นักธรณีวิทยาที่ออกสำรวจไกลที่สุด

by

นักธรณีวิทยาที่ออกภาคสนามไกลที่สุดได้เดินทางไปพร้อมกับทีมสำรวจดวงจันทร์อพอลโล่ 17 ซึ่งเป็นปฏิบัติการสุดท้ายของโครงการอพอลโล่ ด้วยระยะทางกว่าสามแสนแปดหมื่นสี่พันสี่ร้อยกิโลเมตรจากพื้นโลก เขาไปทำอะไรที่นั้น รับรองว่าการเดินทางของเขาครั้งนี้มีประโยชน์ต่อมวลมนุษยชาติแน่นอน

แฮริสัน สมิท พ.ศ.2514 ภาพโดยนาซ่า

มันเป็นความเข้าใจที่ผิด มานานพอควรที่ว่า บุคคลแรกกดรอยเท้าบนผิวดวงจันทร์ (นีล อาร์มสตรอง) เป็นนักธรณีวิทยา ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ใช่ นักธรณีคนแรกที่ไปเยือนดวงจันทร์คือ แฮร์ริสัน แฮแกน สมิธ (Harrison Hagan “Jack” Schmitt) มีบ้านเกิดอยู่ที่เมืองซานตาริต้า มลรัฐนิว แมกซิโก แต่กลับไปโตที่ เมืองซิลเวอร์ซิตี้ สมิธสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี วิทยาศาสตร์บัณฑิต ที่สถาบันเทคโนโลยีแคลิฟอร์เนีย จากนั้นจึงไปศึกษาต่อธรณีวิทยาที่มหาวิทยาลัยออสโล ประเทศนอร์เวย์ ถึงหนึ่งปีเต็ม ข้อมูลที่ผมค้นดูไม่ได้บอกสาเหตุที่ว่าทำไมเขาจึงต้องลำบากข้ามทะเลไปเรียนทุบหินที่นั้น แต่ผมเชื่อว่าเป็นสาเหตุหนึ่งที่เขาได้รับคัดเลือกจากนาซ่าไปดวงจันทร์และเขากสามารถจบด๊อกเตอร์สาขาวิชาธรณี จากสถาบันอันดับหนึ่งของโลก อย่างมหามหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด ในปีพ.ศ.2507

เมื่อกลับมาที่อเมริกาอีกครั้ง เขาเริ่มงานที่สำนักงานสำรวจธรณีวิทยาสหรัฐ (USGS) ศูนย์ธรณีวิทยาอวกาศอริโซน่าในตำแหน่งนักธรณีวิทยา ก่อนหน้าที่จะเป็นนักบินอวกาศ สมิธเคยเป็นเจ้าหน้าที่ฝึกนักบินอวกาศในการเก็บข้อมูลทางธรณีวิทยา (คุณครูของ นิล อาร์มสตรอง) ก่อนจะไปปฏิบัติการจริงบนผิวดวงจันทร์ และในอวกาศ

จากนั้นฝันของเขาก็เป็นจริง โดยไม่ต้องเขียนไปเล่าจดมายหาคุณไตรภพ แต่อย่างใด เขาเป็นตัวแทนจากสาขาวิชาวิทยาศาสตร์เพียงคนเดียวใน ปฏิบัติการอพอลโล่ เขาเป็นหนึ่งในทีมอพอลโล 17 ลำสุดท้ายที่จะถูกส่งไปยังดวงจันทร์ ความจริงแล้วเขาถูกกำหนดเป็นนักบินใน อพอลโล่ 18 แต่ด้วยแรงกดดันจากสังคมนักวิทยาศาสตร์ที่ต้องการเห็นตัวแทนเป็นส่วนหนึ่งร่วมเดินทางในเที่ยวบินนี้ ดังนั้นเขาจึงถูกเปลี่ยนตัวมาร่วมทีมในนาทีสุดท้าย ไม่เช่นนั้นผมคงต้องเปลี่ยนหัวข้อที่ว่า “ใครคือ…นักธรณีวิทยาที่-เกือบ-ออกภาคสนามในดินแดนที่ไกลที่สุด”

ภารกิจของอพอลโล่ 17 คือการสำรวจภาคสนาม บริเวณหุบเขาทอรัส-ลิตต์โรว์ (Taurus-Littrow highland and valley) จากข้อมูลภาพถ่าย คาดว่าบริเวณดังกล่าวประกอบไปด้วยตะกอนของหินขนาดใหญ่จำนวนมาก ซึ่งน่าจะเป็นหินธรณีฐานของแนวภูเขาบริเวณดังกล่าว และเป็นบริเวณที่คาดว่าจะเป็นปล่องภูเขาไฟ (ชมแผนที่การสำรวจตอนท้ายบทความ)

หน้าที่หลักของสมิธและทีมงานในปฏิบัติการครั้งนี้ก็คือ ควบคุมหุ่นยนต์สำรวจ (Lunar Rover) ซึ่งเป็นหุ่นยนต์สำรวจสมบัติทางธรณีวิทยาพื้นฐานจากพื้นผิวดวงจันทร์ ที่เรียกว่า Apollo lunar surface experiment package (ALSEP) ซึ่งมีภารกิจประกอบไปด้วย

  • Heat Flow experiment (HFE), ประมาณว่าปฏิบัติการการทดลองการไหลของความร้อนใต้พื้นผิวบนดวงจันทร์
  • Lunar seismic profiling (LSP), การเก็บข้อมูลภาคสนาม คลื่นไหวสะเทือน เพื่อหาโครงสร้างคร่าวๆของชั้นหิน
  • Lunar surface gravimeter (LSG), การเก็บข้อมูลภาคสนาม แรงโน้มถ่วงของพื้นผิวดวงจันทร์ ก็สามาถหาโครงสร้างคร่าวๆ ของชั้นหินเช่นกัน
  • Lunar atmospheric composition experiment (LACE) ปฏิบัติการการทดลององค์ประกอบของบรรยากาศของดวงจันทร์
  • Lunar ejecta and meteorites (LEAM) โครงการอุกาบาตและเทหะวัตถุบนผิวดวงจันทร์
ภาพโลกสีคราม “The Blue Marble” ถ่ายเมื่อ 7 ธันวาคม พ.ศ.2515 โดยทีมอพอลโล 17 ระยะทาง 45,000 กิโลเมตรจากโลก

นอกจากนี้ยังปฏิบัติภารกิจการทดลองทางชีวการแพทย์ (Biomedical experiments) ด้วย

ส่วนภารกิจหลักของนักธรณีภาคสนาม…เขาเก็บตัวอย่างหินดินกลับมาฝากคนบนโลกมาทั้งสิ้น 110.4 กิโลกรัม (ชั่งบนโลก) กับระยะเดินทางบนดวงจันทร์ทั้งสิ้น 34 กิโลเมตร

“ถามว่าสมิทจะแบกไหวน้ำหนักหินขนาดนี้ไหวหรือไม่บนดวงจันทร์ เพราะเท่าที่รู้มา แรงโน้มถ่วงของโลกมากกว่าบนดวงจันทร์ห้าเท่า แสดงว่า น้ำหนักที่สมิทแบกก็จะเท่ากับข้าวสารหนึ่งถัง หรือประมาณยี่สิบกิโล เป็นผมก็ชิลชิล นะ

แต่ทางกลับกันน้ำหนักของเขาก็จะลดลงห้าเท่า สมมุติเขาหนักระมาณ 100 กิโลกรัม เมื่อไปถึงที่นั่นนำนักเขาก็จะเหลือเพียง 20 กิโลกรัม ก็จะประมาณว่าให้เด็กประถมหนึ่งไปแบกข้าวสารหนึ่งถัง…จะไหวมั้ยเนี่ย….ผมไม่เก่งฟิสิกส์ซะด้วยสิ”

ผลงานอีกชิ้นที่ทุกคนคงจะเคยผ่านตามาแล้วแน่ๆ คือ The Blue Marble รูปถ่ายโลกสีครามภาพแรกสันนิษฐานว่าจะเป็นฝีมือของสมิธ แต่อย่างไรก็ตามทางนาซ่าก็ให้เครดิตภาพนี้กับทีมสำรวจอพอลโล่ 17 ทั้งหมด

นี่แหละครับ แฮร์ริสัน แฮแกน สมิธ มนุษย์คนสุดท้ายของนักบินอวกาศทั้งสิบสองคนที่ได้มีโอกาสเหยียบดวงจันทร์ แต่รอยเท้าของเขาไม่ใช่รอยเท้ามนุษย์สุดท้ายบนดวงจันทร์ “the last man on the moon” แต่เป็จ ยูจีน เคอร์แนน (Eugene Cernan) หัวหน้าทีมของเขา……… และเขาคงไม่ใช่นักธรณีวิทยาคนสุดท้ายที่จะได้มีโอกาสออกภาคสนาม ณ ดินแดนไกลโพ้นก็ได้

แล้วอยากรู้รึเปล่าละครับ ถ้าเขาใช้เข็มทิศ บนดวงจันทร์ มันจะชี้ไปทางไหน ไปทางโลกของเราหรือเปล่า ลองไปค้นดูนะคับ แล้วบอกผมด้วยละกัน

แถมด้วยคลิปความน่ารักของสมิธบนดวงจันทร์ เมื่อเขาอ้อนขอเพื่อนร่วมทางอย่างน่าเอ็นดู เพื่อขอขว้างค้อนธรณีวิทยาเล่นเหมือนเด็ก แล้วเขาก็ได้รับอนุญาตด้วยคำตอบที่ว่า

“You deserve it. A hammer thrower…You’re a geologist. You ought to be able to throw it.”

แผนที่สำรวจบนดวงจันทร์ http://www.google.com/moon/#lat=0.655754&lon=23.471664&zoom=18&apollo=a11&lon=30.727787&zoom=11&apollo=a17

ผู้เขียนเผยแพร่บทความนี้ครั้งแรกบนเว็บวิชาการดอทคอม เมื่อปีพ.ศ. 2550