสะสมตัวแบบธรณีแอ่นตัวมาก ตรงข้ามกับ low -rank greywacke 

hinge fault รอยเลื่อนแนวพับ : รอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนที่เป็นมุมหรือหมุนไปจากด้านของแกนที่ตั้งฉากกับระนาบรอยเลื่อน

hipotype; hypotype ต้นแบบเสริม : ตัวอย่างสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ซึ่งไม่ใช่ตัวอย่างต้นแบบ แต่ได้รับการบรรยายถึง อ้างถึง มีรูปหรือภาพถ่ายแสดงไว้ในเอกสารวิชาการอื่น ๆ เพื่อเป็นข้อมูลเพิ่มเติมหรือแก้ไขข้อผิดพลาดเกี่ยวกับชนิดของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์นั้น ๆ

histogram ฮิสโทแกรม : เส้นกราฟแท่งแนวตั้งแสดงถึงความถี่ของการกระจาย ซึ่งความสูงของแท่งกราฟจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับความถี่ของการเกิดแต่ละช่วงชั้น ใช้สำหรับอธิบายการกระจายตัวของขนาดอนุภาคตะกอน

holohedral โฮโลฮีดรัล : ชั้นผลึกซึ่งมีจำนวนสมมาตรผลึกสูงสุดเท่าที่จะมีได้ในแต่ละระบบผลึก มีความหมายเหมือนกับ holosymmetric ดู merohedral และ tetartohedral ประกอบ ๓๑

holoplankton แพลงก์ตอนถาวร : สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่ต้องอาศัยการลอยตามน้ำตลอดช่วงวงจรชีวิต ตรงข้ามกับแพลงก์ตอนไม่ถาวร (meroplankton) ซึ่งต้องอาศัยการลอยตามน้ำเฉพาะในช่วงแรกของชีวิต เช่น ไข่หรือตัวอ่อนของพวกชีวินก้นทะเลซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตอาศัยตามพื้นท้องน้ำ หรือของเน็กตอนซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตว่ายน้ำ ดู plankton และ nekton ประกอบ 

holosome ⎯⎯ :

holostratotype ชั้นหินแบบฉบับแรก : ชั้นหินแบบฉบับย่อยที่ถูกกำหนดขึ้นในกรณีที่ชั้นหินแบบฉบับมีความไม่ต่อเนื่องตลอดลำดับหน่วยชั้นหินแบบฉบับนั้นๆ แต่สามารถกำหนดหน่วยบนสุดและหน่วยล่างสุดของชั้นหินแบบฉบับในบริเวณนั้นได้ ดังนั้นจึงเลือกหน่วยชั้นหินหน่วยหนึ่งให้เป็นชั้นหินแบบฉบับแรก หน่วยที่เหลือจึงเป็นชั้นหินเสมือนแบบฉบับแรก (parastratotype)

holostrome ⎯⎯ :

holosymmetric โฮโลซิมเมตริก : ดู holohedral 

holothuroid โฮโลทูรอยด์ : สัตว์พวกผิวหนาม (echinoderm) ซึ่งจัดอยู่ในชั้นโฮโลทูรอยเดีย (Class Holothuroidea) เป็นพวกมีชีวิตอิสระ และมีรูปร่างแบบทรงกระบอก ได้แก่ ปลิงทะเล (sea cucumber) เป็นต้น

holotype ต้นแบบแรก : ตัวอย่างของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ที่ถูกกำหนดให้เป็นต้นแบบของการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นชนิดใหม่หรือชนิดย่อยใหม่เป็นครั้งแรก ตราบเท่าที่ตัวอย่างต้นแบบนี้ยังคงเป็นที่ยอมรับ สิ่งที่มีลักษณะเดียวกันนี้ก็จะใช้ชื่อที่กำหนดขึ้นนี้ต่อไป ดู lectotype และ neotype ประกอบ 

Holsteinian ช่วงคั่นโฮลสไทเนียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปยุโรปละลาย อยู่ระหว่างช่วงเอลสเตอเรียนกับช่วงซาเลียนในยุโรปตะวันตก หรือ ช่วงมินเดลกับช่วงริสส์ในยุโรปกลาง มีความหมายเหมือนกับ M/R Interglacial ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

homogeneous equilibrium สมดุลเนื้อเดียว : ความสมดุลในระบบที่มีองค์ประกอบเพียงเฟสเดียว เช่น ปฏิกิริยาเมื่อทุกอย่างเป็นแก๊ส หรือเป็นสารละลายเดียวกัน ดู heterogeneous equilibrium และ phase ประกอบ ๓๒

homogranular; equigranular; even-grained -เนื้อขนาดเดียว : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับหินหรือเนื้อหินซึ่งประกอบด้วยผลึกหรือเม็ดตะกอนที่มีขนาดเท่ากันหรือเกือบเท่ากัน

homogranular; equigranular; even-grained; granuloblastic –เนื้อขนาดเดียว : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับหินหรือเนื้อหินซึ่งประกอบด้วยผลึกหรือเม็ดตะกอนที่มีขนาดเท่ากันหรือเกือบเท่ากัน

homologue . –กำเนิดเดียวกัน : คำที่ใช้เกี่ยวกับภาวะต้นกำเนิดเดียวกัน ดู homology ความหมายที่ ๑ ประกอบ . –คู่เหมือน : คำที่ใช้เกี่ยวกับภาวะคู่เหมือน ดู homology ความหมายที่ ๒ ประกอบ 

homology . ภาวะต้นกำเนิดเดียวกัน : ภาวะที่สิ่งมีชีวิตต่างชนิดกัน มีลักษณะบางส่วนที่เหมือนกัน เนื่องจากได้มีวิวัฒนาการมาจากบรรพบุรุษเดียวกัน เช่น ปีกของนก ค้างคาว เทอโรเซอร์ . ภาวะคู่เหมือน : ภาวะที่สิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะทางกายภาพ เช่น โครงสร้าง สัดส่วน หรือตำแหน่งในร่างกายที่เหมือนกัน โดยไม่จำเป็นว่าจะต้องมีบรรพบุรุษร่วมกัน เช่น ปีกของนกกับปีกของแมลง

homonym ชื่อซ้ำ, ชื่อเหมือน : ชื่อของสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งที่ได้ตั้งขึ้นเหมือนหรือซ้ำกับชื่อของสิ่งมีชีวิตอีกชนิดหนึ่ง ซึ่งตามกฎการตั้งชื่อซ้ำ (law of homonymy) ชื่อซึ่งตั้งขึ้นก่อนจะเป็นชื่อที่ยอมรับให้ใช้ต่อไป แต่ชื่อที่ตั้งขึ้นภายหลังจะต้องถูกยกเลิกหรือตั้งชื่อใหม่

homoplastic –รูปแบบพัฒนาเดียวกัน : คำที่ใช้เกี่ยวกับการพัฒนาเป็นแบบเดียวกัน ดู homoplasy ประกอบ 

homoplasy การพัฒนาแบบเดียวกัน : การที่สิ่งมีชีวิตชนิดต่าง ๆ ได้พัฒนาอวัยวะหรือลักษณะบางประการ เพื่อตอบสนองต่อสภาวะกดดันด้านสิ่งแวดล้อมได้เหมือน ๆ กัน เพราะเป็นผลจากการวิวัฒนาการเข้าหากัน (convergene evolution) หรือการวิวัฒนาการขนานกัน (parallel evolution) มากกว่าเป็นเพราะมีบรรพบุรุษร่วมกัน ดู homology ประกอบ 

homotaxial -ลำดับชั้นเหมือนกัน : คำที่เกี่ยวข้องหรือมีลักษณะเป็นหรือประกอบด้วยลำดับชั้นของหินหรือชั้นของซากดึกดำบรรพ์ที่เหมือนกัน เช่น หน่วยลำดับชั้นหินหรือหน่วยลำดับซากดึกดำบรรพ์ในต่างพื้นที่กัน มีการเรียงลำดับชั้นที่เหมือนกันโดยไม่จำเป็นต้องเรียงลำดับในเวลาเดียวกัน ๓๓

homotaxy การลำดับชั้นเหมือนกัน : การที่ลำดับชั้นหินหรือลำดับชั้นซากดึกดำบรรพ์ในพื้นที่หนึ่งเหมือนกันกับลำดับชั้นหินหรือลำดับชั้นซากดึกดำบรรพ์ในอีกพื้นที่หนึ่ง โดยไม่จำเป็นต้องเป็นการเรียงลำดับในเวลาเดียวกัน ดู chronotaxy ประกอบ 

honeycomb coral ปะการังรังผึ้ง : ปะการังกลุ่มซึ่งประกอบด้วยปะการังที่มีโครงร่างแข็งเป็นรูปหน้าตัดหลายเหลี่ยม และก่อตัวติดกันเป็นพืดคล้ายรังผึ้ง

honeycomb weathering การผุพังแบบรังผึ้ง : การผุพังทางเคมีรูปแบบหนึ่งซึ่งเกิดกับหินที่มีเม็ดละเอียด เช่น หินทราย หินทัฟฟ์ ที่อยู่ในพื้นที่ภูมิอากาศแห้งแล้ง ทำให้ผิวหน้าของหินเกิดเป็นรู ๆ มากมายมีลักษณะคล้ายรังผึ้ง

hoodoo ⎯⎯

hook spit; recurved spit สันดอนจะงอยโค้งกลับ : ดู recurved spit; hook spit 

hook ๑. สันดอนตะขอ : สันดอนจะงอยหรือแหลมลักษณะแคบ ๆ ที่มีด้านปลายสุดหักศอกเข้าหาแผ่นดิน เมื่อดูจากภาพดาวเทียม รูปถ่ายทางอากาศ หรือแผนที่ จะเห็นเป็นรูปคล้ายตะขอ เช่น สันดอนตะขอที่จังหวัดสงขลา ๒. สันดอนจะงอยโค้งกลับ : ดู recurved spit; hook spit ๓. ทางน้ำตะขอ : ส่วนของลำธารที่มีลักษณะเป็นมุมแหลมหรือหักศอก ๔. โครงหนามรูปตะขอ : โครงหนามแบบหนึ่งในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวก โฮโรทูรอยด์ซึ่งมีรูปร่างเหมือนตะขอหรือเบ็ด นอกจากนี้แล้วพวกโฮโรทูรอยด์ยังมีโครงหนามรูปต่าง ๆ กันอีกหลายรูปแบบ ได้แก่ แบบแผ่น แบบโต๊ะ แบบสมอเรือ แบบพวงมาลัยเรือ แบบท่อน แบบจาน แบบล้อ แบบใบเฟิร์น และแบบกากบาท

horizontal drilling การเจาะราบ : การเจาะหลุมที่เอียงจากแนวดิ่งอย่างน้อย ๘๐ องศาขึ้นไป โดยหลุมเจาะวางตัวเกือบขนานไปกับชั้นหินกักเก็บปิโตรเลียม ซึ่งทำให้ผลิตปิโตรเลียมได้มากกว่าหลุมเจาะในแนวดิ่ง

horizontal magnetic field สนามแม่เหล็กแนวราบ : องค์ประกอบของแนวแรงของสนามแม่เหล็กรวมในแนวราบตามทิศเหนือแม่เหล็กโลก ดู total magnetic field ประกอบ 

horseback ……………… : ๓๔

horsetail ore สินแร่หางม้า : แหล่งแร่ที่ประกอบด้วยชุดรอยแยกเล็ก ๆ ซึ่งตัดผ่านหรือแยกออกจากสายแร่หลัก

hot oil น้ำมันร้อน : ๑. น้ำมันที่ใช้เป็นตัวกลางดูดซับความร้อน ๒. น้ำมันที่ผลิตขึ้นมาอย่างผิดกฎหมายหรือน้ำมันที่ถูกขโมยมา

hot spot; plume จุดร้อน : พื้นที่เล็ก ๆ ในชั้นเปลือกโลก ที่มีการไหลถ่ายความร้อนสูงผิดปรกติ ซึ่งสัมพันธ์กับการเกิดภูเขาไฟ สมมุติฐานในปัจจุบันเชื่อว่า ชั้นเนื้อโลกมีการหลอมละลายบางส่วนจนกลายเป็นหินหนืดที่ร้อนจัดมากและพุ่งขึ้นมายังผิวโลกเป็นช่วง ๆ โดยมากมักสัมพันธ์กับการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก เช่น หมู่เกาะฮาวายทางตอนกลางมหาสมุทรแปซิฟิก ก็สันนิษฐานว่าเกิดจากจุดร้อนนี้

hot-water flooding การไล่ด้วยน้ำร้อน : วิธีเสริมการผลิตด้วยความร้อนแบบหนึ่ง โดยการอัดน้ำเดือด (๑๐๐ องศาเซลเซียส) ลงไปในชั้นหินกักเก็บเพื่อลดความหนืดของน้ำมัน และทำให้ไหลเข้าสู่หลุมผลิตได้ง่ายขึ้น โดยทั่วไปมีประสิทธิภาพต่ำกว่าการไล่ด้วยไอน้ำเพราะมีอุณหภูมิต่ำกว่า วิธีนี้อาจจะเหมาะสมในบางกรณี เช่น ในชั้นที่มีความไวสูงต่อน้ำจืดหรือความดัน ดู stream flooding ประกอบ 

Huttonian -แนวคิดฮัตตัน : คำที่ใช้เกี่ยวกับแนวความคิดของเจมส์ ฮัตตัน (James Hutton) นักธรณีวิทยาชาวสกอตต์แลนด์ ซงคิดขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๒๘ ที่ว่าปัจจุบันเป็นกุญแจไขไปสู่อดีตและวัฏจักรธรณีวิทยา นอกจากนี้ยังได้เน้นถึงธรณีกาลโดยไม่มีขีดจำกัด ดู uniformitarianism ประกอบ 

Huygens’ principle หลักการฮอยเกนส์ : ข้อความที่กล่าวถึงการที่อนุภาคที่ถูกกระตุ้นโดยพลังงานจากคลื่นจนทำให้เป็นจุดกำเนิดคลื่นลูกใหม่

hyacinth ไฮยาซินท์ : แร่เซอร์คอนชนิดสีแดงและน้ำตาล โปร่งใส ใช้เป็นรัตนชาติ คานี้บางทีใช้กับแร่ อื่น ๆ ที่มีสีแดงและส้ม เช่น กลุ่มแร่การ์เนตหรือโกเมน มีความหมายเหมือนกับ jacinth 

hyalosponge; glass sponge ฟองน้ำแก้ว : ฟองน้ำชนิดที่จัดอยู่ในชั้นไฮอะโลสปองเจีย มีลักษณะคือโครงร่างประกอบด้วยโครงหนามซิลิกาล้วน ๆ ดู sponge และ spicule ประกอบ 

hydatogenic ที่เกิดจากของเหลว : คำที่ใช้ประกอบหินหรือแหล่งแร่ที่มีกระบวนการเกิดจากของเหลวหรือสารละลาย เช่น แหล่งแร่ในสายแร่ซึ่งเกิดจากสารละลายของหินหนืด หรือแหล่ง ๓๕

เกลือหินที่เกิดจากการระเหยของน้ำเกลือ ตรงข้ามกับ pneumatogenic; pneumatolytic 

hydrate ไฮเดรต : ๑. สารประกอบแร่ที่เกิดจากการไฮเดรชัน หรือมีน้ำเป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย ๒. ทำให้น้ำรวมเข้าไปในส่วนประกอบทางเคมีของแร่ ๓. ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม หมายถึง สารประกอบไฮโดรคาร์บอน และน้ำที่เกิดจากการลดอุณหภูมิและความดัน ณ จุดรวมท่อหน่วยเพิ่มความดัน และท่อส่งแก๊สซึ่งทำให้เกิดปัญหาการอุดตัน เนื่องจากสารประกอบนี้มีลักษณะคล้ายหิมะหรือน้ำแข็ง

hydrargillite ไฮดราร์จิลไลต์ : ๑. แร่ต่าง ๆ ที่ประกอบด้วยอะลูมิเนียม รวมทั้งอะลูมิไนต์ เวเวลไลต์ และเทอร์คอยซ์ ๒. ดู gibbsite 

hydraulic cement ปูนซีเมนต์แข็งในน้ำ : ปูนซีเมนต์ที่สามารถยึดเหนี่ยววัสดุมวลรวมที่เหมาะสมเข้าด้วยกัน หลังจากนั้นจะก่อตัวเป็นคอนกรีต และมีสมบัติเฉพาะตัวคือสามารถแข็งตัวได้ในน้ำ

hydraulic limestone หินปูนน้ำ : หินปูนที่มีซิลิกาและอะลูมินาปนอยู่ในสัดส่วนต่าง ๆ เมื่อนำไปเผาจะกลายเป็นซีเมนต์ที่แข็งตัวได้ในน้ำ มีความหมายเหมือนกับ waterlime และดู cement rock ประกอบ 

hydrocyclone ไฮโดรไซโคลน : เครื่องคัดขนาดอนุภาคด้วยแรงดันออกเป็น ๒ ส่วน คือ อนุภาคหยาบและละเอียด ส่วนบนเป็นรูปทรงกระบอกต่อกับส่วนล่างซึ่งเป็นรูปกรวย ภายในกลวงนอกจากใช้คัดขนาดแล้ว ยังใช้แยกน้ำออกจากของผสมได้ด้วย ดู air cyclone ประกอบ 

hydrodynamic trap ลักษณะกักเก็บแบบอุทกพลศาสตร์ : ลักษณะกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดจากน้ำใต้ดินไหลลงตามชั้นหิน ทำให้ปิโตรเลียมที่ไหลขึ้นมาถูกกักเก็บไว้ ลักษณะกักเก็บแบบนี้เกิดขึ้นยากมาก มักเกิดร่วมกับแบบโครงสร้าง หรือแบบลำดับชั้นหิน

hydrogen sulfide แก๊สไข่เน่า : แก๊สที่เป็นพิษและกัดกร่อน มีสูตรเคมี H2S ไม่มีสี มีกลิ่นคล้ายไข่เน่า มักพบในบริเวณที่มีอินทรียวัตถุเน่าเปื่อยผุพัง ในแหล่งถ่านหิน น้ำมันดิบ และแก๊สธรรมชาติ ๓๖

hydrogeochemistry อุทกธรณีเคมี : การศึกษาสมบัติทางเคมีของน้ำใต้ดินและน้ำผิวดิน เพื่อตรวจหาความสัมพันธ์ของลักษณะทางเคมีกับคุณภาพน้ำ และสมบัติทางเคมีของน้ำในพื้นที่หนึ่ง ๆ และในภูมิภาค

hydrogeology อุทกธรณีวิทยา : ธรณีวิทยาแขนงหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับน้ำบาดาลและน้ำผิวดิน ดู geohydrology ประกอบ 

hydrolith หินน้ำ : ๑. หินที่เกิดจากการตกตะกอนทางเคมีจากสารละลายในน้ำ เช่น เกลือหิน ยิปซัม ๒. หินที่มีองค์ประกอบของสารอินทรีย์น้อยมาก ๓. หินน้ำเนื้อประสม (hydroclastic rock) ที่ประกอบด้วยเศษหินคาร์บอเนต

hydrophone ไฮโดรโฟน : อุปกรณ์รับสัญญาณที่ไวต่อความดัน ซึ่งสามารถรับคลื่นเสียงที่เคลื่อนที่ผ่านน้ำได้ ตัวรับสัญญาณนี้ใช้ในการสำรวจคลื่นไหวสะเทือนในน้ำหรือในหลุมเจาะ ดู geophone ประกอบ 

hydrothermal -น้ำร้อน : คำที่ใช้กับหรือเกี่ยวข้องกับน้ำร้อนที่เกิดใต้ผิวโลก เช่น พุน้ำร้อน ของไหลเนื่องจากน้ำร้อน แหล่งแร่น้ำร้อน

hydrothermal deposit แหล่งแร่น้ำร้อน : แหล่งแร่ที่เกิดจากการที่สินแร่และแร่กากมาสะสมตัวในรอยแตก รอยเลื่อน หรือช่องว่างใด ๆ โดยการแทนที่หรือการบรรจุในช่องว่าง โดยมีน้ำหรือของเหลวที่มีอุณหภูมิตั้งแต่ ๕๐–๗๐๐ องศาเซลเซียส และมีความดันตั้งแต่ ๑–๓ กิโลบาร์ เป็นตัวนำพาแร่ธาตุมาสะสมตัว ของเหลวดังกล่าวมีกำเนิดต่าง ๆ กัน หินท้องที่ในบริเวณแหล่งแร่แบบนี้มักมีการแปรเปลี่ยน

hydrozoan ไฮโดรโซแอน : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมซีเลนเทอราตาหรือไนดาเรีย (Cnidaria) ชั้นไฮโดรซัว (class Hydrozoa) มีวงจรชีวิตเป็นทั้งแบบโพลิปซึ่งเกาะติดที่ และแบบเมดูซาซึ่งว่ายน้ำอย่างแมงกะพรุน หรือเป็นแบบเมดูซาอย่างเดียว สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังประเภทนี้ไม่มีเข็มพิษ และไม่มีหลอดอาหาร ดู polyp ประกอบ 

hygroscopic water น้ำเยื่อ : น้ำที่ถูกดูดซับที่ผิวของอนุภาคดินด้วยแรงยึดที่สูงมากในลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ ซึ่งพืชไม่สามารถนำไปใช้เป็นประโยชน์ได้เหมือนกับความชื้นดินในสภาพที่ผึ่งแห้ง (air-dried water content) ๓๗

hypermelanic –หินสีเข้มมาก : คำที่ใช้กับหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีเข้มมากกว่าร้อยละ ๙๐ โดยปริมาตร หรือมีดรรชนีสีมากกว่า ๙๐ ดู ultramafic; ultramafic rock ประกอบ 

hypocentre; earthquake focus; focus; seismic focus ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว : ดู seismic focus; earthquake focus; focus; hypocentre 

hypothermal -อุณหภูมิสูง : คำที่ใช้กับแหล่งแร่แบบน้ำร้อนที่กำเนิด ณ อุณหภูมิสูง ๓๐๐-๕๐๐ องศาเซลเซียส และที่ความลึกมาก คำนี้ยังใช้ในความหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ดู epithermal, mesothermal และ telethermal ประกอบ 

hypothermal deposit แหล่งแร่น้ำร้อนอุณหภูมิสูง: แหล่งแร่ที่มีกำเนิดจากน้ำร้อนที่อุณหภูมิสูงและความลึกมาก อุณหภูมิทั่วไป ๓๐๐-๕๐๐ องศาเซลเซียส ดู epithermal deposit, mesothermal deposit และ telethermal deposit ประกอบ 

hypocrystalline; merocrystalline -เนื้อแก้วผลึก : คำที่ใช้กับลักษณะเนื้อหินอัคนีซึ่งมีผลึกอยู่ในเนื้อพื้นประเภทแก้ว โดยอัตราส่วนผลึกต่อแก้วอยู่ระหว่าง ๗ : ๑ และ ๕ : ๓

hypodigm; type material วัสดุต้นแบบ : ดู type material; hypodigm 

hypolimnion ชั้นน้ำส่วนล่าง : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

hypolimnion; bathylimnion ชั้นน้ำส่วนล่าง : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

 ice borne sand and gravel กรวดทรายธารน้ำแข็ง : กรวดและทรายที่ถูกนำพาไปสะสมตัวโดยน้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็ง

ice field ทุ่งน้ำแข็ง : ดูคำอธิบายใน field ๓ 

ice pan ชั้นน้ำแข็ง : แผ่นน้ำแข็งขนาดใหญ่ที่ลอยอยู่เหนือน้ำทะเล อาจมีความหนาหลายเซนติเมตรจนถึง ๑ เมตร สัดส่วนความหนาของแผ่นน้ำแข็งที่ลอยอยู่เหนือน้ำต่อความหนาทั้งหมดจะเป็น ๑ : ๙ โดยทั่วไปประกอบด้วยแผ่นน้ำแข็งในฤดูหนาวที่มีอายุน้อย ๆ จนถึง ๑ ปี

ice-push ridge; lake rampart สันขอบทะเลสาบ : ดู lake rampart; ice-push ridge 

ichnofossil; trace; trace fossil รอยซากดึกดำบรรพ์ : ดู trace fossil; ichnofossil; trace 

ichnology วิทยารอยซากดึกดำบรรพ์ : วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับรอยซากดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะรอยทางเดินของสัตว์ ๓๘

ichnotaxon ขั้นอนุกรมวิธานรอยซากดึกดำบรรพ์ : ขั้นหนึ่งในอนุกรมวิธานที่ใช้กับร่องรอยของซากดึกดำบรรพ์ เช่น รอยเท้าและรูชอนไชของสัตว์ รอยแทะบนใบไม้ คำนี้จัดเป็นส่วนหนึ่งของขั้นอนุกรมวิธานชิ้นส่วนซากดึกดำบรรพ์ ดู parataxon ประกอบ 

ichthyosaur อิชทีโอซอร์ : สัตว์เลื้อยคลานทะเลพวกหนึ่งแห่งมหายุคมีโซโซอิกซึ่งได้พัฒนารูปร่างให้เหมาะสมกับการอยู่อาศัยในท้องทะเล คือมีรูปร่างเพรียวคล้ายปลาฉลาม มีจะงอยปากบางยาว และมีฟันคมเรียงเป็นแถว กินหอยแอมโมไนต์ หอยเบลเลมไนต์ และปลาเป็นอาหาร ว่ายน้ำโดยการแกว่งลำตัวและหางไปมาทางด้านข้าง และใช้ขาคู่หน้าซึ่งมีลักษณะเหมือนใบพายบังคับทิศทาง

Illinoian ช่วงอิลลินอเอียน : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งลำดับที่สามของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ระหว่างช่วงคั่นยาร์มัทเทียนกับช่วงคั่นแซงกามอเนียน เทียบได้กับช่วงริสส์และช่วงซาเลียนในทวีปยุโรป คำนี้บางครั้งเรียกอิลลินอแซน (Illinosan) ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

Illinoisan ช่วงอิลลินอยแซน : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งลำดับที่สามของสมัยไพลสโตซีนที่เกิดขึ้นในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ระหว่างช่วงคั่นยาร์มัทกับช่วงคั่นแซงกามอน เทียบได้กับช่วงริสส์ในทวีปยุโรป คำนี้เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Illinoian ดู ตารางเวลาของสมัยน้ำแข็งไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

illite ๑. อิลไลต์ : แร่ดินกลุ่มหนึ่ง มีสูตรเคมี (H3O, K)y(Al4 Fe4 Mg4 Mg6) (Si8-y Aly)O20(OH)4 มีองค์ประกอบและโครงสร้างอยู่ระหว่างมัสโคไวต์และมอนต์มอริลโลไนต์ ๒. ดินขาวอิลไลต์ : ดินที่ประกอบด้วยอิลไลต์หรือเซริไซต์เป็นส่วนใหญ่ มีมลทินได้แก่ เคโอลิไนต์ ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ เหล็กออกไซด์ ไทเทเนียมออกไซด์ และอื่น ๆ มีสีขาว มีเหล็กออกไซด์และไทเทเนียมออกไซด์ผสมอยู่น้อยกว่าร้อยละ ๑ นิยมใช้ผสมทำเครื่องดินเผาที่ต้องการความขาว เช่น จาน ชาม กระเบื้อง และเครื่องสุขภัณฑ์ ส่วนอิลไลต์ที่มีเหล็กออกไซด์สูงกว่าร้อยละ ๑ นิยมใช้ทำตัวเพิ่มเนื้อสี ตัวเติม กระดาษ ปุ๋ย เป็นต้น ในประเทศไทยพบที่จังหวัดลำปาง อุตรดิตถ์ ฯลฯ

illuviation การสะสมในชั้นดิน ส่วนคำอธิบายคงเดิม

immature ภาวะไม่สมบูรณ์ : ๑. ลักษณะทางภูมิประเทศหรือภูมิทัศน์ที่อยู่ในสภาวะไม่สมบูรณ์ เช่น ระบบทาง ๓๙

น้ำหรือหุบเขาที่ยังอยู่เหนือระดับฐาน ๒. ภาวะที่ตะกอนหลุดออกมาจากหินต้นกำเนิดเป็นระยะทางไม่ไกลนัก หรือในช่วงเวลาไม่นานนักซึ่งยังคงมีแร่และออกไซด์ที่ไม่เสถียรอยู่ หรือมีวัสดุที่ยังคงผุพังต่อไป และการคัดขนาดไม่ดี โดยทั่วไปลักษณะของเม็ดตะกอนเป็นเหลี่ยมมาก ๓. ภาวะที่อินทรียวัตถุในหินตะกอนยังไม่สามารถให้ปิโตรเลียมได้

immiscibility สภาพผสมกันไม่ได้ : การที่สารจำนวน ๒ เฟสหรือมากกว่าไม่สามารถรวมตัวเกิดเป็นเฟสเดียวกันได้ในภาวะสมดุล เช่น น้ำกับน้ำมัน ของเหลวหลายชนิดที่อยู่รวมกันได้ในกระบวนการลำดับส่วนหินหนืด ตรงข้ามกับ miscibility 

impact crater หลุมตกกระแทก : หลุมหรือหุบบนผิวโลกหรือดวงจันทร์ที่เกิดจากการชนของอุกกาบาตหรือวัตถุที่ไม่ทราบที่มา ดู meteor crater; meteorite crater ประกอบ 

impact slag ตะกรันอุกกาบาต : ดู impactite 

impactite หินอิมแพกไทต์ : หินที่มีรูพรุน เนื้อละเอียดคล้ายแก้ว เกิดจากการหลอมทั้งหมดหรือบางส่วนของหินภายในหลุมและรอบหลุม เนื่องจากความร้อนจากการชนของอุกกาบาตมีความหมายเหมือนกับ impact slag 

impedance อิมพีแดนซ์ : 

impregnated -ที่ซึมแทรก : 

๑. คำที่ใช้เรียกแหล่งแร่โดยเฉพาะแร่โลหะ ซึ่งแร่ดังกล่าวนี้เกิดทีหลังแล้วแพร่กระจายเข้าไปในหินเหย้า ดู interstitial และ disseminated ประกอบ 

๒. คำที่เกี่ยวกับการทำให้ช่องว่างในตัวอย่างดินและหินถูกแทนที่ด้วยสารละลายผสมของพลาสติกเรซิน เพื่อให้ตัวอย่างดินและหินนั้นแข็งตัวโดยไม่ทำให้โครงสร้างเปลี่ยนแปลง

impression รอยกด : ๑. รูปร่างหรือรอยที่เกิดเนื่องจากโครงสร้างหรือวัตถุที่แข็งและหนัก เช่น ซากดึกดำบรรพ์พวกหอย กดทับจนเกิดเป็นรอยพิมพ์บนชั้นหินด้านบน หรือเป็นรูปพิมพ์ อาจพบที่ชั้นหินล่างสุด ๒. หลุมกลมเล็ก ๆ ที่เกิดจากเม็ดฝนหรือลูกเห็บตก มีความหมายเหมือนกับ imprint ๔๐

imprint รอยประทับ : ดู impression 

inarticulate อินอาร์ทิคูเลต : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแบรคิโอโพดา ชั้นอินอาร์ทิคูลาตา (class Inarticulata) มีลักษณะเฉพาะ คือ เปลือกหรือฝาทั้งสองซึ่งประกอบด้วยสารเนื้อปูนหรือสารไคทิโนฟอสเฟต ยึดประกบเข้าด้วยกันโดยกล้ามเนื้อมากกว่าการประกบด้วยสันและร่องบนแนวหับเผย ดู articulate ประกอบ 

inclined shaft ปล่องเอียง: ดูคำอธิบายใน shaft 

inclusion ๑. หินแปลกปลอม : ดู xenolith; acciental inclusion . สารฝังใน : ๒.๑ ช่องว่างเล็ก ๆ ในเร่ มีขนาด ๑๐-๑๐๐ ไมครอน ประกอบด้วยของเหลวและ/หรือแก๊สที่กักเก็บอยู่ในผลึก มีความหมายเหมือนกับ fluid inclusion ๒.๒ ผลึกแร่หรือเศษวัสดุอื่นที่มีขนาดเล็กฝังอยู่ในแร่ ซึ่งอาจเป็นแร่ชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดก็ได้

incoherent noise เสียงรบกวนแตกแนว : เสียงรบกวนที่ไม่ได้เกิดจากต้นกำเนิดคลื่นที่ใช้ในการสำรวจ แต่เกิดจากเสียงอื่น ๆ ที่อยู่ในสภาวะแวดล้อมขณะปฏิบัติงานสำรวจ เสียงรบกวนเดินทางถึงกลุ่มเครื่องรับแต่ละกลุ่มด้วยเวลาไม่เท่ากัน ซึ่งจะปรากฏให้เห็นในภาพตัดขวางคลื่นสะท้อนที่ไม่เรียงตัวเป็นแนว เช่น เสียงที่เกิดจากลม จากแผ่นดินไหวระยะไกล จากเครื่องยนต์ จากคนเดินถนน จากเศษดินหินที่พุ่งจากหลุมระเบิดขึ้นไปด้านบนแล้วตกกระทบพื้นใกล้ ๆ กับตัวรับคลื่น เสียงรบกวนแตกแนวมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เสียงรบกวนแบบไม่มีทิศทาง

incongruent melting การหลอมแปรภาค : การหลอมที่ตามด้วยการสลายตัวหรือการเกิดปฏิกิริยากับของเหลว ทำให้ได้วัฏภาคของแข็งที่มีองค์ประกอบเปลี่ยนแปลง และทำให้ของเหลวมีองค์ประกอบต่างจากของแข็งเดิม เช่น แร่ออร์โทเคลส (KAlSi3O8 ) หลอมได้แร่ลูไซต์ (KAlSi2O6) และของเหลวที่มีซิลิกา(SiO2) มากกว่าเดิม

incongruent solution สารละลายแปรภาค : สารละลายที่มีการแตกตัวตามด้วยการสลายตัวหรือการเกิดปฏิกิริยากับของเหลว ทำให้ได้วัฏภาคของแข็งที่มีองค์ประกอบเปลี่ยนแปลง การแตกตัวจะทำให้วัสดุที่ละลายมีสัดส่วนหรือองค์ประกอบแตกต่างจากของแข็งเดิม ๔๑

indicated ore สินแร่บ่งชี้ : แหล่งแร่หรือสินแร่ที่คาดว่าควรมีแร่อยู่ปริมาณกี่ตันและเกรดอะไร โดยการวิเคราะห์หาปริมาณและเกรดของสินแร่ โดยส่วนหนึ่งได้มาจากการคาดคะเนอีกส่วนหนึ่งได้มาจากวิเคราะห์ตัวอย่าง (ยังไม่ยุติ : มอบนายสมชาย พุ่มอิ่ม เรียบเรียงคำอธิบายใหม่พร้อมศัพท์ที่เกี่ยวโยงกัน)

indicator สิ่งบ่งชี้ : ๑. ลักษณะทางธรณีวิทยาและอื่น ๆ ที่บ่งชี้ว่ามีแหล่งแร่ เช่น ค่าผิดปรกติทางธรณีเคมีหรือธรณีฟิสิกส์ ๒. พืชและสัตว์บางชนิดที่อาศัยอยู่เฉพาะบางสภาพแวดล้อมเท่านั้น จึงสามารถบ่งชี้สภาพแวดล้อมนั้นได้ ๓. หินธารน้ำแข็งพาซึ่งบ่งบอกให้ทราบแหล่งที่มาและทิศทางการเคลื่อนที่

induced polarization (IP) การเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ (ไอพี) : ๑. วิธีการสำรวจธรณีฟิสิกส์ที่เกี่ยวข้องกับการวัดความต่างศักย์ใต้ผิวดินที่สลายไปเมื่อหยุดปล่อยกระแสไฟฟ้าลงดิน (time domain) หรือการวัดอิมพีแดนซ์ของมวลสารใต้ผิวดินที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อใช้กระแสไฟฟ้าที่มีความถี่ต่ำลง (frequency domain) การเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำที่เกิดขึ้นใต้ผิวดินได้จากปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เรียกว่าการเกิดขั้วไฟฟ้า และการเกิดชั้นคู่ (double layer) ของประจุไฟฟ้าตามขอบแผ่นเคลย์ในรูพรุนของหิน การสำรวจด้วยวิธีการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำมีการจัดแถวลำดับขั้วไฟฟ้าเป็นแบบแถวลำดับสองขั้วคู่ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ๒. การเกิดชั้นคู่ของประจุไฟฟ้าบริเวณรอยต่อประสานของมวลเม็ดแร่โลหะ หรือการเกิดการเปลี่ยนแปลงขึ้นที่ชั้นคู่ของประจุไฟฟ้าเมื่อผ่านสนามไฟฟ้าหรือสนามแม่เหล็กเข้าไป การเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ เหมาะสำหรับสำรวจหาแร่ตัวนำไฟฟ้าชนิดที่เกิดประในหิน (disseminated) เช่น จากแหล่งแร่ทองแดงที่มักเกิดกับหินเนื้อดอก (porphyry copper) ซึ่งมีความนำไฟฟ้าไม่สูงพอที่จะตรวจพบได้ด้วยวิธีแม่เหล็กไฟฟ้า ใช้สำรวจหาแร่ตัวนำไฟฟ้าชนิดที่เกิดเป็นมวลแน่น ซึ่งอยู่ลึกเกินความสามารถที่วิธีแม่เหล็กไฟฟ้าจะตรวจพบ หรือลักษณะของตัวแร่ไม่เหมาะที่จะสำรวจด้วยวิธีแม่เหล็กไฟฟ้า และใช้ในการบอกให้ทราบว่าตัวนำไฟฟ้าที่ตรวจพบด้วยวิธีแม่เหล็กไฟฟ้านั้นเป็นชนิดตัวนำไฟฟ้าที่เป็นโลหะ (metallic conductor) หรือตัวนำไฟฟ้าที่เกิดจากประจุไฟฟ้า (ionic conductor) ๔๒

induction log ผลบันทึกค่าเหนี่ยวนำ : ผลบันทึกค่าการหยั่งธรณีในหลุมเจาะโดยวัดค่าการนำไฟฟ้าของชั้นหิน ซึ่งชั้นหินที่มีน้ำมันจะมีค่าการนำไฟฟ้าต่ำกว่าชั้นน้ำ เมื่อเปรียบเทียบกับค่าความต้านทานไฟฟ้าจะทำให้สามารถแยกชั้นน้ำมันกับชั้นน้ำได้

industrial diamond เพชรอุตสาหกรรม : เพชรธรรมชาติหรือเพชรสังเคราะห์ที่มีตำหนิมากจนไม่สามารถนำไปทำอัญมณี จึงนำไปใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น การดึงรีดลวด หรือใช้เป็นหัวเจาะฝังเพชร สารขัดถูสำหรับการตัดและขัดมัน เพชรอุตสาหกรรมที่เป็นเพชรธรรมชาติ แบ่งออกเป็น ๓ ชนิด ได้แก่ บัลลาส บอร์ต และคาร์บอนาโด ดู ballas, bort; boart; boort และ carbonado ประกอบ 

inequigranular; heterogranular –เนื้อคละขนาด : ดู heterogranular; inequigranular 

infill well หลุมเจาะเสริม : หลุมเจาะที่เจาะอยู่ภายในขอบเขตที่มีหลุมเจาะอยู่ก่อนในแหล่งกักเก็บที่ค้นพบแล้ว เพื่อลดระยะห่างระหว่างหลุม

informal unit หน่วยไม่เป็นทางการ : ชื่อหน่วยลำดับชั้นหินที่ใช้เรียกเพื่อความสะดวก ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์การจำแนกและการตั้งชื่อลำดับชั้นหินของสหพันธ์ธรณีศาสตร์นานาชาติ (International Union of Geological Science, IUGS) เช่น ชั้นทราย (sandy beds) ดู formal unit ประกอบ 

infrastructure โครงสร้างระดับลึก : โครงสร้างที่เกิดในเปลือกโลกระดับลึก ในสภาพแวดล้อมของหินอัคนีระดับลึก ภายใต้ความดันและอุณหภูมิสูง ลักษณะเด่นคือ แสดงการคดโค้งแบบพลาสติก และการแทรกของหินแกรนิต หินมิกมาไทต์ และหินอัคนีอื่น ๆ ตรงข้ามกับ superstructure 

initial dip; original dip; primary dip มุมเทเดิม : มุมเอียงเทของชั้นหินตะกอน ณ ที่เดิมก่อนการเปลี่ยนลักษณะของเปลือกโลก

initial production (IP) การผลิตเริ่มต้น (ไอพี) : ปริมาณหรือจำนวนของปิโตรเลียมที่ผลิตได้ในช่วงเริ่มต้นการผลิตในระยะเวลาหนึ่ง ๆ โดยทั่วไปใช้ในเวลา ๒๔ ชั่วโมง

initial production การผลิตเริ่มต้น : ปริมาณแก๊สหรือน้ำมันที่ได้จากการผลิตเริ่มต้น ณ ช่วงเวลาที่กำหนด โดยทั่วไปนับเวลาภายใน ๒๔ ชั่วโมง ๔๓

initial reserves ปริมาณสำรองเริ่มต้น : ทรัพยากรที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่าจะสามารถผลิตได้จากแหล่งที่สำรวจพบแล้ว โดยรวมถึงปริมาณที่ผลิตไปแล้วทั้งหมดและปริมาณที่คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในอนาคต โดยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น

injection dike พนังแทรกดัน : พนังหินตะกอนชนิดหนึ่ง ที่เกิดโดยแรงผลักดันผิดปรกติทำให้ตะกอนแทรกดันเข้าไปอาจจากด้านบน ด้านล่าง หรือด้านข้างก็ได้ ดู nepturian dike ประกอบ 

inlier หินแก่เผย : พื้นที่หรือกลุ่มหินที่โผล่ให้เห็นโดยมีหินอายุอ่อนกว่าล้อมอยู่โดยรอบ เช่น ยอดชั้นหินโค้งรูปประทุนกร่อน ดู outlier ประกอบ 

in-line array แถวลำดับตามเส้น : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นตามแนวเส้นสำรวจ

inosilicate ไอโนซิลิเกต : กลุ่มแร่ซิลิเกตที่ประกอบด้วย SiO4 ทรงสี่หน้า เกาะตัวเป็นทั้งแบบโซ่เดี่ยวและแบบโซ่คู่ โดยแบบโซ่เดียวจะใช้ออกซิเจนของ SiO4 ทรงสี่หน้าข้างเคียงร่วมกัน ๒ ตัว อัตราส่วน Si : O = 1 : 3 เช่น ไพรอกซีน ออไจต์ เจไดต์ ไดออปไซด์ ส่วนโซ่คู่ ครึ่งหนึ่งของ SiO4 ทรงสี่หน้าจะใช้ออกซิเจนร่วมกัน ๓ ตัว และอีกครึ่งหนึ่งจะใช้ออกซิเจนร่วมกัน ๒ ตัว อัตราส่วน Si : O = ๔ : ๑๑ เช่น แอมฟิโบล ฮอร์นเบลนด์ เทรโมไลต์ แอกทิโนไลต์

in-situ origin theory; in-situ theory ทฤษฎีการเกิด ณ ที่เดิม : ทฤษฎีที่ว่าด้วยถ่านหินมีต้นกำเนิดในบริเวณที่พืชเจริญเติบโตและสลายตัวผุพังอยู่กับที่ ดู drift theory ประกอบ 

intake; recharge การเติมน้ำ : ดู recharge; intake 

intensity of magnetization ความเข้มอำนาจแม่เหล็ก : ค่าของโมเมนต์แม่เหล็กต่อ ๑ หน่วยปริมาตรที่จุดใดจุดหนึ่งในตัวสารแม่เหล็ก ที่ถูกกระทำให้มีอำนาจแม่เหล็ก ความเข้มดังกล่าวเป็นการวัดผลที่จะเกิดขึ้นกับตัวกลางชนิดใดชนิดหนึ่งว่าจะทำให้เกิดความหนาแน่นของเส้นแรงแม่เหล็ก (flux density) เท่าใด เมื่อตัวกลางนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลของอำนาจแม่เหล็กจากภายนอก มีความหมายเหมือนกับ polarization ๔๔

intensity scale มาตราความเข้มแผ่นดินไหว : มาตราวัดความเข้มแผ่นดินไหว มีระบบที่ใช้กันอยู่ คือ มาตราเมอร์คัลลิเดิม มาตราเมอร์คัลลิปรับปรุงใหม่ และมาตรารอสซี-ฟอเรล มาตราความเข้มแผ่นดินไหวต่างจากมาตราริกเตอร์ซึ่งเป็นมาตราวัดขนาดแผ่นดินไหว

interbedded; interstratified -สลับชั้น : คำที่ใช้กับชั้นหินที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งวางตัวระหว่างชั้นหรือวางชั้นสลับกัน เช่น ชั้นหินทรายที่สลับกับชั้นหินดินดานในหมวดหินฮ่องหอย จังหวัดลำปาง ดูรูปประกอบ 

interburden ส่วนคั่นชั้นแร่ : วัสดุทางธรรมชาติ อันได้แก่ ดิน ตะกอน และหิน ที่อาจจะจับตัวแข็งหรือไม่ก็ได้ ซึ่งวางตัวอยู่ระหว่างชั้นแร่หรือชั้นถ่านหิน ๒ ชั้น ในการทำเหมืองชนิดที่ขุดจากผิวหน้าดินลงไป ต้องเอาวัสดุเหล่านี้ออกไปเสียก่อนจนถึงชั้นแร่หรือชั้นถ่านหินชนถัดไป จึงสามารถขุดเอาแร่หรือถ่านหินชั้นล่างออกมาได้ มีความหมายเหมือนกับ parting 

intercalated; interlaminated -สลับชั้นบาง : คำที่ใช้กับชั้นหินบางที่มีลักษณะแตกต่างกันซึ่งวางตัวระหว่างชั้นหรือวางชั้นสลับกัน

interference color สีแทรกสอด : ในวิชาทัศนศาสตร์ผลึก หมายถึง สีที่ผลึกชนิดมีแสงหักเหสองแนวแสดงให้เห็นเมื่อดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ในขณะที่มีแผ่นแอนาไลเซอร์อยู่ในทางของแสง เกิดเนื่องจากรังสีแสงทั้งสองแทรกแซงหรือแทรกสอดซึ่งกันและกันเมื่อเคลื่อนผ่านผลึกแร่ ค่าสีแทรกสอดสูงสุดจะให้ค่าแสงหักเหสองแนว (birefringence)

interference figure รูปแทรกสอด : รูปแบบหรือภาพที่ประกอบด้วยไอโซจายร์กับวงแถบสีแทรกสอดที่ปรากฏในการศึกษาโคโนสโกปีของผลึกหนึ่ง ๆ ใช้สำหรับแบ่งแยกแร่แกนแสงเดี่ยว จากแร่แกนแสงคู่ และใช้หาเครื่องหมายทางแสงด้วย

interformational conglomerate หินกรวดมนต่างหมวดหิน : ชั้นหินกรวดมนที่เกิดอยู่ในหมวดหินหนึ่งซึ่งก้อนกรวดในชั้นหินมาจากหมวดหินอื่น

interformational multiple คลื่นสะท้อนซ้ำระหว่างชั้น : ดูคำอธิบายใน multiple; multiple reflection 

interformational –ระหว่างหมวดหิน : คำที่เกี่ยวข้องกับการเกิดหรือการปรากฏซึ่งอยู่ระหว่างหมวดหินหนึ่งกับอีกหมวดหินหนึ่ง เช่น รอยชั้นไม่ต่อเนื่องระหว่างหมวดหิน

interlaminated; intercalated -สลับชั้นบาง : ดู intercalated; interlaminated ๔๕

intermineral -ระหว่างเกิดแร่ : คำที่ใช้เกี่ยวกับช่วงเวลาหนึ่งระหว่างคาบของการเกิดแหล่งแร่ รวมถึงรูปลักษณ์ทั้งหลาย เช่น พนังหินที่ถูกดันขึ้นมาในช่วงเวลาที่เกิดแหล่งแร่นั้น

interpretive log ผลบันทึกแปลความ : ผลบันทึกการบรรยายลักษณะของชิ้นตัวอย่างหินที่ขึ้นมาจากหลุมเจาะตามช่วงความลึกที่กำหนดโดยนักธรณีวิทยาหลุมเจาะ โดยไม่คำนึงว่าชิ้นตัวอย่างจะร่วงมาจากชั้นหินข้างบนหรือไม่ โดยทั่วไปจะประมาณปริมาตรของหินชนิดต่าง ๆ เป็นร้อยละ มีความหมายเหมือนกับ mud log 

interpretive map แผนที่แปลความ : แผนที่ที่ใช้ในงานธรณีวิทยาสิ่งแวดล้อมสำหรับบุคคลทั่วไป แสดงถึงพื้นที่ใช้สอยในกิจกรรมต่าง ๆ ซึ่งจำแนกตามข้อมูลพื้นฐานหรือลักษณะทางธรณีวิทยา เช่น แหล่งวัสดุก่อสร้าง แหล่งน้ำบาดาล พื้นที่ฝังกลบขยะ พื้นที่เสี่ยงภัย

interstitial -ในช่องว่าง : คำที่ใช้เรียกแหล่งแร่ที่เกิดสะสมตัวในช่องว่างของหินเหย้า ดู impregnated ประกอบ 

interstratified; interbedded -สลับชั้น : ดู interbedded; interstratified 

interval velocity ความเร็วช่วงชั้น : ระยะทางหารด้วยเวลาที่คลื่นไหวสะเทือนเดินทางผ่านลำดับชั้นหินหรือชั้นหินใด ๆ ตามแนวที่คลื่นเดินทาง ส่วนความเร็วเฉลี่ยวัดจากช่วงชั้นแต่ละช่วงตามความลึก เช่น ในการหยั่งธรณีหลุมเจาะจะแสดงถึงความเร็วที่ตั้งฉากกับชั้นหิน

intracratonic -ภายในทวีปเสถียร : คำที่เกี่ยวข้องกับภายในทวีปที่เสถียร

intraformational -ภายในหมวด : ๑. คำที่เกี่ยวข้องกับหมวดหินซึ่งเกิดมาพร้อมหรือใกล้เคียงกับชั้นหินข้างเคียงโดยรอบ คำนี้มักนิยมใช้กับโครงสร้างการเปลี่ยนลักษณะของหินตะกอนที่เกิดการคดโค้งหรือเกิดการเลื่อนไถลขณะหินตกตะกอน ๒. คาที่ใช้กับการเกิดภายในหมวดหินโดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาการเกิด

intraformational breccia หินกรวดเหลี่ยมในหมวดหิน : ชั้นหินกรวดเหลี่ยมที่เกิดจากการแตกบดอัดของวัสดุกึ่งแข็งตัว ต่อมาเกิดการสะสมตัว แล้วเกิดการเชื่อมประสาน มีลักษณะและกระบวนการเกิดคล้ายกับหินกรวดมนในหมวดหิน แต่ก้อนกรวดในหินกรวดเหลี่ยมในหมวดหินมีความเป็นเหลี่ยมคมมากกว่า ดู intraformational conglomerate ประกอบ ๔๖

intraformational conglomerate หินกรวดมนในหมวดหิน : ชั้นหินกรวดมนที่เกิดอยู่ภายในหมวดหินหนึ่ง ซึ่งก้อนกรวดและเนื้อพื้นของชั้นหินมาจากหมวดหินภายในหมวดนั้น

intraformational fold ชั้นหินคดโค้งในหมวดหิน : ชั้นหินคดโค้งขนาดเล็กที่เกิดอยู่ภายในชั้นหินตะกอนที่อยู่ระหว่างชั้นหินที่ไม่เปลี่ยนลักษณะ

intraformational -ในหมวดหิน : ๑. คำที่เกี่ยวข้องกับหมวดหินซึ่งเกิดมาพร้อมหรือใกล้เคียงกับชั้นหินข้างเคียงโดยรอบ คำนี้มักนิยมใช้กับโครงสร้างการเปลี่ยนลักษณะของหินตะกอนที่เกิดการคดโค้งหรือเกิดการเลื่อนไถลขณะหินตกตะกอน ๒. คำที่ใช้กับการเกิดภายในหมวดหินโดยไม่คำนึงถึงระยะเวลาการเกิด

intramicrite หินอินทรามิไครต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกอินทราคลาสต์มากกว่าร้อยละ ๒๕ และมีเนื้อพื้นพวกมิไครต์มากกว่าวัตถุประสานพวกสปาไรต์ ดู allochem, micrite, oÖlith, oÖsparite และ sparite ประกอบ 4-5/49 

intramineral -ในขณะเกิดแร่ : คำที่ใช้เกี่ยวกับช่วงเวลาในขณะที่เกิดแหล่งแร่ รวมถึงรูปลักษณ์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวพันกับการเกิดแหล่งแร่นั้น เช่น การเกิดแหล่งแร่ในขณะที่เกิดหินกรวดเหลี่ยม

intrasparite หินอินทราสปาไรต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกอินทราคลาสต์ มากกว่าร้อยละ ๒๕ และมีวัตถุประสานพวกสปาไรต์มากกว่าเนื้อพื้นพวกมิไครต์ ดู allochem, micrite, oÖlith, oÖmicrite และ sparite ประกอบ 

invaded zone เขตแทรกดัน : บริเวณพื้นที่รอบหลุมเจาะซึ่งน้ำโคลนที่ใช้ในการเจาะได้แทรกดันเข้าไปแทนที่ของไหลที่อยู่ในรูพรุนของหิน เนื่องจากความดันของน้ำโคลนมีมากกว่าความดันของของไหลที่อยู่ในหินนั้น อนุภาคดินในน้ำโคลนจะเกาะตัวเป็นแผ่นโคลน(mud cake) ตามผนังชั้นหินในหลุมเจาะ ซึ่งจะกันไม่ให้น้ำโคลนไหลเข้าไปในชั้นหินได้อีก ถัดจากชั้นแผ่นโคลนเป็นบริเวณชั้นหินที่ถูกแทนที่ด้วยน้ำโคลนซึ่งเข้าไปแทนที่น้ำและไฮโดรคาร์บอนที่เคยอยู่ในชั้นหินนั้น กรรมวิธีนี้ทำให้สภาพต้านทานไฟฟ้าและสมบัติอื่น ๆ ของชั้นหินส่วนนั้นเปลี่ยนแปลงไป อันเป็นผลให้ค่าที่วัดได้โดยวิธีการหยั่งธรณีของบริเวณนี้แตกต่างจากส่วนอื่น

inversion การผกผัน : ๑. การเปลี่ยนเฟสของของแข็งจากของแข็งหนึ่งไปเป็นอีกของแข็งหนึ่งที่มีองค์ประกอบเดิม เช่น ควอตซ์เปลี่ยนเป็นทริดิไมต์ อะราโกไนต์เป็นแคลไซต์ ๔๗

๒. การย้อนกลับของสภาพอากาศ เช่น อุณหภูมิสูงขึ้นแทนที่จะลดลงตามความสูงของภูมิประเทศ ๓. การสร้างรูปแบบจำลองทางธรณีฟิสิกส์จากข้อมูลที่สัมพันธ์กัน ๔. การย้อนกลับของโครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น รอยเลื่อน ๕. ดู inverted relief 

inverted relief ความสูงต่ำผกผัน : พื้นผิวทางภูมิศาสตร์ที่ไม่เป็นไปตามโครงสร้างทางธรณีวิทยา เช่น หุบเขาบนโครงสร้างรูปประทุน ภูเขาบนโครงสร้างรูปประทุนหงาย มีความหมายเหมือนกับ inversion ความหมายที่ ๕ 

investigation การสืบหา : การตรวจสอบหรือสืบหารายละเอียดทั่วไปของลักษณะหรือสมบัติทางธรณีวิทยามหภาค โดยมีเครื่องมือและเทคนิคที่ใช้ในการสำรวจวัดทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ ธรณีเคมี ตลอดจนเทคนิคในการแปลความหมาย

iolite ไอโอไลต์ : ดู cordierite 

IP (induced polarization) ไอพี (การเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ) : ดู induced polarization (IP) 

IP (initial production) ไอพี (การผลิตเริ่มต้น) : ดู initial production (IP) 

iridescence การเกิดสีเหลือบ : ปรากฏการณ์การสะท้อนแสงจากผิวของวัสดุเป็นสีต่าง ๆ คล้ายสีรุ้ง เกิดจากการแทรกสอดของแสงเนื่องจากรอยแตกขนาดเล็กกว่า ๐.๑ ไมครอน ที่อยู่ติดกัน หรือเกิดจากรอยแตกเรียบ รูปแฝด แผ่นบาง ๆ หรือสารฝังในที่มีการเรียงตัวขนานกัน ซึ่งมีค่าดรรชนีหักเหของแสงต่างกัน เช่น แลบราโดไลต์ จะแสดงสีน้ำเงิน เขียว ถึงเหลืองเมื่อหมุนไปมา การสะท้อนแสงแบบนี้จะเกิดสีเหลือบคล้ายที่เกิดบนผิวฟองสบู่หรือฟิล์มบาง ๆ ของน้ำมันบนน้ำ พบตามผิวของถ่านหินหรือโลหะต่าง ๆ

iron bacteria แบคทีเรียเหล็ก : แบคทีเรียไม่ใช้ออกซิเจนที่สามารถทำให้เหล็กออกไซด์ตกตะกอนจากสารละลายได้โดยกระบวนการออกซิไดส์เกลือของเหล็ก หรือโดยการปลดปล่อยโลหะที่ถูกออกซิไดส์จากสารประกอบอินทรีย์ การสะสมตัวของเหล็กที่เกิดโดยกระบวนการนี้เรียกว่า แหล่งสินแร่ที่เกิดจากแบคทีเรีย ดู sulfur bacteria ประกอบ 

iron cap; iron hat หมวกเหล็ก : ดู gossan; gozzan 

iron meteorite อุกกาบาตเหล็ก : อุกกาบาตที่มีองค์ประกอบเป็นโลหะผสมของเหล็กและนิกเกิลมากกว่าร้อยละ ๙๙ มีแร่หรือโลหะชนิดอื่นเพียงส่วนน้อย ความวาวโลหะ และ ๔๘

ความถ่วงจำเพาะสูง โดยทั่วไปอุกกาบาตเหล็กที่พบในพื้นโลกจะมีองค์ประกอบที่มีค่าเฉลี่ยของเหล็กร้อยละ ๙๐.๗๘ นิกเกิลร้อยละ ๘.๕๙ โคบอลต์ร้อยละ ๐.๖๓ อุกกาบาตเหล็กที่พบในประเทศไทยเมื่อวันที่ ๑๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๓๖ ที่บ้านร่องดู่ ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ ลักษณะเป็นก้อนคล้ายลูกสะบ้า น้ำหนักประมาณ ๑๖.๗ กิโลกรัม ประกอบด้วยเหล็กร้อยละ ๘๑.๑๒ นิกเกิลร้อยละ ๑๘.๒๕ และโคบอลต์ร้อยละ ๐.๖๓

iron เหล็ก : แร่โลหะที่มีสมบัติติดแม่เหล็ก ความถ่วงจำเพาะสูง และไวต่อปฏิกิริยาเคมีมาก แร่เหล็กที่เป็นธาตุธรรมชาติไม่ค่อยพบในหินที่เกิดขึ้นภายในเปลือกโลก แต่มักพบทั่วไปในพวกอุกกาบาต ธาตุเหล็กมักเกิดรวมตัวกับธาตุอื่น ๆ เป็นสารประกอบหรือแร่ชนิดต่าง ๆ มากมายในแหล่งแร่และในหินอัคนีส่วนใหญ่ ตัวอย่างแร่เหล็ก เช่น แมกนีไทต์ ฮีมาไทต์ ไลมอไนต์ ไพไรต์ เหล็กเป็นโลหะที่ใช้แพร่หลายในอุตสาหกรรมต่าง ๆ มากที่สุด

iron formation หมวดหินแร่เหล็ก : ดู banded iron formation 

iron ore สินแร่เหล็ก : แร่เหล็กที่มีคุณค่าเชิงพาณิชย์ มักเป็นแหล่งหินปนเหล็กหรือสินแร่มวลรวม ซึ่งอาจมีแร่เหล็กผสมอยู่ ๑ ชนิด หรือมากกว่า ในการทำเหมืองจะนำสินแร่มวลรวมที่ขุดได้ไปผ่านกระบวนการแต่งแร่ แล้วนำแร่เหล็กที่ได้ไปถลุงเอาโลหะเหล็กแหล่งสินแร่เหล็กส่วนใหญ่ประกอบด้วยเหล็กออกไซด์ เช่น ฮีมาไทต์ (Fe2O3) แมกนีไทต์ (Fe3O4) สินแร่เหล็กพบทั่วไปในโลก ประเทศที่ผลิตสินแร่เหล็กในเชิงพาณิชย์ที่สำคัญ เช่น ออสเตรเลีย บราซิล จีน อินเดีย รัสเซีย ยูเครน แอฟริกาใต้ สหรัฐอเมริกา

ironstone หินเหล็ก : หินทุกชนิดที่มีแร่เหล็กเป็นองค์ประกอบหลัก โดยเฉพาะตะกอนที่มีแร่เหล็กประกอบอยู่ในปริมาณสูง ประยุกต์ใช้เรียกหินตะกอนปลายยุคพรีแคมเบรียนที่ไม่มี เชิร์ตปน อาจมีลักษณ์เป็นชั้น ๆ หรือไร้ชั้น ผิดกับหินตะกอนในหมวดหินแร่เหล็กซึ่งมี เชิร์ตปน โดยมากประกอบด้วยแร่เหล็กแบบเม็ดไข่ปลา

isochore ตัดศัพท์ เนื่องจากปัจจุบันเลิกใช้ศัพท์นี้แล้ว

isochromatic curves วงแถบสีแทรกสอด : แถบสีแทรกสอดที่วงรอบแกนแสงผุดในรูปแทรกสอด ดูรูปที่ interference figure 

isochron เส้นเวลาเท่า : ๑. ในการสำรวจคลื่นไหวสะเทือน หมายถึง เส้นที่ลากเชื่อมต่อจุดที่คลื่นสะท้อน ๔๙

เดินทางกลับจากชั้นสะท้อน ๒ ชั้นด้วยความแตกต่างของเวลาที่เท่ากัน ๒. ในทางธรณีกาลวิทยา หมายถึง เส้นตรงบนกราฟที่ได้จากความสัมพันธ์ระหว่างอัตราส่วนของไอโซโทปลูกต่อไอโซโทปที่ไม่ให้กัมมันตรังสีกับอัตราส่วนของไอโซโทปแม่ต่อไอโซโทปลูก ความชันของเส้นตรงดังกล่าวจะเพิ่มขึ้นตามอายุของระบบที่ตรวจสอบ

isodynamic line; isogam; isomagnetic line เส้นความเข้มสนามแม่เหล็กเท่า : ดู isogam; isodynamic line; isomagnetic line 

isogal เส้นความโน้มถ่วงเท่า : เส้นที่ลากเชื่อมต่อจุดต่าง ๆ ที่มีค่าความโน้มถ่วงเท่ากัน บนแผนที่หรือแผนภูมิ ใช้ประโยชน์ในการแปลความหมายโครงสร้างของชั้นใต้ดินในการสำรวจหาแหล่งปิโตรเลียม แหล่งแร่ หรือแหล่งน้ำบาดาล เป็นต้น ดู gal ประกอบ 

isogam; isodynamic line; isomagnetic line เส้นความเข้มสนามแม่เหล็กเท่า : เส้นที่ลากเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีค่าความเข้มสนามแม่เหล็กเท่ากัน ใช้ประโยชน์ในการทำแผนที่แสดงค่าความเข้มสนามแม่เหล็กรวม แผนที่แสดงค่าความเข้มสนามแม่เหล็กแนวราบ หรือแผนที่แสดงค่าความเข้มสนามแม่เหล็กแนวตั้ง ดู gamma ความหมายที่ ๑ ประกอบ 

isogeotherm; geoisotherm; geotherm เส้นอุณหภูมิภายในโลกเท่า : เส้นหรือพื้นผิวภายในโลกที่เชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีค่าอุณหภูมิเท่ากัน ดู isotherm ประกอบ 

isogonal; isogonic line เส้นมุมบ่ายเบนแม่เหล็กเท่า, เส้นไอโซกอนิก : เส้นที่ลากเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีค่ามุมบ่ายเบนแม่เหล็กเท่ากัน

isogonic line; isogonal : ดู isogonal; isogonic line 

isograd เส้นแปรสภาพเท่า : เส้นบนแผนที่ที่ลากผ่านจุดที่มีการแปรสภาพเท่ากัน กำหนดได้โดยหินที่อยู่ในชุดลักษณ์ของการแปรสภาพเท่ากัน ขอบเขตของการแปรสภาพกำหนดได้โดยการปรากฏของแร่ดรรชนี เช่น การ์เนต เรียก เส้นแปรสภาพเท่าการ์เนต หรือสตอโรไลต์ เรียก เส้นแปรสภาพเท่าสตอโรไลต์

isogyre ไอโซจายร์ : เส้นกากบาทหรือเส้นโค้งสีดำ ๒ เส้นของรูปแทรกสอด ซึ่งบ่งบอกบริเวณจุดมืดของเม็ดแร่ ทิศทางของแกนแสงจะอยู่ตรงจุดมืดซึ่งล้อมรอบด้วยวงแถบสีแทรกสอด แร่ที่มีการกระจายแสงสูง จะเห็นแถบสีแดงและน้ำเงินปรากฏที่ขอบเส้นของไอโซ ๕๐

จายร์ แถบสีแดงแทนรังสีแสงสีแดง ส่วนสีน้ำเงินแทนรังสีแสงสีม่วง ดูรูปที่ interference figure และดู interference figure และ isochromatic curves ประกอบ 

isomagnetic line เส้นแรงแม่เหล็กเท่า : เส้นที่ลากเชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีค่าแรงแม่เหล็กเท่ากัน

isomagnetic line; isodynamic line; isogam เส้นความเข้มสนามแม่เหล็กเท่า : ดู isogam; isodynamic line; isomagnetic line 

isopach map แผนที่ความหนาเท่า : แผนที่ซึ่งใช้เส้นความหนาเท่าแสดงความหนาของชั้นหิน หมวดหิน พนังแทรกชั้น หรือวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นแบนตลอดพื้นที่ของภูมิประเทศชั้นหนึ่ง ๆ โดยแสดงช่วงเส้นชั้นความหนาเป็นช่วงสม่ำเสมอกัน

isopach เส้นความหนาเท่า : ๑. เส้นบนแผนที่ซึ่งลากเชื่อมต่อจุดที่มีความหนาจริงของหน่วยหินหรือกลุ่มของหน่วยลำดับชั้นหินที่กำหนดเท่ากัน ๒. เส้นซึ่งใช้แสดงตำแหน่งที่มีความแตกต่างของเวลาการเดินทางเท่ากันของคลื่นสะท้อน ถ้าความเร็วคลื่นสะท้อนมีค่าเท่ากัน แสดงว่าเป็นตำแหน่งชั้นสะท้อนที่มีความหนาเท่ากัน

isostatic anomaly ค่าผิดปรกติดุลเสมอภาค : ค่าความถ่วงผิดปรกติที่คำนวณได้จากสมมุติฐานที่ว่า ความโน้มถ่วงที่เกิดโดยมวลที่อยู่สูงกว่าระดับน้ำทะเล เช่น ภูเขา ที่ราบสูง มีการชดเชยจากมวลที่อยู่เบื้องล่างที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าปรกติ สำหรับในบริเวณที่เป็นน้ำในมหาสมุทรจะถูกชดเชยโดยมวลที่อยู่ใต้มหาสมุทรที่มีความหนาแน่นมากกว่า

isostatic compensation การชดเชยดุลเสมอภาค : ๑. ในทางธรณีฟิสิกส์ หมายถึง การปรับตัวธรณีภาคของโลกเพื่อให้เกิดดุลระหว่างส่วนต่าง ๆ ของเปลือกโลกที่มีมวลและความหนาแน่นต่างกัน มวลส่วนเกินที่อยู่ด้านบนจะได้รับการถ่วงดุลโดยมวลที่อยู่เบื้องล่างที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าปรกติ หรือเป็นไปในทางกลับกัน ๒. ในทางธรณีวิทยา หมายถึง กระบวนการพัดพาไปทางด้านข้างบนผิวโลก เช่น การกัดกร่อน การพัดพาจะถูกชดเชยโดยการเคลื่อนที่ไปทางด้านข้างภายในชั้นใต้เปลือกโลก ๕๑

isostatic ตัดศัพท์ เนื่องจากเป็นคำคุณศัพท์

isostrasy ดุลเสมอภาคของเปลือกโลก : การปรับสภาวะการรับน้ำหนักของหินเปลือกโลกเพื่อให้เกิดความสมดุลซึ่งกันและกัน เมื่อบริเวณส่วนใดส่วนหนึ่งของเปลือกโลกเกิดการกร่อนไปและเกิดมีการทับถมขึ้นในที่อื่น เปลือกโลกจะเกิดการเคลื่อนไหวขึ้นเป็นครั้งคราวอย่างช้า ๆ หรืออย่างรุนแรง เพื่อปรับการรับน้ำหนักของหินที่รองรับอยู่ข้างใต้ให้กลับคืนสู่สภาวะสมดุลเช่นปรกติ

isotherm เส้นอุณหภูมิเท่า : เส้นที่เชื่อมต่อระหว่างจุดต่าง ๆ ที่มีค่าอุณหภูมิเท่ากัน แผนที่อุณหภูมิเท่ามักใช้แสดงรูปแบบอุณหภูมิพื้นผิวของมวลน้ำ ดู isogeotherm; geoisotherm; geotherm ประกอบ 

isothermal -คงอุณหภูมิ : คำที่ใช้เกี่ยวกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงสถานะทางอุณหพลศาสตร์ของสสารเมื่ออุณหภูมิคงที่ เช่น การเปลี่ยนแปลงของความดันและปริมาตร

isthmus คอคอด : แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำขนาบอยู่ ๒ ด้าน ตรงที่กิ่วคอดอยู่ระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดปานามา คอคอดสุเอซ คอคอดกระ มีความหมายเหมือนกับ neck ๑ 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

jacinth จาซินท์ : ดู hyacinth 

jadeite เจไดต์ : แร่รัตนชาติในกลุ่มไพรอกซีน มีสูตรเคมี Na(Al, Fe)Si2O6 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง มีหลายสี เช่น เขียว ขาว ม่วง เหลืองอมน้ำตาล มีความวาวแบบแก้วถึงมุก ความแข็ง ๖.๕-๗.๐ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๓-๓.๕ โดยทั่วไปเรียกว่าหยก มักเกิดในหินแปรพวกหินเซอร์เพนทิไนต์และหินชีสต์ที่เกิดในภาวะความดันสูง อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ และมักพบเป็นก้อนหินมนใหญ่และกรวดขนาดต่าง ๆ ตามท้องน้ำ ดู jade ประกอบ 

jig bed ชั้นลูกจิ๊ก : เม็ดแร่หรือโลหะวางเป็นชั้นอยู่บนตะแกรงของจิ๊ก มักมีรูปร่างกลม ขนาดโตกว่ารูตะแกรง และมีความถ่วงจำเพาะอยู่ระหว่างแร่และมลทินที่ต้องการแยก ลูกจิ๊กที่นิยมใช้ เช่น ลูกปืนตะกั่ว ลูกปืนเหล็ก ไพไรต์ แมกนีไทต์ ฮีมาไทต์

jig จิ๊ก : เครื่องมือที่ใช้ในการแต่งแร่ โดยอาศัยหลักว่าวัสดุที่มีความถ่วงจำเพาะแตกต่างกันและมีขนาดไล่เลี่ยกัน หากนำไปหย่อนพร้อม ๆ กันลงในภาชนะที่มีน้ำ วัสดุที่หนักกว่าจะตกลงถึงก้นภาชนะก่อนเนื่องจากแรงต้านของน้ำ และถ้าน้ำนั้นมีการกระเพื่อมขึ้นลงด้วย จะทำให้ช่วงการตกจมของวัสดุแตกต่างกันมากขึ้น ถ้าหาแผ่นโลหะหรือตะแกรงมา ๕๒

กั้นระหว่างกลาง ก็จะสามารถแยกวัสดุทั้ง ๒ ประเภทออกจากกันได้ จิ๊กประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ ๒ ส่วนคือ ๑. ส่วนที่ทำให้น้ำกระเพื่อมขึ้นลง ประกอบด้วย ลูกเบี้ยว ก้านลูกสูบ และไดอะแฟรม และ ๒. ส่วนที่แยกแร่ ประกอบด้วย ตะแกรง ชั้นลูกจิ๊ก และห้องล่างของจิ๊ก

Jura จูรา : ดู คำอธิบายใน Jurassic Period 

Jurassic Period ยุคจูแรสซิก : ยุคที่ ๒ ของมหายุคมีโซโซอิก อยู่ระหว่างยุคไทรแอสซิกกับยุคครีเทเชียส มีช่วงอายุตั้งแต่ ๑๙๕ ถึง ๑๔๑ ล้านปีมาแล้ว ยุคนี้เป็นยุคของสัตว์เลื้อยคลาน หินที่เกิดในยุคนี้เรียกว่า หินยุคจูแรสซิก (Jurassic System) คำว่า Jurassic มาจากชื่อภูเขาจูรา (Jura) ที่อยู่ระหว่างประเทศฝรั่งเศสกับสวิตเซอร์แลนด์ ซึ่งเป็นบริเวณที่ได้มีการศึกษาชั้นหินยุคนี้เป็นครั้งแรก

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

Kansan ช่วงแคนซัน : ช่วงอายุของธารน้ำแข็งลำดับที่สองของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือ อยู่ระหว่างช่วงคั่นแอฟโตเนียนกับช่วงคั่นยาร์มัทเทียน เทียบได้กับช่วงมินเดลและช่วงเอลสเตอเรียนในทวีปยุโรป ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

kaolin ดินขาวเคโอลิน : ดินที่ประกอบด้วยเคโอลิไนต์ และ/หรือฮาลลอยไซต์ เป็นส่วนใหญ่ มลทินได้แก่ ควอตซ์ เฟลด์สปาร์ อิลไลต์ ไมกา เหล็กออกไซด์ ไทเทเนียมออกไซด์ ทัวร์มารีน ฮอร์นเบลนด์ และอื่น ๆ เนื้อบริสุทธิ์จะมีซิลิกา (SiO2) ร้อยละ ๔๖.๕ อะลูมินา (Al2O3) ร้อยละ ๓๙.๕ และน้ำ (H2O) ร้อยละ ๑๔ สมบัติทางกายภาพขึ้นอยู่กับขนาดและรูปร่างของผลึก มีสภาพพลาสติกต่ำ เผาแล้วมีสีขาวหรือครีม ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมเครื่องดินเผา ยาง พลาสติก กระดาษ วัตถุทนไฟ และสี เป็นต้น มีความหมายเหมือนกับ china clay คำว่า kaolin มาจากภาษาจีนว่า Kauling ซึ่งเป็นชื่อหมู่บ้าน Gaoling (Kauling) ในอำเภอ Jauchou Fu ในอดีต ซึ่งเป็นแหล่งแร่ดินทนไฟสีขาว ในประเทศไทยพบที่จังหวัดระนอง นราธิวาส นครนายก ฯลฯ

KB (kelly bushing) เคบี (ปลอกประกับก้านเจาะนำ) : ดู kelly bushing (KB) ๕๓

kelly bushing (KB) ปลอกประกับก้านเจาะนำ (เคบี): อุปกรณ์พิเศษที่สวมอยู่กับก้านเจาะนำ และแท่นหมุนเพื่อส่งกำลังทำให้ระบบก้านเจาะหมุนเพื่อทำการเจาะ ความลึกของหลุมเจาะมักจะรายงานเป็นความลึกจากปลอกประกับถึงก้นหลุมเจาะ

kelly hose; mud hose; rotary hose สายโคลนเจาะ : ดู mud hose; kelly hose; rotary hose 

kelly ก้านเจาะนำ : ก้านเหล็กกลวงรูปสี่เหลี่ยมที่ต่อระหว่างก้านเจาะกับหัวหมุน (swivel) และระบบน้ำโคลนเจาะในเครื่องเจาะแบบหมุน

keratophyre หินเคราโทไฟร์ : หินอัคนีชนิดหนึ่ง เดิมใช้กับหินแทรไคต์ ประกอบด้วยโซเดียมเฟลด์สปาร์ในปริมาณสูง ในปัจจุบันใช้กับลาวาชนิดที่มีซิลิกาและอะลูมินาสูง (salic) และหินพนัง ที่มีลักษณะเด่นคือประกอบด้วย แร่แอลไบต์ โอลิโกเคลส คลอไรต์ เอพิโดต และแคลไซต์

key คีย์ : ๑. เกาะปะการังเล็ก ๆ นอกชายฝั่งด้านใต้ของมลรัฐฟลอริดา ดู cay ประกอบ ๒. คำอธิบายสัญลักษณ์บนแผนที่ ๓. การจัดรวบรวมผลสรุป การวิเคราะห์รูปร่างของพืชและสัตว์แบบต่าง ๆ เพื่อใช้เป็นหลักในการตรวจสอบจำแนกกลุ่มของพืชหรือสัตว์

kick off การเริ่มต้น : ๑. การนำหลุมเจาะเข้าสู่การผลิต ส่วนมากใช้กับหลุมที่ต้องอัดแก๊สเข้าไปเพื่อเริ่มทำการผลิต ๒. การเริ่มเบี่ยงแนวหลุมเจาะจากแนวดิ่งเป็นแนวเอียง

kick ๑. แรกปรากฏ : ดู arrival; break; first arrival ๒. คิก : การไหลของน้ำ แก๊ส น้ำมัน หรือของไหลอื่นจากชั้นหินเข้าสู่หลุมเจาะในขณะกำลังเจาะ เป็นเพราะน้ำหนักของโคลนเจาะน้อยกว่าความดันในชั้นหิน ถ้าไม่สามารถควบคุมได้จะเกิดการพุ่งขึ้น

kill well การพักหลุม : ๑. การควบคุมการพุ่งขึ้นของของไหลขณะทำการเจาะโดยการปิดเครื่องป้องกันการพุ่งหรือเพิ่มน้ำหนักโคลนเจาะ หรือหมุนเวียนน้ำโคลน ๕๔

๒. การหยุดการผลิตน้ำมันและแก๊สในหลุมเพื่อซ่อมหรือปรับเปลี่ยนสภาพหลุมแล้วหมุนเวียนของไหลในหลุมเจาะ

kingdom อาณาจักร : ๑. หน่วยที่ใหญ่ที่สุดของการจัดจำแนกสายวิวัฒนาการของสัตว์หรือพืช เป็นไปตามกฎเกณฑ์ การตั้งชื่อสัตว์หรือพืชอย่างเป็นทางการ โดยมีหน่วยหลักย่อย ๆ เรียงลำดับลงไปจนถึงหน่วยที่เล็กที่สุด ดังนี้อาณาจักร (Kingdom) ไฟลัม (Phylum) ช (Class) อันดับ (Order) วงศ์ (Family) สกุล (Genus) และชนิด (Species) ๒. หน่วยการจำแนกกลุ่มของสิ่งที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติหน่วยหนึ่ง ในจำนวน ๓ หน่วย ได้แก่ อาณาจักรพืช (plant kindom) อาณาจักรสัตว์ (animal kingdom) และอาณาจักรแร่ (mineral kingdom)

klint ๑. เนินคลินต์ : มวลหิน ซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของซากดึกดำบรรพ์ หรือเป็นเนินชีวภาพ (bioherm) หรือพืดปะการัง มีลักษณะเป็นปุ่ม เป็นสัน เกิดเนื่องจากเนื้อหินที่ล้อมรอบเนินดังกล่าวผุพังทำลายหลุดออกไปจนเหลือส่วนที่เป็นซากดึกดำบรรพ์ ดู tepee butte ประกอบ ๒. ผาคลินต์ : คำที่ชาวสวีเดนและเดนมาร์ก ใช้เรียกหน้าผาริมฝั่งทะเลบอลติก

klintite หินคลิน : หินหรือมวลหินปูนที่เกิดจากการสะสมตัวของซากสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะส่วนที่เป็นแกนกลางของพืดหินปะการัง ดู klint ความหมายที่ ๑ ประกอบ 

klippe มวลหินโดดรอยเลื่อน : มวลหินบล็อกโดดที่แยกแตกต่างและมีอายุแก่กว่าหินที่วางตัวอยู่ด้านล่างเนื่องจากรอยเลื่อนไถลทับ ปรกติเป็นชั้นหินที่มีการเอียงเทน้อย มวลหินโดดรอยเลื่อนอาจเป็นภูเขากร่อนที่เหลืออยู่ของมวลแผ่นหินรอยเลื่อนไถลทับ หรือเกิดจากการเลื่อนถล่มโดยแรงโน้มถ่วง

knoll . เนินเขา : เขาขนาดเล็กเกิดจากการทับถมของกรวด หิน ดิน ทราย หรือเขาที่ผ่านการกร่อนมานานจนมีรูปร่างกลมมนและมีความสูงไม่มากนัก . เนินใต้ทะเล : ดู sea knol l 

kuroko deposit แหล่งแร่คุโรโกะ : แหล่งแร่โลหะพื้นฐานเนื้อแน่นลักษณะหนึ่ง เป็นแหล่งสะสมซัลไฟด์ในประเทศญี่ปุ่น แหล่งแร่คุโรโกะเป็นแหล่งแร่ที่มีขอบเขตอยู่เฉพาะในหินเพียงหน่วยเดียว โดยมีกำเนิดมาจากภูเขาไฟสมัยไมโอซีนซึ่งตกตะกอนลงสู่ท้องทะเลบริเวณ ๕๕

ที่อยู่ใกล้กับพุแก๊สและพุน้ำร้อนบนไหล่โดมหินเดไซต์ในช่วงปลายของการระเบิดของภูเขาไฟ

kyanite ไคยาไนต์ : แร่อะลูมิเนียมซิลิเกต มีสูตรเคมี Al2SiO5 ผลึกอยู่ในระบบสามแกนเอียง เป็นไตรสัณฐานกับแร่ซิลลิมาไนต์และแอนดาลูไซต์ มักพบเป็นแผ่นแบนคล้ายใบมีด มีสีน้ำเงิน ขาว เขียว ความแข็ง ๕-๗ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๕๕-๓.๖๖ วาวคล้ายแก้วและคล้ายมุก พบในหินแปรพวกหินไนส์และหินชีสต์ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมถลุงโลหะ แก้ว และเซรามิก เดิมคำนี้เขียนในรูป cyanite

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

labile -ไม่คงตัว : ๑. คาที่ใช้เกี่ยวกับลักษณะของแร่และหินที่ผุพังได้ง่าย ๒. คำที่ใช้เกี่ยวกับส่วนประกอบของพืชและสัตว์ที่อาจย่อยสลายได้ เช่น ไขมัน น้ำมัน โปรตีน ในแหล่งพีตและเลนอินทรีย์

lacuna ๑. หน่วยว่างชั้นหิน : หน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาลที่ขาดหายไปจากลำดับชั้นหินซึ่งเรียงต่อกันมาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในช่วงเกิดรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง ๒. โพรงในสัตว์ : ช่องทะลุ ช่องว่าง หรือรู ในสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง

lacustral; lacustrian; lacustrine –ทะเลสาบ : ดู lacustrine; lacustrian; lacustral 

lacustrian; lacustral; lacustrine –ทะเลสาบ : ดู lacustrine; lacustrian; lacustral 

lacustrine; lacustrian; lacustral -ทะเลสาบ : ๑. คำที่เกี่ยวข้อง หรือเกิดจาก หรืออยู่อาศัยในทะเลสาบหรือหมู่ทะเลสาบ เช่น ทรายทะเลสาบ พรรณสัตว์ทะเลสาบ ๒. คำที่กล่าวถึงบริเวณที่มีสภาพเป็นทะเลสาบ เช่น บริเวณกว๊านพะเยา บึงบอระเพ็ด หนองหาร ดู lake , lagoon ความหมายที่ ๒ และ limnic ความหมายที่ ๑ ประกอบ 

lake rampart; ice-push ridge สันขอบทะเลสาบ : สันกำแพงที่ประกอบด้วยวัสดุหยาบตามชายฝั่งทะเลสาบน้ำแข็ง เกิดจากการเคลื่อนที่ของน้ำแข็งในทะเลสาบเข้าหาขอบทะเลสาบโดยลม คลื่น หรือกระแสน้ำ และโดยเฉพาะการขยายตัวของน้ำแข็งที่ดันตะกอนพวกเศษหิน ดิน ทราย ไปทับถมตามขอบทะเลสาบให้สูงขึ้น เช่น ทะเลสาบเกรตเลค ในอเมริกาเหนือ ดู walled lake ประกอบ ๕๖

lamellar flow การไหลระหว่างชั้นเลื่อน : ๑. การไหลของของเหลวตามแนวรอยต่อระหว่างชั้นหินสองชั้น ซึ่งชั้นหินชั้นบนเลื่อนไปบนชั้นหินชั้นล่าง ดู laminar flow ประกอบ ๒. ในทางเหมืองแร่หมายถึง การไหลของของเหลวแบบหนึ่งที่มีลักษณะเป็นชั้นบาง ๆ เลื่อนไหลไปบนชั้นที่อยู่เบื้องล่าง ซ้อนกันไปเป็นชั้น ๆ

laminar flow การไหลราบเรียบ, การไหลเรื่อย : ๑. ลักษณะการไหลของของเหลวอย่างช้า ๆ มีเส้นทางการไหลเด่นชัด และมีทิศทางของการไหลคงที่ การไหลแบบนี้เป็นลักษณะเฉพาะของน้ำบาดาล มีความหมายเหมือนกับ streamline flow ดู turbulent flow และ lamellar flow ประกอบ ๒. การไหลของธารน้ำแข็งแบบหนึ่ง ซึ่งไหลไปตามผิวหน้าชั้นหิน โดยมีทิศทางการไหลขนานกัน (ยังไม่ยุติ ให้พิจารณาในการประชุมครั้งต่อไป)

lamp shell หอยตะเกียง : ดู brachiopod; brach 

land bridge สะพานแผ่นดิน : พื้นดินที่เชื่อมต่อระหว่างทวีปหรือแผ่นดินทั้งชั่วคราวและถาวร เพื่อให้สิ่งมีชีวิตเคลื่อนย้ายไปมาได้

land-pebble phosphate กรวดฟอสเฟตบก : กรวดฟอสเฟตที่เกิดเป็นเม็ดกลมเล็ก (pellet) กรวดใหญ่ (pebble) ก้อนทรงมน (nodule) ในชั้นกรวดหนาไม่กี่ฟุตใต้ผิวดินมลรัฐฟลอริ-ดา มีการทำเหมืองอย่างเป็นล่ำเป็นสัน ดู pebble phosphate และ river- pebble phosphateประกอบ 

lapis lazuli หินลาพิสลาซูลี : หินเนื้อผลึกแน่น มีสีน้ำเงิน ประกอบด้วยแร่ลาซูไรต์ แคลไซต์ และไพรอกซีน มักพบแร่ไพไรต์เป็นจุดหรือผลึกเล็ก ๆ ใช้เป็นหินประดับที่มีราคาแพง ปัจจุบันใช้เป็นอัญมณี คำนี้เป็นคำเก่าที่ใช้เรียกแร่ลาซูไรต์

lateral accretion การงอกด้านข้าง : การสะสมตัวของตะกอนที่แม่น้ำพัดมาตกจมอยู่ริมตลิ่งด้านโค้งในของลำน้ำที่มีการโค้งตวัด ทำให้ตลิ่งงอกยื่นออกมามากขึ้นเรื่อย ๆ ดู vertical accretion ประกอบ 

lateral accretion การงอกด้านข้าง : การตกตะกอนทับถมซึ่งงอกออกทางด้านข้าง ตัวอย่างเช่น ตะกอนงอกออกไปตามแนวโค้งด้านในของทางน้ำโค้งตวัด เนื่องจากเม็ดตะกอนกลิ้งหรือถูกผลักไปตามก้นลำแม่น้ำแล้วไปตกทับถมในบริเวณดังกล่าว ๕๗

lateral migration การย้ายที่ด้านข้าง : การเคลื่อนที่ของน้ำมันหรือแก๊สผ่านตัวกลางที่มีความซึมได้โดยไหลขนานกับชั้นหิน

law of faunal assemblage กฎกลุ่มชีวิน : กฎทั่วไปทางธรณีวิทยา ที่กำหนดว่า หินซึ่งมีกลุ่มซากชีวินอาจเป็นสัตว์หรือพืชในกลุ่มเดียวกัน จะมีอายุทางธรณีวิทยาช่วงเดียวกันหรือเท่ากัน ดู law of faunal succession ประกอบ 

law of faunal succession ในหนังสือ เพิ่มข้อความ ดู law of faunal assemblage ประกอบ ที่คำอธิบายศัพท์

law of homonymy กฎการตั้งชื่อซ้ำ : ดูคำอธิบายใน homonym 

law of nature; natural law กฎธรรมชาติ : หลักการหรือกฎเกณฑ์ซึ่งได้จากการลำดับเรื่องราวของปรากฏการณ์ทางธรรมชาติที่เกิดขึ้นและพัฒนาอย่างต่อเนื่อง โดยมีเหตุมีผลทางวิทยาศาสตร์

law of original continuity กฎชั้นต่อเนื่อง : หลักเกณฑ์ทั่วไปทางธรณีวิทยาที่ชั้นหินซึ่งเกิดจากการสะสมตัวของตะกอนที่น้ำได้พัดพามาสู่แอ่งสะสม มีการวางตัวของชั้นตะกอนแผ่กระจายอย่างต่อเนื่องไปทุกทิศทุกทาง นับตั้งแต่เริ่มจนสิ้นสุดการสะสมตัวของตะกอน หรือสิ้นสุดการนำพาตะกอนเข้ามาสู่แอ่ง หรือเมื่อชั้นตะกอนได้แผ่กระจายไปจดขอบของแอ่งนั้น ๆ แล้ว กฎนี้เสนอโดย นายแพทย์นิโคลัส สตีโน (Nicolaus Steno) ชาวเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๒

law of original horizontality กฎชั้นแนวนอน : หลักเกณฑ์ทั่วไปทางธรณีวิทยาซึ่งกล่าวถึงการสะสมตัวของตะกอน ที่ตะกอนซึ่งน้ำพัดพามาสะสมตัววางตัวในตอนแรกเป็นชั้นตะกอนแนวนอนหรือเกือบเป็นแนวนอน และขนานหรือเกือบขนานกับพื้นผิวของเปลือกโลกด้วย กฎนี้เสนอโดย นายแพทย์นิโคลัส สตีโน (Nicolaus Steno) ชาวเดนมาร์ก เมื่อ พ.ศ. ๒๒๑๒

law of priority กฎการตั้งชื่อ : บทบัญญัติทางอนุกรมวิธานที่ระบุว่า การตั้งชื่อสัตว์หรือพืชตามการจัดจำแนกชนิดของสิ่งมีชีวิต ต้องอ้างอิงจากเอกสารวิชาการตามลำดับที่มีการพิมพ์เผยแพร่ ดังนั้น ชื่อสกุลหรือชื่อชนิดของสิ่งมีชีวิตชนิดใหม่ ๆ ที่ได้รับการยอมรับและใช้อ้างอิงตลอดไป จึงเป็นชื่อสกุลหรือชื่อชนิดที่ได้รับการพิมพ์เผยแพร่เป็นครั้งแรก

law of reflection กฎการสะท้อน : กฎทางฟิสิกส์ซึ่งกล่าวว่าเมื่อคลื่น เช่น คลื่นเสียง คลื่นแสง คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า ตกกระทบผิวรอยต่อระหว่างตัวกลาง ๒ ชนิด มุมตกกระทบจะเท่ากับมุมสะท้อน (มีสมการ) ๕๘

law of stream gradients กฎลาดทางน้ำ : กฎทั่วไปที่แสดงถึงความสัมพันธ์ผกผันทางเรขาคณิต ระหว่างลำดับทางน้ำกับลาดทางน้ำเฉลี่ยของลำดับทางน้ำลำดับหนึ่งในบริเวณลุ่มน้ำที่กำหนด เสนอโดย ฮอร์ตัน (Horton) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ ดู stream orderประกอบ 

layer depth ความลึกชั้นน้ำผสม : ความลึกจากผิวทะเลลงไปยังจุดที่อยู่เหนือลาดความร้อนลด ชั้นนี้เป็นชั้นที่คลื่นเสียงมีความเร็วมากที่สุด เทียบได้กับความหนาของชั้นน้ำผสม (mixed layer)

lazurite ลาซูไต์ : แร่ในกลุ่มเฟลด์สปาร์ทอยด์ กลุ่มโซดาไลต์ สีน้ำเงิน มีสูตรเคมี (Na, Ca)8 (AlSiO4)6 (SO4, S, Cl)2 ผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า เนื้อสมานแน่น ความแข็ง ๕.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๔๐–๒.๔๕ วาวแบบแก้ว เป็นองค์ประกอบสำคัญในลา พิสลาซูลี พบในหินแปรสัมผัสที่มีหินปูนเกิดร่วมด้วย

lazulite ลาซูไลต์ : แร่ฟอสเฟต สีน้ำเงินถึงม่วงน้ำเงิน มีสูตรเคมี (Mg, Fe)Al2(PO4)2(OH)2 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง ความแข็ง ๕–๕.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๐-๓.๑ วาวแบบแก้ว เกิดในหินแปรพวกหินควอร์ตไซต์ มักเกิดร่วมกับแร่ไคยาไนต์ แอนดาลูไซต์ รูไทล์ และคอรันดัม ใช้ทำเป็นรัตนชาติได้แต่ราคาไม่สูง

leachate สารชะละลาย : สารละลายที่ได้จากการชะละลาย ตัวอย่างเช่น น้ำที่ไหลผ่านดินจนทำให้เกิดเป็นสารละลายขึ้น

leaching การชะละลาย : ๑. การเคลื่อนย้ายหรือการละลายสารหรือวัสดุในชั้นดินหรือหินหรือแร่ที่ละลายได้ออกไปในสภาพที่เป็นสารละลาย โดยไปกับน้ำที่ซึมไหลผ่าน ดู eluviation ประกอบ 

lead พื้นที่ศักย์นำ : [ปิโตรเลียม] บริเวณที่ดูเหมือนว่าจะมีศักยภาพการสะสมตัวของปิโตรเลียม แต่ยังไม่ชัดเจน ทั้งนี้ต้องมีการสำรวจเก็บข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อประเมินเลื่อนระดับเป็นพื้นที่คาดหวัง ดู prospect, field และ play; play type ประกอบ 

lean clay เคลย์เหนียวน้อย : ดินที่มีสภาพพลาสติกค่อนข้างต่ำ ๕๙

lectotype ต้นแบบเพิ่ม : ๑. ตัวอย่างตัวหนึ่งของสิ่งมีชีวิตหรือซากดึกดำบรรพ์ซึ่งได้รับการคัดเลือกมาจากกลุ่มต้นแบบพ้อง (syntype) มาใช้แทนที่ต้นแบบแรก (holotype) หลังจากได้มีการพิมพ์เผยแพร่การตั้งชื่อนั้นแล้ว ๒. ตัวอย่างตัวหนึ่งในกลุ่มต้นแบบพ้องที่ได้รับการกำหนดในระยะต่อมาให้เป็นหลักฐานการตั้งชื่อทางวิทยาศาสตร์ในขั้นชนิดของสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ โดยตัวอย่างที่เหลือจากการคัดเลือกเรียกว่า ตัวอย่างเสมือนต้นแบบเพิ่ม (paralectotype) ดู syntype, holotype ประกอบ 

lectostratotype ชั้นหินแบบฉบับเพิ่ม : ชั้นหินแบบฉบับที่ตั้งชื่อขึ้นภายหลัง เมื่อพบว่ายังขาดชั้นหินแบบฉบับบางชั้นอยู่

ledge แนวหิน : ๑. แนวหินที่โผล่ขึ้นมาจากน้ำทะเลในเขตทะเลน้ำตื้น มีความยาวมากกว่าความกว้าง เกิดบนผนังหินหรือหน้าผาทะเล ๒. โขดหินโผล่ ๓. หินโสโครกหรือสันหินใต้น้ำ โดยเฉพาะที่อยู่ใกล้ชายทะเลและปะการังฝั่งทะเล ๔. หน้าเหมืองหินหรือหินโผล่ตามแหล่งแร่

Lee array แถวลำดับแบบลี : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจวัดความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ โดยการวางขั้วไฟฟ้าในแนวเส้นตรงเรียงตามกัน ให้ขั้วกระแสไฟฟ้าคร่อมอยู่ด้านนอก โดยมีขั้วศักย์ไฟฟ้า ๓ ขั้วอยู่ด้านใน ระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าและขั้วศักย์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กับขั้วกระแสไฟฟ้ามีค่าเท่ากับ X และระยะห่างระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้ามีค่าเท่ากับ X/2

lee ๑. ด้านอับลม : ด้านของเขา เนินเขา เนิน หรือ วัตถุที่มีลักษณะสูงเด่นที่วางตัวอยู่ด้านตรงข้ามกับทิศทางลม หรือหันเหออกจากทิศทางลม ๒. –ด้านกำบัง : คำที่ใช้เกี่ยวกับด้านข้างเขา หรือลาดเขา หรือลาดเนินเขา ด้านตรงข้ามหรือด้านที่หันเหออกจากการเคลื่อนตัวไปข้างหน้าของธารน้ำแข็งหรือพืดน้ำแข็ง เป็นผลให้ลาดเขาหรือลาดเนินเขาส่วนนี้ไม่ถูกครูดถู มีความหมายตรงข้ามกับ stoss 

Lemberg solution สารละลายเลมเบิร์ก : สารละลายที่สกัดจากแกนไม้เนื้อแข็งสีน้ำตาลแดง พันธุ์ไม้ชนิดหนึ่งของหมู่เกาะอินเดียนตะวันตกในทะเลคาริบเบียนและอเมริกากลาง ใช้ ๖๐

ทำสีย้อมสารละลายที่สกัดได้นั้นเมื่อนำมาผสมกับ AlCl6 ใช้ประโยชน์ในการตรวจสอบแคลไซต์และโดโลไมต์ โดยแคลไซต์ที่ถูกย้อมจะเปลี่ยนเป็นสีม่วง ส่วนโดโลไมต์ไม่เปลี่ยนสี

lens เลนส์ : รูปทรงของสินแร่หรือหินที่ตรงกลางหนา และส่วนขอบทั้งสองข้างบาง เหมือนเลนส์นูนสองข้าง

lensing _____________ : การลีบหายของชั้นหินไปทางด้านข้างในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง (รอบัญญัติศัพท์)

lens out -ลีบหาย : คำที่ใช้เกี่ยวกับการลีบหายไปทางด้านข้าง ตัวอย่างเช่น หน่วยหินหนึ่งจะลีบหายไปทางด้านข้างในพื้นที่

lenticular -รูปเลนส์ : คำที่ใช้เกี่ยวกับรูปเหมือนภาพตัดขวางของเลนส์นูนทั้งสองข้างเกี่ยวกับชั้นหินที่มีรูปทรงเหมือนเลนส์

leonardite ลีโอนาร์ไดต์ : ถ่านหินเกรดต่ำชนิดหนึ่ง เกรดต่ำกว่าลิกไนต์ มีเนื้ออ่อน สีน้ำตาล และอาจมีกรดฮิวมิกมากกว่าร้อยละ ๘๕ ใช้ประโยชน์ในการเกษตร โดยใช้ปรับปรุงดินและทำเป็นปุ๋ย ใช้กำจัดน้ำเสียโดยการกรองสารอินทรีย์และโลหะ ใช้ทำโคลนเจาะน้ำมัน ใช้ผสมทรายทำเบ้าหล่อ

lepidodendrid ๑. เลพิโดเดนดริด : กลุ่มพืชที่มีท่อลำเลียงอาหารและน้ำ มีรากลำต้นและใบที่แท้จริง จัดอยู่ในชั้นไลคอปซิดา (class Lycopsida) หรือคลับมอสส์ (clubmoss) ซึ่งเป็นพวกที่มีลักษณะสูงใหญ่แบบไม้ต้น พบมากในหินยุคคาร์บอนิเฟอรัส (นายจุมพล คืนตัก ตรวจสอบความหมายเพิ่มเติม) ๒. –เลพิโดเดนดริด : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับสกุล Lepidodendron หรือสกุลที่เกี่ยวข้อง Lepidodendron เป็นไม้โบราณที่มีขนาดใหญ่ สูงมากกว่า ๕๐ เมตร พบเป็นแหล่งถ่านหินของยุคคาร์บอนิเฟอรัส เช่นเดียวกับสกุล Sigillaria ซึ่งเป็นคลับมอสส์โบราณเช่นเดียวกัน แต่คนละสกุลและมีความสูงเพียง ๓๐ เมตร มติที่ประชุม นายจุมพล คืนตัก จะตรวจสอบความหมายที่ ๑ แจ้งให้ที่ประชุมทราบในการประชุมครั้งต่อไป

lepidolite เลพิโดไลต์ : แร่ในกลุ่มไมกา บางทีเรียกลิเทียมไมกา มีสูตรเคมี K2(Li3Al)2-3 (AlSi3O10) (O, OH, F)2 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง มีลักษณะเป็นเกล็ดเล็ก ๆ และใหญ่รวมกันเป็นก้อน มีแนวแตกเรียบสมบูรณ์ ความแข็ง ๒.๕-๔ ความ ๖๑

ถ่วงจำเพาะ ๒.๘-๓.๐ วาวแบบมุก สีชมพูและสีม่วงอ่อนถึงเทาอ่อน โปร่งแสง มักพบในหินเพกมาไทต์ ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมแก้วทนไฟ

leucite ลูไซต์ : แร่ในกลุ่มเฟลด์สปาร์ทอยด์ มีสูตรเคมี KAlSi2O6 แร่ลูไซต์อุณหภูมิสูงมีรูปผลึกระบบสามแกนเท่า ส่วนแร่ลูไซต์อุณหภูมิต่ำรูปผลึกจะอยู่ในระบบสองแกนเท่า ใสไม่มีสี หรือมีสีขาวอมเทาหรืออมเหลือง รอยแตกแบบก้นหอย ความแข็ง ๕.๖-๖ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๔-๒.๕ วาวแบบแก้วหรือเคลือบน้ำมัน โปร่งใสถึงโปร่งแสง พบในหินภูเขาไฟชนิดที่มีซิลิกาไม่อิ่มตัว และในหินตะกอนภูเขาไฟหรือเถ้าธุลีภูเขาไฟ

leucocratic –หินสีจาง : คำที่ใช้กับหินอัคนีที่ประกอบด้วยแร่สีเข้มน้อยกว่าร้อยละ ๓๐ โดยปริมาตร หรือมีดรรชนีสีน้อยกว่า ๓๐ เช่น หินไรโอไรต์ หินแกรนิต ดู silicic และacidic ประกอบ 

leucoxene ลูโคซีน : คำทั่วไปที่ใช้เรียกแร่ที่แปรเปลี่ยนมาจากแร่ที่มีไทเทเนียมสูง เช่น แร่อิลเมไนต์ สฟีน มักพบเนื้อละเอียดคล้ายดิน แต่มีความวาว มีสีครีม เหลืองถึงน้ำตาล ทึบแสง ประกอบด้วยรูไทล์ บางส่วนเป็นอะนาเทสหรือสฟีน พบในหินอัคนี ในประเทศไทยพบมากในขี้แร่ดีบุกและตามหาดทรายทั่วไป

lherzolite หินเลอร์โซไลต์ : หินอัคนีแทรกซอนชนิดอัลตราเบสิก ประกอบด้วยแร่หลัก คือ โอลิวีน ออร์โทไพรอกซีน ไคลโนไพรอกซีน โครไมต์หรือการ์เนต แร่รอง ได้แก่ พวกซัลไฟด์และฮอร์นเบลนด์ ในประเทศไทยพบเป็น (megacryst) ผลึกใหญ่หรือหินแปลกปลอม ในหินบะซอลต์ที่พบคอรันดัม ในประเทศไทยพบที่จังหวัดจันทบุรี ตราด กาญจนบุรี แพร่

life cycle วัฏจักรชีวิต : ดู ontogeny 

light crude oil; light oil น้ำมันดิบชนิดเบา : ดู light oil; light crude oil 

light oil; light crude oil น้ำมันดิบชนิดเบา : น้ำมันดิบที่มีค่าความถ่วงเอพีไอต่ำกว่า ๔๐ องศา

light แสง : คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดคลื่นทรงกลม เดินทางออกไปรอบตัวจากต้นกำเนิดในทุกทิศทางโดยมีสนามไฟฟ้าและสนามแม่เหล็กแกว่งกวัดด้วยความถี่ต่าง ๆ ในช่วงความถี่ ๔.๔ × ๑๐๑๔ – ๗.๕ × ๑๐๑๔ รอบต่อวินาที ซึ่งเป็นช่วงคลื่นที่ตามองเห็นได้ในรูปของแสง มีความเร็วที่ผิวโลก ๓ × ๑๐๑๐ เซนติเมตรต่อวินาที ๖๒

liider’s lines (มอบ รศ. ดร.ปัญญา จารุศิริ เขียนคำอธิบาย)

lime ปูน : แคลเซียมออกไซด์ (CaO) ซึ่งได้จากการเผาหินปูนแล้วพรมด้วยน้ำ เป็นปูนที่ใช้ในการฟอกสี หรือแคลเซียมไฮดรอกไซด์ [Ca(OH)2] ซึ่งเป็นปูนที่ใช้ในการก่อสร้าง หรือปูนกินกับหมาก บางครั้งใช้อย่างผิด ๆ โดยเรียกหินปูนที่ใช้ในการเกษตรหรือในวงการน้ำมัน ตลอดจนเรียกแคลเซียมคาร์บอเนตหรือ แคลเซียมเฟลด์สปาร์ว่า ปูนหรือปูนไลม์

lime feldspar ไลม์เฟลด์สปาร์ : คำที่ใช้เรียกแคลเซียมเฟลด์สปาร์ เช่น อะนอร์ไทต์

limnetic –ลิมนิติก : ๑. คำที่ใช้เพื่อแสดงว่ามีความสัมพันธ์กับท้องทะเล หรือทะเลสาบ ๒. กลุ่มสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในทะเลสาบ แต่ไม่ใช่พวกที่อยู่ตามพื้นท้องน้ำ หรืออยู่ตามริมฝั่ง มีความหมายเหมือนกับ limnic ความหมายที่ ๒ 

limnic -ลิมนิก ในหนังสือหน้า ๒๐๒ ๑. คำที่ใช้กับแหล่งน้ำจืด เช่น แหล่งทะเลสาบ ดู lacustrine; lacustrian; lacustral ประกอบ ๒. ดู limnetic ๓ คำที่ใช้กับแหล่งถานหินที่เกิดจากการสะสมตัวบนแผ่นดิน เช่น แหล่งพีต แหล่งสะสมตัวตามหนอง บึง และทะเลสาบ

limnobios ชีวินน้ำจืด : สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในสภาพแวดล้อมแบบน้ำจืด

limnology ชลธารวิทยา : การศึกษาลักษณะทางกายภาพ ทางเคมี และทางอุตุนิยมวิทยาของ แหล่งน้ำจืด ซึ่งได้แก่ บึง และ ทะเลสาบ โดยเฉพาะการศึกษาสภาวะทางชีววิทยา และนิเวศวิทยาซึ่งเป็นผลให้เกิดเป็นสภาพแวดล้อมของแหล่งน้ำจืดนั้น ๆ

line of section แนวภาคตัด : เส้นบนแผนที่ที่แสดงตำแหน่งของภาคตัดโพรไฟล์หรือภาคตัดขวาง

lingulid ลิงกูลิด : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ฝาคู่ จัดอยู่ในไฟลัมแบรคิโอโพดา วงศ์ Lingulidae เป็นพวกที่มีเปลือกเป็นสารไคทิโนฟอตเฟต มีลักษณะนูนทั้งสองฝา มีรูปร่างแบบรูปไข่หรือรูปใบพาย มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนถึงปัจจุบัน สกุลที่รู้จักกันแพร่หลายได้แก่สกุล Lingula (สกุลหอยปากเป็ด) พบเป็นซากดึกดำบรรพ์ในหินยุคออร์โดวิเชียน และพบยังคงมีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน ๖๓

linguoid ripple mark รอยริ้วคลื่นรูปลิ้น : รอยริ้วคลื่นที่เกิดขึ้นจากการกระทำของน้ำ มีรูปร่างเป็นแบบลิ้นหรือแบบจันทร์เสี้ยว ด้านปลายลิ้นหรือด้านโค้งของจันทร์เสี้ยว ชี้เข้าหาทิศทางของกระแสน้ำ พบในท้องลำธารตื้น ๆ ที่กระแสน้ำก่อให้เกิดรอยริ้วคลื่นรูปแบบที่หลากหลาย

linked veins สายแร่เชื่อมโยง : แบบรูปแหล่งสินแร่ซึ่งสายแร่ที่อยู่ใกล้ชิดกันหรือเกือบขนานกันเชื่อมต่อกันโดยสายแร่แนวทแยงหรือกลุ่มสายแร่เล็ก ๆ

Lipalian ลิพาเลียน : ชื่อหน่วยลำดับชั้นหินซึ่งเคยใช้เรียกช่วงเวลาที่ขาดหายไปจากลำดับชั้นหิน ระหว่างยุคแคมเบรียนกับยุคก่อนแคมเบรียน แสดงให้เห็นได้จากรอยชั้นไม่ต่อเนื่องในลำดับชั้นของหินยุคดังกล่าว

liquefied natural gas (LNG) แก๊สธรรมชาติเหลว (แอลเอ็นจี) : แก๊สธรรมชาติที่อุณหภูมิลดลงถึง -๑๖๐ องศาเซลเซียสจนเป็นของเหลว เพื่อความสะดวกในการขนส่งและเก็บรักษา การทำให้เป็นของเหลวจะทำให้ปริมาตรลดลงอย่างมาก ชวยลดค่าใช้จ่ายในการขนส่งและการเก็บรักษา แต่ต้องใช้ถังเก็บที่ทนความดันสูงและอุณหภูมิต่ำมาก แก๊สธรรมชาติเหลวส่วนใหญ่เป็นมีเทน ส่วนที่นำมาใช้กับยานพาหนะเรียกว่า NGV

liquefied petroleum gas (LPG) แก๊สหุงต้ม, แก๊สปิโตรเลียมเหลว (แอลพีจี) : แก๊สบิวเทนและโพรเพนที่ได้จากการกลั่นน้ำมัน หรือการแยกแก๊สธรรมชาติ แล้วถูกอัดด้วยความดันสูงจนอยู่ในสภาพของเหลว เพื่อใช้ในครัวเรือนหรือรถยนต์

liquefied refinery gas (LRG) แก๊สกลั่นเหลว (แอลอาร์จี) : แก๊สโพรเพนและบิวเทนเหลวซึ่งได้จากการกลั่นน้ำมัน แตกต่างจากแก๊สหุงต้มที่มีโพรพิลีนและบิวทิลีนผสมอยู่ด้วย

liquid flow การไหลของของเหลว : การเคลื่อนที่ของของเหลวที่มีความหนืดต่ำ ซึ่งจะไหลแบบราบเรียบ และ/หรือแบบปั่นป่วน

liquid hydrocarbons ไฮโดรคาร์บอนเหลว : ของเหลวที่เป็นผลผลิตจากการแยกแก๊สธรรมชาติโดยตรง ณ แหล่งขุดเจาะ เช่น โพรเพน บิวเทน เพนเทน และที่มีความถ่วงจำเพาะมากกว่าเพนเทนขึ้นไป สำหรับของเหลวที่เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากโรงแยกแก๊สก็เป็นไฮโดรคาร์บอนเหลวเหมือนกัน ดู condensate; distillate; natural gasoline ประกอบ 

liquidus; liquidus line แนวสภาพเหลว : แนวเส้นในแผนภาพแสดงองค์ประกอบของของแข็งและของเหลว ซึ่งแสดงจุดที่ของเหลวเริ่มเปลี่ยนเป็นของแข็งเมื่ออุณหภูมิลดลง ดู solidus; solidus line ประกอบ ๖๔

lit par lit; leaf by leaf –แทรกสลับ : คำที่ใช้อธิบายลักษณะหินที่แสดงแนวชั้นซึ่งเกิดจากการที่สายหินอัคนีซึ่งโดยทั่วไปมักเป็นหินแกรนิตแทรกดันเข้าไปในหินท้องที่สลับเป็นแนวขนานถี่ ๆ มักพบในหินชีสต์

lithification การแข็งเป็นหิน : กระบวนการเปลี่ยนตะกอนที่สะสมใหม่ให้เป็นหิน เช่น เกิดโดยการประสาน การอัดแน่น การตกผลึก อาจเกิดหลังการสะสมตัวไม่นานหรือทิ้งระยะยาวนาน

lithify -เปลี่ยนเป็นหิน : การที่ตะกอนร่วนจับตัวกันกลายเป็นหิน หรือการที่ซาก ดึกดำบรรพ์กลายเป็นหิน ดู cementation, lithification และ petrifaction ประกอบ 

lithofacies map แผนที่ชุดลักษณ์หิน : แผนที่แสดงชุดลักษณ์หินชุดต่าง ๆ ในช่วงของลำดับชั้นหิน หนึ่ง ๆ ซึ่งให้ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงทางภูมิศาสตร์โบราณและสิ่งแวดล้อมของหินตลอดช่วงของการแผ่กระจายไปตามพื้นผิวโลก

lithofacies ชุดลักษณ์หิน : ๑ หน่วยย่อยของลำดับชั้นหินที่แบ่งแยกออกจากหน่วยย่อยของชั้นหินข้างเคียงได้ โดยใช้เนื้อหินที่แตกต่างกัน ซึ่งลักษณะเนื้อหินที่แตกต่างกันนี้ สามารถติดตามความต่อเนื่องได้และสามารถแสดงบนแผนที่ธรณีวิทยาได้ ๒. ชั้นหินซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมการตกตะกอนอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งสภาพแวดล้อมดังกล่าวได้รวมถึงลักษณะทางกายภาพและชีวภาพของแอ่งตะกอนด้วย ดู lithotope ประกอบ 

lithofraction การเกิดเศษหิน : การที่หินแตกออกเป็นชิ้นส่วนที่มีขนาดเล็กกว่าเดิม หรือ แตกเป็นเศษหิน เกิดในระหว่างกระแสน้ำได้พัดพาหินนั้นมาตามท้องลำธาร หรือแตกออกเพราะคลื่นซัดไปมาบนชายหาด

lithogeochemistry ศิลาธรณีเคมี : การศึกษาสมบัติทางเคมีของหิน ตะกอน หรือดิน เพื่อตรวจหาสัดส่วนของแร่ธาตุ ดู biogeochemistry และ hydrogeochemistry ประกอบ *32-35/48

lithographic limestone หินปูนแม่พิมพ์ : หินปูนเนื้อละเอียด อัดแน่นเป็นเนื้อเดียว มีสีเหลืองครีมอ่อน ๆ หรือสีเทา และมักมีแร่แร่โดโลไมต์เป็นองค์ประกอบ มีรอยแตกแบบก้นหอย หรือคล้ายก้นหอย ส่วนใหญ่เป็นหินปูนมิไครต์ แต่เดิมใช้เรียกหินปูนยุคจูแรสซิกในอังกฤษ ส่วนเยอรมันเรียกว่า Solenhofen stone หรือ Solenhofen limestone ตามชื่อ ๖๕

เมืองโซเลนโฮเฟนในรัฐบาวาเรีย ทางภาคตะวันตกของเยอรมัน แต่เดิมใช้เป็นแม่พิมพ์หินสำหรับการสลักหรือจารึกและการผลิตแผ่นพิมพ์สี

lithographic texture เนื้อแบบหินแม่พิมพ์ : ลักษณะเนื้อของหินเนื้อปูน มีลักษณะเฉพาะ คือ เนื้อละเอียดมาก ประกอบด้วยอนุภาคขนาดเคลย์เพียงขนาดเดียว มีผิวเรียบมากคล้ายกับเนื้อของหินที่ใช้ในการพิมพ์หิน

lithologic map แผนที่หิน : แผนที่ธรณีวิทยาชนิดหนึ่งที่แสดงชนิดและการกระจายตัวของหินในบริเวณหนึ่ง ๆ ดู geologic map ประกอบ 

lithologic map แผนที่หิน : แผนที่ธรณีวิทยาชนิดหนึ่งที่แสดงชนิดหิน และการกระจายตัวของหินเฉพาะในบริเวณหนึ่ง ๆ ดู geologic map ประกอบ 

lithologic -หิน : คำที่ใช้เกี่ยวข้องกับวิชาที่ว่าด้วยลักษณะทางกายภาพของหิน หรือวิทยาหิน มีความหมายเหมือนกับ lithic ดู lithology 

lithophysae มวลกลวง : มวลที่มีช่องว่างหรือฟองอากาศขนาดใหญ่ในหินบะซอลต์หรือหินไรโอไลต์เนื้อแก้ว มักเกิดร่วมกับมวลรัศมี มีลักษณะเป็นวง ๆ โดยมีช่องว่างคล้ายดอกกุหลาบ หากมีแร่ทุติยภูมิงอกตามผนังช่องว่างจะเรียกว่า จีโอด

lithospheric plate แผ่นธรณีภาค : ส่วนของธรณีภาคชั้นนอกซึ่งรวมทั้งส่วนที่เป็นเปลือกโลกและเนื้อโลกตอนบน วางตัวอยู่บนฐานธรณีภาคชั้นกลาง ประกอบด้วยแผ่นธรณีภาคขนาดใหญ่ ๙ แผ่น ได้แก่ แผ่นแปซิฟิก (Pacific plate) แผ่นแอนตาร์กติก (Antarctic plate) แผ่นอินเดีย-ออสเตรเลีย (Indian-Australian plate) แผ่นยูเรเซีย (Eurasian plate) แผ่นอเมริกาเหนือ (North American plate) แผ่นอเมริกาใต้ (South American plate) แผ่นแอฟริกา (African plate) แผ่นคอคอส (Cocos plate) แผ่นนาสคา (Nasca plate) และมีแผ่นธรณีภาคเล็ก ๆ อีกจำนวนหนึ่ง เช่น แผ่นฟิลิปปินส์ (Philippines plate) แผ่นแคริบเบียน (Caribbian plate) แผ่นอะราเบียน (Arabian plate) แผ่นกอร์ดา (Gorda plate) แผ่นธรณีภาคส่วนใหญ่เคลื่อนที่ในแนวราบและติดกับแผ่นเปลือกโลกแผ่นอื่น ๆ ในแนวเขตไหวสะเทือน

lithostatic pressure ความดันศิลาสถิต : ความดันที่เกิดจากชั้นปิดทับ ซึ่งจะมีค่ามากหรือน้อยขึ้นอยู่กับความหนาของชั้นหิน ดู geostatic pressure ประกอบ ๖๖

lithostratigraphic unit; rock stratigraphic unit; rock unit หน่วยลำดับชั้นหินตามลักษณะหิน : มวลชั้นหินที่มีลักษณะทางกายภาพของหินเป็นแบบเดียวกัน สามารถรวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกันได้ หน่วยลำดับชั้นหินตามลักษณะหินหนึ่ง ๆ อาจเป็นชั้นหินแบบชนิดใดแบบชนิดหนึ่ง หรือหลาย ๆ แบบชนิดก็ได้

lithothamnian ลิโทแทมเนียน : พืชพวกสาหร่ายสีแดงเนื้อปูนที่มีลักษณะเป็นปุ่มปมหรือพอกเป็นชั้น จัดเป็นรูปแบบสิ่งมีชีวิตที่สามารถอยู่ได้ในน้ำลึกมากและเย็นจัด สาหร่ายพวกนี้ทำหน้าที่เป็นตัวกลางเชื่อมประสานพืดหินปะการัง พบมากในหินหลังยุคจูแรสซิกโดยเฉพาะตามขอบของพืดหินใต้น้ำยอดเรียบด้านที่หันออกสู่ทะเล

lithotope เขตหินเนื้อเดียว : ๑. พื้นที่หรือผิวหน้าที่เป็นตะกอนหรือเกิดจากการตกตะกอนชนิดใดชนิดหนึ่งหรือพื้นที่ที่มีสภาพแวดล้อมของการตกตะกอนคงที่ หรือพื้นที่ที่มีความเด่นชัดด้านสภาวะแวดล้อมของการตกตะกอนที่คงที่ ซึ่งสภาวะดังกล่าวนับรวมการเกิดขึ้นของสิ่งมีชีวิตต่าง ๆ ที่ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในสภาวะแวดล้อมนั้นด้วย ๒. คำทางนิเวศวิทยาโบราณ หมายถึง หินที่ได้บันทึกสภาวะแวดล้อมของการ ตกตะกอนซึ่งหมายถึงสภาวะทั้งทางด้านกายภาพและชีวภาพ

littoral drift; longshore drift วัสดุพัดพาชายฝั่ง : วัสดุที่พบมากตามชายฝั่งทะเลซึ่งได้แก่ กรวด กรวดแบน ทรายหรือเศษเปลือกหอยที่ถูกกระแสน้ำตามชายฝั่งหรือคลื่นชายฝั่งพัดพาให้เคลื่อนที่ไปตามชายฝั่งนั้น ๆ

littoral shelf ตะพักชายฝั่ง : ส่วนของชั้นตะกอนริมฝั่งทะเลสาบที่จมอยู่ใต้น้ำ ซึ่งมีลักษณะคล้ายตะพัก เกิดโดยการกร่อนและการทับถมจากคลื่นลมที่มากระทำกับชั้นตะกอนบริเวณริมฝั่ง

littoral slope แก้ไขศัพท์เป็น littoral shelf ตะพักใต้น้ำ, ตะพักชายฝั่ง : ส่วนของชั้นหินริมฝั่งของทะเลสาบ ซึ่งมีลักษณะคล้ายตะพัก (terrace) จมอยู่ใต้น้ำเกิดขึ้นจากการกัดกร่อนและการทับถมจากกระแสน้ำที่มากระทำกับริมฝั่งน้ำนั้น ๆ

live oil น้ำมันสด : น้ำมันดิบที่มีแก๊สผสมอยู่ซึ่งไม่เสถียรและไม่ถูกเปลี่ยนสภาพ ถ้าไม่มีการควบคุมอาจเป็นเหตุให้แก๊สไหลออกมาได้โดยปนขึ้นมากับโคลนเจาะซึ่งมีโอกาสสูงที่จะทำให้เกิดอันตรายจากการลุกไหม้

living fossil ชีวินคงสภาพดึกดำบรรพ์ : สัตว์หรือพืชที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบัน แต่ยังคงมีลักษณะ หรือรูปร่างเหมือนกับบรรพบุรุษในอดีตกาลอย่างมาก ทั้งนี้เนื่องจากมีวิวัฒนาการเปลี่ยนแปลงไปได้น้อยมาก ๖๗

LNG (liquefied natural gas) แอลเอ็นจี (แก๊สธรรมชาติเหลว) : ดู liquefied natural gas (LNG) 

load cast รูปพิมพ์กดทับ : ร่องรอยใต้ชั้นหิน โดยปรกติจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๑ เมตร เป็นส่วนของชั้นหินทรายที่ยื่นลงไปในชั้นของเคลย์ หรือโคลน หรือพีต ซึ่งอ่อนนุ่ม ที่วางตัวอยู่ใต้ชั้นทราย ส่วนที่ยื่นลงไปมีลักษณะเป็นก้อนปูดโปนเตี้ย ๆ หรือมีรูปร่างไม่แน่นอนต่างจากรูปพิมพ์รูปร่อง ซึ่งมีลักษณะรูปร่างที่แน่นอนและวางตัวยาวไปตามทิศทางของกระแสน้ำ

load casting การเกิดรอยกดทับ : การเกิดรูปพิมพ์กดทับ หรือการเกิดร่องรอยโครงสร้างใต้ชั้นหิน รวมทั้งรูปทรงหรือโครงสร้างแบบที่เป็นลักษณะของรูปพิมพ์กดทับ ดู load cast และ sole mark ประกอบ 

loaded stream ธารน้ำตะกอน : ลำธารซึ่งกระแสน้ำได้พาตะกอนมาด้วยปริมาณที่พอดี หรือปริมาณเต็มที่เท่าที่จะพามาได้ หากมีปริมาณตะกอนมาเพิ่มมากกว่านี้ จะทำให้กระแสน้ำลดความเร็วลงและตะกอนบางส่วนจะตกสะสมตัว ธารน้ำที่มีลักษณะเช่นนี้เรียกว่า ธารน้ำตะกอนเกินพอ (overloaded stream หรือ overburdened stream) แต่หากธารน้ำมีตะกอนน้อยเกินไป กระแสน้ำจะกัดกร่อนพื้นท้องธารเพื่อเพิ่มปริมาณตะกอน ธารน้ำเช่นนี้เรียกว่า ธารน้ำตะกอนขาด ( underloaded stream)

loadstone; lodestone หินแม่เหล็ก : แมกนีไทต์ที่มีสมบัติเป็นแม่เหล็ก สามารถดูดเหล็กหรือวัสดุที่ทำด้วยเหล็กได้ จึงใช้เป็นแม่เหล็กหรือเข็มทิศ แหล่งที่พบในประเทศไทย เช่น จังหวัดกระบี่ ดู magnetite ประกอบ 

lobe ๑. ลอน, พู : ๑.๑ เส้นรอยต่อระหว่างผนังกั้นห้อง กับผนังด้านในของเปลือกหอยเซฟาโลพอด ซึ่งมีลักษณะเป็นรอยหยักขึ้น ๆ ลง ๆ แบบลอนคลื่น รอยหยักที่หันโค้งหนีออกจากช่องเปลือก(aperture) เรียกว่า ลอน ส่วนรอยหยักของเส้นรอยต่อเดียวกันที่หันโค้งไปหาช่องเปลือกหรือหันตรงข้ามกับโค้งของลอน เรียกว่า โค้งอานม้า ดู septum และ suture ประกอบ ๑.๒ โครงสร้างใด ๆ ที่มีลักษณะโค้งนูนของพืชหรือสัตว์ ๒. พูธารน้ำแข็ง : ดู glacial lobe ๓. พูธารน้ำโค้งตวัด : ดู meander lobe ๖๘

lodestone; loadstone หินแม่เหล็ก : ดู loadstone; lodestone 

lode tin ดีบุกสายแร่ : สินแร่ดีบุก (แคสซิเทอไรต์) ที่เกิดเป็นสายแร่ ซึ่งต่างกับสินแร่ดีบุกที่เกิดจากธารน้ำพัดพามา ดู stream tin ประกอบ 

longitudinal section :

longshore drift; littoral drift วัสดุพัดพาชายฝั่ง : ดู littoral drift; longshore drift 

loose block; float หินลอย : ดู float; loose block 

lophophore วงหนวด : อวัยวะซึ่งทำหน้าที่ในการกรองอาหารและหายใจของสัตว์ในไฟลัม แบรคิโอพอดและไบรโอซัว ในพวกไบรโอซัวมีลักษณะคล้ายหนวดและคล้ายเกือกม้า ส่วนในพวกแบรคิโอพอดมีลักษณะคล้ายแขนที่ขดเป็นวง

lorica ลอริกา : ดูคำอธิบายใน tintinnid 

lost circulation น้ำโคลนสูญหาย : การที่โคลนเจาะสูญหายไปขณะเจาะผ่านชั้นหินที่มีความพรุนหรือรอยแตกมาก ๆ

low-energy environment สภาพแวดล้อมพลังงานต่ำ : สภาพแวดล้อมของแอ่งสะสมตะกอนจากน้ำ ชนิดที่มีระดับพลังงานต่ำ น้ำในแอ่งสะสมตะกอนจะเป็นน้ำนิ่ง คลื่นลมสงบหรือไม่มีคลื่น ดังนั้น จึงทำให้ตะกอนละเอียด ที่น้ำพัดพามาตกจมสะสมตัว สภาพแวดล้อม พลังงานต่ำพบที่ลากูนชายฝั่งหรือบึงตะกอนน้ำพา (alluvial swamp) ดู high-energy environment ประกอบ 

Lower Carboniferous คาร์บอนิเฟอรัสตอนล่าง : หน่วยอายุหินทางธรณีกาลของกลุ่มนักวิชาการ ยุโรป มีช่วงเวลาเท่ากับยุคมิสซิสซิปเปียนของทวีปอเมริกา ดู Upper Carboniferous และ Mississippian ประกอบ 

lowland ที่ต่ำ : 

๑. พื้นที่ราบแผ่กว้างที่มีระดับสูงกว่าระดับน้ำทะเลไม่มากนัก

๒. พื้นดินระดับต่ำและค่อนข้างราบเรียบซึ่งมีลักษณะตรงข้ามกับบริเวณภูมิภาคข้างเคียงที่สูงกว่า

๓. ส่วนล่างของลำธาร

ดู upland ประกอบ ๖๙

low-rank greywacke หินเกรย์แวกชั้นต่ำ : หินเกรย์แวกซึ่งแทบไม่มีเฟลด์สปาร์ มักพบในสภาพการสะสมตัวแบบธรณีแอ่นตัวน้อย ตรงข้ามกับ high-rank greywacke 

LPG (liquefied petroleum gas) แอลพีจี (แก๊สหุงต้ม, แก๊สปิโตรเลียมเหลว) : ดู liquefied petroleum gas (LPG) 

LRG (liquefied refinery gas) แอลอาร์จี (แก๊สกลั่นเหลว) : ดู liquefied refinery gas (LRG) 

L-tectonite หินเทกโทไนต์แอล : หินเทกโทไนต์ที่เนื้อหินแสดงแนวเส้น (lineation) เช่น หินกรวดมนที่เปลี่ยนลักษณะโดยก้อนกรวดมีรูปร่างยาวรีออกไป ดู S-tectonite ประกอบ 

lumping การรวมกลุ่ม : การจัดทำทฤษฎีหรือข้อปฏิบัติสำหรับการจัดจำแนกหมวดหมู่ของพืชหรือสัตว์ตามระบบอนุกรมวิธาน ที่ได้นำเอาลักษณะหรือความสำคัญประจำแต่ละหน่วยมารวมเข้าด้วยกันให้เป็นหน่วยที่ใหญ่ขึ้น โดยมองข้ามความแตกต่างเล็กๆ น้อย ๆ ที่มีอยู่ระหว่างกัน นักอนุกรมวิธานที่ได้จัดทำเกณฑ์ข้อปฏิบัติดังกล่าว เรียกว่า นักอนุกรมวิธานรวมกลุ่ม (lumper) ผลงานของนักอนุกรมวิธานรวมกลุ่มจะทำให้เกิดหน่วยย่อยในอนุกรมวิธานขึ้น เช่น จากวงศ์ ได้เป็นวงศ์ย่อย จากชนิดได้เป็นชนิดย่อย ดู splitting ประกอบ 

luster ความวาว : การสะท้อนของแสงจากผิวของแร่หรือวัสดุ เป็นสมบัติของแร่ที่สำคัญในารตรวจชนิดแร่ ความวาวแบ่งเป็น ๒ ชนิด คือ แบบโลหะซึ่งมีการสะท้อนแสงมาก และแบบอโลหะซึ่งมีความวาวได้หลายแบบ เช่น แบบแก้ว (vitreous) แบบยางสน (resinous) แบบน้ำมัน (greasy หรือ oily) แบบมุก (pearly) แบบใยไหม (silky) คล้ายเพชร (adamantine) คล้ายดิน (earthy)

lutaceous -เนื้อลูไทต์ : คำที่ใช้กับหินตะกอนหรือหินชั้นที่เกิดจากการสะสมตัวของโคลน ซึ่งเป็นตะกอนเนื้อละเอียดขนาดเคลย์ หรือหมายถึงหินลูไทต์ หรือลักษณะเนื้อของหินลูไทต์ ดู lutite และ argillaceous ประกอบ 

lutite หินลูไทต์ : หินตะกอนที่ส่วนใหญ่ประกอบด้วยวัสดุเนื้อละเอียดมาก ขนาดทรายแป้งและ/หรือเคลย์ (มีขนาด ๑๒๕๖ ๑๑๖ มิลลิเมตร) เช่น หินดินดาน หินโคลน


ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์