ศัพท์ธรณีวิทยา — June 13, 2012 at 2:38 AM

ศัพท์ธรณีวิทยาทั่วไป อักษร A – E

by

abandoned well สละหลุม : หลุมแห้งหรือหลุมผลิตปิโตรเลียมที่ผลิตหมดแล้วหรือไม่คุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ซึ่งจะต้องปิดหลุมโดยการดึงบางส่วนของท่อกรุขึ้นมา แล้วอุดหลุมด้วยซีเมนต์อย่างน้อย ๒ ช่วง เพื่อไม่ให้ของไหลในหลุมซึมออกไปได้

abnormal high pressure ความดันสูงผิดปรกติ : ความดันใต้ดินที่สูงมากกว่าความดันที่เกิดจากชั้นหินปิดทับ หรือความดันศิลาสถิต ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ปิโตรเลียมพุ่งในระหว่างการเจาะ 

absolute permeability สภาพให้ซึมได้สัมบูรณ์ : ความสามารถของวัตถุที่มีรูพรุนต่อเนื่องกันที่ยอมให้ของไหลไหลผ่านได้หมดภายใต้สภาวะใดสภาวะหนึ่ง โดยไม่มีปฏิกิริยาใด ๆ ระหว่างวัตถุนั้นกับของไหลที่ไหลผ่าน

accretionary basin แอ่งพอกพูน : แอ่งที่เกิดขึ้นในเขตมุดตัวของเปลือกโลก ซึ่งตะกอนจะสะสมตัวเพิ่มขึ้นและเปลี่ยนแปลงไปตามทิศทางการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่อยู่ด้านบน

accumulation การสะสม : ๑. กระบวนการต่าง ๆ ที่หิมะหรือน้ำแข็งทับถมเพิ่มพูนบนธารน้ำแข็ง หรือน้ำแข็งที่ลอยตัวอยู่ หรือหิมะที่ปกคลุมอยู่ก่อน รวมทั้งกระบวนการหิมะตก หิมะถล่ม และหิมะที่ถูกพัดพาโดยลมด้วย ดู ablation ประกอบ ๒. ปริมาณของหิมะและหยาดน้ำฟ้าที่จับตัวแข็งอื่น ๆ ที่เพิ่มเข้าไปในธารน้ำแข็ง

หรือทุ่งหิมะโดยกระบวนการการสะสมตัว ๓. กระบวนการที่ปิโตรเลียมเข้ามาอยู่ในหินกักเก็บ

accuracy ความแม่น : ๑. ความผิดพลาดทั้งหมดที่เกิดขึ้นเมื่อเทียบกับค่าจริง ๒. ความสามารถของเครื่องมือในการวัดให้ได้ค่าใกล้เคียงกับค่าจริง ดู precision และ resolution ประกอบ 

acid treatment; acidization; acidizing การละลายด้วยกรด : ดู acidization; acidizing; acid treatment 

acidization; acidizing; acid treatment การละลายด้วยกรด : กระบวนการเติมกรดเข้าไปละลายองค์ประกอบบางส่วนของหินปูน โดโลไมต์ หรือหินทราย เพื่อเพิ่มความสามารถการซึมผ่านหรือความพรุนของหินเหล่านั้น นอกจากนั้น ยังช่วยในการละลายโคลนที่อัดเข้าไปในหลุมเจาะ จุดประสงค์ทั่วไปของการละลายด้วยกรดคือ เพื่อเพิ่มผลผลิต

acidizing; acidization; acid treatment การละลายด้วยกรด : ดู acidization; acidizing; acid treatment 

acoustic basement ฐานทางคลื่นเสียง : ระดับลึกที่สุดที่ยังสามารถเห็นความต่อเนื่องของแนวคลื่นสะท้อนของคลื่นไหวสะเทือนได้

acoustic impedance อิมพีแดนซ์ทางเสียง : ผลคูณของค่าความหนาแน่น และความเร็วของคลื่นของตัวกลางนั้น ๆ

acoustic intensity; sound intensity ความเข้มคลื่นเสียง : ดู seismic intensity 

activated carbon ถ่านกัมมันต์ : คาร์บอนรูปแบบหนึ่งที่มีลักษณะเฉพาะ มีสมบัติการดูดซับและการดูดซึมแก๊ส ไอ และสารแขวนลอยได้ในปริมาณมาก

activation การกระตุ้น, การก่อกัมมันต์ : ๑. กระบวนการที่ทำให้เบนทอไนต์ทำปฏิกิริยากับกรด เพื่อเพิ่มสภาพการดูดซับหรือความสามารถในการฟอกจาง ๒. กระบวนการทำให้เกิดสารกัมมันตรังสีโดยการยิงด้วยอนุภาคนิวเคลียร์

aeration zone; unsaturated zone; vadose zone เขตไม่อิ่มน้ำ : เขตที่อยู่ระหว่างผิวดินกับระดับน้ำบาดาล (water table) ประกอบด้วยเขตที่รากพืชหยั่งถึง เขตกึ่งกลาง (intermediate zone) และเขตอิ่มตัวเหนือระดับน้ำใต้ดิน (capillary fringe) ช่องว่างประกอบไปด้วยน้ำที่มีความดันน้อยกว่าความดันอากาศ อากาศ และแก๊สอื่น ๆ

Aftonian ช่วงคั่นแอฟโตเนียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือละลาย อยู่ระหว่างช่วงเนแบรสกันกับช่วงแคนซัน ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

Afmag method วิธีแอฟแม็ก : วิธีการสำรวจทางธรณีฟิสิกส์โดยใช้คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นวิธีตรวจวัดสนามแม่เหล็กในช่วงความถี่ของคลื่นเสียง โดยการนำสัญญาณรบกวนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในช่วงความถี่คลื่นเสียงที่เกิดในธรรมชาติมาประยุกต์เพื่อตรวจวัดสภาพต้านทานไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไปตามตำแหน่งต่าง ๆ บนผิวโลก วิธีแอฟแม็กนี้ใช้ในการสำรวจหาแหล่งแร่ แนวรอยเลื่อน บริเวณรอยเฉือน (shear zone) และใช้สำรวจในบริเวณที่มีความยากลำบากในการปฏิบัติงานหรือในบริเวณที่เป็นป่าทึบ

agate อะเกต, โมรา: ควอตซ์ชนิดหนึ่งที่มีผลึกขนาดเล็กมากจนมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า มีความวาวแบบขี้ผึ้ง มีหลายสี สีเหล่านั้นมักมีลักษณะเป็นชั้น เป็นแถบ เป็นหย่อม หรือมีหลายสีปะปนกันก็ได้ เนื่องจากมีความเหนียวมากไม่เปราะ จึงนิยมใช้ทำเป็นครกบด (agate mortar)

age ratio อัตราส่วนอายุ : อัตราส่วนไอโซโทปธาตุลูกกับธาตุแม่ที่ใช้ในการหาอายุของการแข็งตัว การแปรสภาพ หรือการตกตะกอน ซึ่งจะต้องทราบค่าคงที่ของการสลายตัว และเพื่อให้การหาอายุแม่นยำตัวอย่างหินต้องเป็นตัวแทนที่ดี

air cyclone แอร์ไซโคลน : เครื่องคัดขนาดอนุภาคด้วยแรงลมออกเป็น ๒ ส่วน คือ อนุภาคหยาบและละเอียด ส่วนบนเป็นรูปทรงกระบอกต่อกับส่วนล่างซึ่งเป็นรูปกรวย ภายในกลวงนอกจากใช้คัดขนาดแล้ว ยังใช้เก็บฝุ่นได้ด้วย ดู hydrocyclone ประกอบ 

airborne magnetometer แมกนิโทมิเตอร์ทางอากาศ : เครื่องมือวัดสนามแม่เหล็กที่ติดตั้งบนเครื่องบินปีกนิ่งและเครื่องบินปีกหมุน เพื่อตรวจวัดสนามแม่เหล็กทางอากาศ ส่วนใหญ่ใช้วัดสนามแม่เหล็กรวม แมกนิโทมิเตอร์ทางอากาศส่วนมากเป็นชนิดฟลักซ์เกท (fluxgate) โปรตอน-เรโซแนนซ์ (proton-resonance) หรือออปทิคัลพัมป์ (optical pump)

alkali feldspar แอลคาไลเฟลด์สปาร์ : กลุ่มแร่เฟลด์สปาร์ที่ประกอบด้วยโพแทสเซียมเฟลด์สปาร์ (potassium feldspar) มีสูตรเคมี KAlSi3O8 และโซเดียมเฟลด์สปาร์ (sodium feldspar) มีสูตรเคมี NaAlSi3O8 ในสัดส่วนต่างกัน หรือเป็นแร่เฟลด์สปาร์ที่มีโซเดียมหรือโพแทสเซียมมาก และมีแคลเซียมน้อย ได้แก่ ไมโครไคลน์ ออร์โทเคลส (orthoclase) ซานีดิน อะดูลาเรีย แอลไบต์ เพอร์ไทต์ และอะนอร์โทเคลส

alkaline-earth metal โลหะแอลคาไลน์เอิร์ท : โลหะใด ๆ ที่อยู่ในกลุ่มแอลคาไลน์เอิร์ท เช่น แคลเซียม แมกนีเซียม แบเรียม สทรอนเชียม ละลายได้น้อยกว่าโลหะแอลคาไล

alum อะลัม : 

๑. แร่ชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี KAl(SO4)2.12H2O ไม่มีสีหรือมีสีขาว ถ้าได้จากการสังเคราะห์เรียกสารส้ม มีลักษณะเป็นก้อนแข็ง ให้รสเปรี้ยวฝาดบาดลิ้น ใช้ประโยชน์ทำให้นํ้าใสสะอาด ๒. กลุ่มแร่ซึ่งมีส่วนประกอบเป็นซัลเฟตของอะลูมิเนียมกับแอลคาไล หรือของแอมโมเนียม ซึ่งมีน้ำเป็นองค์ประกอบ ๑๒ โมเลกุล มีรูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนเท่า โดยทั่วไปมักมีลักษณะเป็นเส้นใย เป็นแร่ที่ละลายน้ำ แอลคาไลอะลัมประกอบด้วยโพแทสเซียมอะลัมหรือโพแทสอะลูไมต์ และโซดาอะลัมซึ่งรวมถึงเมนโดไซต์ โพแทช-อะลูไมต์เปลี่ยนสถานะเป็นแร่คาลีไนต์ได้ง่าย ในธรรมชาติจึงมักพบคาลีไนต์มากกว่า ส่วนโซดาอะลัมพบน้อยมาก

amazonite แอมะซอไนต์ : แร่ไมโครไคลน์ชนิดที่มีสีเขียวหรือฟ้าอมเขียว เป็นแร่ในกลุ่มโพแทสเฟลด์สปาร์ บางครั้งใช้เป็นรัตนชาติ มีความหมายเหมือนกับ amazon stone; amazonstone 

amazon stone; amazonstone แอมะซอนสโตน : ดู amazonite 

ambient noise เสียงรบกวนโดยรอบ : คลื่นเสียงที่เกิดจากต้นกำเนิดคลื่นอื่น ๆ ที่ไม่ได้เกิดจากต้นกำเนิดคลื่น เช่น เสียงจากเครื่องยนต์ ลม แผ่นดินไหว ใบหญ้าเสียดสีกับตัวรับคลื่น เม็ดทรายที่ถูกแรงลมพัดไปกระทบเครื่องรับคลื่น ฯลฯ ต้นกำเนิดของเสียงรบกวนโดยรอบจะอยู่บริเวณใกล้เคียงกับเครื่องรับคลื่น

amplitude anomaly ค่าผิดปรกติของแอมพลิจูด : การเปลี่ยนแปลงแอมพลิจูดคลื่นไหวสะเทือนชนิดคลื่นสะท้อนเฉพาะที่หนึ่งที่ใด อันเป็นผลจากการสะสมตัวของไฮโดรคาร์บอนในหมวดหิน นอกจากนั้นยังเกิดจากการรวมตัวกันของพลังงานคลื่นที่เกิดจากโครงสร้าง จากการรบกวนกันของคลื่น จากความผิดพลาดในการปรับแก้ข้อมูลคลื่นไหวสะเทือน หรือจากเหตุผลอื่น ๆ ถ้าแอมพลิจูดเพิ่มขึ้นจะทำให้ได้บริเวณที่เรียกว่า จุดสว่าง (bright spot) แต่ถ้าแอมพลิจูดลดลงจะได้บริเวณจุดคลื่นจาง (dim spot)

amplitude equalization สมภาพแอมพลิจูด : การปรับแก้กำลังขยายสัญญาณ (gain) ของรอยรูปคลื่นเพื่อทำให้แอมพลิจูดของแต่ละรอยรูปคลื่นมีค่าเฉลี่ยเดียวกัน

amplitude recovery การกู้แอมพลิจูด : เทคนิคในการปรับแก้ข้อมูลคลื่นไหวสะเทือนซึ่งทำให้ได้แอมพลิจูดของรอยรูปคลื่นไหวสะเทือนกลับคืนมา โดยการเสริมแอมพลิจูดของคลื่นที่ลดลงตามระยะทางและเวลาการเดินทางของคลื่น ช่วยให้สามารถใช้แอมพลิจูดของคลื่นสะท้อนระบุตำแหน่งของบริเวณที่มีไฮโดรคาร์บอนสะสมอยู่ได้โดยตรง โดยดูบริเวณจุดสว่าง หรือบริเวณจุดคลื่นจาง

amplitude แอมพลิจูด : ๑. ระยะครึ่งหนึ่งของความสูงระหว่างยอดคลื่นกับท้องคลื่นซึ่งอยู่ชิดกัน ๒. ในชั้นหินคดโค้งสมมาตร (symmetrical fold) ได้แก่ ครึ่งหนึ่งของความสูงระหว่างยอดลอนของชั้นหินโค้งรูปประทุน กับท้องลอนของชั้นหินโค้งรูปประทุนหงาย

analogous reservoir แหล่งกักเก็บเสมือน : แหล่งกักเก็บที่มีลักษณะเหมือนหรือคล้ายกันเกี่ยวกับระดับความลึกและความหนารวม สัดส่วนของความหนาสุทธิต่อความหนารวม ลักษณะและชนิดของหิน ความถ่วงจำเพาะของน้ำมัน ระยะ

ความถี่ห่างของหลุมเจาะ อัตราการลดลงของปิโตรเลียม และสมบัติต่าง ๆ ของหิน เช่น ความพรุน สภาพให้ซึมได้

analyser แอนาไลเซอร์ : ตัวกลางที่ใช้ในกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์สำหรับทำแสงโพลาไรส์ อาจทำจากแร่แคลไซต์ใส แผ่นโพลารอยด์ หรือวัสดุอื่น อยู่เหนือเลนส์วัตถุ (ปริซึมนิโคลตัวบน) ณ ตำแหน่งนี้มักจัดให้ระนาบของการสั่นขวางหรือทำมุมฉากกับระนาบสั่นของโพลาไรเซอร์ สามารถเลื่อนเข้าออกจากระบบทางเดินแสงได้ เมื่อเลื่อนเข้าเรียก โพลาไรเซอร์ขวางฉาก ดู Nicol prism และ polariser ประกอบ 

andesite line เส้นแอนดีไซต์ : แนวแบ่งเขตทางภูมิศาสตร์ที่แสดงความแตกต่างขององค์ประกอบของหินบริเวณแอ่งแปซิฟิก ซึ่งด้านมหาสมุทรแปซิฟิกเป็นพวกหินบะซอลต์-แทรไคต์ ส่วนทางด้านทวีปหรือแนววงรอบแปซิฟิกเป็นพวกหินแอนดีไซต์-เดไซต์-ไรโอไรต์ เส้นแอนดีไซต์นี้ลากผ่านอะแลสกา ญี่ปุ่น หมู่เกาะมาร์แชลล์ หมู่เกาะปาเลาหมู่เกาะฟิจิ หมู่เกาะตองกา ไปทางตะวันออกของประเทศนิวซีแลนด์ และหมู่เกาะแชทัมทางด้านตะวันออกของแอ่งแปซิกฟิก ตำแหน่งของเส้นยังไม่สามารถกำหนดได้แน่นอน อาจลากผ่านตามแนวชายฝั่งขอบทวีปของอเมริกาเหนือและใต้ ส่วนทางตอนใต้ของแอ่งแปซิฟิกยังไม่พบเส้นนี้ มีความหมายเหมือนกับ Marshall line 

anisotropy แอนไอโซทรอปี : ๑. การมีสมบัติต่างกันในทิศทางที่ต่างกัน เช่น ชั้นหินที่ให้คลื่นเสียงเคลื่อนผ่านในแนวดิ่งและแนวราบด้วยอัตราเร็วที่ต่างกัน ๒. [น้ำบาดาล] สถานภาพที่ชั้นน้ำบาดาลมีสมบัติทางชลศาสตร์ชนิดหนึ่ง หรือ ๒ ชนิด แตกต่างกันเนื่องจากทิศทางการไหลของน้ำ

annual ring วงปี : ชั้นของเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำและเกลือแร่ซึ่งเซลล์ในชั้นแคมเบียมสร้างขึ้นในช่วงเวลา ๑ ปี ทำให้เนื้อไม้มีลักษณะเป็นวงที่มีขนาดความหนาบางขึ้นอยู่กับอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้ในระยะเวลา ๑ ปี ดู growth ring ประกอบ 

anomaly ค่าผิดปรกติ : ค่าที่เปลี่ยนไปจากค่าปรกติของข้อมูลทางธรณีวิทยา ธรณีฟิสิกส์ หรือธรณีเคมีในบริเวณใดบริเวณหนึ่ง ค่าผิดปรกติอาจมากกว่าหรือน้อยกว่าค่าปรกติพื้นฐานทั่วไปของบริเวณนั้น ค่านี้ใช้เป็นข้อมูลในการบอกตำแหน่งที่น่าสนใจในการหาแหล่งแร่หรือน้ำมัน เช่น ค่าผิดปรกติที่เกิดจากแร่ที่มีสมบัติติดแม่เหล็ก แร่กัมมันตรังสี และแร่โลหะที่มีสมบัติเหนี่ยวนำไฟฟ้าจะให้ค่าผิดปรกติที่มากกว่า เช่น หินคิมเบอร์ไลต์ ส่วนลิกไนต์หรือหินบางชนิด เช่น หินแกรนิต จะให้ค่าผิดปรกติที่น้อยกว่า โครงสร้างชั้นหินก็ทำให้เกิดค่าผิดปรกติได้เช่นกัน

antiperthite แอนทิเพอร์ไทต์ : แร่จำพวกหนึ่งในกลุ่มแร่แอลคาไลเฟลด์สปาร์ มีลักษณะเป็นผลึกผสมเนื้อแยก ซึ่งประกอบด้วยแร่เฟลด์สปาร์ชนิดที่มีโซเดียมสูง (แอลไบต์ โอลิโกเคลส หรือ แอนดีซีน) เป็นเนื้อพื้น และมีแร่เฟลด์สปาร์ชนิดที่มีโพแทสเซียมสูง (ปรกติเป็นออร์โทเคลส) แยกตัวเป็นผลึกที่วางตัวขนานหรือกึ่งขนานกันกับผลึกเนื้อพื้นนั้น ดู perthite ประกอบ 

aperture ช่องเปิด : ช่องทางเปิดออกสู่ภายนอกของเปลือกหอยกาบเดี่ยว เปลือกฟอแร มินิเฟอรา ไบรโอซัว และเปลือกอาศัยของแกรปโทไลต์ ดูรูปที่ operculum และ whorl 

apparent density ความหนาแน่นปรากฏ : ความหนาแน่นของหมวดหินและตัวอย่างหินที่คำนวณได้จากการวัดค่าด้วยวิธีต่าง ๆ เช่น ค่าความหนาแน่นที่คำนวณได้จากการวัดความโน้มถ่วงในหลุมเจาะ จากผลบันทึกค่าการวัดความเร็วคลื่นเสียงอย่างต่อเนื่องในหลุมเจาะจากผลบันทึกความหนาแน่น (density log) และจากการวัดค่าความหนาแน่นของแท่งหิน เป็นต้น

apparent resistivity สภาพต้านทานปรากฏ : ๑. สภาพต้านทานไฟฟ้าของดินหรือหินที่มีเนื้อเดียวกัน (homogeneous) และมีสมบัติทางฟิสิกส์เหมือนกันในทุกทิศทาง เมื่อผ่านกระแสไฟฟ้าที่ทราบค่าเข้าไป แล้ววัดความต่างศักย์ไฟฟ้าระหว่างจุด ๒ จุด จะได้ค่าเท่ากับความต่างศักย์ไฟฟ้า (V) หารด้วยกระแสไฟฟ้า (I) คูณด้วยค่าคงที่ (k) ซึ่งค่าคงที่นี้ขึ้นอยู่กับรูปแบบการจัดวางตำแหน่งของขั้วกระแสไฟฟ้า (current electrode) และตำแหน่งของขั้วศักย์ไฟฟ้า (potential electrode) ในการวัด

๒. สภาพต้านทานไฟฟ้าที่วัดได้โดยการหยั่งธรณีหลุมเจาะด้วยไฟฟ้า (electrical well lohhing) ซึ่งค่าที่ได้จะแตกต่างจากค่าที่เป็นจริง เนื่องจากในการวัดมีความผิดพลาดเกิดขึ้นจากการวัดผ่านน้ำโคลนที่เกาะตามผนังของรูเจาะ ผ่านหมวดหินที่ถูกดันแทรกด้วยน้ำโคลน (invaded zone) และความผิดพลาดเนื่องจากอิทธิพลของชั้นหินที่อยู่ข้างเคียง

applied geophysics ธรณีฟิสิกส์ประยุกต์ : ดู geophysical exploration; geophysical prospecting 

aquifer test; pumping test การทดสอบชั้นน้ำ : การทดสอบโดยการสูบน้ำจากบ่อน้ำบาดาลในช่วงระยะเวลาหนึ่ง และสังเกตการเปลี่ยนแปลงของระดับน้ำบาดาลในชั้นน้ำ การทดสอบชั้นนี้อาจใช้หาความสามารถในการให้น้ำของบ่อน้ำบาดาล และสมบัติทางชลศาสตร์ของชั้นน้ำ

aquifer; water horizon ชั้นหินอุ้มน้ำ, ชั้นน้ำ : ชั้นหินหรือชั้นตะกอนที่มีสมบัติยอมให้น้ำซึมเข้าได้โดยง่ายเนื่องจากมีช่องว่างระหว่างอนุภาคตะกอน หรือมีโพรงหรือรอยแตกที่ต่อเนื่องกัน จึงทำให้เก็บน้ำไว้ได้เป็นปริมาณมากจนกลายเป็นแหล่งน้ำใต้ดิน ชั้นหินนี้อยู่ในเขตอิ่มน้ำ ตัวอย่างเช่น หินทราย หินปูน ชั้นตะกอนทราย ชั้นกรวด มีความหมายเหมือนกับ reservoir ความหมายที่ ๒ 

Archaean Eon; Archean Eon บรมยุคอาร์เคียน : บรมยุคที่มีช่วงเวลาตั้งแต่ ๔,๐๐๐ ถึง ๒,๕๐๐ ล้านปี หินที่เกิดในบรมยุคนี้เป็นหินที่มีอายุเก่าแก่ที่สุด เรียกว่า หินบรมยุคอาร์เคียน (Archean System)

Archaeozoic Eon บรมยุคอาร์คีโอโซอิก : ดู Cryptozoic Eon คำนี้ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

Archaeozoic; Archeozoic อาร์คีโอโซอิก : หน่วยย่อยของช่วงเวลาพรีแคมเบรียนอยู่ในช่วงพรีแคมเบรียนตอนต้น หรือมีช่วงเวลาเดียวกับการสะสมตัวของหินอาร์เคียน

array แถวลำดับ : ๑. [ไฟฟ้า] การจัดวางขั้วไฟฟ้ารูปแบบต่าง ๆ ในการสำรวจความต้านทาน

ไฟฟ้า จำเพาะและการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ ๒. [คลื่นไหวสะเทือน] การจัดวางกลุ่มของจีโอโฟนรูปแบบต่าง ๆ โดยจัดให้มีระยะระหว่างจีโอโฟน และ/หรือต้นกำเนิดคลื่นเป็นระยะทางเท่ากันเพื่อรับคลื่นไหวสะเทือน แล้วส่งสัญญาณไฟฟ้ารวมที่เกิดจากจีโอโฟนแต่ละตัวเข้าสู่ช่องรับสัญญาณ ๑ ช่อง หรือการจัดวางกลุ่มของต้นกำเนิดคลื่นรูปแบบต่าง ๆ เพื่อใช้ในการส่งพลังงานคลื่นไหวสะเทือนออกไปพร้อม ๆ กันในแต่ละครั้ง ช่วยให้สามารถกำจัดคลื่นพื้นผิวที่ไม่ต้องการให้มีขนาดลดลง และทำให้ได้อัตราส่วนของสัญญาณที่ต้องการต่อสัญญาณรบกวนมีขนาดเพิ่มขึ้น

articulate อาร์ทิคูเลต : ๑. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในไฟลัมแบรคิโอโพดา ชั้นอาร์ทิคูลาตา (class Articulata) มีลักษณะเฉพาะ คือ เปลือกหรือฝาทั้งสองซึ่งประกอบด้วยสารเนื้อปูน ยึดประกบเข้าด้วยกัน โดยสันและร่องบนแนวหับเผย ดู inarticulate ประกอบ ๒. สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในกลุ่มไครนอยด์ จัดอยู่ในชั้นย่อยอาร์ทิคูลาตา (subclass Articulata) มีลักษณะเฉพาะ คือ อวัยวะส่วนคล้ายแขนได้พัฒนาเปลี่ยนสภาพไปอย่างมากมาย เช่น แตกแขนงออกเป็นจำนวนมาก หรือเชื่อมติดเป็นส่วนหนึ่งของหัว มีอายุอยู่ในช่วงมหายุคมีโซโซอิก

artificial recharge การเติมน้ำลงใต้ดิน, การอัดน้ำลงใต้ดิน : การนำน้ำเข้าไปในชั้นน้ำบาดาลโดยการอัดหรือเติม โดยขุดเป็นแอ่ง บ่อน้ำบาดาล และ/หรือการปล่อยให้น้ำนองบนผิวดิน เพื่อปรับระดับน้ำบาดาลให้สูงขึ้น อันเนื่องมาจากกิจกรรมของมนุษย์

assay limit; cutoff limit ขอบเขตสอบวิเคราะห์ : ขอบเขตของแหล่งแร่ขึ้นอยู่กับการตรวจสอบแหล่งแร่ ซึ่งถูกจำกัดโดยให้ความสำคัญเกี่ยวกับผลการตรวจสอบวิเคราะห์ความสมบูรณ์แร่มากกว่าโครงสร้างชั้นหิน และข้อจำกัดทางธรณีวิทยาด้านอื่น ๆ

asterism การเหลือบแสงรูปสาแหรก : ปรากฏการณ์ทางแสงของแร่บางชนิด โดยเฉพาะแร่ในระบบสามแกนราบ ประกอบด้วยมลทินเรียงตัวตามแนวโครงสร้างของผลึก ๓ แนว ทำมุม ๑๒๐ องศา ซึ่งกันและกัน แร่ที่เจียระไนแบบหลังเบี้ยเมื่อจัดให้รับแสง จะแสดงการสะท้อนแสงจากแร่เป็นเหลือบแสง ๓ แนว ซึ่งลำแสงทำมุมฉาก

กับทิศทางของมลทินทำให้เกิดรูปดาว ๖ แฉก เช่น ปรากฏการณ์ที่พบในสตาร์แซปไฟร์ ทับทิมสาแหรก ควอตซ์ แต่แร่ไมกาชนิดโฟลโกไพต์ที่ประกอบด้วยแร่รูไทล์เป็นรูปเข็มเล็ก ๆ เรียงตัวคล้ายกับระบบสามแกนราบ จะเห็นเป็นเหลือบแสงรูปดาวเมื่อส่องแสงผ่าน ดู chatoyancy ประกอบ 

Atlantic-type coastline แนวชายฝั่งแบบแอตแลนติก : แนวชายฝั่งที่แนวเทือกเขาวางตัวขวางหรือเฉียงกับแนวชายฝั่ง บริเวณชายฝั่งประเภทนี้จึงมีการพัฒนาของแนวชายฝั่งแบบไม่สม่ำเสมอ มีเวิ้งมากมายในบริเวณรอบ ๆ มหาสมุทรแอตแลนติก เช่น แนวชายฝั่งด้านตะวันตกเฉียงใต้ของไอร์แลนด์ ดู Pacific-type coastline ประกอบ 

aulacogen ร่องทรุดรูปลิ่ม : ร่องหรือแนวรอยแตกที่เกิดอยู่บนเปลือกโลกภาคพื้นทวีป มีการแยกออกจากกันแบบทางสามแพร่ง แพร่งหนึ่งที่หยุดการเคลื่อนที่เรียกร่องทรุดรูปลิ่มซึ่งต่อมากลายเป็นแอ่งสะสมตะกอน ดู triple junction ประกอบ 

aventurine อะเวนจูรีน : แร่ควอตซ์ชนิดหนึ่ง สีเทา เหลืองหรือน้ำตาล โปร่งแสง มีสารฝังในขนาดเล็กของผลึก เกล็ด หรือแผ่นของแร่ต่าง ๆ เช่น ไมกาสีเขียว อิลเมไนต์ ฮีมาไทต์ชนิดสเปกคูลาไรต์ และไลมอไนต์ ฝังตัวอย่างไม่เป็นระเบียบ ทำให้ดูเป็นสีทอง สะท้อนแสงระยิบระยับ ใช้เป็นรัตนชาติได้เรียกว่า พลอยพรรณราย ดู goldstone ประกอบ 

average velocity ความเร็วเฉลี่ย : อัตราส่วนของระยะทางที่คลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ผ่านตัวกลางต่อเวลาที่ใช้ไปในระยะทางและทิศทางนั้น

axial dipole-dipole array แถวลำดับอนุกรมสองขั้วคู่ : รูปแบบการวางขั้วไฟฟ้าแบบสองขั้วคู่ที่วางขั้วไฟฟ้าตามแนวเส้นตรงเรียงตามกันในแนวเส้นสำรวจ โดยมีระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้ากับขั้วศักย์ไฟฟ้าและระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้ากับขั้วศักย์ไฟฟ้าที่อยู่ใกล้กันห่างกัน ๑ ถึง ๖ เท่า

azimuth แอซิมัท : การระบุทิศทางระบบหนึ่งซึ่งอ้างอิงจากทิศเหนือ เป็นมุมราบที่เวียนตามเข็ม นาฬิกาจนถึงแนวที่ต้องการระบุถึง

Azimuthal dipole-dipole array แถวลำดับสองขั้วคู่เชิงมุม : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้า โดยให้แนวขั้วกระแสไฟฟ้าวางตัวทำมุม  กับแนวขั้วศักย์ไฟฟ้า และให้แนวสำรวจ OQ อยู่บนเส้นลากต่อระหว่างจุดกึ่งกลางขั้วกระแสไฟฟ้ากับจุดกึ่งกลางขั้วศักย์ไฟฟ้า และจุดกึ่งกลางของแนวเส้นทั้งสองห่างกันเป็นระยะทาง r

Azoic Eon บรมยุคอะโซอิก : ดู Cryptozoic Eon คำนี้ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

Azoic อะโซอิก : ๑. ช่วงเวลาทางธรณีวิทยาในช่วงพรีแคมเบรียนตอนต้น ซึ่งหินที่สะสมตัวในช่วงเวลาดังกล่าวไม่มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิต ดู Proterozoic ประกอบ ๒. ช่วงเวลาหรือชั้นหินที่มีอายุมากกว่ามหายุคพาลีโอโซอิก

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

back arc basin แอ่งโค้งด้านหลัง : แอ่งสะสมตะกอนหรือโครงสร้างแอ่งที่เป็นรูปโค้งอยู่บริเวณด้านหลังกลุ่มภูเขาไฟซึ่งเป็นร่องลึกตามเขตมุดตัวของเปลือกโลกที่ซับซ้อน

back reef หลังพืดหินปะการัง : ด้านของพืดหินปะการังที่หันเข้าหาแผ่นดิน ซึ่งรวมถึงบริเวณที่มีการสะสมตะกอนต่าง ๆ ระหว่างพืดหินปะการังกับแผ่นดิน คำนี้ยังหมายถึงชุดลักษณ์ของหินที่เกิดในทะเลสาบน้ำเค็มด้วย มีความหมายตรงข้ามกับ fore reef 

back slope . ลาดหลังผา : ลาดเขาที่อยู่ตรงข้ามกับหน้าผา มีลักษณะคล้ายลาดตามแนวเท ดู dip slope ประกอบ . ลาดเหนือทาง : ลาดดินตัดและ/หรือหินตัดด้านข้างทางเมื่อตัดผ่านพื้นที่ที่เป็นภูเขา อัตราส่วนความชันระหวางแนวราบต่อแนวดิ่งอยู่ในช่วง ๑๔ : ๑-๑:๑ ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับลักษณะโครงสร้างทางธรณีวิทยาในบริเวณที่จะดำเนินการก่อสร้าง

background ค่าพื้นฐาน, ค่าปรกติ : ๑. พิสัยของค่าความเข้มข้นปรกติของธาตุในวัสดุธรรมชาติ ซึ่งเป็นค่าพื้นฐานที่สำรวจได้จากทางธรณีเคมี ธรณีฟิสิกส์ หรืออื่น ๆ ดู anomaly ประกอบ 

๒. ปริมาณสารมลพิษที่เกิดจากแหล่งธรรมชาติเฉพาะถิ่น เช่น บริเวณภูเขาไฟซึ่งมีมลพิษสูงกว่าบริเวณอื่น แต่เป็นปรกติสำหรับบริเวณนั้น

backlimb ส่วนข้างหลัง : ส่วนข้างที่ชันน้อยกว่าของชั้นหินคดโค้งรูปประทุนแบบอสมมาตร

baddeleyite แบดเดเลย์ไอต์ : แร่กัมมันตรังสีอย่างอ่อน มีหลายสี ตั้งแต่สีเหลือง สีน้ำตาล สีดำ จนถึงไร้สี มีส่วนประกอบสำคัญคือ ออกไซด์ของเซอร์คอน และอาจมีฮาฟเนียมด้วย มีระบบผลึกหนึ่งแกนเอียง ผลึกมักเป็นแผ่น ๆ จนถึงก้อนทรงมน และแสดงแนวแตกเรียบแบบสมบูรณ์ มีความวาวสูงใกล้เคียงเพชร แต่หนักกว่าเกือบ ๒ เท่า พบมากที่ประเทศรัสเซีย ศรีลังกา บราซิล สหรัฐอเมริกา และสวีเดน ในปัจจุบันสามารถสังเคราะห์แร่นี้ได้ ในทางพาณิชย์เรียก เพชรรัสเซีย (cubic zirconia, CZ) ซึ่งมีหลากสี ดู cubic zirconia ประกอบ 

bailer กระบอกตวง : กระบอกที่ใช้เก็บตัวอย่างน้ำ น้ำโคลน น้ำมันดิบ หรือเศษหิน (cutting) จากหลุมเจาะขนาดเล็กหรือบ่อวัดแรงดัน โดยทั่วไปเป็นรูปทรงกระบอกที่ปลายข้างบนผูกติดด้วยเส้นลวดและมีลิ้นปิด-เปิดอยู่ข้างใต้

bald head anticline; bald-headed anticline ชั้นหินโค้งรูปประทุนยอดขาด : ชั้นหินโค้งรูปประทุนที่ส่วนโค้งด้านบนกร่อนออกไปแล้วมีตะกอนตกทับถมภายหลัง ทำให้เกิดเป็นรอยชั้นไม่ต่อเนื่อง มักเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

blanket sand; sheet sand ชั้นทรายผืนแผ่น : ชั้นทรายหรือชั้นหินทรายซึ่งมักเป็นพวกหินทรายออร์โทควอร์ตไซต์ (orthoquartzitic sandstone) ที่วางตัวแผ่กระจายออกไปเป็นบริเวณกว้าง เกิดจากการรุกล้ำของน้ำทะเลขึ้นมาบนแผ่นดินและแผ่กว้างออกไปเป็นระยะทางไกล ๆ

barite แบไรต์ : แร่ชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี BaSO4 มักมีสตรอนเชียมและแคลเซียมด้วย มีสีขาว เหลือง หรือไม่มีสี รูปผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง เกิดเป็นผลึกรูปแบนหนา มวลเม็ด หรือมวลเนื้อแน่นคล้ายหินอ่อน มีความถ่วงจำเพาะ ๔.๕ ใช้ผสมในสี โคลนเจาะ และใช้เป็นตัวเติม ในกระดาษและสิ่งทอ เป็นสินแร่หลักของแบเรียม

barrels of oil equivalent (BOE) บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ (บีโออี) : ปริมาณของเหลวรวมกับปริมาณแก๊ส ซึ่งแก๊สได้ถูกปรับเทียบเป็นปริมาณของเหลวแล้ว

โดยใช้หลักแก๊ส ๖,๐๐๐ ลูกบาศก์ฟุต เท่ากับน้ำมันดิบ ๑ บาร์เรล หรือ ๑๕๘ ลิตร

barrier boundary ขอบเขตกั้นน้ำ : ขอบเขตของชั้นน้ำในระบบชั้นน้ำซึ่งมักเป็นหินแข็ง และจัดเป็นเขตสิ้นสุดของแหล่งให้น้ำนั้น

basal conglomerate หินกรวดมนฐาน : หินกรวดมนที่มีลักษณะเด่นคือ มีการคัดขนาดดีและประกอบด้วยหินชนิดเดียวกัน โดยเกิดอยู่ในหน่วยหินชั้นล่างสุดของชุดหินหนึ่ง ๆ และวางตัวอยู่บนพื้นหินที่ถูกกร่อน จึงเป็นตัวกำหนดความไม่ต่อเนื่องของชั้นหิน

base flow recession การลดลงของน้ำคงที่ : อัตราการไหลของน้ำคงที่ที่ลดลง ซึ่งเกิดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยทั่วไปการลดลงของอัตราการไหลของน้ำคงที่จะเป็นแบบเอกซ์โพเนนเชียล (exponential)

base flow การไหลของน้ำคงที่ : การไหลของน้ำสู่แม่น้ำอันเป็นผลจากการไหลซึมของน้ำบาดาล ดู effluent stream และ influent stream; losing stream ประกอบ 

base map แผนที่ฐาน : แผนที่ที่แสดงจุดต่าง ๆ ที่จำเป็นไว้เพื่อใช้เป็นจุดอ้างอิงของตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ และสามารถนำข้อมูลชนิดอื่น ๆ มาเขียนหรือพิมพ์ทับลงในแผนที่นี้สำหรับใช้งานเฉพาะวัตถุประสงค์ใดวัตถุประสงค์หนึ่งได้ โดยเฉพาะแผนที่ภูมิประเทศ ซึ่งนำไปใช้บันทึกข้อมูลทางธรณีวิทยา

base station สถานีหลัก : ตำแหน่งอ้างอิงซึ่งใช้เป็นหลักของการสำรวจวัด โดยการโยงค่าด้วยวิธีการต่าง ๆ ไปยังจุดสำรวจตำแหน่งอื่น ๆ ตัวเลขของการสำรวจวัดที่ตำแหน่งนี้เป็นค่าที่มีความแม่นสูง เช่น สถานีหลักค่าความโน้มถ่วง (gravity base station)

basin order ลำดับลุ่มน้ำ : การจำแนกลุ่มน้ำตามการระบายน้ำของทางน้ำ เช่น ลุ่มน้ำลำดับที่ ๑ ประกอบด้วยบริเวณลุ่มน้ำทั้งหมดของลำดับทางน้ำที่ ๑ และระบายน้ำในลุ่มน้ำลงสู่ทางน้ำลำดับที่ ๒ เป็นลำดับจนถึงปากน้ำ

bathyal ช่วงความลึกขั้นลาดทวีป : คำที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมของการสะสมตัวและสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตในมหาสมุทรที่ระดับความลึกระหว่าง ๒๐๐ เมตร หรือ

จากขอบไหล่ทวีปกับ ๒,๐๐๐ เมตร เป็นสภาวะแวดล้อมระหว่างเขตทะเลตื้นกับก้นสมุทร ดู neritic และ abyssal ประกอบ ดูรูปที่ continental slope 

bathylimnion; hypolimnion ชั้นน้ำส่วนล่าง : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

B/D Interglacial ช่วงคั่นไบเบอร์/โดเนา : ดู Tiglian 

beak จะงอยเปลือก : ส่วนของเปลือกหอยกาบคู่และแบรคิโอพอดซึ่งอยู่ตรงขอบด้านท้ายสุด ใกล้กับแนวหับเผย มีลักษณะเป็นมุมแหลมงองุ้มเข้าหากันอยู่เหนือแนวหับเผย ยกเว้นแบรคิโอพอดจะพบเฉพาะในฝาใหญ่ ส่วนของจะงอยเปลือกจะต่อเนื่องกับขั้วเปลือก (umbo) แต่บางครั้งตำแหน่งของขั้วเปลือกอาจเลื่อนสูงขึ้นมาจนอยู่ในตำแหน่งเดียวกันได้ดังเช่นที่พบในหอยกาบคู่บางชนิด ดูรูปประกอบที่ brachial valve 

bearing แบริง : การวัดมุมแนวนอน ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยวัดจากแนวเหนือหรือใต้ไปทางตะวันออกหรือตะวันตก มุมแบริงของแนวใด ๆ ต้องนับขนาดของมุมจากทิศเหนือหรือใต้เสมอ ซึ่งมีค่าไม่เกิน ๙๐ องศา เช่น วัดจากทิศใต้ไปทางตะวันออกเป็นมุม ๕๐ องศา ก็เรียกว่า แนวนั้นมีมุมแบริงใต้ ๕๐ องศาตะวันออก (S 50E)

Becke line เส้นเบคเคอ : เส้นขอบระหว่างวัสดุ ๒ ชนิดที่มีค่าดรรชนีหักเหต่างกัน ใช้ในการตรวจสอบว่าวัสดุใดมีค่าดรรชนีหักเหสูงกว่ากัน เส้นนี้ได้จากการดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ชนิดโพลาไรซ์ เป็นเส้นแสงสว่างอยู่ระหว่างขอบวัสดุ เส้นแสงสว่างหรือเส้นเบคเคอนี้จะเคลื่อนเข้าหาวัสดุที่มีค่าดรรชนีหักเหสูงกว่าเสมอ เมื่อเลื่อนหรือหมุนฐานกล้องให้ลดต่ำลงหรือเลื่อนลำกล้องสูงขึ้น ซึ่งขึ้นกับกรรมวิธีการโฟกัสภาพ หากวัสดุทั้ง ๒ มีค่าดรรชนีหักเหเท่ากัน เส้นเบคเคอจะไม่ปรากฏ คำนี้ได้มาจากชื่อของนักวิทยาแร่ F. Becke

beetle stone หินลายเต่าทอง : ดู septarium ความหมายที่ ๑ 

beidellite ไบเดลไลต์ : แร่ดินในกลุ่มสเมกไทต์ มีปริมาณอะลูมินัมสูง เป็นส่วนประกอบทั่วไปของดิน และในแหล่งสะสมในชั้นตะกอนดินเหนียว

bench mark หมุดระดับ : หมุดเครื่องหมายแสดงจุดที่ทราบความสูงหรือต่ำจากระดับอ้างอิง ซึ่งปรากฏอยู่บนวัตถุถาวรที่มีอยู่ตามธรรมชาติหรือที่สร้างขึ้น

beneficiation การปรับปรุงคุณภาพ : การทำให้แร่หรือถ่านหินมีคุณภาพสูงขึ้นโดยวิธีการต่าง ๆ เช่น การลอยแร่ การแยกด้วยความถ่วง การย่างหรือเผา หรือกระบวนการอื่น ๆ มีความหมายเหมือนกับ ore dressing 

bentonite เบนทอไนต์ : ดินที่ประกอบด้วยแร่ดินกลุ่มสเมกไทต์เป็นส่วนใหญ่ ก่อนแต่งให้ละเอียดอาจมีสีเหลืองอมน้ำตาล สีเขียว สีเขียวอมน้ำเงิน สีน้ำเงิน หรือสีชมพู เบนทอไนต์ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจโดยทั่วไปจะมีสีเหลืองอมน้ำตาลหรือสีแดงอ่อน เบนทอไนต์แบ่งออกได้ ๓ ชนิด คือ ๑. ชนิดพองตัวมาก ใช้ทำโคลนเจาะในการเจาะสำรวจ ทำแบบหล่อทราย เป็นต้น ๒. ชนิดไม่พองตัวหรือพองตัวได้น้อย ใช้ดูดซับน้ำมันและฟอกสี เป็นต้น ๓. ชนิดที่ทำหน้าที่เป็นสารเติมแต่งในสารเคลือบผิว เช่น หมึกพิมพ์ หรือเป็นสารควบคุมการไหลของพอลิเมอร์ในสารเคลือบผิว

Bertrand lens เลนส์เบอร์ทรันด์ : เลนส์ชนิดหนึ่งซึ่งติดตั้งอยู่ในกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ เพื่อใช้ในการตรวจสอบคุณลักษณะทางแสง จำนวนแกนแสง และรูปแทรกสอดของแร่

BHP (bottom hole pressure) บีเอชพี (ความดันก้นหลุม) : ดู bottom hole pressure (BHP) 

Biber ช่วงไบเบอร์ : ธารน้ำแข็งสมัยไพลโอซีนที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปตอนกลาง ในช่วงเวลาระหว่าง ๒.๔๐-๒.๑๐ ล้านปี ตามด้วยช่วงคั่นไบเบอร์/โดเนา ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

binary granite หินแกรนิตทวิภาค : ๑. หินแกรนิตที่ประกอบด้วยควอตซ์และเฟลด์สปาร์เท่านั้น ๒. หินแกรนิตที่ประกอบด้วยไมกาทั้ง ๒ ชนิดคือ แร่ไบโอไทต์และ มัสโคไวต์

biogenic gas แก๊สชีวภาพ : แก๊สอุณหภูมิต่ำที่เกิดจากการย่อยสลายตะกอนอินทรีย์โดยแบคทีเรียชนิดที่ไม่ใช้ออกซิเจน

biology ชีววิทยา : วิชาที่ศึกษาเกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตทั้งหมด โดยเฉพาะพวกที่มีชีวิตอยู่ในปัจจุบันซึ่งจะครอบคลุมทั้งวิชานวชีวินวิทยา (neontology) และบรรพชีวินวิทยา (paleontology) แต่ส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปที่ชีววิทยาปัจจุบัน

biomicite หินไบโอมิไครต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกซากดึกดำบรรพ์และเม็ดกลมเล็กในอัตราส่วนมากกว่า ๓ ต่อ ๑ มีอินทราคลาสต์น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ มีเม็ดแบบไข่ปลาน้อยกว่าร้อยละ ๒๕ และมีเนื้อพื้นพวกมิไครต์มากกว่าวัตถุประสานพวกสปาไรต์ ดู allochem, pellet, micrite, sparite และ pelsparite ประกอบ 

bionomics : ดู ecology 

biosparite หินไบโอสปาไรต์ : หินปูนที่ประกอบด้วยมวลรวมคาร์บอเนตจำพวกซากดึกดำบรรพ์และเม็ดกลมเล็กในอัตราส่วนมากกว่า ๓ ต่อ ๑ มีอินทราคลาสต์น้อยกว่าร้อยละ ๒๕ มีเม็ดแบบไข่ปลาน้อยกว่าร้อยละ ๒๕ และมีวัตถุประสานพวกสปาไรต์มากกว่าเนื้อพื้นพวกมิไครต์ ดู allochem, pellet, micrite, sparite และ pelsparite ประกอบ 

biostratinomy; biostratonomy ประวัติซากชีวภาพ : ดู biostratonomy; biostratinomy 

biostratonomy; biostratinomyประวัติซากชีวภาพ : วิชาบรรพกาลนิเวศวิทยาสาขาหนึ่งซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างซากสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมทั้งก่อนถูกกลบฝังและหลังการกลบฝัง ดู taphonomy และ Fossildiagenese ประกอบ 

biotope เขตชีวชาติ : ในพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา หน้า ๕๗-๕๘

biotype ไบโอไทป์, แบบฉบับสิ่งมีชีวิต : กลุ่มของสิ่งมีชีวิตซึ่งมีลักษณะโครงสร้างทางพันธุกรรมเหมือนกันทุกประการ

bipole-dipole array แถวลำดับขนาน : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะและการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ โดยจัดวางขั้วไฟฟ้าให้เส้น

ลากต่อระหว่างขั้วไฟฟ้าวางตัวขนานกันและตั้งฉากกับเส้นลากต่อระหว่างจุดกึ่งกลางขั้วไฟฟ้า ระยะระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้า (AB) ห่างกันมากกว่าระยะระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า (MN) A, B คือ ขั้วกระแสไฟฟ้า M, N คือ ขั้วศักย์ไฟฟ้า r คือ ระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางขั้วกระแสไฟฟ้ากับจุดกึ่งกลางขั้วศักย์ไฟฟ้า

bit; drill bit หัวเจาะ : อุปกรณ์ส่วนที่อยู่ปลายสุดของระบบก้านเจาะ ใช้ในการกัดบดหินเพื่อให้เกิดหลุมลึกลงไป หัวเจาะมีฟันทำด้วยเหล็กกล้าหรือฝังด้วยวัสดุที่มีความแข็งมาก และยังมีรูเล็ก ๆ เพื่อให้โคลนเจาะไหลฉีดออกมาด้วยความแรงเพื่อช่วยกัดเซาะหิน หล่อลื่น และลดอุณหภูมิในระหว่างการเจาะ หัวเจาะที่มีฟันทำด้วยเหล็กกล้าหรือฝังด้วยทังสเตนคาร์ไบด์ เรียกว่า หัวเจาะหิน (rock bit) หรือฝังด้วยเพชรอุตสาหกรรม เรียกว่า หัวเจาะฝังเพชร (diamond bit) นอกจากนี้ยังมีหัวเจาะชนิดอื่น ๆ อีก เช่น หัวเจาะหางปลา (fishtail bit) หัวเจาะกระแทก (chopping bit) หัวเจาะสว่าน (cutter head)

bituminous coal ถ่านหินบิทูมินัส : ถ่านหินชนิดหนึ่งอยู่ระหว่างถ่านหินซับบิทูมินัสกับแอนทราไซต์ มีสารระเหย (volatile matter) ประกอบอยู่ในเนื้อตั้งแต่ร้อยละ ๑๕-๒๐ สีน้ำตาลถึงดำ เมื่อเผาให้ควันมาก

bivalve ๑. -ฝาคู่ : คำที่ใช้หมายถึงมีสองฝา ๒. สัตว์ฝาคู่ : สัตว์ซึ่งมีโครงร่างเป็นเปลือกสองฝาประกบเข้าด้วยกันเพื่อป้องกันร่างกายอ่อนนุ่มที่อยู่ภายใน ฝาทั้งสองอาจมีขนาดเท่ากันหรือเกือบเท่ากันก็ได้ สามารถดึงเปิดปิดได้ โดยเฉพาะหมายถึงสัตว์จำพวกหอยกาบคู่ (class Pelecypoda) ซึ่งรวมพวกหอยกาบ หอยนางรม หอยแครง หอยแมลงภู่ หอยกระพง ดู univalve และ pelecypod ประกอบ 

bivalve สัตว์เปลือกสองฝา : (รอเขียนคำอธิบาย)

blackdamp; chokedamp แก๊สไม่ระเบิด : แก๊สในเหมืองถ่านหินที่ไม่ระเบิดแม้จุดประกายไฟ ประกอบด้วยคาร์บอนไดออกไซด์ร้อยละ ๑๕ และไนโตรเจนร้อยละ ๘๕ มีความหมายตรงข้ามกับ firedamp 

bleached jadeite หยกฟอกสี : หยกที่ผ่านการเพิ่มคุณภาพ โดยทั่วไปนำหยกไปใส่ในกรดเกลือเพื่อกำจัดสีน้ำตาลจากคราบสนิมเหล็กก่อน แล้วนำไปทำให้เอิบชุ่มด้วยขี้ผึ้ง สารเคลือบ หรือสารพอลิเมอร์ แล้วปล่อยให้แข็งตัว ในเชิงพาณิชย์เรียกหยกฟอกสีว่า หยกเกรดบี (B jade)

bleeding core แท่งหินชุ่ม : แท่งหินตัวอย่างที่ได้จากการเจาะซึ่งมีน้ำมันหรือแก๊สอยู่ในช่องว่างหรือรอยแตก

blende เบลนด์ : ๑. ดู sphalerite ๒. แร่ใด ๆ (โดยมากเป็นพวกแร่โลหะซัลไฟด์) ที่มีความวาวสูงหรือวาวแบบยางสน แต่ไม่ใช่วาวอโลหะ เช่น สังกะสีเบลนด์ แอนทิโมนีเบลนด์ บิสมัทเบลนด์ แคดเมียมเบลนด์ พิตซ์เบลนด์ และฮอร์นเบลนด์ คำว่า blende เป็นคำภาษาเยอรมัน หมายถึง ผู้หลอกลวง

bloodstone หินเลือดประ : ดู Heliotrope 

boart; boort; bort บอร์ต : ดู bort; boart; boort 

BOE (barrels of oil equivalent) บีโออี (บาร์เรลเทียบเท่าน้ำมันดิบ) : ดู barrels of oil equivalent (BOE) 

bomb; volcanic bomb บอมบ์ภูเขาไฟ : ดู volcanic bomb; bomb 

bort; boart; boort บอร์ต : ๑. มวลรวมซึ่งประกอบด้วยผลึกเพชรที่ตกผลึกไม่สมบูรณ์ มักเกิดเป็นทรงกลมที่มีโครงสร้างเป็นเส้นใยแบบรัศมี ๒. เพชรอุตสาหกรรมคุณภาพต่ำสุด ลักษณะขุ่นมากหรือมีสีที่ตลาดไม่ต้องการ (off–color) จนทำให้เหมาะสำหรับบดเป็นสารขัดถูเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมเท่านั้น เช่น ใบเลื่อยฝังเพชร หัวเจาะฝังเพชร แป้นเจียระไน

๓. สมัยก่อนใช้ในความหมายเหมือนกับคำ carbonado มีความหมายเหมือนกับ bortz และ bowr 

boss บอสส์ : ๑. เนินกลมเรียบที่เกิดจากหินซึ่งทนทานต่อการกร่อนหรือการผุพัง ปรกติจะ ไม่มีดินและพืชปกคลุม ๒. โครงสร้างที่เหมือนปุ่มยื่นออกมาของพวกฟอแรมินิเฟอรา แกสโทรพอด (gastropod) และสัตว์ที่มีลักษณะคล้ายเม่นทะเล (echinoid) ๓. ดู stock 

bottom hole pressure (BHP) ความดันก้นหลุม (บีเอชพี) : ความดันที่เกิดขึ้นในหลุมเจาะหรือชั้นหินที่กักเก็บ ซึ่งสามารถวัดในขณะที่เปิดวาล์วเป็นความดันขณะไหล หรือปิดวาล์วเพื่อวัดอัตราการสะสมความดันที่เพิ่มขึ้น ในระหว่างการทดสอบ ดู reservoir pressure ประกอบ 

boudinage; sausage structure โครงสร้างแบบไส้กรอก : โครงสร้างในหินชั้นและหินแปรที่เกิดจากการเปลี่ยนลักษณะอย่างรุนแรง จนชั้นหินเดิมที่มีเนื้อเหนียวหรือชั้นหินที่อยู่ระหว่างชั้นหินที่มีเนื้อเหนียวน้อยกว่าถูกดึงยืดจนคอดหรือขาดเป็นช่วง ๆ มีรูปร่างคล้ายไส้กรอก

Bouguer anomaly ค่าผิดปรกติบูแกร์ : ค่าความโน้มถ่วงผิดปรกติ ณ จุดใดจุดหนึ่ง ซึ่งเป็นค่าความแตกต่างระหว่างค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้ทางทฤษฎีกับค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้จริง โดยได้แก้ค่าบูแกร์แล้ว ดู Bouguer correction ประกอบ 

Bouguer correction การแก้ค่าบูแกร์ : การแก้ไขค่าความโน้มถ่วงที่วัดได้โดยแก้ไขที่ระดับความสูงของสถานีวัดสู่ระดับน้ำทะเล รวมกับการแก้ไขเนื่องจากมวลสารของตำแหน่งที่วัด

boulder train แนวก้อนหินธารน้ำแข็ง : แนวก้อนหินมนใหญ่และเล็กที่ธารน้ำแข็งพามาและตกทับถมตามทางผ่าน แนวก้อนหินอาจมีระยะทางยาวได้หลายกิโลเมตรตามขนาดและทิศทางการเคลื่อนที่ของธารน้ำแข็ง ดู boulder belt และ boulder fan ประกอบ 

Bowens reaction series อนุกรมปฏิกิริยาโบเวน : ปฏิกิริยาที่เกิดระหว่างการตกผลึกของหินหนืดตามลำดับขั้นของอุณหภูมิ โดยที่แร่ซึ่งเกิดก่อนจะทำปฏิกิริยากับสารหลอมละลายก่อนการแยกตัว ทำให้เกิดแร่ใหม่ขึ้น โดยทั่วไปปฏิกิริยานี้มี ๒ แบบ คือ แบบต่อเนื่อง และไม่ต่อเนื่อง แบบต่อเนื่องเป็นการเกิดของแร่เฟลด์สปาร์กลุ่มแพลจิโอเคลส ผลึกที่ตกก่อน ณ อุณหภูมิสูงกว่า จะเป็นพวกที่มีแคลเซียมสูง และเมื่ออุณหภูมิลดต่ำลงเรื่อย ๆ ผลึกที่ตกต่อมาจะมีปริมาณแคลเซียมลดลง โดยในขณะเดียวกันปริมาณโซเดียมจะเพิ่มขึ้นแทนจนเป็นพวกที่มีโซเดียมสูง สำหรับแบบไม่ต่อเนื่องเป็นการตกผลึกของแร่พวกเหล็ก-แมกนีเซียม เช่น แร่โอลิวีนทำปฏิกิริยากับสารหลอมละลายได้แร่ไพรอกซีน แร่ไพรอกซีนทำปฏิกิริยากับสารหลอมละลายได้แร่แอมฟิโบล แร่ในอนุกรมปฏิกิริยาทั้งสองจะตกผลึกด้วยกันที่อุณหภูมิสูง เช่น ในหินแกบโบรพบแร่โอลิวีน ไพรอกซีน และแคลเซียมเฟลด์สปาร์ ที่อุณหภูมิต่ำกว่า เช่น ในหินแกรนิต พบแร่ไมกา เฟลด์สปาร์ที่มีโซเดียมสูง และควอตซ์ อนุกรมนี้เสนอโดย Norman L. Bowen อนุกรมปฏิกิริยาโบเวน

brach; brachiopod แบรคิโอพอด : ดู brachiopod; brach 

brachial valve ฝาเล็ก : เปลือกหรือฝาด้านหนึ่งของแบรคิโอพอด มีขนาดเล็กกว่าอีกฝาหนึ่ง ไม่มีรูเปิดให้กล้ามเนื้อที่ทำหน้าที่สำหรับยึดเกาะยื่นออกมา

brachial -ส่วนคล้ายแขน : คำที่เกี่ยวข้องกับแขนหรือโครงสร้างคล้ายแขนของสัตว์ เช่น แขนของปลาดาว อวัยวะกรองอาหารหรือวงหนวด (lophophore) ของแบรคิโอพอด

brachiopod; brach แบรคิโอพอด : สัตว์น้ำเค็มไม่มีกระดูกสันหลัง จัดอยู่ในไฟลัมแบรคิโอโพดา มีลักษณะเฉพาะคือ มีเปลือกสองฝา มีสมมาตรด้านข้างหรือสมมาตรสองซีก ฝาที่มีขนาดใหญ่กว่ามีรูเปิดบริเวณหับเผยเพื่อให้กล้ามเนื้อสำหรับยึดเกาะยื่นออกมา ส่วนฝาตรงข้ามซึ่งมีขนาดเล็กกว่าไม่มีรูเปิด ฝาทั้งสองประกบกันด้วยสันหรือร่องซึ่งอยู่บนแนวหับเผย เรียกว่า แง่สบเปลือก หรือประกบด้วยกล้ามเนื้อดึงฝาปิดและกล้ามเนื้อดึงฝาเปิด แบรคิโอพอดเป็นสัตว์เกาะติดที่โดยใช้กล้ามเนื้อยึดหรือเชื่อมติดกับวัสดุท้องน้ำ กินอาหารโดยการกรองผ่านอวัยวะกรองอาหารหรือ

วงหนวด (lophophore) ซึ่งมีลักษณะเป็นขนเซลล์ อาศัยอยู่ได้ในน้ำลึกตั้งแต่ระดับเขตน้ำขึ้นลงจนถึงระดับก้นสมุทร มีช่วงอายุตั้งแต่ยุคแคมเบรียนตอนปลายจนถึงปัจจุบัน มีความหมายเหมือนกับ lamp shell 

breached anticline ชั้นหินโค้งรูปประทุนกร่อน : ชั้นหินโค้งรูปประทุนที่ยอดหรือบริเวณส่วนกลางถูกกัดเซาะลึกลงไปมาก เหลืออยู่เฉพาะขอบ ดู bald-headed anticline ประกอบ 

brecciation การเกิดหินกรวดเหลี่ยม : การที่หินดั้งเดิมถูกบดอัดจนแตกออกเป็นเศษหิน โดยมากมีลักษณะเป็นเหลี่ยม ดู tectonic breccia ประกอบ 

brown clay เคลย์น้ำตาล : ดู red clay 

bryozoan ไบรโอโซแอน : สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ไฟลัมไบรโอซัว (Phylum Bryozoa) ส่วนใหญ่เป็นสัตว์น้ำเค็ม มีขนาดเล็ก ความยาวไม่เกิน ๑ มิลลิเมตร มีลักษณะเฉพาะคือ เป็นสัตว์ที่มีรูปร่างแบนหนา หรือถุง แต่ละตัวเจริญเติบโตเชื่อมต่อกันเป็นโครงร่างที่แตกกิ่งก้านสาขาคล้ายกิ่งไม้ มีโพรงในลำตัว มีหนวดเชื่อมต่อกับอวัยวะกรองอาหารหรือวงหนวดซึ่งมีลักษณะเป็นวงกลม หรือเป็นรูปเกือกม้า มีอายุอยู่ในช่วงยุคออร์โดวิเชียนหรืออาจเก่าลงไปถึงยุคแคมเบรียนจนถึงปัจจุบัน มีความหมายเหมือนกับ moss animal และ polyzoan 

bubble point จุดเกิดฟอง : ความดัน ณ จุดที่แก๊สที่ละลายอยู่ในน้ำมันดิบแยกเป็นอิสระได้

bullion บุลเลียน : ๑. มวลสารพอกที่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่เป็นเซนติเมตรจนถึงเป็นเมตร พบในถ่านหินบางชนิด มวลสารนี้ประกอบด้วยคาร์บอเนตหรือซิลิกาที่เคลือบด้วยฮิวมัสสีน้ำตาล มักพบโครงสร้างพืชชัดเจนในใจกลางของมวลสารพอก ดู coal ball ประกอบ ๒. ก้อนทรงมนของเคลย์ หรือ แร่ไพไรต์ หินเหล็ก หินดินดาน ที่หุ้มซากดึกดำบรรพ์

buttress sand ชั้นทรายเกยทับ : ชั้นหินทรายที่ทับถมเกยทับอยู่บนรอยชั้นไม่ต่อเนื่องเชิงมุมที่อยู่ด้านล่างหรือขอบของเนินที่ถูกฝัง มักเป็นแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

cable tool drilling การเจาะแบบสายสลิง : วิธีการเจาะแบบหนึ่งซึ่งใช้หัวเจาะกระแทกหรือหัวเจาะรูปสิ่ว โดยใช้สายสลิงยกหัวเจาะขึ้นและปล่อยลงมาให้กระแทกหรือตัดหินออก เศษชิ้นของหินในหลุมเจาะจะถูกนำขึ้นมาโดยใช้กระบอกเก็บตัวอย่าง

Cainozoic Era มหายุคไคโนโซอิ

calcilutite หินปูนเนื้อแป้ง : หินปูนหรือหินโดโลไมต์ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนหินคาร์บอเนตที่มีขนาดละเอียดมากขนาดทรายแป้งและ/หรือขนาดเคลย์ หรือมีเม็ดดินมากกว่าร้อยละ ๕๐ ดู calcarenite และ calcirudite ประกอบ 

calcimicrite หินปูนจุลผลึก : หินปูนชนิดหนึ่งประกอบด้วยอนุภาคขนาดเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๒๐ ไมครอน เนื้อปูนประกอบด้วยองค์ประกอบจุลผลึกมากกว่าองค์ประกอบมวลรวมคาร์บอเนต

calcirudite หินปูนเนื้อกรวด : หินปูนหรือหินโดโลไมต์ซึ่งประกอบด้วยชิ้นส่วนหินคาร์บอเนตที่มีขนาดใหญ่กว่าเม็ดทราย (ใหญ่กว่า ๒ มิลลิเมตร) มากกว่าร้อยละ ๕๐ ดู calcarenite และ calcilutite ประกอบ 

calcitization การแทนที่ด้วยแคลไซต์ : ๑. กระบวนการแทนที่ด้วยแคลไซต์ เช่น การเปลี่ยนแปลงจากแร่อะราโกไนต์เป็นแร่แคลไซต์ ๒. การเปลี่ยนแปลงจากหินเดิมเป็นหินปูน โดยการแทนที่อนุภาคแร่เดิมด้วย แร่แคลไซต์ เช่น แคลไซต์เข้าแทนที่โดโลไมต์ในหินโดโลไมต์ หรือเข้าแทนที่เฟลด์สปาร์ในหินแกรนิต และควอตซ์ในหินทราย ๓. กระบวนการเกิดซากดึกดำบรรพ์แบบที่ส่วนประกอบต้นกำเนิดอินทรีย์ถูกแทนที่ด้วยแร่คาร์บอเนต เช่น แคลไซต์เข้าแทนที่สารซิลิกาในโครงหนามของฟองน้ำ หรือแร่คาร์บอเนตอื่น ๆ เช่น โดโลไมต์ ซิเดอไรต์ โรโดโครไซต์ ที่บางครั้งพบเข้าแทนที่สารอินทรีย์ได้เหมือนกัน ดู dolomitization ประกอบ 

calcium carbonate แคลเซียมคาร์บอเนต : สารประกอบที่ประกอบด้วยธาตุแคลเซียม คาร์บอน และออกซิเจน มีสูตรเคมี CaCO3 เกิดตามธรรมชาติในรูปของแร่แคลไซต์และอะราโกไนต์ เป็นส่วนประกอบส่วนใหญ่ของหินปูน ดู calcite และ aragonite ประกอบ 

camber การย้วยของปลายชั้นหิน : โครงสร้างบนพื้นผิวในบริเวณที่ชั้นหินแข็งวางตัวในแนวราบ เกิดจากด้านข้างของชั้นหินแข็งที่โผล่ตัวโค้งย้วยลงตามแนวลาดของหุบเขา สาเหตุเกิดจากหินรองรับซึ่งมีลักษณะเป็นพลาสติกหรือมีเนื้ออ่อนกว่าชั้นหินเบื้องบนได้เลื่อนไหลออกไป เมื่อชั้นรองรับลดลงทำให้ชั้นหินย้วยตัวโค้งตามลงไป การย้วยตัวนี้ไม่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวของเปลือกโลกโดยตรง

cape แหลม : ส่วนใดส่วนหนึ่งของแผ่นดินที่ยื่นออกจากทวีปหรือเกาะขนาดใหญ่เข้าไปในทะเลหรือมหาสมุทร

capillarity การซึมตามรูเล็ก : การกระทำหรือสภาวะซึ่งทำให้ของเหลว เช่น น้ำถูกดึงขึ้นไปตามหลอดเล็ก ๆ ด้วยแรงดึงผิว

capillary water น้ำดูดซึม : น้ำที่ขังอยู่ในช่องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๕๐ ไมครอน ซึ่งน้ำจำนวนนี้มิได้เป็นประโยชน์ต่อพืชทั้งหมด เพราะน้ำที่ขังอยู่ในช่องขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางน้อยกว่า ๐.๒ ไมครอน นั้น พืชไม่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ ดังนั้นน้ำที่เป็นประโยชน์ต่อพืชจะไม่เป็นน้ำที่อยู่ในช่องที่มีขนาดระหว่าง ๐.๒–๕๐.๐ ไมครอน

cardinal fossula ช่องว่างคาร์ดินัล : ดูคำอธิบายใน cardinal septum 

cardinal septum ผนังแยกคาร์ดินัล : ผนังซึ่งแบ่งช่องว่างภายในลำตัวของปะการังเดี่ยว พัฒนาขึ้นเป็นชุดแรกในลักษณะของสมมาตรด้านข้าง ผนังแยกคาร์ดินัลแยกออกจากกันได้โดยมีผนังย่อยเกิดขึ้นขนาบอยู่ ๒ ข้างในลักษณะสมมาตรด้านข้างเช่นเดียวกัน ลักษณะของผนังแยกคาร์ดินัลสามารถใช้ในการจำแนกชนิดของปะการังได้วิธีหนึ่ง โดยผนังแยกคาร์ดินัลของกลุ่มปะการังหกช่อง (scleractinian) จะเจริญเติบโตเหมือนกันทั้งหมด แต่กลุ่มปะการังหน่อ (rugose coral) ผนังแยกคาร์ดินัลหนึ่งจะหยุดการเจริญเติบโตทำให้เกิดเป็นช่องว่างขนาดใหญ่ผิดปรกติขึ้นเรียกว่า ช่องว่างคาร์ดินัล (cardinal fossula)

cardinal tooth แง่สบเปลือกคาร์ดินัล : เดือยและร่องที่อยู่บนแนวหับเผยของสัตว์ที่มีเปลือกสองฝา เช่น หอยกาบคู่ (pelecypod) และแบรคิโอพอด มีหน้าที่ทำให้เปลือกทั้งสองประกบเข้าร่องกันพอดีไม่ลื่นหลุดออกจากกัน

cardinal –คาร์ดินัล : ๑. เกี่ยวกับบริเวณของแนวหับเผย (hinge line) ในสัตว์ที่มีเปลือกสองฝา เช่น หอยกาบคู่ ๒. เกี่ยวกับการแบ่งช่องว่างภายในลำตัวของกลุ่มปะการังเดี่ยว (solitary coral) ดู cardinal tooth และ cardinal septum ประกอบ 

ceramics เซรามิกส์ : วิชาที่ว่าด้วยวัสดุเซรามิก

cascade . หลั่นชั้นหิน : ชั้นหินที่โค้งงอเป็นกลุ่มของรอยคดโค้งนอนทับ ที่เลื่อนลงโดยแรงโน้มถ่วงตามด้านข้างของชั้นหินโค้งรูปประทุน ทำให้ชั้นหินลดหลั่นกันคล้ายขั้นบันได . หลั่นน้ำตก : กลุ่มของน้ำตกเล็ก ๆ ที่อยู่ชิดกัน หรือแก่งที่ชันมาก

catazone; katazone เขตแปรสภาพระดับลึก : บริเวณความลึกล่างสุดของการแปรสภาพของหิน เกิดในสภาพแวดล้อมที่มีทั้งความดันและอุณหภูมิสูง ที่ความลึก ๑๕–๕๐ กิโลเมตรจากผิวโลก ความดัน ๐.๕-๒.๐ จิกะพาสคัล (GPa) อุณหภูมิ ๕๐๐–๗๐๐ องศาเซลเซียส บริเวณนี้มวลหินพลูตอนเป็นหินแกรนิตไนส์ที่ถูกห้อมล้อมด้วยหินข้างเคียงที่เป็นหินแปรขั้นสูงถึงปานกลาง เช่น หินชีสต์เกรดสูง หินแกรนูไลต์ หินเอโคลไจต์ และหินแอมฟิโบไลต์ แนวการแปรสภาพสัมผัสกับหินข้างเคียงไม่ชัดเจน แต่ มีการเรียงตัวของแร่ในหินแปรขนานกับลายเนื้อหินแกรนิตไนส์ ทำให้สามารถเทียบเคียงได้ว่าการแทรกเกิดขึ้นพร้อมกับการแปรสัณฐานหรือเกิดก่อน

cauldron subsidence การยุบตัวรูปกระบุง : โครงสร้างหรือกระบวนการที่เป็นผลจากการทรุดตัวของแท่งหินรูปทรงกระบอก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒-๑๖ กิโลเมตร ลงตามรอยแตกรูปวงแหวนผนังชันลึกลงไปถึงแหล่งหินหนืด มักเกิดร่วมกับพนังวงแหวน

cay เกาะคีย์ : เกาะเล็ก ๆ ริมฝั่งทะเลตื้น หรือพืดหินใต้น้ำซึ่งเกิดจากการก่อตัวของปะการังหรือสันทรายที่โผล่พ้นน้ำ หรือเนินทรายลักษณะราบเรียบซึ่งเกิดจากการสะสมของทรายและเศษปะการังบนพืดหินราบ (reef flat) ที่อยู่ปริ่ม ๆ หรืออยู่สูงกว่าระดับทะเลสูงสุดเล็กน้อย คำนี้ใช้เฉพาะในหมู่เกาะเวสต์อินดีส (West Indies)

ซึ่งออกเสียงเป็นคีย์ (key) คำนี้มาจากภาษาสเปน cayo ซึ่งหมายถึงหาดทรายใต้น้ำ (shoal) หรือพืดหินใต้น้ำ (reef) ดู key ประกอบ 

CDP (common depth point) ซีดีพี (จุดความลึกร่วม) : ดู common depth point (CDP) 

Cenozoic Era* มหายุคซีโนโซอิก : มหายุคหนึ่งทางธรณีกาล อยู่ถัดขึ้นมาจากมหายุคมีโซโซอิก มีอายุตั้งแต่ ๖๖ ล้านปีมาแล้วจนถึงปัจจุบัน เป็นมหายุคที่สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมและไม้ดอกเจริญมาก หินที่เกิดในมหายุคนี้เรียกว่า หินมหายุคซีโนโซอิก (Cenozoic Erathem) มีความหมายเหมือนกับ Cainozoic Era ดู geologic time scale ประกอบ….

cephalon ส่วนหัว : ดูคำอธิบายใน trilobite 

chalcedony คาลซิโดนี : ควอตซ์เนื้อจุลผลึกมีลักษณะเป็นเสี้ยนหรือเส้นเล็ก ๆโปร่งแสง ความวาวคล้ายขี้ผึ้ง สีน้ำตาลและเทา เกิดจากสารละลายซึ่งเข้าไปสะสมตามช่องว่างของโพรงหิน มีหลายสีเรียกชื่อต่าง ๆ กัน ชนิดสีส้มอมแดง น้ำตาลแดง น้ำตาลส้ม เรียกคาร์เนเลียน สีน้ำตาลทึบหรือแดงทึบ เรียกว่าซาร์ด สีเขียวแอปเปิล เรียกคริโซเพรส ส่วนที่มีลายเป็นชั้นเรียกอะเกต ชนิดที่เนื้อพื้นสีเขียวมีจุดสีเลือดเรียกหินเลือดประ แต่ถ้ามีแนวลายเส้นตรงไม่คดโค้งอย่างอะเกตและมีสีเทาหรือเหลืองอ่อนเรียกว่า โอนิกซ์

chalcocite คาลโคไซต์ : แร่ทองแดงชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี Cu2S ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง มีเนื้อสมานแน่น สีดำถึงสีเทาตะกั่ว ผงสีดำปนเทา วาวแบบโลหะ ความแข็ง ๒-๒.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๕.๕-๕.๘ เกิดเป็นแร่ปฐมภูมิในสายแร่ร่วมกับบอร์ไนต์ คาลโคไพไรต์ และไพไรต์ และเกิดในเขตชะละลาย ประเทศไทยพบที่จังหวัดเพชรบูรณ์ สุโขทัย และเชียงราย เป็นสินแร่สำคัญชนิดหนึ่งของโลหะทองแดง

chalcophile element ธาตุคาลโคไฟล์ : ๑. ธาตุที่มักพบในแร่และสินแร่ซัลไฟด์ ๒. ธาตุที่พบมากในซัลไฟด์เฟสของอุกกาบาตและอาจพบมากในเนื้อโลกเมื่อเปรียบเทียบกับเปลือกโลกและแก่นโลก

chalcopyrite คาลโคไพไรต์ : แร่ทองแดงชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี CuFeS2 ผลึกอยู่ในระบบสองแกนเท่า สีทองเหลือง ผงสีดำปนเขียว วาวแบบโลหะ ความแข็ง ๓.๕-๔

ความถ่วงจำเพาะ ๔.๓ เกิดเป็นแร่ปฐมภูมิในสายแร่ร่วมกับไพไรต์ สฟาเลอไรต์ กาลีนา และบอร์ไนต์ เป็นสินแร่สำคัญที่สุดของโลหะทองแดง มีความหมายเหมือนกับ copper pyrite 

chalybite คาลีไบต์ : ดู siderite 

chaos หินบล็อกผสม : มวลหินที่ประกอบด้วยบล็อกขนาดใหญ่และขนาดเล็ก รูปร่างและอายุต่าง ๆ กัน มีเศษตะกอนขนาดละเอียดเล็กน้อย เกิดร่วมกับรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ ตัวอย่างเช่น หินบล็อกผสมแอมาร์โกซา (Amargosa Chaos) ที่แผ่กระจายในบริเวณหุบเขามรณะ (Death Valley) มลรัฐแคลิฟอร์เนีย ซึ่งบล็อกที่พบมีขนาดใหญ่ถึง ๘๐๐ เมตร ดู mélange ประกอบ 

chatoyancy การเหลือบแสง : ปรากฏการณ์การสะท้อนแสงของแร่โปร่งแสงบางชนิด ทำให้เกิดความวาวคล้ายไหมหรือคล้ายตาแมว มีลักษณะเป็นแถบแสงเหลือบตั้งฉากกับความยาวของเส้นใยหรือแนวของมลทิน เนื่องจากแร่นั้นประกอบด้วยเส้นใยรูปเข็มหรือรูปท่อ ช่องว่างที่เป็นแนวยาวคล้ายเสี้ยน หรือมลทินที่เรียงตัวขนานกัน การเหลือบแสงนี้พบได้ชัดเจนในแร่ที่เจียระไนแบบหลังเบี้ยโดยการจัดให้รับแสง เช่น แร่คริโซเบริลชนิดไพฑูรย์ (แก้วตาแมว) แร่ควอตซ์แทนที่แร่โครซิโดไลต์ (แก้วตาเสือ) ทัวร์มาลีนเบริล เซอร์คอน โอปอ

chelation คีเลชัน : การดึงหรือปล่อยไอออนของโลหะโดยโมเลกุลของสิ่งมีชีวิตหรือสารอินทรีย์ หรือการแลกเปลี่ยนเบสจากสารประกอบอินทรีย์ กระบวนการนี้เป็นปัจจัยสำคัญในการผุพังอยู่กับที่

chert ๑. หินเชิร์ต : หินชั้นเนื้อแน่น แข็ง เหนียว ผิวด้านถึงวาวเกือบคล้ายแก้ว มีรอยแตกแบบก้นหอยหรือคล้ายเสี้ยนไม้ ประกอบด้วยควอตซ์เนื้อจุรณผลึกหรือจุลผลึกประสานกัน อาจมีซิลิกาอสัณฐาน (โอพอล) ปนอยู่ด้วย บางครั้งมีสารมลทิน เช่น แคลไซต์ เหล็กออกไซด์ และซากสิ่งมีชีวิตอยู่ด้วย มีสีต่าง ๆ ถ้าสีเข้มเรียกว่า หินเหล็กไฟ สีแดงเรียกว่า แจสเพอร์ ลักษณะด้านคล้ายดินเผาเรียกว่า พอร์เซลลาไนต์ (porcellanite) ถ้ามีลักษณะด้าน สีเขียว เรียกว่า เพรส ๒. เชิร์ต : แร่ควอตซ์เนื้อจุรณผลึกชนิดหนึ่ง

chokedamp; blackdamp แก๊สไม่ระเบิด : ดู blackdamp; chokedamp 

chonolith หินอัคนีอสัณฐาน, หินอัคนีอรูป : มวลหินอัคนีแทรกซอนที่รูปร่างไม่แน่นอน จึงไม่สามารถจำแนกได้ว่าเป็นหินอัคนีรูปเห็ด พนัง หรือ พนังแทรกชั้น

Chordata คอร์ดาตา : ชื่อไฟลัมของกลุ่มสัตว์มีแกนสันหลัง (notochord) ซึ่งมีลักษณะเป็นแท่งยาว ค่อนข้างแข็งแต่ยืดหยุ่นได้ สำหรับพยุงร่างกาย มีแกนประสาท (nerve cord) ชนิดแกนเดี่ยว ลักษณะกลวง มีช่องเหงือกบริเวณลำคอในระยะตัวอ่อน แบ่งออกเป็น ๓ ไฟลัมย่อย คือ ไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาตาหรือทูนิคาตา (subphylum Urochordata or Tunicata) ซึ่งเป็นสัตว์น้ำเค็ม ลักษณะคล้ายฟองน้ำ ได้แก่ เพรียงหัวหอม (sea squirt) และเพรียงลอย (pelagic tunicate) ไฟลัมย่อยเซฟาโลคอร์ดาตา (subphylum Cephalochordata) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาและลำตัวใส ได้แก่ แหลนทะเล (amphioxus หรือ lancelet) และไฟลัมย่อยเวอร์ทีบราตาหรือเครนิอาตา (subphylum Vertebrata or Craniata) ซึ่งเป็นสัตว์ที่มีกระดูกสันหลังเข้ามาแทนที่แกนสันหลังและเป็นสัตว์กลุ่มใหญ่ในไฟลัมคอร์ดาตา การจำแนกสัตว์กลุ่มคอร์เดตในทางชีววิทยา บางครั้งอาจใช้คำว่า ไฟลัมย่อยโพรโทคอร์ดาตาแทนไฟลัมย่อยยูโรคอร์ดาตาและเซฟาโลคอร์ดาตาได้ และอาจรวมไฟลัมเฮมิคอร์ดาตาเข้าไว้ด้วย เนื่องจากมีลักษณะสำคัญของการจัดกลุ่มใกล้เคียงกัน แต่ทางบรรพชีวินวิทยายังคงแยกไฟลัมเฮมิคอร์ดาตาออกจากไฟลัมคอร์ดาตา เพราะเทอโรบรานซ์ในไฟลัมเฮมิคอร์ดาตามีความคล้ายกับสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังพวกแกรปโทไลต์ที่สูญพันธุ์ไปแล้วมากกว่ากลุ่มอื่น ๆ และได้จัดให้แกรปโทไลต์เป็นชั้น (class) หนึ่งในไฟลัมนี้

christmas tree อุปกรณ์ควบคุมการไหล : อุปกรณ์ที่ประกอบด้วยลิ้นควบคุม มาตรความดัน และระบบโช้ก ซึ่งจะติดตั้งไว้ที่ปากหลุมเพื่อควบคุมการไหลของน้ำมันและแก๊สหลังจากเจาะหลุมอุปกรณ์นี้ติดตั้งเมื่อความดันแหล่งกักเก็บมากพอที่จะดันให้ปิโตรเลียมไหลขึ้นมาได้ขณะทำการผลิต

chrome-mica โครมไมกา : ดู fuchsite 

chromite โครไมต์ : แร่โลหะสีน้ำตาล-ดำ ความวาวกึ่งโลหะ ทึบแสง ในกลุ่มแร่สปิเนล มีสูตรเคมี (Fe, Mg) (Cr, Al)2 O4 ระบบผลึกสามแกนเท่า มักพบรูปร่างเป็นรูปทรงแปดหน้า (octahedron) มีสมบัติแม่เหล็กเล็กน้อย ความแข็ง ๕.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๖ พบเป็นมวลสินแร่และฝังประในลานแร่ รวมทั้งพบ

เป็นแร่รองในหินเพริโดไทต์และเซอร์เพนทิไนต์ ประโยชน์สำคัญของแร่โครไมต์ คือ เป็นสินแร่ของโลหะโครเมียม

chronolith; chronolithologic unit; chronostratigraphic unit; time rock unit หน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาล : ดู chronostratigraphic unit; chronolith; chronolithologic unit; time rock unit 

chronostratigraphic unit; chronolith; chronolithologic unit; time rock unit หน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาล : มวลชั้นหินหรือชั้นตะกอนที่เกิดในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่งของธรณีกาล สามารถรวมเข้าเป็นหน่วยเดียวกันได้โดยอาศัยช่วงเวลาเกิดของชั้นหินหรือชั้นตะกอนนั้น ๆ เป็นเกณฑ์กำหนด หน่วยลำดับชั้นหินตามอายุกาลมีลำดับชั้นเรียงจากหน่วยใหญ่ไปหาหน่วยเล็กดังนี้ หินบรมยุค (eonothem) หินมหายุค (erathem) หินยุค (system) หินสมัย (series) หินช่วงอายุ (stage) และหินรุ่น (chronozone) มีความหมายเหมือนกับ time–stratigraphic unit 

chronology กาลวิทยา : วิชาที่ว่าด้วยการกำหนดอายุ การจัดลำดับอายุ และการจัดตารางของเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น

chronotaxy การลำดับเวลาเดียวกัน : การเรียงลำดับชั้นหินหรือลำดับชั้นซากดึกดำบรรพ์ หรือการเทียบสัมพันธ์ลำดับชั้นหินหรือลำดับชั้นซากดึกดำบรรพ์ โดยใช้เวลาที่ตรงกันหรือเท่ากันเป็นเครื่องกำหนด ดู homotaxy ประกอบ 

chrysoberyl คริโซเบริล : แร่ชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี BeAl2O4 ปรกติมีสีเหลือง เขียวอ่อน เทา ฟ้า หรือน้ำตาล ใช้เป็นรัตนชาติ ชนิดที่เจียระไนเป็นรูปหลังเบี้ยแล้วจะเห็นสายเหลือบพาดตั้งฉากกับแร่รูไทล์ที่เป็นเสี้ยนในผลึก แร่คริโซเบริลรู้จักกันดีทางการค้าว่า ไพฑูรย์หรือแก้วตาแมว ส่วนอีกชื่อหนึ่งที่เรียก อะเลกซานไดรต์ จะมีสีแดงถึงม่วงภายใต้แสงไฟหลอดไส้ทังสเตน และสีเขียวมรกตภายใต้แสงธรรมชาติ มีความหมายเหมือนกับ cymophane 

circulation การไหลเวียน : กระบวนการสูบอัดน้ำโคลนเจาะจากถังเก็บ ผ่านก้านเจาะลงไปในหลุมเจาะแล้วไหลย้อนกลับขึ้นมาสู่ถังเก็บในระหว่างการเจาะ

citrine ซิทริน : ควอตซ์ชนิดผลึก มีสีเหลืองทองหรือเหลืองมะนาว ส้ม และส้มอมน้ำตาล เนื่องจากเหล็ก(เฟร์ริก) ใช้เป็นรัตนชาติ ควอตซ์สีเหลืองนี้สีเหมือนโทแพซ

(บุษราคัมลังกา) มาก จึงทำให้เข้าใจผิดได้บ่อย มีการทำเลียนแบบซิทรินโดยนำแอมิทิสต์หรือควอตซ์สีควันไฟไปเผา ซิทรินเป็นพลอยประจำเดือนเกิดพฤศจิกายน คำว่า citrine มาจากคำในภาษาฝรั่งเศส ว่า “citron” ซึ่งแปลว่ามะนาว

clastic . –เศษหิน : ๑.๑ เกี่ยวกับหินหรือตะกอนที่ประกอบด้วยเศษชิ้นหินหรือแร่เดิมที่ถูกนำพามาจากแหล่งกำเนิดอื่น เช่น หินกรวดมน หินทราย หินดินดาน ๑.๒ ลักษณะเนื้อหินที่ประกอบด้วยเศษชิ้นหินหรือแร่จากแหล่งกำเนิดอื่น .๓ เกี่ยวกับตะกอนภูเขาไฟ (pyroclastic) .๔ เกี่ยวกับเศษหินชีวภาพ (bioclastic) . หินเนื้อประสม : ดู clastic rock 

clastic dike พนังเศษหิน : แผ่นหรือแท่งหินที่แทรกตัดชั้นหินตะกอน ประกอบด้วยวัสดุที่เป็นเศษหินชนิดต่าง ๆ ซึ่งได้จากชั้นหินที่รองรับอยู่ข้างล่างหรือวางตัวอยู่ข้างบน เช่น พนังหินทรายหรือพนังกรวดใหญ่

clastic rock หินเนื้อประสม : ๑. หินตะกอนที่ประกอบด้วยเศษชิ้นของหิน แร่ และซากสิ่งมีชีวิต ที่น้ำ ลม ธารน้ำแข็ง ฯลฯ นำพามาสะสมกัน ณ ที่ใดที่หนึ่ง โดยเนื้อตะกอนของหินเหล่านั้นยังคงสภาพเดิมอยู่ให้พิสูจน์ได้ เช่น หินทราย หินดินดาน มีความหมายเหมือนกับ clastic ๒. หินตะกอนภูเขาไฟ ดู pyroclastic rock; volcanic clastic ประกอบ ๓. หินเนื้อประสมชีวภาพ ๔. หินชิ้นรอยเลื่อน (cataclastic rock)

clastic ratio; detrital ratio อัตราส่วนชิ้นเศษหิน : สัดส่วนเปรียบเทียบความหนาหรือจำนวนร้อยละของหินเนื้อประสม เช่น หินกรวดมน หินทราย หินดินดาน กับหินเนื้อประสาน เช่น หินปูน หินเกลือระเหย ในหน่วยลำดับชั้นหินหนึ่ง ๆ

clay gouge; fault gouge ผงรอยเลื่อน : ดู fault gouge; clay gouge 

clinolimnion; mesolimnion; metalimnion ชั้นน้ำส่วนกลาง : ดูคำอธิบายใน epilimnion 

clod ชั้นหินร่วน : ชาวเหมืองใช้เรียกหินดินดาน หรือชั้นเคลย์ที่แตกร่วน ซึ่งมักพบใกล้ ๆ กับชั้นถ่านหิน

closure วงรอบ : ระยะห่างในแนวดิ่งระหว่างจุดสูงสุดของโครงสร้างแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมกับจุดไหลล้นเมื่อลากเส้นชั้นระดับในแผนที่โครงสร้างแล้วสามารถนำมาใช้คำนวณปริมาณสำรองของปิโตรเลียม

coal basin แอ่งถ่านหิน : แหล่งถ่านหินที่เกิดอยู่ในโครงสร้างรูปแอ่ง เช่น แอ่งถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง

coal bed methane (CBM) มีเทนชั้นถ่านหิน (ซีบีเอ็ม) : แก๊สธรรมชาติที่ประกอบด้วยมีเทนเป็นส่วนใหญ่สะสมตัวอยู่ในชั้นถ่านหิน เกิดจากกระบวนการทางชีวเคมีของจุลินทรีย์ หรือจากความร้อนที่เพิ่มขึ้นตามความลึกของชั้นถ่านหิน มีเทนที่เกิดขึ้นจะอยู่ในชั้นถ่านหินตามช่องว่างในรอยแตก

coal field แหล่งถ่านหิน : บริเวณหรือพื้นที่ที่พบถ่านหิน ดู coal basin ประกอบ 

coal gas แก๊สถ่านหิน : แก๊สเชื้อเพลิงที่ปรกติผลิตได้จากถ่านหินบิทูนัสที่มีสารระเหยสูง มีส่วนประกอบเฉลี่ยคือ ไฮโดรเจนร้อยละ ๕๐ มีเทนร้อยละ ๓๐ คาร์บอนมอนอกไซด์ร้อยละ ๘ ไฮโดรคาร์บอนอื่น ๆ ร้อยละ ๔ และอื่น ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ ไนโตรเจน ออกซิเจน ร้อยละ ๘ ถ้าผลิตจากถ่านหินชนิดอื่นจะมีส่วนประกอบของแก๊สที่แตกต่างออกไป ดู gas coal ประกอบ 

coal gasification การแปรสภาพถ่านหินเป็นแก๊ส : กรรมวิธีในการเปลี่ยนสภาพถ่านหินให้เป็นแก๊ส เช่น มีเทนจากถ่านหินโดยความร้อน

coal mine methane (CMM) มีเทนเหมืองถ่านหิน (ซีเอ็มเอ็ม) : แก๊สมีเทนในชั้นถ่านหินที่ถูกปลดปล่อยออกมาจากการทำเหมืองเปิดหรือเหมืองใต้ดิน เป็นสาเหตุให้เหมืองเกิดการระเบิดหรือลุกไหม้ จัดเป็นแก๊สเรือนกระจกด้วยชนิดหนึ่ง

coal plant พืชถ่านหิน : ซากดึกดำบรรพ์ของพืชที่พบหรือเป็นส่วนที่ทำให้เกิดชั้นถ่านหินในชุดถ่านหิน

coal ถ่านหิน : หินตะกอนที่ติดไฟได้มีสีน้ำตาลถึงสีดำ เกิดจากการสะสมตัวของซากพืชตามธรรมชาติ เมื่อมีปฏิกิริยาทางชีวเคมีและธรณีเคมีภายใต้ความร้อนและความดันสูง จนทำให้ซากพืชเหล่านั้นเปลี่ยนแปลงไปเป็นสารประกอบคาร์บอน

ซึ่งมีคาร์บอนตั้งแต่ร้อยละ ๕๐ ขึ้นไปโดยน้ำหนัก หรือร้อยละ ๗๐ ขึ้นไปโดยปริมาตร ดู coalification; carbonification ประกอบ 

coesite โคไซต์ : พหุสัณฐานของควอตซ์ ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง มีความหนาแน่นมาก เสถียรที่อุณหภูมิห้อง เกิดเฉพาะที่ความดัน ๒๐ กิโลบาร์ หรือ ๒,๐๐๐ เมกะพาสคัล (MPa) มักพบบริเวณหลุมตกกระแทก

coherent noise เสียงรบกวนเรียงแนว : เสียงรบกวนที่เดินทางจากต้นกำเนิดคลื่นถึงกลุ่มของเครื่องรับคลื่นหลาย ๆ กลุ่มในเวลาเดียวกัน ทำให้ได้เสียงรบกวนปรากฏเรียงตัวเป็นแนวให้เห็นในภาพตัดขวางคลื่นสะท้อน เสียงรบกวนกลุ่มนี้เกิดจากคลื่นพื้นผิว คลื่นหักเหสะท้อนกลับ คลื่นสะท้อนซ้ำ และคลื่นหักเหใกล้ผิวดิน

colemanite โคลแมนไอต์ : แร่โบรอนชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี Ca2B6O11.5H2O ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง ใสไม่มีสีถึงสีขาว วาวแบบแก้ว ความแข็ง ๔.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๔๒ เป็นแหล่งโบรอนที่สำคัญ เกิดเป็นมวลผลึกและก้อนทรงมนในเคลย์ 

collar ๑. : ปากอุโมงค์แนวตั้ง (รอบัญญัติ) ๒. ก้านถ่วง : ก้านเจาะส่วนที่มีน้ำหนักมากและใหญ่กว่าปรกติใช้เพื่อถ่วงก้านเจาะให้คงที่ไม่แกว่ง ซึ่งทำให้การเจาะหลุมตรงมากขึ้น ๓. : (รอเพิ่มความหมายทาง palaeontology)

collophane คอลโลเฟน : : ชนิดหนึ่งของแร่อะพาไทต์ มีสูตรเคมี Ca3P2O3.H2O มีลักษณะเป็นเนื้อจุรณผลึกที่สมานแน่น คล้ายโอปอด้าน หรือมีลักษณะภายนอกคล้ายหิมะ เป็นองค์ประกอบในหินฟอสเฟตและซากกระดูกดึกดำบรรพ์ และเป็นแหล่งปุ๋ยฟอสเฟต โดยเฉพาะพวกคาร์บอเนตอะพาไทต์หรือไฮดรอกซีอะพาไทต์ที่มีคาร์บอเนต มีความหมายเหมือนกับ collophanite 

collophanite คอลโลฟาไนต์ : ดู collophane 

colony กลุ่มชีวพันธุ์ : ๑. กลุ่มของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกัน อาศัยรวมกลุ่มอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด เช่น กลุ่มแกรบโทไลต์ และกลุ่มปะการังแอนโทซัว ๒. กลุ่มของสิ่งมีชีวิต ไม่ว่าจะเป็นสิ่งมีชีวิตในปัจจุบันที่พบในพื้นที่ซึ่งไม่ใช่ถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตนั้น หรือซากดึกดำบรรพ์ที่พบในหน่วยหิน หรือ

กลุ่มของสิ่งมีชีวิต ซึ่งได้อพยพเข้ามาจับจองและตั้งรกรากในพื้นที่ที่เคยเป็นที่ว่างเปล่า

colour index ดรรชนีสี : ตัวเลขร้อยละโดยปริมาตรของแร่สีเข้มในหินที่ใช้ในการจำแนกหิน โดยเฉพาะหินอัคนีจำแนกได้เป็น ๔ ชนิด คือ ๑. หินสีจาง (leucocratic) มีดรรชนีสีน้อยกว่า ๓๐ ๒. หินสีกลาง (mesocratic) มีดรรชนีสีมากกว่า ๓๐ แต่น้อยกว่า ๖๐ ๓. หินสีเข้ม (melanocratic) มีดรรชนีสีมากกว่า ๖๐ แต่น้อยกว่า ๙๐ ๔. หินสีเข้มมาก (hypermelanic) มีดรรชนีสีมากกว่า ๙๐

columbite-tantalite series กลุ่มแร่โคลัมไบต์-แทนทาไลต์ : กลุ่มแร่สีน้ำตาล-น้ำตาลดำ ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง ความแข็ง ๖ แร่โคลัมไบต์มีสูตรเคมี (Fe, Mn) (Nb, Ta)2O6 ความถ่วงจำเพาะประมาณ ๕.๒๐ แร่แทนทาไลต์มีสูตรเคมี (Fe, Mn) (Nb, Ta)2O6 ความถ่วงจำเพาะประมาณ ๗.๙๕ กลุ่มแร่นี้เกิดร่วมกับแร่ดีบุกและแร่วุลแฟรมในหินแกรนิตและเพกมาไทต์ แร่โคลัมไบต์เป็นสินแร่ที่สำคัญของไนโอเนียม ซึ่งในสหรัฐอเมริกาเรียกว่าโคลัมเบียม และแร่แทนทาไลต์เป็นสินแร่ที่สำคัญของแทนทาลัม นอกจากนั้น แร่ในกลุ่มนี้ เช่น ซามาร์สไกต์ พรีโอไรต์ ยูซีไนต์ มักมีธาตุกัมมันตรังสีจำพวกยูเรเนียมและทอเรียมสูง

columnar section ภาคตัดภาพแท่ง : ภาคตัดแนวตั้งของลำดับและความสัมพันธ์ของหน่วยชั้นหินหรือชั้นตะกอน ซึ่งพบได้ตลอดพื้นที่ที่กำหนดหรือแหล่งเฉพาะ ภาคตัดภาพแท่ง จะต้องแสดงมาตราส่วน ความหนาของหน่วยชั้นหินและชั้นตะกอน แสดงสัญลักษณ์ลักษณะเนื้อหินและเนื้อตะกอน ประกอบด้วยคำอธิบายสั้น ๆ ระบุถึงอายุ ชนิดหิน ตะกอน และซากดึกดำบรรพ์ที่พบ โดยจัดเป็นลำดับในแนวตั้งคู่กันกับภาคตัดของลำดับชั้นหิน ชั้นตะกอน และซากดึกดำบรรพ์ ดู geologic column ประกอบ 

combination trap ลักษณะกักเก็บแบบผสมผสาน : ลักษณะกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดจากลักษณะกักเก็บหลาย ๆ แบบผสมกัน เช่น เกิดจากแบบโครงสร้างร่วมกับแบบลำดับชั้นหิน

commensalism ภาวะอิงอาศัย : ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิต ๒ ชนิดที่อาศัยอยู่ด้วยกัน โดยสิ่งมีชีวิตชนิดแรกได้รับผลประโยชน์จากชนิดที่สอง แต่ชนิดที่สองไม่ได้รับทั้ง

ประโยชน์และโทษจากชนิดแรก เช่น กล้วยไม้ พลูด่างที่อาศัยเกาะอยู่บนต้นไม้ใหญ่ นกที่ทำรังบนต้นไม้ ดู mutualism และ symbiosis ประกอบ 

comminution การแตกย่อย : การแตกแยกตัวของสารจนเป็นผงซึ่งอาจเกิดโดยธรรมชาติอันเป็นผลเนื่องมาจากดินฟ้าอากาศและการกัดเซาะของน้ำ หรือการแปรสัณฐานของเปลือกโลก หรือเกิดโดยใช้เครื่องมือหรือเครื่องจักร ทำให้หินมีขนาดลดลงเรื่อย ๆ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์ในงานก่อสร้างทั่วไป เช่น อาคาร ถนน

common depth point (CDP) จุดความลึกร่วม (ซีดีพี) : จุดร่วมหรือบริเวณร่วมที่คลื่นไหวสะเทือนสะท้อนกลับ ไม่ว่าจะเปลี่ยนจุดต้นกำเนิดหรือตัวรับสัญญาณไปในตำแหน่งอื่น ๆ ตามแนวเส้นสำรวจต่าง ๆ มีความหมายเหมือนกับ common reflection point 

common reflection point จุดสะท้อนกลับร่วม : ดู common depth point (CDP) 

common-depth-point stack ผลรวมจุดความลึกร่วม : ผลรวมของสัญญาณคลื่นไหวสะเทือนที่มีจุดสะท้อนกลับร่วมกัน การรวมนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อขยายสัญญาณคลื่นให้มีความชัดเจนขึ้น

compaction การอัดแน่น : ๑. กระบวนการที่สิ่งทับถมหรือตะกอนละเอียดถูกกดอัดจนช่องว่างระหว่างตะกอนลดน้อยลง อันเนื่องมาจากน้ำหนักของสิ่งทับถมสะสมซ้อนกันชั้นแล้วชั้นเล่า หรือจากการแปรสัณฐานของเปลือกโลก ๒. กรรมวิธีที่ทำขึ้นเพื่อให้มวลวัสดุอัดตัวกันแน่น

completion program กำหนดการเตรียมหลุมผลิต : ชุดขั้นตอนการเตรียมหลุมผลิตอย่างสมบูรณ์ เช่นในการผลิตปิโตรเลียมระยะยาว

component ส่วนประกอบ : จำนวนชุดขององค์ประกอบที่น้อยที่สุดที่จำเป็นต่อการอธิบายกฎเฟสที่เกี่ยวกับพฤติกรรมที่เกิดขึ้นในระบบหนึ่ง

concentrate หัวแร่ : ส่วนของแร่มีค่าที่ได้จากการแต่งแร่ มีปริมาณแร่ตามมาตรฐานพร้อมนำไปจำหน่ายได้

conch ๑. เปลือก : ๑.๑ เปลือกของหอยเซฟาโลพอดส่วนซึ่งเจริญเติบโตต่อมาจากเปลือกตัวอ่อน (protoconch) ๑.๒ เปลือกของสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังที่อาศัยอยู่ในน้ำเค็ม รวมทั้งสัตว์จำพวกหอยกาบคู่ และแบรคิโอพอด ๒. เปลือกรูปหอยสังข์ : เปลือกของหอยกาบเดี่ยวน้ำเค็มที่มีลักษณะม้วนงอเป็นเกลียวขนาดใหญ่แบบหอยสังข์

conchiolin คอนคิโอลิน : เส้นใยโปรตีนซึ่งมีสูตรเคมี C3H48N9O11 และเป็นส่วนประกอบพื้นฐานของเปลือกสัตว์จำพวกหอย เช่น เป็นส่วนประกอบชั้นนอกสุดของเปลือกหอย (periostracum) และเปลือกเนื้อปูนของสัตว์จำพวกหอยกาบคู่ ในกรณีของหอยมุก เส้นใยโปรตีนทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมประสานชั้นแร่อะราโกไนต์ ซึ่งเป็นส่วนที่ทำให้เกิดความมันวาวแบบมุกบนเปลือกหอยและไข่มุก ดูรูปประกอบ 

conchoidal -แบบก้นหอย : ลักษณะรอยแตกของหินหรือแร่ที่มีผิวหน้าโค้งเว้าเรียบคล้ายก้นหอย มักพบในควอตซ์และหินออบซิเดียน

condenser เลนส์ควบคุมแสง : เลนส์ของกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ที่ใช้ปรับความสว่างและความคมชัดของภาพ มีตำแหน่งอยู่ระหว่างแป้นหมุนกับโพลาไรเซอร์

condition resource ทรัพยากรเงื่อนไข : แหล่งทรัพยากรบางแหล่ง ณ ปัจจุบันอาจยังไม่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ แต่ต่อไปในอนาคตอาจเปลี่ยนไปเป็นแหล่งแร่สำรองหรือมีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ได้ ในเมื่อเงื่อนไขทางเศรษฐกิจและกฎหมายเปลี่ยนแปลงไปในทางที่เหมาะสม

conductivity สภาพนำ : ดูคำอธิบายใน thermal conductivity และ electrical conductivity 

confining pressure ความดันปิดล้อม : ความดันที่กระทำต่อพื้นที่โดยรอบในขนาดเท่า ๆ กัน เช่น ความดันชั้นหิน ความดันชั้นน้ำ

conodont โคโนดอนต์ : ซากดึกดำบรรพ์ที่มีขนาดเล็กมาก ประมาณ ๐.๑-๑.๐ มิลลิเมตร รูปร่างคล้ายฟัน เป็นสารประกอบแคลเซียมฟอสเฟต พบครั้งแรกใน ค.ศ. ๑๘๕๖ พบมากในหินมหายุคพาลีโอโซอิก แต่ตัวของโคโนดอนต์พบในตอนต้น ค.ศ. ๑๙๘๐ ในชั้นซากกุ้งดึกดำบรรพ์แกรนตัน (Granton Shrimp Bed) ใกล้กับเมืองเอ

ดินเบอร์ก ในสกอตแลนด์ เป็นซากของสัตว์มีกระดูกสันหลังพวกปลาไม่มีขากรรไกร (jawless fish) ซึ่งมีรูปร่างคล้ายปลาไหล ตัวยาวถึง ๕๕ มิลลิเมตร หัวสั้นมีลักษณะเป็นพู มีตาใหญ่ บริเวณด้านท้องตรงกับตำแหน่งหางตามีอวัยวะรูปร่างคล้ายฟันเกิดอยู่เป็นกลุ่ม ทำหน้าที่ จับ บด หรือ ฉีกอาหาร ปัจจุบันสูญพันธุ์ไปหมดแล้ว ดู parataxon ประกอบ (หมายเหตุ : เพิ่มภาพประกอบตามที่นายสมชาย พุ่มอิ่ม เสนอ)

conoscope โคโนสโกป : กล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ซึ่งใช้แสงลู่เข้าร่วมกับเลนส์เบอร์ทรันด์ เพื่อการตรวจสอบรูปแทรกสอดของผลึก *14/45

conoscopy โคโนสโกปี : การศึกษาสมบัติทางแสงของเม็ดแร่ด้วยกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์ที่ใช้อุปกรณ์เลนส์เบอร์ทรันด์ เลนส์วัตถุที่มีกำลังขยายสูง แอนาไลเซอร์ ชุดเลนส์ควบคุมแสง เพื่อตรวจสอบรูปแทรกสอด ใช้หาชนิดและค่ามุมของแกนผลึกหรือแกนแสงของผลึกแร่ ตลอดจนคุณลักษณะทางแสงบางประการได้ ดู orthoscopy ประกอบ 

Conrad discontinuity แนวแบ่งเขตคอนราด : แนวแบ่งเขตภายในเปลือกโลกซึ่งมีความลึกประมาณ ๑๗-๒๐ กิโลเมตร ณ แนวแบ่งเขตนี้ความเร็วคลื่นปฐมภูมิเพิ่มขึ้นจาก ๖.๑ กิโลเมตรต่อวินาที เป็น ๖.๔-๖.๗ กิโลเมตรต่อวินาที ดู Gutenberg discontinuity และ Mohorovicic discontinuity ประกอบ 

contingent resources ทรัพยากรที่อาจผลิตได้ : ปริมาณปิโตรเลียมที่ประเมินได้ว่าจะสามารถทำการผลิตขึ้นมาได้ในเชิงพาณิชย์ ณ วันหนึ่งข้างหน้า แต่ปัจจุบันยังไม่สามารถผลิตขึ้นมาให้คุ้มทุนได้

continuity of production ความต่อเนื่องเชิงผลิต : การไหลของของไหลโดยเฉพาะปิโตรเลียมที่ไม่ถูกขัดขวาง หรือหยุดไหล ณ จุดที่ทำการผลิตในแหล่งกักเก็บเดียวกัน โดยมีสภาพทางธรณีวิทยา ความดัน และหลักฐานทางวิศวกรรมอื่น ๆ เพียงพอที่จะพิสูจน์ความต่อเนื่องได้

copper pyrite ทองแดงไพไรต์ : ดู chalcopyrite 

cordierite คอร์เดียไรต์ : แร่ชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี (Mg,Fe)2Al4Si5O18.nH2O ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง สีฟ้าหรือฟ้าอมเทา เหลืองถึงน้ำตาล วาวแบบแก้ว ความแข็ง ๗-๗.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๖๐-๒.๖๖ มักเกิดเป็นแร่รองในหินแกรนิต หินไนส์

หรือหินชีสต์ บางทีถ้าโปร่งแสงจัดเป็นรัตนชาติ ซึ่งจะมีการเหลือบสีได้ มีความหมายเหมือนกับ dichroite และ iolite 

core barrel ท่อเก็บแท่งหิน : ท่อเหล็กทรงกระบอกที่ต่อเข้ากับหัวเจาะที่ออกแบบพิเศษสำหรับเจาะหินให้เป็นแท่งเพื่อเป็นตัวแทนของหินช่วงนั้น เมื่อเจาะลงไปแท่งหินจะเคลื่อนเข้าไปในท่อเก็บแท่งหินเพื่อป้องกันไม่ให้แท่งหินเสียหาย

core drilling การเจาะเป็นแท่งหิน : การเจาะด้วยท่อกลวงโดยใช้หัวเจาะและท่อเก็บแท่งหิน เพื่อให้ได้แท่งหิน

core ๑. แก่นโลก : ส่วนชั้นในสุดของโลกใต้แนวแบ่งเขตวิเชิร์ตกูเทนเบิร์ก ประกอบด้วยธาตุเหล็กและนิกเกิลเป็นส่วนใหญ่ มีความหนาแน่นมาก มีรัศมียาวประมาณ ๓,๔๔๐ กิโลเมตร แบ่งออกเป็น ๒ ชั้น คือ แก่นโลกชั้นในซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพเป็นของแข็งที่อยู่ระหว่างระดับความลึกจากผิวโลก ๕,๐๐๐ กิโลเมตร ถึงจุดศูนย์กลางโลก และแก่นโลกชั้นนอกซึ่งส่วนใหญ่มีสภาพเป็นของเหลวที่อยู่ระหว่างระดับความลึกจากผิวโลก ๒,๙๐๐ – ๕,๐๐๐ กิโลเมตร . แกน : ส่วนภายในหรือส่วนกลางของรอยคดโค้งโดยเฉพาะโครงสร้างของรอยคดโค้งซึ่งรวมทั้งโครงสร้างของรอยแตกบางชนิด ดู envelope ประกอบ . แท่งหิน : ส่วนของหินที่มีลักษณะเป็นแท่งรูปทรงกระบอก ได้จากการเจาะแบบหมุน ปรกติมีเส้นผ่านศูนย์กลาง ๕-๑๐ เซนติเมตร ความยาวเป็นเซนติเมตรหรือหลายเมตร แท่งหินนี้เป็นตัวแทนของช่วงหินที่เจาะเพื่อนำไปตรวจสอบหรือวิเคราะห์รายละเอียด หรือหมายถึงภาคตัดขวางแนวดิ่งของตะกอนพื้นมหาสมุทร ซึ่งได้จากการเจาะสำรวจ

corundolite คอรันโดไลต์ : หินที่ประกอบด้วยคอรันดัมและเหล็กออกไซด์ ดู emery ประกอบ 

cosmogenic dating การหาอายุจากรังสีคอสมิก : การหาอายุวัสดุหรือวัตถุทางธรณีวิทยาที่โผล่ขึ้นมาบนผิวโลกหรือพ้นจากสิ่งปกคลุมและมีการผุพังสึกกร่อนน้อย เช่น บริเวณที่แผ่นน้ำแข็งละลายไป หรือหินภูเขาไฟที่ปะทุขึ้นมา หรือหน้าผารอยเลื่อน การหาอายุโดยวิธีนี้ใช้หลักการที่รังสีคอสมิกซึ่งมีความเร็วและพลังงานสูงมาก พุ่งกระแทกกับอะตอมของธาตุที่มีอยู่ในแร่หรือหิน ทำให้เกิดไอโซโทปต่าง ๆ เช่น 10Be, 14C, 26Al, 41Ca และ 129I ซึ่งปริมาณของไอโซโทปที่เกิดขึ้นจะเป็นสัดส่วนโดยตรงกับเวลาที่ถูกรังสีคอสมิก

cosmology จักรวาลวิทยา : การศึกษาทั้งทางทฤษฎีและการสังเกตการณ์เกี่ยวกับโครงสร้างอวกาศและเวลาครอบคลุมทั่วจักรวาล

cotectic –ตกผลึกพร้อมกัน : การที่สารตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไปตกผลึกพร้อมกันจากเฟสของเหลวเดียวกันตลอดช่วงอุณหภูมิหนึ่ง ภายใต้สภาวะอุณหภูมิ ความดัน และองค์ประกอบเดียวกัน และองค์ประกอบเดียวกัน และยังหมายถึงเส้นที่แสดงแนวแบ่งเขตเฟสบนแนวสภาพเหลว

covellite โคเวลไลต์ : แร่ทองแดงชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี CuS ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง สีดำถึงสีน้ำเงินครามหรือน้ำเงินเข้ม ผงสีเทาตะกั่วถึงดำ มักมีเหลือบรุ้ง ทึบแสง วาวแบบโลหะ ความแข็ง ๑.๕-๒ ความถ่วงจำเพาะ ๔.๖-๔.๗ เกิดเคลือบอยู่ที่ผิวในเขตชะละลายพวกซัลไฟต์ร่วมกับแร่ทองแดงอื่น ๆ เช่น คาลโคไพไรต์ คาลโคไซต์ เป็นสินแร่ทุติยภูมิของโลหะทองแดง ในประเทศไทยพบที่จังหวัดแพร่และเลย

creep การคืบตัว : ๑. การที่ดินหรือดาดหินเคลื่อนที่อย่างช้า ๆ ไม่สามารถสังเกตเห็นได้ ลงไปตามลาดเขาหรือที่ลาดชันโดยอิทธิพลของแรงดึงดูดของโลก ประกอบกับมีน้ำเป็นตัวช่วยหล่อลื่นหรืออาจมีตัวการอื่น ๆ เช่น แสงแดดร่วมด้วยก็ได้ ผลของการคืบตัวจะสามารถเห็นได้ในบริเวณที่มีการสะสมของเศษดินทรายตามที่ลาดชันและทับถมบนลาดเขา ถ้าตรงบริเวณนั้นมีหลักปักไว้หรือมีต้นไม้ขึ้นจะเอนหรือโค้งตามความลาดชันนั้น ดู soil creep ประกอบ และดูรูปที่ landslide ๒. การเปลี่ยนรูปอย่างต่อเนื่องแบบช้า ๆ ของหินแข็งที่เป็นผลมาจากความเค้นขนาดเบาแต่สม่ำเสมอตลอดเวลาเป็นระยะยาวนาน ๓. การพังทลายของหินจากความเครียดอย่างค่อยเป็นค่อยไป เช่นที่เกิดกับเสาค้ำยันและหลังคาอุโมงค์เหมืองใต้ดิน เนื่องจากน้ำหนักของชั้นหินที่ปิดทับอยู่ตอนบน

crescent mark รอยรูปจันทร์เสี้ยว : รอยพิมพ์ที่เกิดจากพื้นท้องน้ำมีสิ่งกีดขวางทิศทางการไหลของน้ำ ทำให้เกิดโครงสร้างรูปจันทร์เสี้ยวขึ้นโดยหัวโค้งจะชี้ไปทางต้นน้ำ ส่วนด้านหน้าและส่วนขอบด้านนอกจะเป็นร่อง แต่ส่วนขอบด้านในหรือบริเวณด้านหลังของสิ่งกีดขวางทั้ง ๒ ข้างจะเป็นสันนูนขึ้น

cristobalite คริสโทบาไลต์ : พหุสัณฐานของควอตซ์และทริดิไมต์ มีผลึกรูปทรงแปดหน้า พบในหินอัคนีภูเขาไฟชนิดกรด เป็นแร่อุณหภูมิสูง จะเสถียรที่อุณหภูมิสูงกว่า ๑๔๗๐ องศาเซลเซียส

Cromerian ช่วงคั่นโครเมอเรียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปยุโรปละลาย อยู่ระหว่างช่วงมีนาเปียนกับช่วงเอลสเตอเรียนในยุโรปตะวันตก หรือ ช่วงกึนซ์กับช่วงมินเดลใน ยุโรปกลาง มีความหมายเหมือนกับ G/M Interglacial ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

cross array แถวลำดับรูปกากบาท : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นในแนวเส้นสำรวจและแนวขวางตั้งฉากกับแนวเส้นสำรวจ

cross bedding การปูชั้นเฉียงระดับ : ดูคำอธิบายใน cross stratification 

crosscut อุโมงค์ทางเชื่อม : ๑. ช่องทางขนาดเล็กที่ตัดเชื่อมทำมุมกับอุโมงค์หลัก หรือเชื่อมช่องถ่ายเทอากาศที่สำคัญที่มีแนวขนานกัน ๒. อุโมงค์ที่เชื่อมจากอุโมงค์หลักไปยังสายแร่ โดยตัดทำมุมกับสายแร่หรือโครงสร้างของทางแร่ เป็นช่องทางเพื่อการทำเหมืองในสายแร่ และ/หรือนำแร่ออกมา

cross lamination การปูชั้นบางเฉียงระดับ : ดูคำอธิบายใน cross stratification 

cross section ภาคตัดขวาง : ๑. แผนภาพแสดงลักษณะหน้าตัดในแนวตั้งฉากการแปลความหมายทางธรณีวิทยา เช่น มวลสินแร่ ชั้นหินโค้งรูปประทุน ซากดึกดำบรรพ์ ๒. ลักษณะทางธรณีวิทยาที่ปรากฏให้เห็นโดยธรรมชาติหรือการกระทำของมนุษย์ เช่น การตัดผ่านของทางน้ำ การตัดถนน การเปิดเหมืองแร่ ๓. ภาพตัดตั้งฉากกับแกนแนวยาว ดู transverse section และ longitudinal section ประกอบ 

cross stratification การปูตัวชั้นเฉียงระดับ : การวางตัวของชั้นหินโดยเอียงเทเป็นมุมกับแนวระดับชั้นหินปรกติ ทั้งนี้เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทิศทางของกระแสน้ำ

หรือลมอันมีผลต่อการตกจมของตะกอนดินทราย ทำให้ไม่อาจตกจมลงเป็นระดับปรกติได้ ต้องเอียงเทไปในแนวทางตามกระแสน้ำหรือลม จึงมักพบชั้นหินย่อย ๆ มีแนวขวางหรือทำมุมกับแนวระดับชั้นหินปรกติ และแต่ละชั้นบางทีก็เฉียงไม่เท่ากัน มองเห็นสลับไปสลับมา แบ่งออกเป็น ๒ ชนิด คือ การปูชั้นเฉียงระดับ (cross bedding) มีความหนามากกว่า ๑ เซนติเมตร และการปูชั้นบางเฉียงระดับ (cross lamination) มีความหนาน้อยกว่า ๑ เซนติเมตร มีความหมายเหมือนกับ false lamination; false stratification; diagonal lamination; diagonal stratification 

crossed polars; crossed nicols โพลาไรเซอร์ขวางฉาก : ๑. การจัดให้ตำแหน่งของปริซึมนิโคลตัวบนและตัวล่างหรือแผ่นโพลารอยด์ ๒ แผ่นขวางกันจนได้ตำแหน่งที่ทำให้การส่งผ่านของระนาบการสั่นของแสงทำมุมฉากกัน ๒. การเลื่อนแอนาไลเซอร์เข้าไปในระบบทางเดินแสงของกล้องจุลทรรศน์โพลาไรส์

crows foot array แถวลำดับรูปตีนกา : การจัดวางกลุ่มจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นตามแนวเส้นสำรวจ และตามแนวขวาง ๔๕ องศา ทั้ง ๒ ข้างของแนวเส้นสำรวจ

crown block . ยอดหอเจาะ : ส่วนยอดหรือสูงสุดของหอเจาะ . รอกยอดหอ : รอกหรือชุดอุปกรณ์ระบบรอกที่ติดตั้งอยู่บนสุดของหอเจาะ (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๒

crust reef พืดหินเปลือก : พืดหินที่ก่อตัวขึ้นจากเศษเปลือกแข็งของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก ซึ่งประกอบด้วยคาร์บอเนตและซิลิกา

crust เปลือกโลก : ส่วนชั้นนอกสุดของโลกอยู่เหนือแนวแบ่งเขตโมโฮโรวิซิก หนาเฉลี่ยประมาณ ๖-๓๕ กิโลเมตร แบ่งเป็น ๒ ส่วน คือ ส่วนบนเป็นหินจำพวกแกรนิต หรือไซอัล (sial) และส่วนล่างเป็นหินที่เป็นเบสปานกลางหรือไซมา (sima) ตามความคิดเห็นของนักธรณีวิทยานั้นคิดว่าโลกเมื่อแรกเริ่มเป็นวัตถุเหลวร้อนและส่วนนอกสุดเย็นลงจนเป็นของแข็งห่อหุ้มไว้โดยรอบ (sial ย่อมา

จาก si คือ silica กับ al คือ alumina sima ย่อมาจาก si คือ silica กับ ma คือ magnesia) ดู sial และ sima ประกอบ 

crustified -เป็นชั้น : คำที่ใช้กับสายแร่ซึ่งเกิดจากแร่ตกทับถมเป็นชั้น ๆ ยึดติดกับผนังหิน

cryolite ไครโอไลต์ : แร่โซเดียมชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี Na3AlF6 ผลึกอยู่ในระบบหนึ่งแกนเอียง สีขาว ไม่มีสี วาวแบบแก้วคล้ายน้ำมันฉาบหรือขี้ผึ้ง ความแข็ง ๒.๕ ความถ่วงจำเพาะ ๒.๙๕-๓.๐ เกิดในหินแกรนิต ใช้ในอุตสาหกรรมผลิตเกลือโซเดียม อุตสาหกรรมแก้วและเครื่องเคลือบ

Cryptozoic Eon บรมยุคคริปโทโซอิก : บรมยุคที่เก่าที่สุดของช่วงเวลาทางธรณีกาล มีช่วงอายุมากกว่า ๒,๕๐๐ ล้านปี มีความหมายเหมือนกับ Archaeozoic Eon และ Azoic Eon คำนี้ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว

Cryptozoic คริปโทโซอิก : เวลาทางธรณีวิทยาในช่วงที่หินซึ่งสะสมตัวในช่วงเวลาที่มีหลักฐานของสิ่งมีชีวิตจำนวนน้อย และสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มีลักษณะดั้งเดิมเป็นรูปแบบง่าย ๆ ยังไม่ได้พัฒนาเป็นลักษณะขั้นสูงขึ้น ดู Phanerozoic ประกอบ 

crystal lattice แลตทิซผลึก : การจัดเรียงตัวของอะตอมหรือไอออนในผลึกหนึ่ง ๆ จนเป็นรูปทรง ๓ มิติ ที่แน่นอนและซ้ำ ๆ กัน ดู Bravais lattice ประกอบ 

crystal ผลึก : ของแข็งที่มีเนื้อเดียวกัน มีรูปทรงสามมิติ ผิวหน้าแต่ละด้านเป็นระนาบซึ่งเป็นผลจากการจัดตัวของอะตอมหรือไอออน หรือโมเลกุลของธาตุที่ประกอบในของแข็งนั้นอย่างมีแบบแผน ผลึกเป็นสมบัติทางฟิสิกส์อย่างหนึ่งของแร่ มีรูปร่างลักษณะเป็นเหลี่ยมเป็นมุม คำว่า ผลึก ใช้เรียกควอตซ์ที่มีผลึกเป็นรูปหกเหลี่ยม หรือชนิดผลึกใส (rock crystal) เป็นครั้งแรก โดยนักปรัชญาชาวกรีก

culm คัล์ม : หินดินดานที่มีคาร์บอนสูง หรือหมายถึงผงแอนทราไซต์

current electrode ขั้วกระแสไฟฟ้า : แท่งโลหะนำไฟฟ้า เส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ ๒ เซนติเมตร ปลายด้านหนึ่งแหลมใช้ตอกลงในดินเพื่อปล่อยกระแสไฟฟ้าลงดินและรับกระแสไฟฟ้ากลับจากใต้ผิวดินเข้าสู่วงจรไฟฟ้าในเครื่องมือสำรวจ ใช้ในการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ การสำรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าแบบปล่อยกระแสลงดิน และการสำรวจการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ

current mark รอยกระแสน้ำ : ร่องรอยที่เกิดจากกระแสน้ำพัดพาวัตถุแข็งต่าง ๆ ไปบนพื้นโคลน ต่อมาเมื่อมีทรายละเอียดมาทับจะเกิดรูปพิมพ์ขึ้น วัตถุต่าง ๆ ได้แก่ เศษเปลือกหอย กรวด ทราย เศษกระดูก สาหร่ายทะเล และเศษชิ้นไม้ รอยกระแสน้ำมีหลายแบบ ได้แก่ แบบฟันเลื่อย (chevron) แบบกระทุ้งกระดอน (prod) แบบกระเด้ง (bounce) แบบตกสะบัด (brush) แบบกลิ้งกระโดด (skip) แบบกลิ้ง (roll) หรือแบบผสม มีความหมายเหมือนกับ tool mark 

cutoff grade เกรดก่อนคัดทิ้ง : ความสมบูรณ์ของแร่ที่มีค่าต่ำสุดในแหล่งแร่ที่สามารถทำเหมืองได้ หรือเป็นที่ยอมรับว่าเป็นแหล่งสินแร่ในแหล่งที่กำหนด เช่น ค่าต่ำสุดที่ได้จากการวิเคราะห์โลหะในแร่ที่รวมอยู่ในการประมาณการหรือคาดคะเนว่าเป็นสินแร่

cutout หินตัดแทรก : มวลของหินดินดาน หินทรายแป้ง หรือหินทรายที่ทับถมในทางน้ำที่ตัดเข้าไปในชั้นถ่านหิน ดู roll และ horseback ประกอบ 

cutting เศษหินเจาะ : เศษหินชิ้นเล็ก ๆ ที่เกิดจากการเจาะแล้วถูกนำขึ้นมาโดยโคลนเจาะ หรือกระบอกเก็บตัวอย่าง

cyanite ไซยาไนต์ : คำเก่าที่ใช้เรียกแร่ไคยาไนต์ ดู kyanite ประกอบ 

cyclic sedimentation การตกตะกอนซ้ำชุด : ดู rhythmic sedimentation 27/49 

cyclone . : เครื่องมือรูปกรวยที่ใช้ในการกักเก็บฝุ่นหรือวัตถุที่บดละเอียดโดยใช้หลักการปรับความเร็วของลมหรือน้ำเพื่อควบคุมให้ฝุ่นหรือวัตถุที่ถูกป้อนเข้าระบบตกตะกอนหรือถูกพัดพาแยกตัวออกไป

cyclosilicate; ring silicate ซิลิเกตวงแหวน : ประเภทหรือโครงสร้างของซิลิเกตแบบหนึ่ง ซึ่งมีซิลิกาทรงสี่หน้าจับตัวเป็นวง โดยมี Si : O = ๑ : ๓ แร่โครงสร้างซิลิเกตวงแหวน เช่น เบริล (Be3Al2Si6O18) ทัวร์มาลีน [XY3Al6(BO3)3(Si6O18)(OH)4]

cyprus-type deposit แหล่งแร่แบบฉบับไซพรัส : แหล่งแร่ทองแดงปนไพไรต์ ซึ่งเกิดร่วมกับหินเซอร์เพนทิไนต์และหินบะซอลต์รูปหมอนที่วางตัวอยู่ด้านล่าง โดยมี

หินเชิร์ตและตะกอนเนื้อเหล็กอยู่ด้านบน เข้าใจว่าแหล่งแร่ชนิดนี้เกิดบนเปลือกโลกใต้มหาสมุทร ดู kuloko deposit ประกอบ 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

d.m.m.f.basis มูลฐานดีเอ็มเอ็มเอฟ : การคำนวณค่าความร้อนของถ่านหิน ซึ่งได้จากผลต่างระหว่างมวลของถ่านหินหักออกจากค่าความชื้นและแร่ธาตุประกอบต่าง ๆ ใช้ในการจัดแบ่งชนิดของถ่านหินโดยระบบ ASTM (American Society for Testing and Materials) คำนี้ย่อมาจาก dry mineral matter-free basis 

dead line เส้นชี้วัด : ระดับที่บอกให้ทราบว่า ถ้าหินอัคนีมวลไพศาลหนึ่ง ๆ ที่อยู่เหนือระดับนี้จะมีแหล่งแร่โลหะที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์ ถ้าอยู่ต่ำกว่าระดับดังกล่าวจะไม่มีแหล่งแร่โลหะที่มีคุณค่าในเชิงพาณิชย์

dead oil น้ำมันตาย : น้ำมันดิบที่ไม่มีสารระเหย หรือไม่เรืองแสงในสารละลาย ใช้เป็นตัวบ่งชี้ในการสำรวจปิโตรเลียม

dead trace รอยคลื่นสูญ : บริเวณที่ไม่มีพลังงานคลื่นเข้ามาถึงจีโอโฟน

debris avalanche เศษหินดินถล่ม : การถล่มของเศษดินเศษหินที่เคลื่อนที่ลงมาตามไหล่เขาที่ชันมากอย่างทันทีทันใด โดยมากเกิดขึ้นเนื่องจากดินอิ่มตัวด้วยน้ำเพราะฝนตกหนัก บางครั้งอาจเกิดขึ้นเนื่องจากการไหวสะเทือนอันเป็นผลมาจากแผ่นดินไหว ภูเขาไฟระเบิด หรือหิมะถล่ม

decay constant ค่าคงที่การสลาย : ส่วนของอะตอมจำนวนมากของธาตุกัมมันตรังสี ที่สลายตัวในช่วงเวลาหนึ่ง นิยมใช้สัญลักษณ์ λ

decline curve กราฟการผลิตลด : กราฟที่แสดงถึงการผลิตปิโตรเลียมลดลงในหลุมเจาะ กราฟนี้ได้จากอัตราการผลิตปิโตรเลียมที่สัมพันธ์กับเวลา เพื่อใช้คาดการณ์การผลิตสูงสุดหรือใช้ในการคำนวณปริมาณสำรองของปิโตรเลียม

decollement โครงสร้างเลื่อนหลุด : โครงสร้างย่อยที่หลุดจากชั้นหินเบื้องล่าง เกิดจากการคดโค้งหรือการเลื่อนไถลทับของชั้นหินด้านบนตามระนาบเหนือรอยเลื่อนย้อนมุมต่ำ คำนี้มาจากภาษาฝรั่งเศสว่า décollement ซึ่งแปลว่า หลุด

decussate texture เนื้อสลับไขว้ : โครงร่างขนาดเล็กในหินแปรประกอบด้วยผลึกที่วางตัวขวางกันไปมาทำให้เนื้อหินเหนียวเป็นพิเศษ มักพบในหินแปรสัมผัสที่มีแร่รูปร่างเป็นแผ่นหรือแท่งเช่น แร่ไมกา แอมฟิโบล

dedolomitization การสูญเสียโดโลไมต์ : กระบวนการที่เป็นผลจากการแปรสภาพที่ธาตุแมกนีเซียมบางส่วนหรือทั้งหมดในหินโดโลไมต์หรือหินปูนโดโลไมต์ถูกนำไปใช้ในการเกิดแร่ใหม่ในรูปของแมกนีเซียมออกไซด์ แมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ แมกนีเซียมซิลิเกต เช่น บรูไซต์ฟอร์สเตอไรต์ และกระบวนการที่เป็นผลจากการเติมแร่แคลไซต์ คำนี้เริ่มใช้โดย Morlot ใน ค.ศ. ๑๘๔๗ หมายถึงการแทนที่โดโลไมต์โดยแคลไซต์ขณะที่มีการก่อตัวใหม่ หรือการผุพังอยู่กับที่ทางเคมี

deep coal ถ่านหินลึก : ชั้นถ่านหินที่อยู่ในระดับลึกมากต้องผลิตด้วยวิธีการทำเหมืองใต้ดิน

deeper-pool test การตรวจสอบแหล่งระดับลึก : การเจาะเพื่อตรวจสอบในบริเวณที่รู้ขอบเขตของแหล่งปิโตรเลียมแล้วเพื่อค้นหาชั้นกักเก็บที่จะผลิตได้ใหม่ในระดับที่ลึกกว่าเดิม ดู shallower-pool test ประกอบ 

deepwell disposal การขจัดน้ำเสียหลุมลึก : การขจัดน้ำเสียลงในหลุมเจาะระดับลึก ซึ่งออกแบบเป็นพิเศษโดยการเจาะลงในชั้นหินเนื้อฟ่าม และมีชั้นหินเนื้อตันปิดกั้น เพื่อไม่ให้เกิดการปนเปื้อนน้ำใต้ดิน วิธีการนี้ใช้สำหรับขจัดน้ำทิ้งที่มีเกลือสูง และน้ำที่ได้จากการผลิตปิโตรเลียม หรือน้ำเสียจากการอุตสาหกรรม นิยมขจัดน้ำเสียลงในหลุมปิโตรเลียมที่ผลิตหมดแล้ว

deformation ellipsoid ทรงรีเปลี่ยนลักษณะ : ดู strain ellipsoid ปัจจุบันคำนี้ไม่นิยมใช้แล้ว

degree of freedom ระดับขั้นความเสรี : จำนวนการเปลี่ยนแปลงแบบเสรีหนึ่งที่สามารถระบุว่ารูปสัณฐานภายในช่องว่างของระบบหนึ่ง ๆ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ หรือเรียกอีกอย่างว่าระดับขั้นการผันแปร (degree of variance)

delineation-appraisal well หลุมเจาะประเมิน : หลุมเจาะที่เจาะโดยวางเป้าหมายให้อยู่ในแหล่งกักเก็บในส่วนที่ยังไม่มีการพิสูจน์ทราบปริมาณสำรอง ทั้งนี้เพื่อขยายขอบเขตของแหล่งกักเก็บและเพิ่มปริมาณสำรอง

dendritic surge mark รอยน้ำหลากรูปกิ่งไม้ : โครงสร้างตะกอนที่เกิดจากน้ำท่วมหลากข้ามริมตลิ่งแม่น้ำ และจะกัดเซาะเป็นร่องรูปร่างคล้ายร่างแหหรือกิ่งไม้ การที่จะเกิดรอยน้ำหลากได้จะต้องประกอบด้วย ๑. มีความลาดชันสูง ๒. มีตะกอนทรายละเอียดหรือทรายแป้งที่ยังไม่แข็งตัว ๓. น้ำมีระดับสูง และ ๔. มีกระแสคลื่นน้ำหลาก รอยน้ำหลากจะเกิดได้ทั้งสภาพในทะเล น้ำกร่อย และแม่น้ำ มีความหมายเหมือนกับ surge mark 

dendrochronology; tree-ring chronology รุกขกาลวิทยา : การศึกษาวงเติบโตของต้นไม้ เพื่อกำหนดอายุของอดีตใกล้กับปัจจุบันโดยการนับจำนวนวงเติบโต ดู dendroclimatology ประกอบ 

dendroclimatology รุกขภูมิอากาศวิทยา : การศึกษารูปแบบและขนาดของวงเติบโตของต้นไม้เพื่อเป็นข้อมูลด้านการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในอดีต โดยปรกติปีที่แห้งแล้งต้นไม้เจริญเติบโตช้า ขนาดของวงเติบโตจะบาง ในปีที่ชุ่มชื้นต้นไม้เจริญเติบโตเร็วขนาดของวงเติบโตจะหนา ดู dendrochronology; tree-ring chronology ประกอบ 

density log ผลบันทึกความหนาแน่น : ผลบันทึกค่าการหยั่งธรณีเพื่อหาความหนาแน่นหรือความพรุนของชั้นหิน แสดงโดยเส้นโค้งของค่าความเข้มรังสีแกมมาที่กระเจิง (scatter) กลับมาจากชั้นหิน ซึ่งบอกให้ทราบค่าความหนาแน่นรวมของหิน และความหนาแน่นของของไหลที่อยู่ในรูพรุนของหิน

derrick หอเจาะ : โครงสร้างเหล็กขนาดสูงใหญ่ที่ใช้รับน้ำหนักมาก มักเป็นโครงสร้างที่ใช้สลักยึดและมี ๔ ขา พื้นหอเจาะจะยกสูงขึ้นเพื่อให้ติดตั้งระบบป้องกันการพลุ่งและอุปกรณ์อื่น ๆ ถ้าหอเจาะมีขนาดเล็กเรียกว่า … (mast) (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๗

detail log ผลบันทึกค่าโดยละเอียด : ผลบันทึกค่าการหยั่งธรณีซึ่งมีช่วงของการบันทึกค่าในมาตราส่วนมากกว่าหนึ่งต่อร้อยฟุต โดยเฉพาะหมายถึงผลบันทึกค่าทางไฟฟ้าที่มีช่วงของการบันทึกค่าทางไฟฟ้าในมาตราส่วน ๕ นิ้วต่อ ๑๐๐ ฟุต มักใช้ในการหาค่าเพื่อคำนวณสมบัติต่าง ๆ ของหิน

detailed exploration การสำรวจขั้นละเอียด : การสำรวจอย่างละเอียดเกี่ยวกับการแยกแยะแหล่งแร่ที่พบแล้วในเชิง ๓ มิติ โดยการเก็บตัวอย่างจากหินโผล่ การขุด

ร่องสำรวจ ขุดหลุมเจาะ อุโมงค์แนวตั้ง อุโมงค์แนวนอน และการเก็บตัวอย่างแบบตารางค่อนข้างถี่ (close-spacing grid sampling) เพื่อให้การสร้างลักษณะ ขนาด รูปร่าง โครงสร้าง วามสมบูรณ์ของแร่ และลักษณะอื่น ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกันมีความแม่นยำสูง รวมทั้งอาจต้องมีการทดสอบแต่งแร่ด้วย ข้อมูลในขั้นนี้เพียงพอที่จะใช้ในการตัดสินใจว่า ควรดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการลงทุนทำเหมืองหรือไม่

detector เครื่องรับ(สัญญาณ) : ๑. เครื่องมือที่ใช้รับสัญญาณหรือตรวจวัดค่าต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติ เช่น สนามแม่เหล็ก ความโน้มถ่วงของโลก กัมมันตรังสี ๒. เครื่องมือที่มนุษย์ทำขึ้น เช่น จีโอโฟน ไฮโดรโฟน เพื่อใช้รับสัญญาณหรือตรวจวัดค่าต่าง ๆ

detrital : (รอเขียนคำอธิบาย)

detrital ratio; clastic ratio อัตราส่วนชิ้นเศษหิน : ดู clastic ratio; detrital ratio 

deuteric แปรเปลี่ยนโดยไอน้ำร้อน : คำที่ใช้กับการแปรเปลี่ยนในหินอัคนี ซึ่งเป็นผลจากปฏิกิริยาที่เกิดขึ้นระหว่างแร่ปฐมภูมิกับสารละลายที่มีน้ำสูงซึ่งแยกตัวออกมาจากหินหนืดเดียวกัน เช่น การเกิดแร่แอลไบต์ (albitization) แร่ซีโอไลต์ (zeolitization) และแร่คลอไรต์ (chloritization) มีความหมายเหมือนกับ epimagmatic 

development การพัฒนา : ขั้นตอนการเตรียมการก่อนทำเหมืองแร่ ซึ่งจะต้องสามารถจำแนกแยกแยะ คำนวนหาปริมาณสินแร่ว่ามีจำนวนกี่ตัน มีคุณภาพอย่างไรในแต่ละจุดโดยรวม ตลอดจนการทดลองทำเหมืองเบื้องต้นเพื่อพิสูจน์ความป็นไปได้ ขั้นตอนนี้จัดเป็นขั้นตอนที่อยู่ระหว่างการสำรวจและการทำเหมือง

development well หลุมพัฒนา : หลุมเจาะในพื้นที่ที่พิสูจน์แล้วว่าสามารถผลิตปิโตรเลียม แก๊สจากชั้นถ่านหิน หรือน้ำบาดาลจากชั้นกักเก็บขึ้นมาได้ เพื่อเตรียมสู่ขั้นตอนการผลิตต่อไป ดู exploratory well ประกอบ 

deviation การเบี่ยงเบน : การที่หลุมเจาะเบี่ยงเบนออกจากแนวดิ่งเป็นมุมและทิศทางใดก็ได้ หลุมเจาะที่เบี่ยงเบนออกนี้เรียกว่า หลุมเอียง (directional well)

D/G Interglacial ช่วงคั่นโดเนา/กึนซ์ : ดู Waalian 

division หมวด : ดูคำอธิบายใน phylum 

dextral –วนขวา : เกี่ยวกับการเอียงหรือการหมุนวนไปในทิศทางตามเข็มนาฬิกา ในทางบรรพชีวินวิทยาใช้เรียกลักษณะการบิดของเปลือกหอยกาบเดี่ยวที่มีลักษณะบิดหมุนไปทางขวา การดูทิศทางการบิดต้องหันช่องเปลือกเข้าหาผู้สังเกตโดยหมุนจากยอดไปยังช่องเปลือก ดูรูปประกอบ 

diagnostic mineral แร่บ่งชี้ : แร่ชนิดหนึ่ง ๆ ที่ใช้เป็นตัวบ่งบอกว่าหินอัคนีนั้นเกิดในสภาวะที่มีซิลิกาเกินอิ่มตัว เช่น ควอตซ์ หรือไม่อิ่มตัว เช่น โอลิวีน

diagonal lamination; diagonal stratification; false lamination; false stratification : ดู cross stratification; cross stratum (รอบัญญัติศัพท์

diamond array แถวลำดับรูปข้าวหลามตัด : การจัดวางกลุ่มของจีโอโฟนหรือกลุ่มต้นกำเนิดคลื่นในแนวขวาง ๔๕ องศา กับแนวเส้นสำรวจ

diapir associated trap ลักษณะกักเก็บโดยโดมรูปเห็ด : ลักษณะกักเก็บปิโตรเลียมที่เกิดร่วมกับโครงสร้างโดมรูปเห็ด ซึ่งเกิดจากการแทรกดันของชั้นหินที่มีความหนาแน่นต่ำ เช่น เกลือหิน

diapir; diapiric fold; picrcement; piercing fold โดมรูปเห็ด : ชั้นหินโค้งรูปประทุนที่เกิดจากการแทรกดันตัวขึ้นมาของชั้นหินเบื้องล่างที่เคลื่อนไหวได้จนมีลักษณะคล้ายรูปเห็ด เช่น ชั้นเกลือ

diaspore ไดอะสปอร์ : แร่ออกไซด์ชนิดหนึ่ง มีสูตรเคมี AlO(OH) ผลึกอยู่ในระบบสามแกนต่าง สีขาว เทา อมเหลืองหรืออมเขียว วาวแบบแก้วหรือมุก ความแข็ง ๖.๕-๗ ความถ่วงจำเพาะ ๓.๓๕-๓.๔๕ เป็นทวิสัณฐานกับแร่เบอห์ไมต์ มักเกิดร่วมกับคอรันดัมในหินเอเมอรี หินโดโลไมต์ และเกิดร่วมกับแร่บอกไซต์ เป็นแหล่งอะลูมิเนียมที่สำคัญ

diatom ooze เลนไดอะตอม : เลนที่เกิดจากซากตะกอนของไดอะตอมที่ตกจมสะสมกันอยู่ที่พื้นท้องทะเลและมหาสมุทร ดู diatom ประกอบ 

diatomaceous ooze; diatom ooze เลนไดอะตอม : ดู diatom ooze; diatomaceous ooze ประกอบ 

dichroite ไดครอยต์ : ดู cordierite 

differential entrapment การเลือกกักเก็บ : การควบคุมการเคลื่อนที่และการสะสมของปิโตรเลียมโดยการเลือกที่จะกักเก็บในหินกักเก็บที่ติดต่อกันได้ เช่น ในลักษณะกักเก็บหนึ่งที่มีน้ำมันก็สามารถกักเก็บแก๊สได้ แต่ลักษณะกักเก็บที่มีแก๊สไม่สามารถกักเก็บน้ำมันได้ เพราะแก๊สสามารถกักเก็บในส่วนล่างได้ แต่น้ำมันจะกักเก็บในส่วนบนของชั้นหินที่เอียงเท

dilation vein สายแร่ขยายขนาด : แหล่งแร่ที่เกิดเป็นสายอยู่ในช่องว่างของหินท้องที่ โดยแทรกเข้าไปขยายรอยแยกในหิน ซึ่งต่างจากสายแร่ที่เกิดจากการแทนที่หินผนัง

dimension stone หินมิติ : หินที่ได้จากการทำเหมืองหินโดยการเลื่อยตัดให้เป็นบล็อกหรือแผ่น รูปทรง ๓ มิติตามที่ต้องการ ใช้ในการก่อสร้าง ตกแต่งอาคาร เช่น ใช้ปูพื้น บุผนัง ทำโต๊ะ เก้าอี้ เสา และเครื่องตกแต่ง

dimorphism ภาวะทวิสัณฐาน : ๑. [ผลิกศาสตร์] การที่แร่มีองค์ประกอบทางเคมีเดียวกัน ตกผลึกได้เป็น ๒ รูปแบบ เช่น ไพไรต์กับมาร์คาไซต์ เพชรกับแกรไฟต์ แคลไซต์กับอะราโกไนต์ ๒. ลักษณะของสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวกันที่มีรูปต่างกัน ๒ แบบ เช่น ตัวผู้กับตัวเมีย ระยะอาศัยเพศ (microspheric stage) กับระยะไม่อาศัยเพศ (megalospheric stage) ดู microspheric และ megalospheric ประกอบ 

dip meter log ผลบันทึกมาตรเอียงเท : ผลบันทึกค่าการหยั่งธรณีในหลุมเจาะที่วัดค่ามุมเอียงเทและทิศทางของชั้นหินซึ่งต้องเปรียบเทียบกับมุมเอียงและทิศทางของหลุมเจาะด้วย

dip moveout การเคลื่อนออกเอียงเท : ความแตกต่างของเวลาอันเนื่องจากการที่คลื่นเสียงเดินทางจากต้นกำเนิดคลื่นที่ผิวดินลงไปตกกระทบชั้นสะท้อนที่วางตัวเอียงทำมุมกับแนวระดับ แล้วสะท้อนกลับมายังตัวรับคลื่นที่ผิวดินซึ่งวางอยู่ห่างจากต้นกำเนิดคลื่นด้วยระยะทางไม่เท่ากัน ความแตกต่างของเวลานี้เกิดขึ้นจากการเอียงเทของชั้นสะท้อนแต่เพียงอย่างเดียว ไม่ได้รวมการเคลื่อนออกปรกติไว้ด้วย ดู 

normal moveout (NMO) และ moveout; moveout time ประกอบ 

dipole-dipole array แถวลำดับสองขั้วคู่ : รูปแบบการจัดวางขั้วไฟฟ้าในการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะและอินดิวซ์โพลาไรเซชัน โดยวางขั้วศักย์ไฟฟ้าอยู่ทางด้านข้างของขั้วกระแสไฟฟ้า ระยะห่างระหว่างขั้วกระแสไฟฟ้าเท่ากับระยะห่างระหว่างขั้วศักย์ไฟฟ้า และระยะห่างระหว่างขั้วไฟฟ้าน้อยกว่าระยะห่างระหว่างจุดกึ่งกลางขั้วไฟฟ้ามาก มีการจัดวางได้หลายรูปแบบ

direct offset หลุมเหลื่อมตรง : หลุมเจาะที่อยู่ในตำแหน่งซึ่งมีระยะห่างไม่เกินรัศมีการระบายของหลุมอื่น

directional drilling การเจาะเอียง : การเจาะหลุมในแนวดิ่งก่อน แล้วจึงบังคับควบคุมให้เบี่ยงออกจากแนวดิ่งเป็นมุมและทิศทางที่ต้องการ การเจาะแบบนี้มักเจาะจากตำแหน่งเดียวกันหลาย ๆ หลุม เพื่อให้หลุมเป้าหมายกว้างขึ้น

directional log ผลบันทึกเชิงทิศทาง : ผลบันทึกค่าการหยั่งธรณีในหลุมเจาะที่แสดงค่ามุมเอียงและทิศทางของหลุมเจาะ ซึ่งมักแสดงค่าพร้อมกับผลบันทึกมาตรเอียงเท

discovered resources ทรัพยากรค้นพบ : ปริมาณทรัพยากรแรกเริ่มที่ประมาณได้ ณ เวลาใดเวลาหนึ่งว่ามีอยู่ในแหล่งที่ได้มีการสำรวจพบแล้ว ทั้งที่ผลิตขึ้นมาได้และที่ผลิตไม่ได้ด้วยเทคโนโลยีและสภาพเศรษฐกิจที่คาดการณ์ได้ ณ เวลานั้น

discovery well หลุมแรกพบ : หลุมเจาะหลุมแรกที่พบปิโตรเลียมในบริเวณหรือในระดับความลึกที่ยังไม่เคยมีการผลิตมาก่อน

disequilibrium assemblage กลุ่มแร่ไม่สมดุล : กลุ่มแร่ที่อยู่ร่วมกันได้ในสภาวะที่ไม่สมดุลทางเทอร์โมไดนามิกส์ ดู thermodynamics ประกอบ 

disintegration การแตกสลาย : ๑. การผุพังเชิงกลแบบหนึ่งซึ่งจัดเป็นการผุพังอยู่กับที่ ๒.การสลายตัวของพืชออกเป็นส่วนประกอบต่าง ๆ เช่น คาร์บอนไดออกไซด์ น้ำ ๓. การสลายตัวของสารกัมมันตรังสีโดยการปล่อยไอออนกัมมันตรังสีออกมา

dismicrite ดิสมิไครต์ : โคลนคาร์บอเนตหรือมิไครต์ที่ประกอบด้วยสปาไรต์ที่มีลักษณะเป็นเส้นหรือรูปตาซึ่งเกิดจากการตกผลึกในรูชอนไช การเลื่อนไถล การหดตัว รอยแตก หรือการเกิดการรบกวนบนพื้นผิวท้องทะเล

dispersion การกระจาย : ๑. รูปแบบการแพร่ของสิ่งมีชีวิตชนิด (species) ใดชนิดหนึ่งในภูมิภาคต่าง ๆ ของโลก หรือการแพร่ของสารใด ๆ ตามบริเวณต่าง ๆ ๒. การบิดเบี้ยวของแนวคลื่นไหวสะเทือนเนื่องจากความเร็วของคลื่นโดยเฉพาะคลื่นพื้นผิวที่มีความเร็วเปลี่ยนไปตามความถี่ ๓. การกระจายแสงหรือค่าการกระจายแสงที่เป็นผลอันเกิดจากแสงหักเหและแสงหักเหสองแนวเปลี่ยนแปลงหรือเปลี่ยนสภาพไปตามความยาวคลื่นของแสง หากการกระจายของแสงหักเหสองแนวสูงมาก จะได้ค่าสีแทรกสอดสูงผิดปรกติ แสงหักเหสามารถแสดงออกได้ในรูปของดรรชนีหักเหซึ่งให้ลักษณะแบบเดียวกัน ในสเปกตรัม ดรรชนีหักเหของแสงสีม่วงจะมากกว่าของแสงสีแดง ผลต่างระหว่างดรรชนีหักเหทั้งสองคือ ค่าการกระจายแสง แร่ต่าง ๆ จะมีการกระจายแสงต่างกัน แร่ที่มีการกระจายแสงต่ำ เช่น ฟลูออไรต์ แร่ที่มีการกระจายแสงสูง เช่น เพชร ในวิทยาแร่ทางแสง มักบันทึกเป็นค่าการกระจายแสงของแกนแสง ซึ่งสามารถหาลักษณะของการกระจายแสงได้จากการดูรูปแทรกสอดของแร่แกนแสงคู่ ดู isogyre ประกอบ 

displacement pressure ความดันไล่ที่ : ความดันต่ำสุดที่ผลักดันให้ของไหลไม่กระจายตัว เช่น น้ำมัน แก๊ส ไหลเข้าไปอยู่ในหินเนื้อพรุนที่อิ่มตัวด้วยของเหลวกระจายตัว เช่น น้ำ ทำให้ของเหลวกระจายตัวไหลแยกออกไป

disseminated -ที่ฝังประ : คำที่ใช้เรียกแหล่งแร่โดยเฉพาะแร่โลหะ ซึ่งแร่ที่เกิดขึ้นแพร่กระจายในหินและมีปริมาณมากพอที่จะเป็นสินแร่ได้ โดยไม่คำนึงถึงสภาพการเกิด

disseminated ore สินแร่ฝังประ : มวลหินที่มีเม็ดแร่โลหะละเอียดกระจายตัวในปริมาณมากพอที่จะทำให้เกิดเป็นแหล่งสินแร่

dissolved gas drive แรงขับแก๊สละลาย : แรงผลักดันที่เกิดจากการขยายตัวของแก๊สในแหล่งกักเก็บปิโตรเลียมซึ่งสัมพันธ์กับความดันที่ปลดปล่อยออกมาโดยแก๊สที่ละลายอยู่ในปิโตรเลียม ดู bubble point ประกอบ 

distal –ส่วนปลาย : ๑. คำที่ใช้กับแหล่งสินแร่ที่สะสมตัวห่างไกลจากภูเขาไฟต้นกำเนิดนับ ๑๐ กิโลเมตร ๒. คำที่ใช้กับแหล่งสะสมตะกอนที่เกิดไกลจากแหล่งกำเนิด ทำให้ตะกอนในแหล่งสะสมมีขนาดละเอียด ๓. ส่วนของสิ่งมีชีวิตซึ่งจัดเป็นส่วนที่อยู่ห่างจากจุดเริ่มต้นหรือศูนย์กลางการเจริญเติบโตของโครงร่างสิ่งมีชีวิตนั้น ๆ มากที่สุด ดู proximal ประกอบ 

diverse reef พืดหินหลากหลาย : พืดหินที่มีปะการังหลากหลายชนิดเกิดอยู่ด้วยกัน

divide; drainage divide; height of land; topographic divide; water parting; watershed line : ให้แก้คำอธิบายภาพในหน้า ๑๓๐ เป็น “ลำดับทางน้ำ” และย้ายไปไว้ที่ศัพท์ stream orderในหน้า ๒๘๐ และหาภาพใหม่ของ “สันปันน้ำ” มาประกอบคำอธิบายศัพท์

dolarenite หินโดโลไมต์เนื้อทราย : หินโดโลไมต์เนื้อหยาบขนาดเม็ดทราย เกิดจากเม็ดโดโลไมต์ที่จับตัวแข็งเป็นหิน

dolomitization; dolomization การเกิดโดโลไมต์ : กระบวนการที่เปลี่ยนหินปูนเป็นหินโดโลไมต์ โดยการแทนที่แคลเซี่ยมด้วยแมกนีเซียม

dolomization; dolomitization การเกิดโดโลไมต์ : ดู dolomitization; dolomization 

dolomold รอยพิมพ์โดโลไมต์ : ช่องว่างรูปขนมเปียกปูนของผลึกโดโลไมต์ขนาดต่าง ๆ ใน หินเชิร์ต หินดินดาน ไพไรต์ และวัสดุอื่น ๆ ช่องเหล่านี้เกิดจากการที่ผลึกโดโลไมต์ถูกชะละลายออกไป

dolomorphic -รูปโดโลไมต์ : ลักษณะของสารที่มีสมบัติไม่ละลายซึ่งเข้าไปแทนที่รอยพิมพ์โดโลไมต์ในหินเชิร์ตหรือหินอื่น ๆ ทำให้มีรูปทรงเหมือนผลึกโดโลไมต์ ดู dolomold ประกอบ 

dome โดม : ๑. รูปผลึกที่ประกอบด้วยสองหน้าที่ไม่ขนานกันและตัดคร่อมสมมาตรกันโดยสัมพันธ์กับ ระนาบสมมาตร ๒. การยกตัวชั้นหินโค้งประทุนโดยมีขอบกลมหรือเป็นวงรีและชั้นหินเอียงเทไปทุกทิศทาง ๓. ภูมิประเทศที่ผิวราบทรงมนหรือมวลหินกลมใด ๆ ที่มีรูปร่างคล้ายสิ่งก่อสร้างทรงโดม

Donau II ช่วงโดเนา : ธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปตอนกลาง ในช่วงเวลาระหว่าง ๑.๗๒-๑.๔๐ ล้านปี ตามด้วยช่วงคั่นโดเนา/กึนซ์ ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

doodlebug ดูเดิลบัก : ๑. คำที่นิยมใช้เรียกเครื่องมือสำรวจทางธรณีฟิสิกส์ต่าง ๆ ๒. เครื่องมือต่าง ๆ ที่ไม่ใช่อุปกรณ์ทางวิทยาศาสตร์ แต่มักอ้างว่าใช้สำรวจหาตำแหน่งของแหล่งแร่และน้ำมัน

drag mark รอยลาก : ๑. ร่องยาว ๆ หรือริ้วลายขนาน ซึ่งเกิดจากกระแสน้ำลากวัสดุท้องน้ำครูดไปบนผิวหน้าของชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัว ๒. รอยพิมพ์หรือรูปหล่อของรอยลากบนผิวหน้าใต้ท้องชั้นหินที่ปิดทับอยู่บนชั้นหินที่เกิดรอยลาก ดู groove cast ประกอบ 

draw work เครื่องกว้าน : เครื่องกลที่ใช้สำหรับดึง และหย่อนระบบรอกและสายสลิงของหอเจาะ (ดูรูปที่ swivel หมายเลข ๘

drift mine เหมืองอุโมงค์แนวนอน : ดู adit 

drift theory ทฤษฎีการเลื่อนที่ : ในด้านถ่านหิน หมายถึง ทฤษฎีที่ว่าด้วยการเกิดถ่านหินจากการสะสมตัวของซากพืชที่ถูกเคลื่อนย้ายจากแหล่งที่พืชนั้นเจริญเติบโตไปยังอีกที่หนึ่ง แล้วแปรสภาพเป็นถ่านหิน ดู continental displacement; continental drift และ in-situ origin theory; in-situ theory ประกอบ 

drift . การพัดลอยละล่องไป : การที่วัตถุถูกพัดพาให้ลอยละล่องหรือเคลื่อนที่ไปเพราะอิทธิพลของกระแสน้ำ กระแสลม หรือน้ำขึ้นน้ำลง . ตะกอนธารน้ำแข็ง : ตะกอนธารน้ำแข็งที่แสดงชั้นและไม่แสดงชั้น ตะกอนธารน้ำแข็งไม่แสดงชั้น (till) ประกอบด้วยตะกอนดินเหนียว ทราย กรวด ขนาดต่าง ๆ ถึงขนาดก้อนหินมนใหญ่ปะปนกัน ซึ่งธารน้ำแข็งนำพามาแล้วตกทับถมโดยตรงจากธารน้ำแข็ง และตะกอนธารน้ำแข็งแสดงชั้น (stratified drift) เป็นตะกอนที่น้ำที่ละลายจากธารน้ำแข็งนำพามาทับถม มีความหมายเหมือนกับ glacial deposit; glacial drift . เลื่อน : ดูคำอธิบายใน continental displacement; continental drift . อุโมงค์แนวนอน : ดู adit . ค่าคลาดเคลื่อน : [ธรณีฟิสิกส์] ค่าความคลาดเคลื่อนในการวัดค่าความโน้มถ่วง เกิดจากการยืดหรือการคืนตัวของสปริงที่ไม่สมบูรณ์ สามารถแก้ไขได้โดยการวัดจุดเดิมซ้ำหลาย ๆ ครั้ง

drill bit; bit หัวเจาะ : ดู bit; drill bit 

drill stem test (DST) การทดสอบด้วยก้านเจาะ (ดีเอสที) : การทดสอบอัตราการไหลของปิโตรเลียมในหลุมเจาะแบบหนึ่ง ซึ่งทดสอบในชั้นที่ต้องการโดยเครื่องมือทดสอบต่าง ๆ ที่ติดตั้งอยู่ในก้านเจาะ

drill stem ระบบก้านเจาะ : ระบบรวมอุปกรณ์การเจาะตั้งแต่หัวหมุนลงไปจนถึงหัวเจาะ เช่น ก้านเจาะนำ ก้านเจาะ ข้อต่อต่าง ๆ ก้านถ่วง stabilizer และอุปกรณ์พิเศษอื่น ๆ ดู drill string ประกอบ 

drill string ก้านเจาะ : ก้านเจาะและข้อต่อต่าง ๆ ทั้งหมดที่ให้น้ำโคลนไหลผ่านตั้งแต่ก้านเจาะนำถึงก้านถ่วง และหัวเจาะ ดู drill stem ประกอบ 

drillers log ปูมช่างเจาะ : บันทึกหรือรายงานพอสังเขปของช่างเจาะ ซึ่งอธิบายลักษณะของหินที่เจาะผ่านลงไป และบันทึกอัตราการเจาะลึกลงไป โดยทั่วไปมักนิยมบันทึกเป็นช่วงเวลาที่ใช้ไปในการเจาะทุก ๆ ๑ ถึง ๓ เมตร

drilling line; rotary line สลิงเจาะ : เส้นลวดสลิงที่ใช้สำหรับรับน้ำหนักระบบก้านเจาะทั้งหมดกับระบบรอกและกว้านเพื่อยกขึ้นลง

dripstone หินน้ำหยด : ดูคำอธิบายใน flowstone 

drive mechanism; reservoir drive; reservoir drive mechanism แรงขับแหล่งกักเก็บ : กลไกที่ทำให้ของไหลในแหล่งกักเก็บไหลออกมาจากหินกักเก็บเข้าสู่หลุมเจาะโดยธรรมชาติ เช่น จากแรงขับแก๊ส แรงขับน้ำ มีความหมายเหมือนกับ natural drive energy ดู gas drive และ water drive ประกอบ 

driven pipe ท่อตอกนำ : ๑. ท่อที่ตอกอัดลงไปในหลุมเจาะเพื่อปิดกั้นชั้นน้ำ หรือป้องกันหลุมพัง ๒. ท่อกรุแบบหนาปลายด้านล่างคม สำหรับใช้เมื่อไม่สามารถลงท่อกรุธรรมดาได้

driven well บ่อตอก : หลุมตื้นขนาดเล็ก เส้นผ่านศูนย์กลาง ๓-๑๐ เซนติเมตร ที่เกิดจากการใช้ท่อตอกลงไปในชั้นตะกอนที่ยังไม่แข็งตัวจนถึงชั้นน้ำ โดยไม่มีการเจาะหรือใช้น้ำฉีด

dropstone หินทิ้งธารน้ำแข็ง : หินที่ถูกนำพาไปโดยธารน้ำแข็งหรือภูเขาน้ำแข็ง เมื่อน้ำแข็งละลายจะตกจมสะสมตัวอยู่ในตะกอนท้องน้ำใต้ธารน้ำแข็ง

drumlin เนินดรัมลิน, เนินรี : เนินกรวดที่มีลักษณะเป็นรูปรียาวไปตาวแนวทางเคลื่อนตัวของธารน้ำแข็ง ประกอบด้วยกรวดทรายปนคละกันอยู่ เนินชนิดนี้เกิดจากการกระทำของธารน้ำแข็งในอดีตและปัจจุบัน ถ้ามีหินเป็นแกนกลาง เรียก rock drumlin

dry-bone ore สินแร่กระดูกแห้ง : สมิทซอไนต์ [ZnCO3] ชนิดหนึ่ง ที่มีสีขาว ลักษณะคล้ายกระดูกแห้งหรือรวงผึ้ง วาวคล้ายดิน และเปราะ โดยทั่วไปพบในสายแร่หรือในชั้นหินเนื้อปูน เกิดร่วมกับแร่สังกะสีซัลไฟด์ แร่เหล็กซัลไฟด์ และแร่ตะกั่วซัลไฟด์ บางครั้งคำนี้ประยุกต์ใช้เรียกเฮมิมอร์ไฟต์ [Zn4Si2O7(OH)2.H2O.] ด้วย

dry hole; dry well หลุมแห้ง : หลุมเจาะที่ไม่พบน้ำบาดาลหรือพบปิโตรเลียมที่มีปริมาณไม่คุ้มค่าการผลิต ซึ่งจะต้องปิดและสละหลุม หรือหลุมเจาะซึ่งไม่พบสินแร่ที่ต้องการ

DST (drill stem test) ดีเอสที (การทดสอบด้วยก้านเจาะ) : ดู drill stem test (DST) 

dubiofossil ซากดึกดำบรรพ์ปริศนา เพิ่มคำอธิบายความหมายที่ ๒ 

๑. โครงสร้างซึ่งอาจมีกำเนิดจากสิ่งมีชีวิต แต่ไม่สามารถบ่งบอกรายละเอียดได้ว่ามีต้นกำเนิดจากสิ่งมีชีวิตหรือไม่

๒. ดู problematic fossil 

dug well บ่อขุด : บ่อน้ำตื้นที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่าบ่อน้ำบาดาล ขุดด้วยมือหรือใช้เครื่องมือกลแทนการใช้เครื่องเจาะ เช่น บ่อน้ำที่ขุดขึ้นใช้เองในหมู่บ้าน

dyed gemstone; stained gemstone อัญมณีย้อม : ดู stained gemstone; dyed gemstone 

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์ 

 

e/n echelon เหลื่อมขนาน : ลักษณะโครงสร้างที่เหลื่อมและขนานกันเหมือนกับขอบของกระเบื้องบนหลังคาหรือขั้นบันได (มอบ ดร.ปัญญา จารุศิริ วาดภาพประกอบ)

earth core แกนดินเหนียว : มวลของวัสดุเนื้อตัน เช่น เคลย์ที่เอามาใช้สร้างเป็นแกนกลางของเขื่อนหรือพนังดิน

earth history ประวัติโลก : ดู geologic history 

earth tremor; earthquake tremor; tremor แผ่นดินไหวขนาดเล็ก : แผ่นดินไหวที่มีขนาดไม่รุนแรง เช่น แผ่นดินไหวนำ แผ่นดินไหวตาม

earths magnetic field; geomagnetic field สนามแม่เหล็กโลก : สนามแม่เหล็กที่ถือเสมือนว่ามาจากแท่งแม่เหล็กที่เกิดอยู่ที่ศูนย์กลางโลก แนวแกนยาวของแท่งแม่เหล็กนี้เมื่อต่อออกไปจะตัดผ่านผิวโลกตรงจุดที่ถือว่าเป็นขั้วแม่เหล็กโลก การเกิดสนามแม่เหล็กเชื่อว่าเป็นไปตามทฤษฎีไดนาโม (dynamo theory)

earthquake engineering วิศวกรรมแผ่นดินไหว : การศึกษาทางวิศวกรรมที่เกี่ยวข้องกับฐานรากและโครงสร้างซึ่งมีความสัมพันธ์กับความไหวสะเทือนอันเกิดจากการเคลื่อนตัวของแผ่นดิน ตลอดจนการบรรเทาผลกระทบที่เกิดกับโครงสร้าง มีความหมายเหมือนกับ engineering seismology 

earthquake focus; focus; hypocentre; seismic focus ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว : ดู seismic focus; earthquake focus; focus; hypocentre 

earthquake intensity ความเข้มแผ่นดินไหว : การวัดความเสียหายหรือผลกระทบที่เกิดจากแผ่นดินไหวที่ตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่ง ความเข้มไม่ได้ขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่นดินไหวแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังขึ้นอยู่กับระยะทางที่ห่างออกไปจากจุดศูนย์กลางแผ่นดินไหวและลักษณะธรณีวิทยาของพื้นที่ ณ ตำแหน่งนั้นด้วย ดู intensity scale และ mercury scale ประกอบ 

earthquake magnitude ขนาดแผ่นดินไหว : การวัดขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว ซึ่งวัดจากพลังงานความเครียดที่ถูกปล่อยออกมา โดยใช้เครื่องมือวัดความไหวสะเทือน ดู Richter scale และ earthquake intensity ประกอบ 

earthquake seismology วิทยาคลื่นไหวสะเทือนจากแผ่นดินไหว : วิทยาศาสตร์สาขาหนึ่งที่ศึกษาถึงคลื่นไหวสะเทือนที่เกิดจากแผ่นดินไหว เพื่อหาข้อเท็จจริงของโลกและโครงสร้างของโลกเกี่ยวกับแผ่นดินไหว เช่น ขนาดความรุนแรงของแผ่นดินไหว การพยากรณ์และให้คำเตือนล่วงหน้าเพื่อความปลอดภัยของมนุษย์ รวมถึงการกำหนดจุดระเบิดและผลติดตามของระเบิดปรมาณูทุกแบบ ทั้งนี้ ด้วยอาศัยการศึกษาจากข้อมูลของเครื่องวัดความไหวสะเทือนที่ประดิษฐ์ขึ้น เพื่อใช้วัดความไหวสะเทือนในช่วงระยะเวลายาวหรือสั้น

earthquake swarm ระลอกแผ่นดินไหว : ชุดของแผ่นดินไหวขนาดเล็กซึ่งมีขนาดใกล้เคียงกัน เกิดต่อเนื่องกันในบริเวณพื้นที่จำกัดและในห้วงเวลาสั้น ๆ ไม่สามารถบอกได้ว่าเหตุการณ์แผ่นดินไหวใดเป็นเหตุการณ์หลัก

earthquake tremor; earth tremor; tremor แผ่นดินไหวขนาดเล็ก : ดู earth tremor; earthquake tremor; tremor 

earthquake wave คลื่นแผ่นดินไหว : คลื่นไหวสะเทือนชนิดหนึ่งที่เกิดตามธรรมชาติ ดู seismic wave ประกอบ 

earthquake zone เขตแผ่นดินไหว : บริเวณเปลือกโลกซึ่งเกิดการเคลื่อนที่ของรอยเลื่อน บางครั้งมีภูเขาไฟเกิดร่วมด้วย ดู seismic belt และ seismic area ประกอบ 

Eburonion ช่วงเอบูโรเนียน : ธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนที่เกิดขึ้นในทวีปยุโรปตะวันตกเฉียงเหนือในช่วงเวลาระหว่าง ๑.๗๒-๑.๔๐ ล้านปี ตามด้วยช่วงคั่นวาเลียน ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

echo sounder เครื่องวัดเสียงสะท้อน : เครื่องมือสำรวจชนิดหนึ่งที่ใช้วัดความลึกของน้ำ โดยการวัดเวลาที่คลื่นเสียงเดินทางถึงพื้นท้องน้ำแล้วสะท้อนกลับ ดู fathometer ประกอบ 

echogram บันทึกเสียงสะท้อน : กราฟแสดงผลบันทึกแบบต่อเนื่องซึ่งได้จากเครื่องวัดเสียงสะท้อน เพื่อใช้หาความลึกของน้ำ จัดทำแผนที่เส้นชั้นความลึกท้องน้ำหรือภาคตัดภูมิประเทศใต้น้ำ ดู fathogram ประกอบ 

ecography นิเวศวรรณนา : นิเวศวิทยาภาคบรรยายเกี่ยวกับแบบแผนของความหลากหลายทางชีวภาพที่เกี่ยวข้องในทางนิเวศวิทยา รวมทั้งการกระจายของสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์ การอนุรักษ์ทางนิเวศวิทยาและธรรมชาติวิทยา นอกจากนี้ยังรวมถึงความรู้ด้านนิเวศวิทยาภูมิภาพ พันธุนิเวศวิทยา บรรพกาลนิเวศวิทยา และนิเวศวิทยายุคควอเทอร์นารี ซึ่งจะช่วยเสริมความเข้าใจในแบบแผนของนิเวศวิทยาในปัจจุบันให้ดียิ่งขึ้น

ecology นิเวศวิทยา : การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อมของสิ่งมีชีวิตรวมถึงการศึกษาชุมชีพหรือชุมนุมสิ่งมีชีวิต (community) รูปแบบการใช้ชีวิต (pattern of life) วงจรทางธรรมชาติ (natural cycle) ความสัมพันธ์ซึ่งกันและกันของสิ่งมีชีวิต ชีวภูมิศาสตร์ (biogeography) และ การเปลี่ยนแปลงประชากร (population change) มีความหมายเหมือนกับ bionomics ดู paleoecology และ ecography ประกอบ 

economic geology เศรษฐธรณีวิทยา : สาขาหนึ่งของวิชาธรณีวิทยาที่ประยุกต์ความรู้ทางธรณีวิทยาและทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อค้นหาและทำความเข้าใจเกี่ยวกับแหล่งทรัพยากรธรณี ตลอดจนการศึกษาลักษณะและความเป็นไปได้ในการนำทรัพยากรธรณีไปใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์

edge water น้ำขอบแหล่ง : น้ำที่อยู่บริเวณรอบขอบแหล่งน้ำมันหรือแก๊สในแหล่งกักเก็บน้ำที่อยู่บริเวณโดยรอบของแหล่งกักเก็บปิโตรเลียม

Eemian ช่วงคั่นอีเมียน : ช่วงเวลาที่ธารน้ำแข็งของสมัยไพลสโตซีนในทวีปยุโรปละลาย อยู่ระหว่างช่วงชาเลียนกับช่วงไวช์เซเลียนในยุโรปตะวันตก หรือช่วงริสส์กับช่วงวืร์มในยุโรปกลาง มีความหมายเหมือนกับ R/W Interglacial ดู ตารางช่วงอายุธารน้ำแข็งและช่วงคั่นธารน้ำแข็งสมัยไพลสโตซีนในทวีปอเมริกาเหนือและทวีปยุโรป ประกอบ 

effective permeability สภาพให้ซึมได้ยังผล : ความสามารถของหินที่ยอมให้ของไหลเพียงชนิดเดียว เช่นแก๊สที่ผสมอยู่ในน้ำมันไหลซึมผ่านเนื้อหินชนิดนี้ไปได้ ดู absolute permeability ประกอบ 

effective porosity ความพรุนยังผล : ปริมาณเป็นร้อยละของรูพรุนที่ต่อเนื่องกันในปริมาตรของดินหรือหินทั้งหมด ดู porosity; total porosity ประกอบ 

ejecta; ejectamenta สารอัคนีพุ : ๑. ดู pyroclastic rock; volcanic clastic ๒. วัสดุที่พ่นออกมาจากการระเบิดของภูเขาไฟ เช่น เถ้าภูเขาไฟ มูลภูเขาไฟบอมบ์ภูเขาไฟ

elastic bitumen; elaterite บิทูเมนยืดหยุ่น : ดู elaterite; elastic bitumen 

elastic limit ขีดจำกัดความยืดหยุ่น : ความเค้นสูงสุดที่เกิดขึ้นในวัสดุ ซึ่งวัสดุนั้นสามารถกลับคืนสภาพโดยไม่เห็นการเปลี่ยนรูปอย่างชัดเจน หากเกินจุดนี้จะแตกหักหรือเปลี่ยนรูปอย่างถาวร

elasticity สภาพยืดหยุ่น : สมบัติของสารที่เปลี่ยนรูปร่างไปจากเดิมเพียงชั่วคราว เปลี่ยนไปเฉพาะช่วงที่ถูกแรงเค้นกระทำ รูปร่างของสารนั้นจะเปลี่ยนกลับสู่สภาพเดิมทันทีเมื่อปลดแรงเค้นออก

elasticoviscous behaviour สภาพหยุ่นหนืด : สภาพความเครียดของวัสดุซึ่งมีความหนืด แต่เปลี่ยนรูปแบบยืดหยุ่นภายใต้ความเค้นชั่วระยะเวลาสั้น ๆ เมื่อความเครียดที่มีอยู่ยาวนานถูกปลดปล่อย ระดับการคืนสภาพยืดหยุ่นของวัสดุหยุ่นหนืดนั้นจะคืนสภาพได้น้อยกว่าการคืนสภาพของวัสดุยืดหยุ่นจริง

elastic-rebound theory ทฤษฎีคืนกลับความยืดหยุ่น : ทฤษฎีที่ว่าด้วยการเคลื่อนที่ตามแนวรอยเลื่อนเป็นผลมาจากการที่ความเครียดยืดหยุ่นระหว่างมวลหินแต่ละข้างของรอยเลื่อนซึ่งมีขนาดเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อย่างต่อเนื่องจนเลยขีดจำกัดความยืดหยุ่น ทำให้ชั้นหินเคลื่อนที่จากกันและความเครียดได้ถูกปล่อยออกไปอย่างฉับพลัน ทำให้เกิดคลื่นไหวสะเทือน การเคลื่อนที่ดังกล่าวทำให้หินกลับคืนสู่สภาพที่มีความเครียดเพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย แฮร์รี ฟิลดิง รีด (Harry Fielding Reid) เป็นผู้เสนอทฤษฎีนี้เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๙

elaterite; elastic bitumen บิทูเมนยืดหยุ่น : บิทูเมนสีน้ำตาล มีลักษณะอ่อนและยืดหยุ่นได้เมื่อยังใหม่อยู่ จะแข็งและเปราะเมื่อสัมผัสอากาศ เกิดจากกระบวนการแปรสภาพของปิโตรเลียม

Elbe ช่วงเอลเบ : ดู GÜnz 

electric log มติที่ประชุม ให้เก็บศัพท์และศัพท์บัญญัติพร้อมทั้งใช้คำอธิบายศัพท์ตามในหนังสือพจนานุกรมศัพท์ธรณีวิทยา หน้า ๑๓๘

electric survey การสำรวจวัดทางไฟฟ้า : การสำรวจวัดสนามไฟฟ้าซึ่งอาจเกิดขึ้นตามธรรมชาติหรือที่ได้จากการทำขึ้น ณ บริเวณพื้นผิวโลกหรือใกล้กับผิวโลกเพื่อค้นหาแหล่งแร่ ความลึกถึงหินดานหรือหินฐาน และโครงสร้างทางธรณีวิทยา

electrical conductivity สภาพนำไฟฟ้า : ความสามารถของสารในการให้กระแสไฟฟ้าไหลผ่าน สภาพนำไฟฟ้าของสารที่มีสมบัติทางกายภาพเหมือนกันโดยตลอด มีค่าเท่ากับส่วนกลับของความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ มีหน่วยเป็นซีเมนต่อเมตร

electrode polarization การเกิดขั้วไฟฟ้า : การเกิดความต่างศักย์ไฟฟ้าขึ้นตรงรอยสัมผัสระหว่างอนุภาคแร่โลหะและอิเล็กโทรไลต์เมื่อมีมวลเม็ดแร่โลหะ เช่น คาลโคไพไรต์ แมกนีไทต์ แกรไฟต์ ขวางทางการไหลของกระแสไฟฟ้าที่เกิดอยู่ตาม

ธรรมชาติใต้ผิวดิน ซึ่งกระแสไฟฟ้านี้เกิดจากไอออนในอิเล็กโทรไลต์ที่อยู่ในรูพรุนของหิน ไอออนเหล่านี้จะไปสะสมตัวอยู่ตรงรอยต่อประสานระหว่างเม็ดแร่และอิเล็กโทรไลต์ แคตไอออนจะเกาะอยู่บริเวณที่มีกระแสไฟฟ้าไหลเข้า แอนไอออนจะอยู่ตรงบริเวณกระแสไหลออก ซึ่งเป็นปรากฏการณ์หนึ่งที่ให้ผลตอบสนองต่อการสำรวจด้วยวิธีการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ

electrode ขั้วไฟฟ้า : วัตถุที่เป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งอาจเป็นลวด เป็นแท่ง หรือเป็นแผ่น ในทางธรณีฟิสิกส์มี ๒ แบบ คือ ๑. แท่งโลหะนำไฟฟ้าที่ใช้ตอกลงในดิน ทำหน้าที่เป็นตัวเชื่อมต่อทางไฟฟ้ากับสารอื่น ๆ เช่น เป็นขั้วกระแสไฟฟ้า และเป็นขั้วศักย์ไฟฟ้า ในการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ และเป็นขั้วกระแสไฟฟ้าในการสำรวจการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำ ๒. ถ้วยดินเผารูปทรงกระบอก ส่วนบนเป็นกระเบื้องเคลือบ ส่วนล่างไม่เคลือบ มีรูพรุนให้สารละลายไหลซึมผ่านได้ มีแท่งโลหะทองแดงอยู่ตรงกลางทำหน้าที่เป็นขั้วไฟฟ้า แช่อยู่ในสารละลายทองแดงซัลเฟต ส่วนบนมีฝาปิด ใช้เป็นขั้วกระแสไฟฟ้าในการสำรวจศักย์ไฟฟ้าในตัว (SP) ใช้เป็นขั้วศักย์ไฟฟ้าในการสำรวจการเกิดขั้วแบบเหนี่ยวนำและการสำรวจความต้านทานไฟฟ้าจำเพาะ ดู current electrode และ potential electrode ประกอบ 

electron microscope กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอน : กล้องจุลทรรศน์ที่ใช้ลำอิเล็กตรอนซึ่งปรับระยะความชัดเจนด้วยระบบเลนส์ไฟฟ้าหรือแม่เหล็ก เพื่อขยายภาพของวัตถุขนาดเล็กมาก ๆ ให้ดูใหญ่และชัดเจนยิ่งขึ้นบนจอแสดงผลหรือแผ่นภาพถ่าย ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับลำแสงที่ใช้ในกล้องจุลทรรศน์แบบผสม อิเล็กตรอนมีความยาวคลื่นสั้นมากจึงสามารถให้ภาพที่มีความละเอียดและคมชัดกว่าเครื่องมือทางแสงอื่น ๆ มีกำลังขยายสูงถึง ๑๐๐,๐๐๐ เท่า กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนมี ๒ ประเภท คือ กล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องผ่าน (transmission electron microscope) และกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนส่องกราด (scanning electron microscope)

electro-osmosis ออสโมซิสไฟฟ้า : การเคลื่อนที่ของของเหลวผ่านเยื่อบางภายใต้อิทธิพลของสนามไฟฟ้าที่ใส่เข้าไป

electrostatic precipitator (ESP) เครื่องดักฝุ่นด้วยไฟฟ้า (อีเอสพี) : เครื่องมือที่ประดิษฐ์ขึ้นเพื่อควบคุมมลพิษทางอากาศด้วยการแยกฝุ่นละอองออกจากควันหรือแก๊ส โดยให้ประจุไฟฟ้าแก่อนุภาคที่ต้องการแยก ทำให้สามารถแยกออกได้โดยใช้ขั้วไฟฟ้า

electroviscosity ความหนืดทางไฟฟ้า : ความหนืดของของไหลซึ่งเกิดจากอิทธิพลของสมบัติทางไฟฟ้า ตัวอย่างเช่น ของไหลที่มีสภาพนำไฟฟ้าต่ำมีความหนืดมากกว่าของไหลที่มีสภาพนำไฟฟ้าสูงเมื่อไหลผ่านรูเล็ก ดู capillary ๒ ประกอบ 

elevation correction การปรับค่าระดับ : ๑. การแก้ค่าเวลาการเดินทางของคลื่นเสียงจากต้นกำเนิดถึงเครื่องรับคลื่นในการสำรวจวัดความไหวสะเทือนชนิดคลื่นสะท้อนและคลื่นหักเห เนื่องจากเครื่องรับคลื่นอยู่ในตำแหน่งที่ค่าระดับแตกต่างกัน ทั้งนี้เพื่อให้ได้เวลาการเดินทางของคลื่นถึงเครื่องรับที่อยู่บนระดับเดียวกัน ๒. การแก้ค่าความโน้มถ่วงซึ่งวัดได้ ณ จุดสำรวจที่มีค่าระดับต่างกัน เพื่อให้ได้เป็นค่าความโน้มถ่วงที่จุดสำรวจซึ่งมีค่าระดับเดียวกันบนแนวระดับอ้างอิงค่าใดค่าหนึ่งหรือบนพื้นฐานระดับ (datum) ซึ่งตามปรกติใช้ระดับน้ำทะเลปานกลางเป็นหลัก ในการสำรวจวัดค่าความโน้มถ่วง การปรับค่าระดับเป็นผลรวมของการแก้ค่าฟรีแอร์และการแก้ค่าบูแกร์

Elsterian ช่วงเอลสเตอรียน : ดู Mindel 

eluviation การซึมชะ : การเคลื่อนย้ายสารหรือวัสดุในชั้นดินออกไปในสภาพสารแขวนลอย (suspension) หรือสารละลาย (solution) โดยปรกติเคลื่อนตัวไปกับน้ำที่ไหลซึมผ่านจากชั้นดินบนสู่ชั้นดินล่าง เป็นผลทำให้ชั้นดินที่สารหรือวัสดุเคลื่อนย้ายออกไปนั้นเหลือแร่ธาตุอยู่น้อยมีสีจางกว่าเดิม เรียกว่า ชั้นซึมชะ ดู illuviation และ leaching ประกอบ 

emanation การปลดปล่อย : การฟุ้งหรือการพ่นของสารระเหยและที่ไม่ใช่สารระเหย ไอน้ำ และแก๊สจากภูเขาไฟและหินหนืดในช่วงที่ผ่านมา โดยมีส่วนประกอบและความ

หนาแน่นต่าง ๆ กัน คำนี้ปรกติใช้ทั้งของเหลวและแก๊ส

embankment . พนังชายฝั่ง : สันดอนทราย สันดอนจะงอยทราย หรือสันดอนที่เกิดตามชายฝั่งทะเลหรือทะเลสาบ โดยการสะสมของตะกอนต่าง ๆ เนื่องจากการกระทำของคลื่นและกระแสน้ำ . พนังดิน : พนังหรือคันดินที่สร้างขึ้นเพื่อกักเก็บน้ำ หางแร่ หรือเพื่อก่อสร้างถนน

emery ๑. หินเอเมอรี : หินเนื้อเม็ดที่ประกอบด้วยแร่คอรันดัม แมกนีไทต์ และสปิเนล เกิดจากการตกผลึกแยกตัวจากหินหนืด หรือแปรสภาพมาจากหินที่มีอะลูมิเนียมสูง ในประเทศไทยพบที่อำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมา ๒. เอเมอรี : แร่คอรันดัมชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นเม็ดสีดำ เทา เทาถึงดำ เนื่องจากมีแร่แมกนีไทต์หรือฮีมาไทต์เป็นมลทิน มักเกิดเป็นมวลในหินปูนหรือหินอัคนี เนื่องจากมีลักษณะเป็นเม็ดและมีความแข็ง จึงนิยมใช้เป็นวัสดุขัดสีและขัดมัน

emplacement การแทรก : ๑. กระบวนการแทรกซอนของหินอัคนี ๒. แหล่งสินแร่ที่เกิดขึ้นโดยกระบวนการต่าง ๆ

emulsion อัลชัน : การที่ของเหลว ๒ ชนิดผสมเป็นเนื้อเดียวกันในสถานะกระจายตัวอยู่ด้วยกัน เช่น น้ำมันปริมาณน้อยผสมกับน้ำ น้ำมันจะอยู่ในสถานะกระจาย และน้ำอยู่ในสถานะตัวกลาง แต่ถ้าน้ำปริมาณน้อยผสมกับน้ำมัน น้ำจะอยู่ในสถานะที่กลับกัน หรือใช้เรียกโคลนเจาะที่ใช้กับหัวเจาะฝังเพชร

encroachment การซึมแทนที่ : การที่น้ำไหลเข้าไปแทนที่น้ำมันหรือแก๊สในแหล่งกักเก็บ ขณะกำลังผลิต หรือขณะที่อัตราการผลิตลดลง

engineering geophysics ธรณีฟิสิกส์งานวิศวกรรม : การประยุกต์ใช้วิธีการต่าง ๆ ทางธรณีฟิสิกส์เพื่อหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่องานวิศวกรรมโยธา โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อค้นหาลักษณะการวางตัวของชั้นดิน ชั้นตะกอน และชั้นหินที่อยู่ลึกลงไป รวมทั้งสมบัติทางฟิสิกส์ของเนื้อหินด้วย เช่น สมบัติเกี่ยวกับความยืดหยุ่นของหิน ซึ่งหาได้โดยการวัดคลื่นไหวสะเทือนและความหนาแน่น วิธีธรณีฟิสิกส์ที่ใช้กับงานวิศวกรรม คือ วิธีคลื่นไหวสะเทือนทั้งชนิดคลื่นสะท้อน

และคลื่นหักเห วิธีความโน้มถ่วง วิธีแม่เหล็ก และวิธีไฟฟ้า ข้อมูลที่ได้คือ ความลึกถึงหินดาน และโครงสร้างทางธรณีวิทยาใต้ผิวดิน

engineering seismology วิทยาคลื่นไหวสะเทือนทางวิศวกรรม : ดู earthquake engineering 

enhance oil recovery (EOR) การผลิตเสริม (อีโออาร์) : การผลิตน้ำมันหลังจากขั้นปฐมภูมิเสร็จสิ้นลง โดยทั่วไปมี ๒ แบบ ทั้งนี้ขึ้นกับความดันของแหล่งกักเก็บ ได้แก่ การใช้ของไหลหรือความร้อนอัดเข้าไปในชั้นหินกักเก็บ ผ่านทางหลุมอัดฉีดเพื่อไล่น้ำมันเข้าสู่หลุมผลิต ซึ่งจะทำให้ความดันและการไหลในแหล่งกักเก็บยังคงมีอยู่ต่อไป ในกรณีที่แหล่งกักเก็บไม่มีความดันจะใช้วิธีการที่ทำให้น้ำมันไหลได้ดีขึ้น โดยใช้สารเคมี แก๊ส หรือความร้อน

enthalpy เอนทัลปี : พลังงานหรือความร้อนทั้งหมดมีค่าเท่ากับผลบวกของพลังงานภายในระบบรวมกับจำนวนที่ได้จากปริมาตรคูณด้วยความดัน ตามนิยามดังนี้ H = U + PV เมื่อ H = เอนทัลปี U = พลังงานภายในระบบ V = ปริมาตร P = ความดัน

entropy เอนโทรปี : ๑. การวัดพลังงานในระบบหนึ่งซึ่งไม่สามารถแปรเปลี่ยนไปสู่พลังงานรูปอื่นได้ ๒. การวัดระดับขั้นการผสมของหินหลายชนิดในหน่วยลำดับชั้นหิน ถ้าหน่วยลำดับชั้นหินนั้นมีองค์ประกอบของหินเป็นชนิดเดียวหรือเป็นอนุพันธ์ นั่นก็หมายความว่า เอนโทรปีของหน่วยลำดับชั้นหินนั้นมีค่าเข้าใกล้ศูนย์ ๓. ความเป็นไปได้ในการกระจายพลังงานที่ใช้ภายในหรือตามแม่น้ำลำธาร โดยที่สภาวะที่เป็นไปได้มากที่สุดก็คือ เมื่อธารน้ำค่อย ๆ ปรับระดับให้เข้าสู่สมดุล หรือมีการกระจายพลังงานอย่างสม่ำเสมอ

envelope ส่วนขอบ : บริเวณส่วนนอกหรือส่วนที่ปกคลุมรอยคดโค้ง โดยเฉพาะของโครงสร้างรอยคดโค้งซึ่งรวมทั้งโครงสร้างรอยแตกบางชนิด ดู core ความหมายที่ ๒ ประกอบ 

EOR (enhance oil recovery) อีโออาร์ (การผลิตเสริม) : ดู enhance oil recovery (EOR) 

epilimnion ชั้นน้ำส่วนบน : ในทะเลสาบที่สามารถแบ่งน้ำออกได้เป็นชั้น ๆ ตามระดับของอุณหภูมิของน้ำที่ลดลงจากผิวหน้าของน้ำลงสู่ก้นทะเลสาบ ชั้นน้ำชั้นบนสุดจะเป็นชั้นน้ำที่มีอุณหภูมิคงที่ และมีความอุ่นมากกว่าชั้นอื่น ๆ มีแสงส่องผ่าน มีออกซิเจนละลายอยู่มาก และมีการผสมผสานอย่างสม่ำเสมอด้วยแรงกระทำของคลื่นลม ชั้นน้ำชั้นนี้เรียกว่า ชั้นน้ำส่วนบน (epilimnion) ชั้นน้ำที่มีลักษณะเดียวกันเช่นนี้ หากเกิดในทะเลหรือมหาสมุทร เรียกว่า ชั้นน้ำผสม (mixed layer) โดยความหนาแน่นในชั้นน้ำผสมจะน้อยกว่าในชั้นน้ำชั้นอื่น หรือมีลาดความหนาแน่น (pycnocline) ลดลงซึ่งตรงข้ามกับลาดความเค็ม (halocline) ที่เพิ่มขึ้น ใต้ชั้นน้ำส่วนบนระดับอุณหภูมิของน้ำจะลดลงอย่างรวดเร็ว แนวความลึกของน้ำที่อุณหภูมิลดลงอย่างฉับพลันเรียกว่า ลาดความร้อน (thermocline) และชั้นน้ำชั้นนี้เรียกว่า ชั้นน้ำส่วนกลาง (metalimnion; clinolimnion; mesolimnion) ส่วนชั้นน้ำชั้นล่างสุดเป็นชั้นน้ำที่มีอุณหภูมิเยือกเย็นกว่าชั้นอื่น ๆ ยกเว้นในช่วงที่มีการไหลเวียนกลับ (turnover) นอกจากนี้ยังเป็นชั้นน้ำนิ่ง สงบ มีออกซิเจนน้อยและมีความแน่นมากกว่าชั้นอื่น ๆ ชั้นน้ำชั้นนี้เรียกว่า ชั้นน้ำส่วนล่าง (hypolimnion; bathylimnion) 

epimagmatic : ดู deuteric *9/45 (รอบัญญัติศัพท์)

epithermal -อุณหภูมิต่ำ : คำที่ใช้กับแหล่งแร่แบบน้ำร้อนที่กำเนิด ณ อุณหภูมิ ๕๐-๒๐๐ องศาเซลเซียส และที่ระดับตื้น ซึ่งโดยทั่วไปน้อยกว่า ๑ กิโลเมตรจากผิวโลก คำนี้ยังใช้ในความหมายด้านสิ่งแวดล้อมด้วย ดู hypothermal, mesothermal และ telethermal ประกอบ 

epithermal deposit แหล่งแร่น้ำร้อนอุณหภูมิต่ำ : แหล่งแร่ที่มีกำเนิดจากน้ำร้อนที่อุณหภูมิต่ำและที่ระดับตื้น ซึ่งโดยทั่วไปน้อยกว่า ๑ กิโลเมตรจากผิวโลก อุณหภูมิ

ทั่วไป ๕๐-๒๐๐ องศาเซลเซียสดู hypothermal deposit, mesothermal deposit และ telethermal deposit ประกอบ 

epizone เขตแปรสภาพระดับตื้น : บริเวณความลึกช่วงบนสุดของการแปรสภาพของหิน เกิดในสภาพแวดล้อมที่ความดันและอุณหภูมิต่ำถึงปานกลาง มีแรงเค้นหรือแรงเฉือนสูง ที่ความลึกใกล้ผิวโลกจนถึงประมาณ ๕ กิโลเมตร ความดันน้อยกว่า ๐.๑๕ จิกะพาสคัล (GPa) อุณหภูมิต่ำกว่า ๓๐๐ องศาเซลเซียส หินข้างเคียงในบริเวณนี้เป็นหินตะกอนและหินภูเขาไฟที่แปรสภาพไปเป็นหินแปรขั้นต่ำ เช่น หินชนวน หินฟิลไลต์ หินไมโลไนต์ หินชีสต์ บางส่วนแสดงการแปรเปลี่ยนโดยไอน้ำร้อนและเกิดเป็นแหล่งแร่ อันเป็นผลมาจากการแทรกซอนของหินอัคนีขนาดเล็กหลายครั้ง แนวการแปรสภาพสัมผัสกับหินข้างเคียงชัดเจน การแทรกเกิดขึ้นหลังการแปรสัณฐาน

equatorial dipole-dipole array แถวลำดับขนานสองขั้วคู่ : รูปแบบการวางขั้วไฟฟ้าแบบแนวขั้วกระแสไฟฟ้าขนานกับแนวขั้วศักย์ไฟฟ้า โดยเส้นลากต่อระหว่างจุดกึ่งกลางของแนวขั้วกระแสไฟฟ้ากับจุดกึ่งกลางของแนวขั้วศักย์ไฟฟ้าตั้งฉากกับแนวขนาน ซึ่งมีระยะห่างเท่ากับ r

equigranular; even-grained; homogranular -เนื้อขนาดเดียว : ดู homogranular; equigranular; even-grained 

erratic; glacial erratic หินธารน้ำแข็งพา : ก้อนหินที่ถูกนำพาโดยธารน้ำแข็งไปตกทับถมห่างไกลจากแหล่งกำเนิด มีขนาดตั้งแต่กรวดเล็กถึงก้อนหินมนใหญ่ โดยทั่วไปพบตั้งอยู่บนหินที่ต่างชนิดกัน

ESP (electrostatic precipitator) อีเอสพี (เครื่องดักฝุ่นด้วยไฟฟ้า) : ดู electrostatic precipitator (ESP) 

ethane อีเทน : แก๊สธรรมชาติที่มีส่วนประกอบเป็น C2H6 ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี

eutectic point จุดยูเทกติก : อุณหภูมิต่ำสุดที่สารผสมยังคงสถานะของเหลวอยู่ได้ และอุณหภูมินี้เป็นอุณหภูมิสูงสุดที่ของแข็งสามารถคงสถานะอยู่ได้

eutectic texture เนื้อประสาน : ลายเนื้อหินที่เกิดจากการประสานกันแน่นของผลึกแร่ตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป ที่เกิดจากการตกผลึกพร้อมกันในระหว่างที่กลายเป็นหิน เช่น ควอตซ์และเฟลด์สปาร์ในเนื้อหินกราฟิกแกรนิต

eutectic ยูเทกติก : ระบบหนึ่งซึ่งมีของแข็งตั้งแต่ ๒ ชนิดขึ้นไป และของเหลว ๑ ชนิด โดยมีส่วนประกอบที่จะละลายในสัดส่วนต่าง ๆ กัน

evaporite; evaporate หินเกลือระเหย : หินตะกอนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยแร่ซึ่งตกตะกอนเนื่องจากการระเหยของสารละลาย อาจเกิดได้ทั้งบนบกและในทะเล แร่ที่พบส่วนใหญ่ประกอบด้วยเฮไลต์ ยิปซัม และแอนไฮไดรต์

even-grained; equigranular; homogranular -เนื้อขนาดเดียว : ดู homogranular; equigranular; even-grained 

exfoliation boulder หินกาบมน : ดูคำอธิบายใน boulder 

exploitation . การผลิตใช้ : การผลิตและนำเอาทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น การทำเหมืองแร่ การผลิตปิโตรเลียม และการนำเอาน้ำจากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ . การทดลองทำเหมือง : การศึกษาและวิจัยเกี่ยวกับการทำเหมืองแร่ หลังจากที่มีการสำรวจแหล่งแร่แล้วพบว่าสามารถทำเหมืองได้

exploration geophysics ธรณีฟิสิกส์สำรวจ : การประยุกต์ใช้วิชาธรณีฟิสิกส์ในการสำรวจ งานด้านวิศวกรรม ด้านโบราณคดี และอื่น ๆ

exploration well หลุมสำรวจ : หลุมเจาะที่เจาะในพื้นที่หรือความลึกที่ยังไม่เคยพบแหล่งแร่หรือปิโตรเลียม เพื่อค้นหาแหล่งใหม่ หรือเพื่อการขยายขอบเขตของแหล่งที่ค้นพบแล้ว

exploration การสำรวจ : ๑. กระบวนการเสาะแสวงหาแหล่งทรัพยากรธรณีที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจอย่างเป็นระบบ โดยการจำกัดขอบเขตของพื้นที่ที่มีศักยภาพทางทรัพยากรธรณีสูงให้แน่ชัดขึ้น วิธีการที่ใช้คือ การพิสูจน์ตรวจสอบหินโผล่ การสำรวจทำแผนที่ธรณีวิทยา และวิธีการทางอ้อมอื่น ๆ เช่น การศึกษาทางธรณีเคมีและธรณีฟิสิกส์ อาจดำเนินการขุดร่องสำรวจ เจาะสำรวจ และเก็บตัวอย่างในวงจำกัดได้ ขั้นตอนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพิสูจน์หาแหล่งทรัพยากรธรณีซึ่งจะเป็น

เป้าหมายของการสำรวจขั้นต่อไป ปริมาณทรัพยากรจัดอยู่ในขั้นคาดคะเนโดยอาศัยพื้นฐานการแปลความหมายจากผลการสำรวจธรณีวิทยา ธรณีเคมี และธรณีฟิสิกส์ มีความหมายเหมือนกับ prospecting 21/44 ๒. การสร้างรูปแบบทางธรรมชาติของแหล่งแร่ที่พบแล้ว เพื่อเตรียมการก่อนการพัฒนาต่อไป ซึ่งแบ่งออกเป็น ๒ ขั้นตอน คือ การสำรวจทั่วไป และการสำรวจขั้นละเอียด ดู general exploration และ detailed exploration ประกอบ 

exploratory well; exploration well หลุมสำรวจ : ดู exploration well; exploratory well 

extension well หลุมเจาะต่อขยาย : หลุมเจาะใด ๆ ที่เจาะเพื่อขยายขอบเขตของพื้นที่ที่ทำการผลิตอยู่

extinction position ตำแหน่งมืด : ตำแหน่งที่เม็ดแร่มีค่าความเข้มของสีแทรกสอดเป็นศูนย์ซึ่งเป็นตำแหน่งที่เห็นเม็ดแร่มืดดำ ตำแหน่งนี้เกิดขึ้นเมื่อแกนแสงแอลฟา () และแกนแสงแกมมา (γ) ของวัตถุขนานกับระนาบสั่นของแผ่นโพลาไรเซอร์และแผ่นแอนาไลเซอร์ ซึ่งเกิดขึ้นทุก ๆ การหมุนครบรอบ ๙๐ องศา จึงพบได้ ๔ ตำแหน่ง ในการหมุนแป้นที่วางตัวอย่าง ๑ รอบ ปรากฏการณ์นี้จะเกิดกับแร่แอนไอโซทรอปิก มีความหมายเหมือนกับ extinction ๒ 

extinction . การสูญพันธุ์, การหมดไป : ๑.๑ การที่สิ่งมีชีวิตชนิดใดชนิดหนึ่งสูญพันธุ์ ๑.๒ การที่ทะเลสาบแห้ง น้ำระเหยไปหมด . ตำแหน่งมืด : ดู extinction position 

extrusion การพุ : การแทรกดันของหินหนืดขึ้นมาบนผิวโลกจนทำให้เกิดเป็นลาวาและแข็งตัวเป็นหินอัคนีพุในที่สุด อีกทั้งยังทำให้เกิดโครงสร้างหรือรูปร่างต่าง ๆ เช่น ลาวาหลากหินตะกอนภูเขาไฟ โดมภูเขาไฟ

 

ข้อมูลคำศัพท์ธรณีวิทยานี้ได้จากการรวบรวมของ ดร.ปัญญา จารุศิริ สำหรับใช้เพื่อการศึกษาเท่านั้น
ห้ามคัดลอกไปใช้เพื่อการพาณิชย์