Tag: รอยเลื่อน

“I live on the Sagaing Fault, in Yeeshin village. A traditional and still widespread belief here is that earthquakes are a form of divine punishment. We are afraid that there will be another earthquake."

I live on the Sagaing Fault.

ชาวพม่าจำนวนหนึ่งอาศัยอยู่ตามแนวรอยเลื่อนสะแกง ซึ่งเป็นรอยเลื่อนมีพลังขนาดใหญ่ พาดผ่านเมืองสำคัญอย่าง เนปิดอ และมัณฑะเลย์ หลังจากเหตุการณ์แผ่นดินไหวใหญ่เมื่อวันที่ 11 พ.ย. 2555 ในเมืองตะเบ็กจีน มีผู้เสียชีวิต 26 ราย และบาดเจ็บกว่า 231 คน บทความนี้นำเสนอภาพความเสียหายและเรื่องเล่าจากกลุ่มคนในพื้นที่ประสบภัย ระหว่างการสำรวจธรณีวิทยาภาคสนามในประเทศพม่า

Read more ›
กราฟิกธรณีวิทยาสองมิติ

กราฟิกธรณีวิทยาสองมิติ

ทำอย่างไรให้คนเข้าใจธรณีวิทยามากขึ้น? โดยที่ใช้คำให้น้อย มีภาพประกอบ และส่งเสริมให้เกิดการคิดตาม ถ้าคิดในฐานะนักธรณีวิทยา โจทย์นี้ถือว่ายาก เพราะจะติดอยู่กับการคิดมากเกินไป แต่ถ้าคิดในฐานะนักออกแบบ แค่เลือกภาพกราฟิกอย่างง่ายและใช้การเปรียบเทียบอย่างเหมาะสม ก็น่าจะตอบโจทย์นี้ได้

Read more ›
ประโยชน์ของแผ่นดินไหว

ประโยชน์ของแผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวเกิดขึ้นทุกวัน ส่วนใหญ่เกิดจากการขยับตัวของรอยเลื่อนมีพลัง การอาศัยอยู่ใกล้รอยเลื่อนจึงมีความเสี่ยง ถ้าสังเกตให้ดีจะพบว่าเมืองสำคัญหลายแห่งตั้งอยู่บนแนวรอยเลื่อน เมื่อเกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ ก็เกิดความเสียหายอย่างมหาศาล แผ่นดินไหวจึงเป็นสิ่งที่เราไม่ต้องการ แต่เมื่อห้ามไม่ได้ เราจะใช้ประโยชน์จากแผ่นดินไหวอย่างไร

Read more ›
ธรณีวิทยาอ่าวไทย

ธรณีวิทยาอ่าวไทย

อ่าวไทยเป็นส่วนในสุดของมหาสมุทรแปซิฟิกตะวันตก เชื่อมต่อมาจากด้านตะวันตกของทะเลจีนใต้ มีลักษณะเป็นอ่าวกึ่งปิด ที่โอบล้อมด้วยชายฝั่งทะเลของคาบสมุทรมลายู และแผ่นดินของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยมีช่องเปิดทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ระหว่างแนวเชื่อมต่อระหว่างปลายแหลมญวน ประเทศเวียดนาม และเมืองโกตาบารู ประเทศมาเลเซีย

Read more ›
เรียนรู้ธรณีวิทยาโครงสร้าง

เรียนรู้ธรณีวิทยาโครงสร้าง

โลกประกอบด้วยแผ่นเปลือกโลกหลายแผ่นที่มีการเคลื่อนที่อยู่ตลอดเวลา การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกทำให้เกิดการเปลี่ยนสภาพของหินที่ก่อให้เกิดโครงสร้างทางธรณีวิทยาที่สำคัญต่อการสำรวจทรัพยากรธรรมชาติ และการดำรงชีวิตของมนุษย์

Read more ›
แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

แผ่นดินไหวในมหาสมุทรอินเดีย

[อัพเดท] วันพุธที่ 2 มีนาคม พ.ศ.2559 เกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.8 ในมหาสมุทรอินเดีย (ตามภาพประกอบ) มีศูนย์กลางแผ่นดินไหวที่ความลึก 24 กิโลเมตร สันนิษฐานว่าเกิดจากรอยเลื่อนเฉือนตามแนวระดับลักษณะเช่นเดียวกับเหตุการณ์แผ่นดินไหวเมื่อวันที่ 11 เมษายน 2555 วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ.2555 เกิดแผ่นดินไหวใหญ่สองครั้งขนาด 8.6 และ 8.2 โดยมีศูนย์กลางอยู่ในมหาสมุทรอินเดีย ทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ของเมืองบันดาอาเจะห์ประมาณ 430 กิโลเมตร แผ่นดินไหวครั้งนี้สามารถรับรู้ได้ในหลายพื้นที่ทางภาคใต้ของประเทศไทยและบนตึกสูงในกรุงเทพมหานคร ในช่วงแรกมีการประกาศเตือนภัยสึนามิ ก่อนที่จะยกเลิกในเวลาต่อมา

Read more ›
รอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย

รอยเลื่อนแม่จัน จ.เชียงราย

รอยเลื่อนแม่จัน เป็นหนึ่งในกลุ่มรอยเลื่อนมีพลังในประเทศไทย ที่มีคนพูดถึงมากทุกครั้งเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในประเทศไทย ทำไมต้องเป็นรอยเลื่อนแม่จัน? บทความนี้จะพูดถึงข้อมูลทั่วไปเกี่ยวกับรอยเลื่อนแม่จัน และเหตุการณ์แผ่นดินไหวสำคัญที่เกิดขึ้นใกล้แนวรอยเลื่อนแม่จัน เพื่อช่วยเตือนผู้ที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยแผ่นดินไหวได้เตรียมพร้อมรับมือก่อนที่รอยเลื่อนแม่จันจะขยับตัวอีกครั้ง

Read more ›
แผ่นดินไหวเชียงใหม่ 19 มิถุนายน 2550

แผ่นดินไหวเชียงใหม่ 19 มิถุนายน 2550

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2550 เวลาประมาณ 12.06 น.ได้เกิดแผ่นดินไหวที่รู้สึกได้ขนาด 4.5 ตามมาตราริกเตอร์ที่จังหวัดเชียงใหม่ มีจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวอยู่ที่อ.แม่ริม โดยมีการเกิดสัมพันธ์กับระบบรอยเลื่อนแม่ริม (Mae Rim fault system): ชื่ออย่างไม่เป็นทางการ ซึ่งเป็นกลุ่มรอยเลื่อนที่วางตัวอยู่ในแนวเกือบเหนือ-ใต้ (แนวเส้นสีเหลือง ดังภาพ) มีลักษณะเป็นแนวยาวทางเหนือตั้งแต่เขตอ.เชียงดาว อ.แม่แตง และเริ่มมุดตัวลงใต้ชั้นตะกอนอายุอ่อนของแอ่งเชียงใหม่ในเขตอ.แม่ริม อ.เมือง ไปทางใต้จนถึงจ.ลำพูน ทำให้ไม่สามารถสังเกตเห็นแนวรอยเลื่อนได้บนพื้นดิน

Read more ›