ธรณีแปรสัณฐาน — June 5, 2007 at 12:18 PM

ผืนแผ่นดินใหญ่พันเจีย (Pangaea Supercontinent)

by

“ผืนแผ่นดินใหญ่ (supercontinent)” คือคำที่ใช้เรียกผืนแผ่นดินกว้างใหญ่ที่ประกอบไปด้วยแผ่นทวีปต่างๆ ส่วนใหญ่รู้จักผืนแผ่นดินใหญ่กันในนาม “พันเจีย (Pangaea หรือ Pangea)” ที่ซึ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณ 225 ล้านปีก่อน ในขณะนั้นแผ่นทวีปขนาดใหญ่ได้รวมกันเป็นผืนแผ่นดินใหญ่พันเจีย

* เพิ่มเติม: คำว่าพันเจีย (Pangea) เป็นสมมุติฐานที่อัลเฟรด เวเกเนอร์ (Alfred Wegener) ริเริ่มขึ้น โดยสมมุติฐานนี้กล่าวว่า เดิมโลกนี้เป็นผืนแผ่นดินกว้างใหญ่เพียงผืนเดียว เรียกว่า พันเจีย มหาสมุทรที่อยู่รอบๆ เรียกว่า พันทาลัสซา (Panthalassa) และต่อมาผืนแผ่นดินใหญ่นี้ได้แยกออกจากกันกลายเป็นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน

ผืนแผ่นดินใหญ่ของพันเจียต่อมาได้แตกแยกออกเป็นแผ่นทวีปต่างๆ ในปัจจุบัน ภาพด้านล่างแสดงถึงที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ของพันเจียและลักษณะการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

การเคลื่อนที่ของแผ่นทวีปทั้งหลายเหล่าอธิบายโดยทฤษฎีธรณีแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก (The theory of plate tectonics) ที่กล่าวว่าเปลือกโลก (Earth’s outer shell) ถูกแบ่งออกเป็นแผ่นย่อยๆ แผ่นเปลือกโลกเหล่านี้ประกอบด้วยเปลือกโลกและส่วนหนึ่งของชั้นแมนเทิลที่อยู่ข้างใต้ โดยแผ่นเปลือกโลกนั้นเคลื่อนตัวอยู่เหนือบริเวณชั้นแมนเทิลที่อ่อนไหวในอัตราไม่กี่เซนติเมตรต่อปี กระแสความร้อนไหลวน (convection currents) ในชั้นแมนเทิลที่เกิดจากการระบายความร้อนจากภายในโลกนั้นเป็นตัวการให้การเกิดการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกเหล่านั้น

ถ้าเราศึกษาแผนที่ข้างใต้นี้ เราจะพบว่าต่อไปมหาสมุทรแอตแลนติก (Atlantic Ocean) จะมีความกว้างเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่มหาสมุทรแปซิฟิก (Pacific Ocean) กำลังจะปิดตัว เมื่อมหาสมุทรแปซิฟิกปิดตัวอย่างสมบูรณ์ แผ่นทวีปต่างๆ รอบๆ ก็จะเคลื่อนที่มาบรรจบกันกลายเป็นผืนแผ่นดินใหญ่แห่งใหม่

แผ่นเปลือกโลกยูเรเซียอาจเรียกได้ว่าเป็นผืนแผ่นดินใหญ่ โดยมีเทือกเขายูรัล (Ural Mountains) เป็นตัวแบ่งทวีปยุโรปออกจากทวีปเอเชีย และแสดงลักษณะของการบีบอัดและเปลี่ยนสภาพที่เกิดจากการบีบอัดกันแผ่นเปลือกโลก