เนื้อหาน่าสนใจ

[เกม] ขุดกระดูกไดโนเสาร์

เกมออนไลน์จาก National Geographic ให้ความรู้เกี่ยวกับไดโนเสาร์ เล่นได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ คล้ายกับเกม mahjong solitaire/Taipei คลิกเล่นตามลิงค์ Online Game: Dig for Dinosaur Bones

Read more ›
The Volcano Beneath Yellowstone

The Volcano Beneath Yellowstone

Yellowstone National Park มีชื่อเสียงระดับโลกในเรื่องของกีเซอร์และน้ำพุร้อน ถือเป็นหลักฐานอย่างง่ายๆที่บ่งชี้ถึงการมีระบบแมกมาที่มียังพลังอยู่ใต้อุทยานแห่งชาตินี้ ระบบแมกมานี้เคยทำให้เกิดการระเบิดของภูเขาไฟครั้งรุนแรงที่สุดในประวัติศาสตร์โลกที่เรียกได้ว่า Supervolcanos มาแล้วหลายครั้ง

Read more ›
เพชรสีเลือดแห่งความขัดแย้ง

เพชรสีเลือดแห่งความขัดแย้ง

หากใครเคยดูหนังเรื่อง Blood Diamond ที่มีลีโอนาโดสุดหล่อแสดงนำ คงยังจำเรื่องราวที่เกิดขึ้นท่ามกลางความสับสนวุ่นวายของสงครามกลางเมืองในทศวรรษ 1990 ได้ เพชรสีชมพูเข้มเม็ดใหญ่(มาก)ถูกพบใน ”เซียร์รา เลโอน” (Sierra Leone) โดยชาวประมงที่ต้องใช้แรงงานเยี่ยงทาสในเหมืองของพวกกบฎ อัญมณีสูงค่านี้ได้เปลี่ยนแปลงและแม้กระทั่งจบชีวิตของตัวละครหลายคนในเรื่อง ถือเป็นหนังที่น่าสนใจมากเรื่องหนึ่งเลยทีเดียว

Read more ›

เรียนวัฏจักรของหินผ่านโฆษณา

เรียนรู้กระบวนการผุพัง (weathering) และการกร่อน (erosion) จากภาพยนต์โฆษณาของโทรศัพท์มือถือโมโตโรล่า รุ่น PEBL คลิปวิดีโอสั้นนี้แสดงเรื่องราวของอุกกาบาตที่ตกสู่โลกแล้วผ่านกระบวนการผุพังและการกร่อนโดยธรรมชาติ จนกระทั่งกลายเป็นก้อนกรวดผิวเรียบ “pebble” อาจจะเป็นอิทธิพลทำให้กลายเป็นชื่อรุ่นของมือถือนี้ก็ได้ แต่คงไม่ใช่ หลังจากชมภาพยนต์โฆษณานี้แล้วทำให้เห็นภาพของกระบวนการทางธรณีวิทยามากขึ้น กระบวนการทั้งสองนี้แตกต่างกันตรงที่การผุพังนั้นเป็นการทำให้หินแตกเป็นชิ้นเล็กๆ (ช่วงแรกของคลิป) ในขณะที่การกร่อนนั้นเกิดจากการถูกพัดพาโดยตัวกลาง เช่น แม่น้ำลำธาร ทำให้ได้หินกลายเป็นกรวดมนๆ ซึ่งเป็นผลจากการขัดสีและกระทบกันของก้อนหินระหว่างการเดินทาง ความกลมมนของก้อนหินนี้เองที่ถูกนำมาใช้สื่อถึงความกลมมนของตัวสินค้า ดังที่จะเห็นการเปรียบเทียบโทรศัพท์มือถือกับก้อนหินในคลิปที่สอง ดูเผินๆ อาจจะแยกกันไม่ออกเลย

Read more ›
นักธรณีชาวภารตะค้นพบวัด??

นักธรณีชาวภารตะค้นพบวัด??

ล่าสุดผมได้รับ forward mail ฉบับหนึ่งหัวข้อว่า “มรกรตนคร (ดินแดนแห่งจุดนัดพบของทิวาและราตรีกาล) ถูกค้นพบโดยนักธรณีชาวภารตะ” เนื้อหาภายในเป็นภาพสิ่งปลูกสร้างที่มีสถาปัตยกรรมอันสวยงาม หลายภาพ จากหลายมุมมอง ไม่พบคำบรรยายหรือคำอธิบายเกี่ยวกับสถานที่แต่อย่างใด ปกติแล้วเมื่อได้รับ forward mail แบบนี้ก็จะดูแล้วก็เลยผ่านไป แต่ด้วยหัวข้อที่ระบุอย่างชัดเจนว่าเป็นการค้นพบโดยนักธรณี ก็เลยอดสงสัยไม่ได้ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไรกันแน่

Read more ›
ดิ่งทะลุสะดือโลก

ดิ่งทะลุสะดือโลก

ผู้สร้างภาพยนต์เรื่อง Journey to the Center of the Earth 3D (ชื่อไทย: ดิ่งทะลุสะดือโลก <- ฟังดูตลกดีนะ) ซึ่งเข้าฉายในบ้านเราเมื่อปีที่แล้ว ได้จัดทำหนังสือการ์ตูนประกอบภาพยนต์ เพื่อให้ความรู้ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ที่กลายมาเป็นนิยายวิทยาศาสตร์อันสนุกตื่นเต้น โดยเป็นเรื่องราวของนักสำรวจ 3 คนที่หลุดเข้าไปสู่ดินแดนใต้โลกอันสุดแสนจะพิศดาร ที่ซึ่งพวกเขาได้ค้นพบการเดินทางที่แสนมหัศจรรย์ท่ามกลางภยันตรายรอบด้าน

Read more ›
ก้อนหินรำพัน – ห้วงอารมณ์ของ ‘ฅนเคาะหิน’ ในเส้นทางหลากฤดู

ก้อนหินรำพัน – ห้วงอารมณ์ของ ‘ฅนเคาะหิน’ ในเส้นทางหลากฤดู

หนังสือ “ก้อนหินรำพัน” – ห้วงอารมณ์ของ ‘ฅนเคาะหิน’ ในเส้นทางหลากฤดู โดย รชฏ มีตุวงศ์ ลักษณะงานเขียนเป็นบันทึกความเรียงผสมผสานกับเรื่องสั้น ที่หยิบยกเรื่องราวสัพเพเหระระหว่างเส้นทาง ในการสัญจรรอนแรมไปทำงานต่างถิ่นของนักธรณีวิทยาคนหนึ่ง นำมาเชื่อมโยงกับหลากหลายแง่มุมในชีวิต ทั้งด้านความรัก ความดี สัจธรรมความจริง ตะกอนความฝัน หนังสือ บทเพลง และบทกวีที่ประทับอยู่ในใจ เรียงร้อยออกมาเป็นเรื่องเล่าผ่านห้วงอารมณ์ซึ่งผันเปลี่ยนเวียนไปคล้ายดั่งฤดูกาลของชีวิต

Read more ›
พลังงานความร้อนใต้พิภพ

พลังงานความร้อนใต้พิภพ

Geothermal Energy Association ได้เผยแพร่เอกสารฉบับล่าสุดเกี่ยวกับพลังงานความร้อนใต้พิภพ (Geothermal 101: Basics of Geothermal Energy Production)  ซึ่งเป็นเอกสารที่ให้ความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับพลังงานความร้อนใต้พื้นพิภพและการนำไปใช้ประโยชน์ ซึ่งตั้งแต่ระดับครัวเรือนไปจนถึงโรงงานอุตสาหกรรม

Read more ›
รวมความหมายของธรณีวิทยาสาขาต่างๆ

รวมความหมายของธรณีวิทยาสาขาต่างๆ

The American Geological Institute (AGI) ได้ให้คำจำกัดความของสายงานต่างๆ ที่อยู่ในขอบข่ายของธรณีศาสตร์ รวมถึงอธิบายสั้นๆ เกี่ยวกับบทบาทหน้าที่ของนักธรณีวิทยาในสายวิชาชีพต่างๆ ด้วย และยังได้จัดกลุ่มนักธรณีวิทยาออกเป็นสามกลุ่ม คือ geoscientists, geoengineers และ geomanagers ซึ่งทั้งหมดอยู่ในภาคผนวก ของรายงานเรื่อง Status of the Geoscience Workforce 2009 

Read more ›
204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

204 ปีชาร์ลส์ ดาร์วิน นักธรณีบูรณาการ

หลังจากที่ชาร์ลส์ ดาร์วิน (Charles Darwin) ได้อ่านหนังสือหลักการธรณีวิทยา (Principles of Geology) ของชาร์ลส์ ไลแอล ระหว่างการเดินทางรอบโลกไปกับเรือหลวงบีเกิลในฐานะนักธรรมชาติวิทยา ทำให้เขาเข้าถึงหลักกระบวนการคิดในเชิงธรณีวิทยาอย่างแท้จริง และนั่นทำให้เขากลายเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษาธรรมชาติระดับแนวหน้า

Read more ›