Category: ไดโนเสาร์

คำถาม-คำตอบสามวินาที แฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2013

คำถาม-คำตอบสามวินาที แฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2013

ในหมวดสามวินาทีมีทั้งหมด 25 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ส่วนด้วยกันคือ ข้อ 1-10 รูปภาพ ข้อ 11-20 คุณสมบัติ ข้อ 21-25 ผู้ค้นพบสัตว์ดึกดำบรรพ์เป็นคนแรก และนี่คือ คำถาม-คำตอบของหมวดสามวินาที รายการแฟนพันธุ์แท้แห่งปี 2013 ออกอากาศ ณ วันที่ 24 มกราคม 2557

Read more ›
ทำไมเพลสิโอซอร์จึงไม่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์

ทำไมเพลสิโอซอร์จึงไม่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์

ฟุตาบะซอรัส ดึกดำบรรพ์ที่ปรากฏตัวในภาพยนตร์แอนิเมชันการ์ตูน โดราเอมอน ตอน “ไดโนเสาร์ของโนบิตะ” ฉายในปีพ.ศ. 2549 ความจริงแล้วไม่จัดว่าเป็นไดโนเสาร์ แต่ถือเป็นหนึ่งในสัตว์เลื้อยคลานทางทะเลในกลุ่มเพลสิโอซอร์ (plesiosaur) ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมยุคกับไดโนเสาร์ ทำไมถึงเป็นเช่นนั้น?

Read more ›
แฟนพันธุ์แท้แห่งปีกับความเร็ว

แฟนพันธุ์แท้แห่งปีกับความเร็ว

ในการแข่งขันรายการแฟนพันธุ์แท้แห่งปีนั้น มีเกมส์หนึ่งซึ่งเป็นเกมส์เพื่อใช้วัดไหวพริบและสมาธิของผู้เข้าแข่งขัน นั่นก็คือ หมวดแฟนพันธุ์แท้กับความเร็ว โดยผู้เข้าแข่งจะต้องตอบคำถามนั้นภายในเวลาสามวินาที หากเป็นการแข่งขันในรอบสัปดาห์แล้วจะสามารถตอบกี่ครั้งก็ได้ภายในเวลาสามวินาที แต่ถ้าหากเป็นการแข่งขันแฟนพันธุ์แท้แห่งปีมีทั้งหมด 25 ข้อ จะต้องตอบให้ถูกต้องเท่านั้นในเวลาสามวินาที สามารถเลือกที่จะข้ามคำถามได้

Read more ›
นิตยสารไนส์ 2 ไดโนเสาร์

นิตยสารไนส์ 2 ไดโนเสาร์

gneiss นิตยสารออนไลน์ที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับธรณีวิทยาและการท่องเที่ยว จัดทำโดย GeoThai.net เล่มที่ 2 มีเนื้อหาหลักเกี่ยวกับ ไดโนเสาร์ ซึ่งประกอบด้วย5 เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ – เรื่องที่ไม่ลับของไดโนเสาร์ – การจำแนกไดโนเสาร์ – ไดโนเสาร์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก – นักธรณีพาเที่ยวซานฟรานซิสโก

Read more ›
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต

รู้หรือไม่ว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เคยอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ในขณะที่สิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่เคยรุ่งเรืองก็ได้ค่อยๆ หายสาบสูญไป สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่พยายามพัฒนาและสามารถปรับตัวให้ดำรงอยู่รอดในสภาวะ-แวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์อยู่ตลอดเวลา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไม่ได้คงที่ตลอด การสูญสิ้นสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มากกว่า 50-90 เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเทียบกับอายุของโลก 4,600 ล้านปี

Read more ›
เสือใหญ่เล่าเรื่องดวงของคนจะดัง

เสือใหญ่เล่าเรื่องดวงของคนจะดัง

นเรศ สัตยารักษ์ – ผมเริ่มรับราชการที่กรมทรัพยากรธรณีเมื่อปี 2515 ในปีแรกก็ได้รับมอบหมายให้ทำงานในพื้นที่แนวรอยต่อของเพชรบูรณ์กับขอนแก่น โดยมีลูกพี่ที่ผมยกให้เป็นสุดยอดลูกพี่และปรมาจารย์ ดร. จงพันธ์ จงลักษณมณี เป็นหัวหน้าหน่วย หลังจากนั้นก็ยังทำงานอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมาโดยตลอด ผมก็เลยมีโอกาสท่องไปทั่วแคว้นแดนอีสาน ขนาดที่คุยได้ว่าไปนอนมาแล้วทุกอำเภอ  และเนื่องจากหินที่คลุมอยู่ทั่วที่ราบสูงก็ย่อมเป็นกลุ่มหินโคราชแน่นอน ผมก็คุยได้อีกแหละว่าผมไปปีนเทือกเขาทั้งหมดในอีสาน เห็นหินโคราชทุกระวางแผนที่มาแล้วละ

Read more ›
ไดโนเสาร์สัญชาติไทย

ไดโนเสาร์สัญชาติไทย

ไม่ค่อยรู้เลยว่าจริงๆ แล้ว เรามีไดโนเสาร์สัญชาติไทยที่ถูกค้นพบในบ้านเราหลายชนิด และกำลังเริ่มทยอยถูกตั้งชื่อจากภาษาไทยอย่างเป็นทางการ หลังจากที่ได้แอบคุยกับทีมงาน ก็ทำให้ได้ความรู้เพิ่มเติมมากขึ้น (จากที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย) วันนี้ก็เลยอยากเอามาแบ่งปันชาว GT บ้างอะไรบ้าง ไดโนเสาร์น้องใหม่ที่จะแนะนำให้รู้จักในวันนี้ มีชื่องดงามมากทีเดียว จะเป็นตัวอะไรนั้น มาดูกัน

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 9 – ตามรอยไดโนเสาร์ไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 9 – ตามรอยไดโนเสาร์ไทย Thai Dinosaurs  ฟอสซิล (ซากดึกดำบรรพ์) เกิดจากการเกิดชั้นหินตะกอนทับถมปกคลุมซาก สิ่งมีชีวิต ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยมีทั้งกลุ่ม ซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่) เช่น ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน เป็นกระดูกจำนวนมากค่อนข้างสมบูรณ์ กลุ่ม เทอโรซอร์ (ไดโนเสาร์กินเนื้อสองขา) เช่น สยามโมไทรันนัสอิสานเอนซิส ต้นตระกูลของทีเร็กซ์ เป็นกระดูกครึ่งตัว กลุ่ม ซิตตาโกซอร์ (ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว) เป็นกระดูกขากรรไกร กลุ่ม คาร์โนซอร์ (ไดโนเสาร์ล่าเนื้อขนาดเล็ก) เป็นรอยเท้าจำนวนมาก   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

พิพิธภัณฑ์สิริธร

เมื่อมีโอกาสได้ไปเยี่ยมชมพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์ธรรมชาติและพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ในหลาย ๆ ที่ในภูมิภาคยุโรป เห็นมุมมองใหม่ ๆ ที่แตกต่างและหลากหลาย  ทำให้กลับไปนึกถึงบ้านเรา ว่า เอ้..เมืองไทยมีที่ไหนให้เราได้ไปเยี่ยมชมซากดึกดำบรรพ์ โดยเฉพาะไดโนเสาร์ ซึ่งเป็นพระเอกตลอดกาลของเด็ก ๆ บ้าง เมื่อตอนเป็นเด็ก ก็เคยได้ยิน ได้ฟังมาบ้าง บางแห่งก็เคยไปมาแล้ว…ว่าแต่ ผ่านมาหลายปีมันเปลี่ยนแปลงอะไรไปบ้างรึเปล่า  แล้วหน่วยงานของไทยมีการโปรโมท กันมากน้อยเพียงใด ก็เลยท่องเน็ทไปเรื่อย ๆ ถามเพื่อนบ้าง เลยไปเจอเวบไซท์ของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซึ่งตั้งอยู่ที่ อ.สหัสขันธ์ จ.กาฬสินธุ์ เดิมพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ก็คือพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ที่เราเคยรู้จักในอดีต แต่ได้มีการปรับปรุงและสร้างอาคารพิพิธภัณฑ์ขึ้นมาใหม่ รวมทั้งห้องจัดแสดงนิทรรศการที่อลังการกว่าเดิมหลายเท่า ได้ข่าวว่าจะมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการในเดือนธันวาคมนี้ ใครต้องการไปเยี่ยมชม (ค่าเข้าฟรี) เข้าไปดูรายละเอียด ติดต่อสอบถามถามลิงค์ด้านล่างนี้ได้เลยนะคะ  https://www.facebook.com/sirindhorn.museum นอกจากข่าวสารในเวบไซต์ของกรมทรัพยากรธรณีฯ แล้วยังมีอีกเวบไซต์นึงที่น่าสนใจ เกี่ยวกับทางด้านบรรพชีวินวิทยาทั้งไทยและเทศ เป็นเวบไซต์ของศูนย์วิจัยทางบรรพชีวินวิทยา มหาวิทยาลัยมหาสารคาม คลิกได้ที่นี่เลยค่ะ     http://www.prc.msu.ac.th/new_prc/ งานทางด้านบรรพชิวินวิทยา คนอาจจะไม่เห็นความสำคัญ เนื่องจากคนคิดว่าเป็นเรื่องไกลตัว ไม่เกี่ยวกับความเสียหายของบ้านเรือน หรือทรัพย์สิน และแม้ซากสัตว์ที่ตายมาเมื่อหลายล้านปีก่อนไม่ใช่ทรัพยากรที่สามารถลงทุนและได้ผลกำไรราคาแพงเช่นปิโตรเลียม  อย่างไรก็ตาม บรรพชิวินวิทยาก็เป็นธรณีวิทยาแขนงหนึ่งที่น่าสนใจ ซากดึกดำบรรพ์เป็นทรัพยากรสำคัญทำให้พวกเราได้เรียนรู้ถึงความเป็นมาของสิ่งมีชิวิตและวิวัฒนาการ และทำให้เรารู้ว่าโลกในอดีตมันต่างจากดาวเคราะห์สีฟ้าที่เราดำรงชีวิตอยู่ทุกวันนี้อยากสิ้นเชิง  

Read more ›
ไพรเมตสกุลใหม่ของโลกและพ.ร.บ.ซากดึกดำบรรพ์ฉบับใหม่

ไพรเมตสกุลใหม่ของโลกและพ.ร.บ.ซากดึกดำบรรพ์ฉบับใหม่

นักธรณีวิทยาไทยพบซากฟอสซิลไพรเมตจมูกเปียกวงศ์ศิวะอะเดปิดขนาดเล็กที่สุดในโลกที่เหมืองถ่านหินแม่เมาะ มีน้ำหนักเพียง 5 ขีด สร้างสถิติพบครั้งแรกในไทยและในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โยงความสัมพันธ์เป็นบรรพบุรุษของลิงลมในเกาะมาดากัสการ์ ทวีปแอฟริกา และการค้นพบไพรเมตรชนิดนี้ ส่งผลให้เกิดความคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์และแหล่งซากดึกดำบรรพ์จนเกิดเป็น “พระราชบัญญัติคุ้มครองซากดึกดำบรรพ์ พ.ศ.2551” ที่จะมีผลบังคับใช้ในต้นเดือนสิงหาคมนี้

Read more ›