Category: ธรณีประวัติ

หมุดทองระบุตำแหน่งชุดหินอ้างอิง (GSSP) ของยุคเอเดียคาเรน (Ediacaran Period) ในประเทศออสเตรเลีย รอยวงกลมบนหินคือตำแหน่งที่เก็บตัวอย่างหินสำหรับการศึกษาการเปลี่ยนแปลงสนามแม่เหล็กโลก

ธรณีกาล ตารางเวลาของโลก

การลำดับช่วงเวลาของโลกตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบัน เรียกว่า ธรณีกาล แบ่งเป็น บรมยุค (Eon) มหายุค (Era) ยุค (Period) และสมัย (Epoch) หินทุกชนิดที่พบบนโลกจะถูกจัดลำดับแก่อ่อนตามอายุที่วิเคราะห์ได้ อายุของหินเหล่านี้จะถูกนำมาจัดทำเป็นตารางธรณีกาล (Chronostratigraphic Chart) สำหรับการศึกษาทางธรณีวิทยาทุกแขนงทั่วโลก

Read more ›
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต

การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ของสิ่งมีชีวิต

รู้หรือไม่ว่ากว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของสิ่งมีชีวิตทั้งหมดที่เคยอาศัยอยู่บนโลกใบนี้ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว ในขณะที่สิ่งมีชีวิตรุ่นเก่าที่เคยรุ่งเรืองก็ได้ค่อยๆ หายสาบสูญไป สิ่งมีชีวิตรุ่นใหม่พยายามพัฒนาและสามารถปรับตัวให้ดำรงอยู่รอดในสภาวะ-แวดล้อมที่มีการเปลี่ยนแปลงระบบนิเวศน์อยู่ตลอดเวลา อัตราการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตไม่ได้คงที่ตลอด การสูญสิ้นสิ่งมีชีวิตทั้งพืชและสัตว์มากกว่า 50-90 เปอร์เซ็นต์เกิดขึ้นในช่วง 500 ล้านปีที่ผ่านมา ถือว่าเป็นเพียงแค่ช่วงเวลาสั้นๆ เมื่อเทียบกับอายุของโลก 4,600 ล้านปี

Read more ›
วิวัฒนาการของโลก

วิวัฒนาการของโลก

โลกมีอายุกว่าสี่พันหกร้อยล้านปี โดยมีผลึกแร่เซอร์คอนอายุสี่พันสี่ร้อยล้านปีเป็นวัสดุที่เก่าแก่ที่สุด โลกยุคแรกเริ่มถือช่วงเวลาที่โหดร้ายทางธรณีวิทยาเนื่องจากต้องเผชิญกับการตกกระทบของอุกกาบาตอย่างต่อเนื่อง

Read more ›
เจมส์ ฮัตตัน คุณพ่อทุกสถาบันธรณี

เจมส์ ฮัตตัน คุณพ่อทุกสถาบันธรณี

หลังจากที่ได้ทราบประวัติของชาร์ลส์ ไลแอล บิดาแห่งธรณีวิทยากันไปแล้วในบันทึกก่อนหน้านี้ วันนี้เราจะมาพูดถึงบิดาธรณีอีกท่านนึง ไม่ต้องงงนะครับว่าทำไมธรณีเรามีบิดาถึงสองคน นั่นก็เพราะองค์ความรู้ทางธรณีวิทยาที่เกิดขึ้นในยุคแรกๆ นั้นยังคงมีข้อขัดแย้งอยู่มาก ทำให้เกิดการพัฒนาแนวคิดอยู่เสมอ ซึ่งมักเป็นการต่อยอดจากแนวคิดเดิม เนื่องจากหลักฐานที่พบมากขึ้นนั้นเอง ก่อนที่จะกลายเป็นหลักการที่เราใช้เรียนกันอยู่ทุกวันนี้ อย่างไรก็ตามทั่วโลกได้ยกย่องเกียรติให้กับคนที่คิดก่อนและคนที่ต่อยอดด้วย เราจึงมีบิดาธรณีมากกว่าหนึ่งคน สำหรับคนสำคัญที่จะพูดถึงในวันนี้ก็คือ เจมส์ ฮัตตัน ที่ทุกคนคงจะคุ้นชื่อกันดี

Read more ›
Charles Lyell – บิดาของธรณีวิทยา

Charles Lyell – บิดาของธรณีวิทยา

หลายคนอาจจะรู้จักชาร์ลส์ ดาร์วิน เป็นอย่างดีในฐานะนักวิทยาศาสตร์และปรัชญาผู้ยิ่งใหญ่ดังที่ GT เคยเสนอเรื่องราวของดาร์วินไปแล้วนั้น แต่ใครจะรู้บ้างว่าผู้ที่อยู่เบื้องหลังและส่งอิทธิพลต่อความสำเร็จของดาร์วินนั้นคือ ชาร์ลส์ ไลแอล (Charles Lyell) ผู้ซึ่งได้รับขนานนามว่าเป็น “บิดาของธรณีวิทยา” ผลงานหนังสือหลักธรณีวิทยา “The principles of geology” ของเขานั้นเป็นผลงานชิ้นเอกที่มีความสำคัญต่อวงการธรณีเป็นอย่างมาก และหนังสือนี้เองที่ทำให้ดาร์วินเข้าถึงหลักกระบวนการคิดในเชิงธรณีวิทยาอย่างแท้จริง 

Read more ›
204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

หลังจากที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้อ่านหนังสือหลักการธรณีวิทยา (Principles of Geology) ของชาร์ลส์ ไลแอล ระหว่างการเดินทางรอบโลกไปกับเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ทำให้เขาเข้าถึงหลักกระบวนการคิดในเชิงธรณีวิทยาอย่างแท้จริง และนั่นทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาธรรมชาติระดับแนวหน้า

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 9 – ตามรอยไดโนเสาร์ไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 9 – ตามรอยไดโนเสาร์ไทย Thai Dinosaurs  ฟอสซิล (ซากดึกดำบรรพ์) เกิดจากการเกิดชั้นหินตะกอนทับถมปกคลุมซาก สิ่งมีชีวิต ไดโนเสาร์ที่พบในประเทศไทยมีทั้งกลุ่ม ซอโรพอด (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่) เช่น ภูเวียงโกซอรัสสิรินธรเน เป็นกระดูกจำนวนมากค่อนข้างสมบูรณ์ กลุ่ม เทอโรซอร์ (ไดโนเสาร์กินเนื้อสองขา) เช่น สยามโมไทรันนัสอิสานเอนซิส ต้นตระกูลของทีเร็กซ์ เป็นกระดูกครึ่งตัว กลุ่ม ซิตตาโกซอร์ (ไดโนเสาร์ปากนกแก้ว) เป็นกระดูกขากรรไกร กลุ่ม คาร์โนซอร์ (ไดโนเสาร์ล่าเนื้อขนาดเล็ก) เป็นรอยเท้าจำนวนมาก   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 8 – ฟอสซิลไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 8 – ฟอสซิลไทย Fossil in Thailand  แหล่งซากดึกดำบรรพ์ทำให้รู้ความเป็นมาของส ิ่งมีชีวิต เช่น มนุษย์เกิดขึ้นเมื่อ 5 ล้านปี หรือเป็นหลักฐานว่า เปลือกโลกเปลี่ยนแปลงทำให้แผ่นดินจมลงกลาย เป็นทะเล หรือทะเลยกตัวขึ้นกลายเป็นแผ่นดิน ฟอสซิลพบเฉพาะในหินตะกอน และมักพบโดยบังเอิญ ในประเทศไทยพบทั้งฟอสซิลของ หอยโบราณ หอยกาบยักษ์ ปลาน้ำจืดโบราณ เฟิร์น พืชน้ำ หนอนโบราณ ช้างโบราณ จระเข้ วัว เอป (ลิงโบราณบรรพบุรุษของลิงไร้หางและมนุษย์)   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 7 – ภูมิลักษณ์ประเทศไทย

  รอบรู้ธรณีไทย 7 – ภูมิลักษณ์ประเทศไทย Geological Strange Place of Thailand  การเปลี่ยนแปลงของเปลือกโลกทำให้เกิดภูมิป ระเทศแปลกๆ เป็นสถานที่ท่องเที่ยว  1.จากการกัดเซาะผุพัง เช่น แพะเมืองผี ละลุ เสาดิน ออบหลวง ผาวิ่งชู้ เสาเฉลียง ป่าหินงาม ภูผาเทิด ลานหินปุ่ม เขาตะปู ซุ้มหินชายฝั่ง  2.จากการเคลื่อนตัวของเปลือกโลก เช่น ภูชี้ฟ้าและผาตั้ง เขาช่องกระจก เขาพิงกัน หมู่เกาะอ่างทอง  3.แหล่งภูเขาไฟเก่า เช่น ผาคอกหินฟู ผาจำปาแดด ภูพระอังคาร  4.แหล่งน้ำพุร้อน เช่น สระมรกต   ต้นฉบับ: รอบรู้ธรณีไทย  ผลิต: สำนักธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี (Thailand’s Department of Mineral Resources) http://www.dmr.go.th

Read more ›

รอบรู้ธรณีไทย 6 – สายลมและกระแสน้ำ

  รอบรู้ธรณีไทย 6 – สายลมและกระแสน้ำ Erosion by Tides & Winds  กระแสน้ำกระแสลมผุกร่อนเปลือกโลกทำให้เกิด ภูมิประเทศต่างๆ ถ้าและหินงอกหินย้อยเกิดจากฝนซึ่งเป็นสารล ะลายหินปูนซึมเป็นลำธารใต้ดินและกัดกร่อนภ ูเขาหินปูน ช่วงหลังยุคน้ำหลังใหม่ๆ แผ่นดินต่ำกว่าระดับน้ำทะเล 10 เมตร รวมถึงกรุงเทพฯ เคยจมใต้ทะเล

Read more ›