ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทร

by

ตำแหน่งที่ลึกที่สุดในมหาสมุทรคือ ตำแหน่งลึกชาเลนเจอร์ (Challenger Deep) ในร่องลึกมาเรียนา โดยตำแหน่งนี้อยู่ลึกต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 10,924 เมตร ถ้าเอาเทือกเอเวอเรสต์ ซึ่งเป็นเทือกเขาที่สูงที่สุดในโลกไปวางไว้ในบริเวณนั้นก็จะถูกน้ำท่วมยอดเขาถึง 2 กิโลเมตรเลยทีเดียว คำว่าตำแหน่งลึกชาเลนเจอร์นั้นได้มาจากชื่อเรือสำรวจชาเลนเจอร์ 2 ของสหราชอาณาจักร (British survey ship Challenger II) ซึ่งสำรวจพบจุดลึกนี้ในปีพ.ศ.2494

ตำแหน่งลึกที่สุดในโลกนี้ตั้งชื่อตามเรือสำรวจที่ชื่อเดียวกัน และองค์การนาซาก็นำชื่อนี้มาใช้เป็นชื่อยานขนส่งอวกาศที่ครั้งหนึ่งเคยมีนักธรณีหญิงเดินทางไปด้วย (Kathryn D. Sullivan)

CREDIT: NASA/UNH Center for Coastal and Ocean Mapping/Joint Hydrographic Center

ร่องลึกมหาสมุทรมาเรียนา (Mariana Trench) หน้าตาเป็นอย่างไร ลองมาดำลงไปชมกับภาพแอนิเมชันนี้กันได้เลย – NOAA

เชิญพบกับเทคโนโลยีที่กำลังแข่งขันกันเพื่อดำลึกลงไปยังส่วนที่ลึกที่สุดของโลก “Mariana Trench” 11 กิโลเมตร ซึ่งเป็นร่องลึกมหาสมุทรที่เกิดจากการมุดตัวของแผ่นเปลือกโลกแปซิฟิกใต้แผ่นมาเรียน่า – BBC

เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2555 ผู้กำกับชื่อดัง เจมส์ คาเมรอน (ไททานิก อวาตาร์) เป็นคนล่าสุดที่ลงไปสำรวจร่องลึกใต้ทะเลมาเรียนา โดยทีมสำรวจทีมแรกที่เดินทางลงไปยังใต้มหาสมุทรแห่งนี้คือทีมจากอิตาลีและสหรัฐอเมริกาเมื่อปีพ.ศ.2503 ด้วยยานดำน้ำที่เรียกว่า Trieste และใช้เวลาสำรวจพื้นมหาสมุทรประมาณ 20 นาที แต่สำหรับเจมส์ คาเมรอนนั้น เขาได้เดินทางลงไปด้วยเรือดำน้ำที่บรรทุกได้เพียงหนึ่งคน ใช้เวลาเดินทางกว่าสองชั่วโมง (ลึก 11 กิโลเมตร) และใช้เวลากว่า 3 ชั่วโมงในการสำรวจพื้นที่รอบๆ นั้น ระหว่างการสำรวจน้ำเขาได้พบกับสิ่งมีชีวิตแปลกๆ ที่เขาไม่เคยเห็นมาก่อน ไม่รู้ว่านี่จะเป็นแรงบันดาลใจในหนังเรื่องเขาหรือไม่ ลองชมภาพได้จากลิงค์นี้ – BBC

ทำไมมหาสมุทรในบริเวณนี้ถึงได้ลึกขนาดนี้?
ร่องลึกมาเรียน่าตั้งอยู่ในแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน (convergent plate boundary) บริเวณดังกล่าวเป็นบริเวณที่แผ่นเปลือกโลกชนกันและแผ่นเปลือกโลกแผ่นหนึ่งได้มุดตัวลงไปถึงชั้นแมนเทิล แนวรอยต่อระหว่างแผ่นเปลือกโลกทั้งสองจะถูกถึงลงเป็นร่องที่เรียกว่าร่องมหาสมุทร (ocean trench) ภาพข้างล่างแสดงแบบจำลองการเกิดร่องลึกมหาสมุทรที่เกิดตามแนวแผ่นเปลือกโลกลู่เข้าหากัน