Category: หินแร่

ประโยชน์ของแร่ทองคำ

ประโยชน์ของแร่ทองคำ

ทองคำ คือแร่โลหะชนิดหนึ่ง ที่มีความสวยงาม และหายาก สีเหลืองทองทำให้รู้สึกถึงคุณค่าและความหรูหรา เนื่องด้วยคุณสมบัติเด่นเฉพาะของแร่ทองคำ ทำให้ทองคำไม่ได้ถูกนำมาใช้เพื่อเป็นแค่สร้อยคอ กำไร แหวน ดังที่เราเห็นกันทั่วไปตามร้านขายทองเพียงอย่างเดียว ประโยชน์ของทองคำนั้นมีค่ามากกว่านั้น และมีความจำเป็นต่อชีวิตประจำวันของเราเป็นอย่างยิ่ง

Read more ›
การเกิดปิโตรเลียม

การเกิดปิโตรเลียม

ปิโตรเลียม (petroleum จากภาษากรีก petra – หิน และ elaion – น้ำมัน หรือภาษาละติน oleum – น้ำมัน ) หรือที่เราเรียกกันว่า น้ำมัน เป็นทรัพยากรธรรรมชาติที่สามารถพบได้ในชั้นหินในบางพื้นที่บนเปลือกโลก หรือใต้พื้นดิน ปิโตรเลียมประกอบไปด้วยสารประกอบโครงสร้างซับซ้อนของไฮโดรคาร์บอน ซึ่งอาจมีความข้นหนืดและดำเหมือนน้ำมันดิน หรือบางครั้งอาจเหลวเหมือนน้ำก็ได้

Read more ›
เพชรสีเลือดแห่งความขัดแย้ง

เพชรสีเลือดแห่งความขัดแย้ง

หากใครเคยดูหนังเรื่อง Blood Diamond ที่มีลีโอนาโดสุดหล่อแสดงนำ คงยังจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของสงครามกลางเมืองในทศวรรษ 1990 ได้ เพชรสีชมพูเข้มเม็ดใหญ่(มาก)ถูกพบใน ”เซียร์รา เลโอน” (Sierra Leone) โดยชาวประมงที่ต้องใช้แรงงานเยี่ยงทาสในเหมืองของพวกกบฎ อัญมณีสูงค่านี้ได้เปลี่ยนแปลงและแม้กระทั่งจบชีวิตของตัวละครหลายคนในเรื่อง ถือเป็นหนังที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

Read more ›

เรียนวัฏจักรของหินผ่านโฆษณา

เรียนรู้กระบวนการผุพัง (weathering) และการกร่อน (erosion) จากภาพยนต์โฆษณาของโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่า รุ่น PEBL คลิปวิดีโอสั้นนี้แสดงเรื่องราวของอุกกาบาตที่ตกสู่โลกแล้วผ่านกระบวนการผุพังและการกร่อนโดยธรรมชาติ จนกระทั่งกลายเป็นก้อนกรวดผิวเรียบ “pebble” อาจจะเป็นอิทธิพลทำให้กลายเป็นชื่อรุ่นของมือถือนี้ก็ได้ แต่คงไม่ใช่ หลังจากชมภาพยนต์โฆษณานี้แล้วทำให้เห็นภาพของกระบวนการทางธรณีวิทยามากขึ้น กระบวนการทั้งสองนี้แตกต่างกันตรงที่การผุพังนั้นเป็นการทำให้หินแตกเป็นชิ้นเล็กๆ (ช่วงแรกของคลิป) ในขณะที่การกร่อนนั้นเกิดจากการถูกพัดพาโดยตัวกลาง เช่น แม่น้ำลำธาร ทำให้ได้หินกลายเป็นกรวดมนๆ ซึ่งเป็นผลจากการขัดสีและกระทบกันของก้อนหินระหว่างการเดินทาง ความกลมมนของก้อนหินนี้เองที่ถูกนำมาใช้สื่อถึงความกลมมนของตัวสินค้า ดังที่จะเห็นการเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือกับก้อนหินในคลิปที่สอง ดูเผินๆ อาจจะแยกกันไม่ออกเลย

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 11 – ขุมทรัพย์ใต้พิภพ

  รอบรู้ธรณีไทย 11 – ขุมทรัพย์ใต้พิภพ Underworld Treasure  แร่ เป็นสารอนินทรีย์ที่เกิดเองตามธรรมชาติ มีสมบัติหลากหลายตามชนิด และส่วนใหญ่มีประโยชน์ต่อมนุษย์ทั้งทางตรง และทางอ้อม ในธรรมชาติแร่ชนิดหนึ่งอยู่ปะปนกับแร่อื่น จึงต้องแยกเสียก่อน มวลธรณีที่พบแร่เศรษฐกิจมากและยังไม่ได้แย ก เรียกว่า สินแร่ (เช่น ฮีมาไทต์ คือสินแร่เหล็ก ถลุงแล้วได้ เหล็ก) ประเภทของแร่ แบ่งใหญ่ตามสมบัติ ได้แก่ แร่โลหะ และแร่อโลหะ แร่โลหะที่พบในประเทศไทย เช่น เหล็ก ดีบุก สังกะสี ตะกั่ว เงิน ทอง ฯลฯ และแร่อโลหะ เช่น ยิปซัม ทัลก์ แคลไซต์ แร่ใยหิน ฯลฯ หรือแบ่งตามประโยชน์ เช่น แร่รัตนชาติ หรือแร่เชื้อเพลิง แร่รัตนชาติ แบ่งกลุ่มเป็น เพชร และพลอย (พลอยยังแบ่งย่อยอีกหลายกลุ่ม เช่น ทับทิม ไพลิน พลอยเขียว บุษราคัม นิล ฯลฯ) […]

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 8 – ฟอสซิลไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 8 – ฟอสซิลไทย Fossil in Thailand  แหล่งซากดึกดำบรรพ์ทำให้รู้ความเป็นมาของส ิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์เกิดขึ้นเมื่อ 5 ล้านปี หรือเป็นหลักฐานว่า เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงทำให้แผ่นดินจมลงกลาย เป็นทะเล หรือทะเลยกตัวขึ้นกลายเป็นแผ่นดิน ฟอสซิลพบเฉพาะในหินตะกอน และมักพบโดยบังเอิญ ในประเทศไทยพบทั้งฟอสซิลของ หอยโบราณ หอยกาบยักษ์ ปลาน้ำจืดโบราณ เฟิร์น พืชน้ำ หนอนโบราณ ช้างโบราณ จระเข้ วัว เอป (ลิงโบราณบรรพบุรุษของลิงไร้หางและมนุษย์)   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 2 – หิน

รอบรู้ธรณีไทย 2 – หิน Rocks Cycle การเกิดและวัฏจักรของหินทั้งสามจำพวก ได้แก่ หินอัคนี หินตะกอน หินแปร ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›
จำแนกแร่ในสิบขั้นตอน

จำแนกแร่ในสิบขั้นตอน

โลกนี้มีแร่มากมายหลายชนิด หน้าตาแตกต่างกันออกไป บางแร่สวยงาม บางแร่มีลักษณะโดดเด่น การที่จะรู้ได้ว่าแร่ที่เรามีอยู่นั้นคือแร่อะไร จำเป็นจะต้องมีวิธีการจำแนกอย่างมีระบบ โดยวิธีที่เป็นสากล สำหรับผู้เริ่มต้นก็สามารถวิเคราะห์แร่เบื้องต้นได้อย่างง่ายดาย ด้วยสิบขั้นตอนต่อไปนี้ ก็สามารถทำให้คุณกลายเป็นผู้เชียวชาญในการจำแนกแร่ขั้นเทพได้เลยทีเดียว

Read more ›
หินตะกอน : ชนิดและการจำแนก

หินตะกอน : ชนิดและการจำแนก

หินตะกอนหรือหินชั้น เป็นหินที่ค่อนข้างที่จะจำแนกได้ง่าย ซึ่งมักสามารถที่จะจำแนกขั้นต้นได้ด้วยตาเปล่า เนื้อหินตะกอนสามารถบอกเรื่องราวของการกำเนิดหรือสภาพแวดล้อมในอดีตกาลได้ เสมือนกับการบันทึกประวัติศาสตร์ ดังนั้นความรู้ความเข้าใจในหินตะกอนนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างมาก การได้ฝึกฝนการจำแนกหินตะกอนอย่างต่อเนื่อง ย่อมทำให้เกิดความแม่นยำ และเสริมความเชี่ยวชาญให้กับนักธรณีในภาคสนาม บทความนี้จะช่วยอธิบายการจำแนกหินตะกอนขั้นต้น ก่อนลุยสนามจริง! หินตะกอน (Sedimentary rock) คือ หินซึ่งเกิดจากการสะสมของตะกอน (sedimentation) เช่น กรวด ทราย เศษหิน หรือซากพืชและสัตว์ หรือเกิดจากการตกตะกอนทางเคมีในน้ำ แล้วเกิดการแข็งตัว (lithification) กลายเป็นหิน การแบ่งชนิดของหินตะกอนนั้นเราใช้คุณสมบัติ 3 ประการ คือ การเกิด (origin) เนื้อหิน (texture) และส่วนประกอบ (composition) การเกิด (Origin) ของหินตะกอนมี 3 แบบ คือ 1. Detrital origin เกิดจากการผุพังและการกัดเซาะ (weathering and erosion) ของหินเดิม ซึ่งจะเป็นหินชนิดอะไรก็ได้ กลายเป็นเม็ดกรวด ทราย หรือดิน แล้วโดนพัดพามาทับถมกัน เมื่อแข็งตัวจะได้หิน อาทิ หินทราย (sandstone) เป็นต้น […]

Read more ›
หินอัคนี : ชนิดและการจำแนก

หินอัคนี : ชนิดและการจำแนก

คงไม่มีใครไม่รู้จักหินอัคนี แม้ว่าหินอัคนีจะมีความโดดเด่นและมีลักษณะเฉพาะตัว แต่บางครั้งก็สามารถทำให้นักธรณีอย่างเราๆ คิดว่าเป็นหินตะกอน หรือหินแปรได้ง่ายดาย  หรือเมื่อถามถึงว่าเป็นหินอัคนีชนิดไหน เราก็ยังคงเรียกกันผิดๆ ถูกๆ การจำแนกชนิดหินด้วยตาเปล่านั้นค่อนข้างยาก และต้องอาศัยความชำนาญ บวกกับประสบการณ์การได้เห็นหินที่หลากหลาย สำหรับหลักการในการจำแนกหินอัคนีง่ายๆ เพื่อช่วยตัดสินใจในภาคสนามก่อนการวิเคราะห์อย่างละเอียดนั้นมีอะไรบ้าง บทความนี้อาจช่วยคุณได้ หินอัคนี (Igneous rock) คือ หินที่เกิดจากการเย็นตัวและการตกผลึกของแมกมา (magma) ซึ่งเป็นสารซิลิเกตหลอมเหลว (molten silicate material) และอยู่ใต้เปลือกโลก ถ้าแมกมาขึ้นมาถึงผิวโลก เราเรียกว่า ลาวา (lava) การแบ่งชนิดของหินอัคนีนั้น เราใช้คุณสมบัติ 2 ประการใหญ่ๆ คือ เนื้อหิน (texture) และส่วนประกอบ (mineral composition) นอกจากนั้นยังใช้สีของหินประกอบการพิจารณาได้ เนื้อหิน (Texture) หมายถึง ขนาดและการเรียงตัวของเม็ดแร่ในหิน ตลอดจนลักษณะการยึดเกี่ยวกันของแร่ต่างๆ และจะเป็นตัวบอกประวัติการเย็นตัวของแมกมา เนื้อหินชนิดต่างๆ ของหินอัคนี มีดังนี้ 1. เนื้อหยาบ (Phaneritic texture) เม็ดแร่มีขนาดไล่เลี่ยกัน และใหญ่พอที่จะมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เนื้อชนิดนี้เป็นลักษณะของหินอัคนีแทรกซอน ซึ่งแข็งตัวที่ระดับลึก (Intrusive igneous rock […]

Read more ›