Category: ศัพท์ธรณีวิทยา

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร S – Z

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร S – Z

Saalian ช่วงซาเลียน : ดู Riss  sabkha; sebkha แซบคา ๑. สภาพแวดล้อมการตกตะกอนติดชายทะเล ซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่แห้งแล้งหรือกึ่งแห้งแล้งในส่วนที่ติดกับชายฝั่งทะเล ส่วนที่เหนือเขตระดับน้ำทะเลขึ้นสูง ดังนั้น จึงอยู่ระหว่างเขตพื้นที่บนบกกับเขตน้ำทะเลขึ้น-ลง ลักษณะจำเพาะของแซบคาได้แก่ ชั้นเกลือและเกลือระเหย ตะกอนน้ำทะเลขึ้นถึง และตะกอนลมหอบ ปัจจุบันพบเห็นในบริเวณชายฝั่งทะเลเปอร์เซีย และแคลิฟอร์เนีย

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร M – R

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร M – R

maceration การแช่ยุ่ย, มาเซอเรชัน : กระบวนการแยกสลายหินชั้น เช่น ถ่านหิน หินดินดาน โดยใช้วิธีทางเคมีแยกแร่และส่วนประกอบของสารอินทรีย์หรือมาเซอรัลออกจากกัน เพื่อสกัดและทำให้ได้ปริมาณซากดึกดำบรรพ์ที่ไม่ละลายในกรดเพิ่มขึ้น กระบวนการนี้มักใช้ในการศึกษาละอองเรณู ดู maceral ประกอบ  macroevolution วิวัฒนาการมหภาค : ๑. วิวัฒนาการหรือกำเนิดของสิ่งมีชีวิตที่จัดอยู่ในการจำแนกหมวดหมู่ลำดับต้น ๆ ของอนุกรมวิธาน โดยเฉพาะในขั้นอันดับ (order) หรือชั้น (class) ซึ่งจะตรงข้ามกับวิวัฒนาการในขั้นชนิด (species) ซึ่งเรียกว่า วิวัฒนาการจุลภาค (microevolution)

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร F – L

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร F – L

fabric axis แกนโครงเนื้อ : [ศิลาวิทยา] แกนหนึ่งแกนใดใน ๓ แกนที่ใช้อ้างอิงในการจัดเรียงตัวของโครงเนื้อ การบรรยายลักษณะของการคดโค้ง และสมมาตรการเคลื่อนที่ของหินที่ถูกเปลี่ยนลักษณะ fabric โครงเนื้อ : ๑. ลักษณะเนื้อหรือโครงสร้างของมวลหินซึ่งบ่งบอกถึงกระบวนการทางธรณีวิทยาที่ทำให้เกิดหินแต่ละชนิด เช่น การเรียงตัวของตะกอนหรือผลึกแร่ในหินตะกอน จะแสดงถึงสภาพจำเพาะของการตกตะกอนและการอัดตัวแน่น แร่แผ่นบางหรือแร่รูปแท่งในหินแปรอาจแสดงทิศทางการเรียงตัวซึ่งสัมพันธ์กับแรงที่กระทำในขณะที่หินเกิด

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร A – E

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร A – E

abandoned well สละหลุม : หลุมแห้งหรือหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ผลิตหมดแล้วหรือไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องปิดหลุมโดยการดึงบางส่วนของท่อกรุขึ้นมา แล้วอุดหลุมด้วยซีเมนต์อย่างน้อย ๒ ช่วง เพื่อไม่ให้ของไหลในหลุมซึมออกไปได้ abnormal high pressure ความดันสูงผิดปรกติ : ความดันใต้ดินที่สูงมากกว่าความดันที่เกิดจากชั้นหินปิดทับ หรือความดันศิลาสถิต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปิโตรเลียมพุ่งในระหว่างการเจาะ 

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร S – W

ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร S – W

Sapropel : เลนอินทรีย์ คือเลนในน้ำจืดตามพื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ และในเขตพื้นท้องทะเลตื้น ๆ ซึ่งมีสารอินทรีย์จำนวนมากตกทับถมอยู่ เชื่อกันว่าการสลายตัวและการเน่าเปื่อยของสารอินทรีย์เหล่านี้ เป็นสิ่งสำคัญที่ก่อให้เกิดปิโตรเลียม Secondary Recovery : การผลิตขั้นทุติยภูมิ คือการผลิตที่มีการอัดน้ำหรือแก๊สเข้าไปในแหล่งกักเก็บ เพื่อให้น้ำหรือแก๊สนี้ไปแทนที่น้ำมันดิบ ไล่น้ำมันดิบมาเข้าหลุมผลิต น้ำหรือแก๊สที่เข้าไปแทนที่น้ำมันนี้ไม่สามารถแทนที่น้ำมันได้หมด จะมีน้ำมันเหลืออยู่ในแหล่งกักเก็บหลังจากการผลิตขั้นทุติยภูมิได้สิ้นสุดลง ในการผลิตขั้นทุติยภูมินี้เปอร์เซนต์ของน้ำมันดิบที่ผลิตขึ้นมาได้

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร M – R

ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร M – R

Methane : มีเทน เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากแก๊สธรรมชาติ เป็นสารประกอบไฮโดรคาร์บอนที่มีคาร์บอน 1 อะตอม (CH4) ส่วนใหญ่ใช้เป็นเชื้อเพลิงในโรงไฟฟ้า ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นวัตถุดิบในการผลิตปุ๋ยเคมี Microbial Enhanced Oil Recovery : กระบวนการทางจุลชีวะเพื่อเพิ่มผลผลิตน้ำมันดิบ พวก micro-organisms จะทำให้เกิดขบวนการทางเคมี เช่น surfactant, acid solvent และ gas ซึ่งจะไปทำให้น้ำมันดิบในแหล่งกักเก็บสามารถเคลื่อนตัวได้

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร G – L

ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร G – L

Gas Cap : คือชั้นแก๊ส ในแหล่งปิโตรเลียมที่มีทั้งแก๊สและน้ำมัน แก๊สอิสระที่อยู่เหนือชั้นน้ำมันบริเวณส่วนบนของแหล่งกักเก็บ เรียกว่า gas cap และแก็สส่วนที่เหลือจะละลายอยู่ในชั้นน้ำมันภายใต้ความดันและอุณหภูมิ ณ ที่นั้น Gas Cap Drive : คือแรงขับชั้นแก๊ส เป็นแรงดันในแหล่งกักเก็บที่เกิดจากการขยายตัวของชั้นแก๊ส และแก๊สที่ละลายอยู่ในชั้นน้ำมัน Gas Compression : ระบบเพิ่มแรงดันแก๊ส จากแก๊สที่มีแรงดันต่ำจะถูกเพิ่มแรงดันให้สูงขึ้นโดยใช้ปั๊มอัดแก๊ส Gas Dehydration : ระบบดูดความชื้นแก๊ส

Read more ›
ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร A – F

ศัพท์ธรณีวิทยาปิโตรเลียม อักษร A – F

Abandoned Well : การสละทิ้งหลุมเจาะ เนื่องจากเป็นหลุมแห้งไม่พบปิโตรเลียม An Abandoned Oil หรือ Gas Well : การสละทิ้งหลุมที่เจาะพบน้ำมันหรือแก๊สธรรมชาติ เนื่องจากเป็นหลุมที่ไม่มีสมรรถนะในเชิงพาณิชย์ Acidizing หรือ Acidization หรือ Acid treatment : เป็นวิธีการกระตุ้นการผลิต (stimulation) โดยเติมกรดเข้าไปละลายองค์ประกอบบางส่วนของหินปูน โดโลไมต์ หรือหินทราย เพื่อเพิ่มความสามารถการซึมผ่านหรือความพรุนของหินเหล่านั้น ใช้วิธีปั๊มกรดไฮโดรคลอริคลงไปในหลุมเจาะ เพื่อขยายช่องว่างของหินให้ใหญ่ขึ้น ซึ่งจะทำให้น้ำมันไหลได้ดีขึ้น จุดประสงค์หลักคือ เพื่อเพิ่มผลการผลิต

Read more ›