หลุมยุบ (Sinkhole) เป็นธรณีพิบัติภัยที่เกิดการยุบตัวลงเป็นหลุม มีเส้นผ่านศูนย์กลางตั้งแต่ 1 ถึง 200 เมตร ลึกตั้งแต่ 1 ถึงมากกว่า 20 เมตร เมื่อแรกเกิดปากหลุมมีลักษณะเกือบกลมและมีน้ำขังอยู่ก้นหลุม ภายหลังน้ำจะกัดเซาะดินก้นหลุมกว้างขึ้น ลักษณะคล้ายลูกน้ำเต้า ทำให้ปากหลุมพังลงมาจนเหมือนกับว่าขนาดของหลุมยุบกว้างขึ้น โดยปรกติหลุมยุบจะเกิดในบริเวณที่ราบใกล้กับภูเขาที่เป็นหินปูน เนื่องจากหินปูนมีคุณสมบัติละลายน้ำที่มีสภาพเป็นกรดอ่อนได้ ประกอบกับภูเขาหินปูนมีรอยเลื่อนและรอยแตกมากมายดังจะสังเกตเห็นได้ว่าภูเขาหินปูนมีหน้าผาชัน หน้าผาเป็นรอยเลื่อนและรอยแตกในหินปูนนั่นเอง บริเวณใดที่รอยแตกของหินปูนตัดกันจะเป็นบริเวณที่ทำให้เกิดโพรงได้ง่าย โพรงหินปูนถ้าอยู่พ้นผิวดินก็คือถ้ำ ถ้าไม่พ้นเรียกว่าโพรงหินปูนใต้ดิน ซึ่งจำแนกเป็น 2 ระดับ คือ โพรงหินปูนใต้ดินระดับลึก (ลึกจากผิวดินมากกว่า 50 เมตร) และโพรงหินปูนระดับตื้น (ลึกจากผิวดินไม่เกิน 50 เมตร) ส่วนใหญ่หลุมยุบจะเกิดในบริเวณท่มีโพรงหินปูนใต้ดินระดับตื้น หลุมยุบเกิดขึ้นมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน (คำอธิบายจาก กรมทรัพยากรธรณี)
กระบวนการเกิดหลุมยุบ
หลุมยุบจากธรรมชาติส่วนใหญ่เกิดจากกระบวนการละลายของชั้นหินด้วยสารละลายที่เป็นกรดหรือน้ำฝนที่เป็นกรดไหลซึมลงใต้ดิน เมื่อหินจำพวกคาร์บอเนต เช่น หินปูน หินโดโลไมต์ ทำปฏิกิริยากับน้ำสารละลายกรดก็จะเกิดการละลายกลายเป็นโพรงหรือช่องว่างใต้ผิวดิน
เมื่อเกิดช่องว่างในชั้นหินใต้ดิน เศษตะกอนดินก็จะไหลลงไปเติมในช่องว่างตามแรงโน้มถ่วงของโลก ในระหว่างที่เศษตะกอนเคลื่อนที่ไปก็จะกร่อนชั้นหินใต้หินไปด้วย จนกระทั่งเศษตะกอนเข้าไปเติมเต็มช่องว่างจนหมด ถึงตอนนี้พื้นผิวดินด้านบนก็จะทรุดตัวต่ำลงจากระดับปกติกลายเป็นหลุม อย่างไรก็ตามลักษณะการยุบตัวของผิวดินเหนือโพรงใต้ดินนั้นขึ้นอยู่กับความหนาและชนิดของชั้นดินที่ปกคลุม รวมไปถึงสภาพของน้ำใต้ดินด้วย
ชนิดของหลุมยุบ
หลุมยุบที่เกิดจากกระบวนละลาย (Dissolution sinkholes)
การละลายของหินปูนหรือหินโดโลไมต์สามารถเกิดขึ้นได้ง่ายเมื่อหินชนิดนี้โผล่พ้นผิวดิน รอยแตกรอยแยกในหินจะเป็นช่องทางให้น้ำฝนหรือน้ำใต้ดินที่เป็นกรดไหลผ่านและทำให้เกิดการละลายขึ้น หลุมยุบลักษณะนี้จะทำให้เกิดหุบเขาขนาดเล็กหรือพื้นที่ทรุดตัวแบบตื้น
หลุมยุบที่เกิดจากการทรุดตัวของชั้นดินที่ปกคลุม (Cover-subsidence sinkholes)
หลุมยุบชนิดนี้เกิดจากการไหลของตะกอนร่วนจำพวกทรายลงไปตามโพรงหรือช่องว่างที่อยู่ข้างใต้ ในขณะที่บนผิวดินจะค่อยๆ ทรุดตัวลงเนื่องจากตะกอนที่หายไป อัตราการทรุดตัวอาจจะใช้เวลานานหากชั้นดินมีดินเหนียวปน หรือมีความหนาของชั้นดินที่ปิดทับมาก
หลุมยุบที่เกิดจากการพังทลายของชั้นดินที่ปกคลุม (Cover-collapse sinkholes)
หลุมยุบชนิดนี้สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงไม่กี่ชั่วโมง และสร้างความเสียหายอย่างมาก ซึ่งมักเกิดขึ้นในบริเวณที่หินปูนถูกปิดทับด้วยชั้นตะกอนดินเหนียว หลุมยุบจะมีลักษณะฝนังที่ชัน ตรงกลางเป็นแอ่งรูปชาม
หลุมยุบที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์
การรั่วซึมของท่อน้ำใต้ดินสามารถทำให้เกิดการทรุดตัวของพื้นดินได้ มักเกิดในเขตชุมชนเมือง และสามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วจนสร้างความเสียหายให้กับผู้ที่อาศัยอยู่ในบริเวณใกล้เคียงได้ ซึ่งอาจจะมีรูปร่างของหลุมแตกต่างกันไป การประเมินสาเหตุของหลุบยุบลักษณะนี้ต้องได้รับการตรวจสอบอย่างละเอียด
หลุมยุบจากหินภูเขาไฟ
หลุมยักษ์กลางเมืองในกัวเตม
เนื่องจาก sinkhole เกิดขึ้นจากการละลายของชั้น
แต่สำหรับในประเทศกัวเตมาลา
นักธรณีวิทยาของกัวเตมาลาจึ
กลิ่นเหม็นของน้ำจากท่อใต้ด
นาย Bonis ผู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของทีมส
จะเห็นได้ว่าปรากฏการณ์ครั้
หลุมยุบในทะเล
The Great Blue Hole คือหลุมยุบที่พบนอกชายฝั่งของประเทศเบลีซ ริมทะเลแคริบเบียน ตั้งอยู่กลางแนวปะการังที่เ
หลุมยักษ์ใต้น้ำนี้มีขนาดเส
ภายในหลุมเป็นโพรงถ้ำหินปูน
ตำแหน่ง http://goo.gl/maps/cP881
บทความที่เกี่ยวข้อง หลุมยุบ ประตูสู่นรก